1 / 43

บทที่ 1

บทที่ 1. การพัฒนาโค้งกฎการปฏิบัติงานอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ (Development of Lam Plai Mas Reservoir Operation Rule Curves). 1. บทนำ.

adam-rivera
Download Presentation

บทที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 การพัฒนาโค้งกฎการปฏิบัติงานอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ (Development of Lam Plai Mas Reservoir Operation Rule Curves)

  2. 1. บทนำ เกณฑ์การปฏิบัติงานอ่างเก็บน้ำ (Reservoir Operation Rules)เป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานอ่างเก็บน้ำนำมาใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจที่สะดวกและรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้การวางแผนและจัดสรรน้ำในอ่างเก็บน้ำบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเกิดประสิทธิภาพรวมสูงสุด

  3. 2. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเกณฑ์ในการปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อสภาวะการขาดน้ำและสภาวะน้ำล้น

  4. 3. ขอบเขตการศึกษา พิจารณาศึกษาและพัฒนาเส้นโค้งปฏิบัติการของอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วิธี Probability Based Rule Curves พิจารณาที่ค่าความเสี่ยงเท่ากับ 0.05, 0.10 และ 0.20 ตามลำดับ

  5. 4. การตรวจเอกสาร วิธี Probability Base Rule Curves 1.Upper Rule Curves หลักทฤษฎี : Upper Rule Curves เป็นระดับน้ำหรือปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มากที่สุดที่จะทำให้ความเสี่ยงต่อการที่อ่างเก็บน้ำมีปริมาตรไม่พอที่จะรับน้ำนองอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ระดับน้ำหรือปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มากที่สุดจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา (เดือน) ระดับน้ำระหว่าง Upper Rule Curves และระดับเก็บกักปกติ (normal pool level )เรียกว่า Volume of Flood Control Reserve (VFC)

  6. กำหนดให้ NRI t = It – O t (1-1) I t = Reservoir Inflow ในเดือน t O t = Reservoir Outflow ในเดือน t NRI t = Net Reservoir Inflow ในเดือน t ซึ่งมี f(NRI t) เป็น Probability Density Function ดังแสดงใน ภาพที่ 1-1 และ VFC t = Volume of Flood Control Reserve ในเดือน t

  7. เมื่อสามารถหา f(NRI t) ได้แล้ว ค่าของ VFC t สำหรับการกำหนดค่าความเสี่ยงที่ 0.05, 0.10 และ 0.20 สามารถหาได้จากภาพที่ 1-1 หรือจากสมการที่ (1-2) P( NRI t > VFC t ) < Risk (1-2) สุดท้าย Upper Rule Curves สามารถหาได้จากสมการที่ (1-3) VURC t = VNP t – VFC t (1-3) เมื่อ VURC t = reservoir upper rule curve volume ในเดือน t VNP t = ปริมาตรเก็บกักปกติในเดือน t

  8. f (NRI)t Risk VFC t (NRI) t ภาพที่ 1-1 Probability Distribution ของ NRI t และการกำหนด VFC t

  9. 2.Lower Rule Curves หลักทฤษฎี : Lower Rule Curves เป็นระดับน้ำในอ่างที่ควรรักษาไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในอนาคต หรือความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในอนาคตอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ในการสร้าง Lower Rule Curves จะต้องมีการกำหนดช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้ฤดูแล้งคือช่วงเวลาที่ NRI t น้อยกว่าหรือเท่ากับศูนย์ และฤดูฝนคือช่วงเวลาที่ NRI t มากกว่าศูนย์ ดังแสดงในภาพที่ 1-2 ซึ่งการกำหนดฤดูแล้งนี้หมายถึงช่วงเวลาที่เกิดการขาดน้ำ และฤดูฝนหมายถึงช่วงเวลาที่มีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งหลังจากกำหนดช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนแล้วก็จะสามารถหาค่าปริมาตรสะสมของ NRI t ในช่วงฤดูแล้งได้

  10. NRI t + D 0 12 Time - Dry Season Wet Season ภาพที่ 1-2เกณฑ์ที่ใช้วิเคราะห์หาช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน

  11. กำหนดให้ = ค่าสะสมของ NRI t สำหรับฤดูแล้งซึ่งมีฟังก์ชัน f ( ) เป็นฟังก์ชันแจกแจงความน่าจะเป็น (Probability Distribution Function) ดังแสดงใน ภาพที่ 1-3 D = เดือนที่สิ้นสุดฤดูแล้ง VBUF t = ปริมาตรของน้ำส่วนสำรองในเดือน t

  12. (1-4) เมื่อสามารถหา f ( ) ได้แล้ว ค่าของ VBUF t สำหรับการกำหนดค่าความเสี่ยงที่ 0.05, 0.10 และ 0.20 สามารถหาได้จากภาพที่ 1-3 หรือจากสมการที่ (1-4) ซึ่งค่า VBUF t ที่ได้จากการกำหนดค่าความเสี่ยงก็คือ Lower Rule Curves

  13. f Risk VBUF t ภาพที่ 1-3 การแจกแจงความน่าจะเป็นของ และการกำหนดค่าของ VBUF t

  14. โดยค่าความเสี่ยง (Risk) มีความสัมพันธ์กับรอบปีการเกิดซ้ำ (Tr) ดังสมการที่ (1-5) Risk = 1/Tr (1-5) เมื่อ Tr = รอบปีการเกิดซ้ำ

  15. บทที่ 2ข้อมูลทั่วไปของอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ 1. วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับ 1.การเพาะปลูกในเขตอำเภอเสิงสางจังหวัดนครราชสีมาอำเภอปะคำและอำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 66,000 ไร่ 2.การอุปโภค-บริโภคของราษฎรในหมู่บ้านต่างๆได้ตลอดปี 3.การพัฒนาความมั่นคงของประเทศในยุทธการทางการทหารตามโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงระดับพื้นที่ในเขตอำเภอสางอำเภอครบุรีจังหวัดนครราชสีมา

  16. 2. ที่ตั้งโครงการ หัวงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปลายมาศตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30330 อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 150 กิโลเมตร พื้นที่ขอบเขตของโครงการอยู่ระหว่างเส้นรุ้ง (ละติจูด) 14 องศา 18 ลิปดากับ 14.6 ฟิลิปดาเหนือ และเส้นแวง(ลองติจูด) 102 องศา 26 ลิปดา 20.9 ฟิลิปดาตะวันออก หรือตามแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ระวาง 5437 I พิกัด 48 PTA 237-827

  17. 2. ที่ตั้งโครงการ

  18. 3. ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศจะลาดเทไปสู่ที่ราบตอนกลางด้านทิศเหนือด้านทิศใต้จะเป็นที่สูงชันเพราะเป็นทิวเขาสันกำแพงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำสำคัญซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำมูลเช่นลำตะคองลำพระเพลิงลำแชะเป็นต้นพื้นที่บริเวณริมตลิ่งสองฝั่งของแม่น้ำมูลด้านท้ายเขื่อนในเขตโครงการจะเป็นที่ราบลุ่มแต่บริเวณห่างไกลออกไปจากแม่น้ำมูลพื้นที่จะค่อยๆสูงขึ้นเรื่อยๆในลักษณะสูงๆต่ำๆ

  19. 4. ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมเขตร้อนมี 3 ฤดูคือ 1. ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายนไปจนถึงปลายเดือนตุลาคมเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้ที่พัดผ่านเข้ามา 2. ฤดูหนาวเริ่มต้นตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมพาพันธ์เกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน 3. ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมพาพันธ์ไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคมเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งพัดมาจากทะเลจีนและอ่าวไทย อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 30 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 90 และมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยตลอดปี 1,062 มิลลิเมตร

  20. 5. ลักษณะดิน ประมาณ 42 % ของพื้นที่โครงการบริเวณสองฝั่งลำปลายมาศเป็นดินชุดราชบุรีเป็นดินลึกการระบายน้ำเลวมีปริมาณอินทรีย์วัตถุปานกลางเหมาะสมในการปลูกข้าวรองลงมาประมาณ 20%เป็นดินชุดสตึกเป็นดินลึกการระบายน้ำดีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือร่วนเหนียวปนทรายเหมาะสมในการเพาะปลูกผลไม้และประมาณ 38% เป็นดินชุดสูงเนินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแข็งหรือดินร่วนเหนียวเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลางปริมาณอินทรีย์วัตถุปานกลางถึงต่ำความอุดมสมบูรณ์ปานกลางเหมาะสมในการเพาะปลูกพืชไร่และไม้ผล

  21. 6. สภาพการเพาะปลูก ในฤดูฝนส่วนใหญ่ทำนาดำจะทำการตกกล้าปักตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไปจนถึงเดือนกันยายนจะเริ่มเก็บเกี่ยวปลายเดือนพฤศจิกายนแล้วเสร็จต้นเดือนมกราคมผลผลิตข้าวนาปีเฉลี่ย 720 กิโลกรัมต่อไร่ (สถิติการเพาะปลูกนาปี 2538/2539) ในฤดูแล้งจะเริ่มในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนจะปลูกพืชไร่พืชผักเช่นถั่วเขียวถั่วลิสงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่วนการปลูกข้าวนาปรังจะส่งเสริมเฉพาะปีที่มีน้ำต้นทุนเพียงพอเท่านั้นผลผลิตข้าวนาปรัง 925 กิโลกรัมต่อไร่ (สถิติการเพาะปลูกนาปรังปี 2538/2539) เป็นต้น

  22. 7. รายละเอียดโครงการ 1. อ่างเก็บน้ำ 2. เขื่อน 3. อาคารระบายน้ำล้นใช้งาน (SERVICE SPILLWAY) 4. ท่อส่งน้ำเข้าคลองสายใหญ่ (RIGHT MAIN CANAL OUTLET )

  23. บทที่ 3อุปกรณ์และวิธีการ

  24. ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา 1. ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ 2. ปริมาณน้ำที่สูญเสียเนื่องจากการรั่วซึม 3. ปริมาณน้ำที่ระเหยจากอ่างเก็บน้ำ 4. ปริมาณน้ำฝน ที่หัวงาน และในพื้นที่โครงการฯ 5. ปริมาณการระบายน้ำ จากอ่างเก็บน้ำ

  25. วิธีการศึกษา 1.สังเคราะห์ข้อมูลน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศจำนวน 40 ปี จากข้อมูลเดิมที่มีอยู่โดยใช้โปรแกรม HEC-4 2.วิเคราะห์คุณสมบัติทางสถิติและทดสอบการแจกแจงของข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรายเดือน 3.วิเคราะห์คุณสมบัติทางสถิติและทดสอบการแจกแจงของข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำสุทธิรายเดือน 4. สร้างเส้นโค้งปฏิบัติการบนพื้นฐานของความน่าจะเป็น (Probability Based Rule Curves) ของอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศโดยกำหนดค่าความเสี่ยงที่ 0.05, 0.10, และ 0.20

  26. บทที่ 4ผลการวิเคราะห์

  27. 1.       การสังเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม HEC-4 สังเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศรายเดือนจำนวนข้อมูล 40 ปี ดังแสดงในตารางที่ 4-1

  28. ชุดที่ ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม 1 0.32 0.63 3.36 1.94 6.14 4.19 3.94 3.82 12.51 34.94 16.5 1.01 89.3 2 1.74 2.94 5.36 2.68 5.1 8.47 16.07 8.13 12.09 13.65 3.8 1.77 81.8 3 2.14 1.49 2.69 2.63 2.69 1.85 3.74 6.07 7.14 9.71 3.36 1.44 44.95 4 1.15 1.07 1.47 1.91 3.43 1.49 6.77 7.08 24.47 16.12 5.66 2.92 73.54 5 1.77 5.89 4.63 3.07 7.99 2.58 5.87 6.06 12.55 18.22 3.63 1.03 73.29 6 1.27 0.71 1.51 1.88 5.45 5.31 30.74 8.55 16.52 30.6 12.42 2.02 117 7 1.73 1.43 4.24 2.13 4.98 2.89 5.97 6.09 13.59 23.55 7.75 1.55 75.9 8 2.18 1.13 3.18 2.44 4.37 3.31 6.48 6.11 25.29 45.32 21.63 1.55 123 9 1.71 1.88 6.99 2.73 4.95 4.11 4.28 4.38 12.9 16.91 5.96 1.36 68.16 10 1.54 1.17 2.2 1.84 5.09 8.69 33.26 8.72 5.72 6.38 2.05 1.79 78.45 11 1.92 4.35 3.62 2.05 7.66 10.91 4.9 4.57 12.06 14.22 5.1 1.07 72.43 12 0.87 1.03 6.32 2.81 3.87 3.96 29.78 7.32 14.12 19.33 4.02 2.93 96.36 13 1.42 2.26 2.61 2.74 8.33 9.66 5.9 6.09 5.32 9.12 2.86 2.05 58.36 14 0.57 0.49 1.67 2.48 2.78 4.03 3.53 4.65 23.84 26.54 10.67 1.1 82.35 15 0.77 0.83 3.55 2.19 3.28 3.03 6.98 5.21 10.99 15.25 5.16 1.27 58.51 16 0.26 0.67 6.13 3.12 8.85 4.73 10.95 8.65 18.2 22.04 6.2 0.98 90.78 17 0.44 0.59 2.1 3.07 3.08 0.87 3.26 4.32 14.05 34.97 15.98 2.03 84.76 18 2.26 2.17 3.75 3.42 5.09 8.9 8.15 6.96 19.41 15.96 5.23 1.58 82.88 19 0.89 0.7 1.11 1.81 1.69 1.28 4.19 5.17 8.65 25.61 7 1.93 60.03 20 2.42 1.17 2.46 1.87 4.45 5.16 4.44 5.5 33.79 19.22 5.47 2.24 88.19 ตารางที่ 4-1 ข้อมูลปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศจากการสังเคราะห์ด้วย HEC-4

  29. ปี ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม 2530 0 2.9 1.8 3.1 1.4 1.6 1.3 7.2 7.6 2.3 5.9 0 35.1 2531 0 0 4 3.5 3.4 0 2.4 1.7 8.8 5 0 0 28.8 2532 0.6 0.3 2.3 1.9 6 3.7 5.8 4.5 6.2 4.8 0.1 0 36.2 2533 0 0 0.3 3.2 4.2 1.4 0.7 3.8 3.8 9.3 2 0 28.7 2534 0.4 0.5 0.3 0.9 4.2 1.7 5.5 4.5 9.3 5.5 0 0 32.8 2535 0 0 0 1.9 2.7 1.9 0.8 4.7 8.1 7.4 0 0.9 28.4 2536 0 1.1 3.2 1 3 4.3 4.8 2.1 6.5 4.9 0.2 0.6 31.7 2537 0 0 0.4 3.5 4.3 1.5 1.8 3.7 2.2 2.4 0 0 19.8 2538 0 0.3 1.6 8.4 5.4 2.2 6.8 3.2 11.8 6.2 0.9 0 46.8 2539 0 0 0.5 3 4.2 3.9 2.8 4.4 9.4 3.9 1.5 0 33.6 2540 0 0 1.2 2.4 4.1 0.2 1.4 3.9 9.8 4.1 0 0 27.1 2541 0 0 6 1.7 4.2 3.1 4.1 6.3 7.7 1.4 3.5 0 38 2542 0.2 2 0.1 3 7.9 3 1.9 2.2 9.7 5.6 2.3 0 37.9 2543 0 0.1 5 8.7 7.8 4.8 7.7 5.1 14.5 7.4 0 0 61.1 2544 0 0.7 6.9 1.1 3 5.9 1.5 8.1 8.5 9.7 1.6 0.5 47.5 2545 0 0.7 0 2.8 10.6 3.2 0.1 8 15.1 3.1 2.7 0.8 47.1 การวิเคราะห์ข้อมูลของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ 2.1 ข้อมูลปริมาณฝนรายเดือนดังแสดงในตารางที่ 4-2 ตารางที่ 4-2ข้อมูลปริมาณฝนรายเดือนที่หัวงานอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ

  30. ปี ปริมาณการระบายน้ำ (ล้านลบ.ม.) ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม 2542 0.43 1.42 0.60 0.22 - 1.73 3.54 3.24 3.88 21.60 12.37 - 49.03 2543 1.74 3.03 5.36 2.51 5.01 8.47 16.06 3.80 3.28 13.05 3.80 1.00 67.11 2544 3.58 4.88 3.11 3.41 1.55 0.51 7.30 9.15 4.19 3.15 0.39 - 41.22 2545 4.46 5.23 4.10 4.62 0.35 2.24 5.27 10.37 0.51 3.75 1.16 - 42.06 เฉลี่ย 4 ปี 2.55 3.64 3.29 2.69 2.30 3.24 8.04 6.64 2.97 10.39 4.43 1.00 51.18 2.2 ข้อมูลการระบายน้ำรายเดือนดังแสดงในตารางที่ 4-3 ตารางที่ 4-3ข้อมูลการระบายน้ำรายเดือนของอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ

  31. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 0.61 0.56 0.51 0.50 0.48 0.48 0.46 0.44 0.47 0.56 0.61 0.63 2.3 อัตราการสูญเสียเนื่องจากการรั่วซึมใช้ค่า 10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำในอ่างเฉลี่ยรายปีดังแสดงในตารางที่ 4-4 ตารางที่ 4-4อัตราการสูญเสียเนื่องจากการรั่วซึมเฉลี่ยรายเดือนของอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ

  32. ปี ปริมาณการระเหย (ล้านลบ.ม.) ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม 2542 1.05 1.20 1.71 0.88 0.90 1.04 1.10 1.13 1.02 1.30 0.84 1.09 13.29 2543 1.22 1.19 1.38 1.11 1.25 1.20 1.10 1.28 0.91 0.96 1.18 0.96 13.77 2544 1.03 0.95 1.14 1.21 0.96 1.31 1.34 1.18 0.94 0.57 0.98 0.99 12.64 2545 1.06 1.22 1.05 1.10 0.82 1.02 1.05 0.83 0.72 0.91 0.85 0.93 11.60 เฉลี่ย 4 ปี 1.09 1.14 1.32 1.08 0.98 1.14 1.15 1.11 0.90 0.94 0.96 0.99 12.83 2.4 อัตราการระเหยรายเดือนจากอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศดังแสดงในตารางที่ 4-5 ตารางที่ 4-5ข้อมูลการระเหยรายเดือนของอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ

  33. เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. Mean 1.329 1.516 3.419 2.348 4.748 4.547 9.309 6.05 14.79 19.86 7.167 1.698 Std. 0.684 1.074 1.639 0.463 1.811 2.963 8.861 1.409 7.975 10.42 4.967 0.56 2.5 คุณสมบัติทางสถิติของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศมีค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานดังแสดงในตารางที่ 4-6 ตารางที่ 4-6คุณสมบัติทางสถิติของปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ

  34. 2.6 การทดสอบการแจกแจงความน่าจะเป็น โดยทดสอบข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรายเดือนกับการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบ Gumbel และทดสอบความเหมาะสมด้วยวิธี Smirnov-Komogorov ที่ค่านัยสำคัญ 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่าส่วนใหญ่มีค่าความแตกต่างของความถี่สัมพัทธ์สะสมที่สูงที่สุด (max) น้อยกว่าค่าวิกฤต (critical) ยกเว้นเดือนกรกฎาคม ดังนั้นจึงใช้ฟังก์ชันการแจกแจงและค่าพารามิเตอร์แบบ Gumbel ประเมินได้ ดังแสดงในตารางที่ 4-7

  35. เดือน (max) (critical) Xo  ม.ค. 0.108 0.2 1.021 0.534 ก.พ. 0.126 0.2 1.033 0.837 มี.ค. 0.078 0.2 2.681 1.278 เม.ย. 0.125 0.2 2.139 0.361 พ.ค. 0.075 0.2 3.933 1.412 มิ.ย. 0.073 0.2 3.214 2.31 ก.ค. 0.219 0.2 5.321 6.909 ส.ค. 0.112 0.2 5.416 1.099 ก.ย. 0.067 0.2 11.2 6.218 ต.ค. 0.059 0.2 15.17 8.127 พ.ย. 0.119 0.2 4.932 3.872 ธ.ค. 0.063 0.2 1.446 0.436 ตารางที่ 4-7ค่าความถี่สัมพัทธ์สะสมมากที่สุดและค่าพารามิเตอร์ของข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศรายเดือน

  36. 3.การวิเคราะห์ข้อมูลหาปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศสุทธิ3.การวิเคราะห์ข้อมูลหาปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศสุทธิ 1.       วิเคราะห์การแจกแจงปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศสุทธิโดยการเปรียบเทียบกับการแจกแจงแบบ Gumbel และทดสอบความเหมาะสมด้วยวิธี Smirnov-Komogorov ที่ค่านัยสำคัญ 5 เปอร์เซ็นต์ พบว่าส่วนใหญ่มีค่าความแตกต่างของความถี่สัมพัทธ์สะสมที่สูงที่สุด (max) น้อยกว่าค่าวิกฤต (critical) ยกเว้นเดือนกรกฎาคม ดังนั้นจึงใช้ฟังก์ชันการแจกแจงและค่าพารามิเตอร์แบบ Gumbel ประเมินได้ ดังแสดงในตารางที่ 4-8 แล้วทำกราฟการแจกแจงในแต่ละเดือนดังแสดงใน ภาพที่ 4-1

  37. เดือน (max) (critical) Xo  ม.ค. 0.107539 0.2 -2.712709 0.533682 ก.พ. 0.11997 0.2 -3.829057 0.840204 มี.ค. 0.074787 0.2 -2.052978 1.293223 เม.ย. 0.118965 0.2 -1.708327 0.36216 พ.ค. 0.082475 0.2 1.099753 1.418786 มิ.ย. 0.070848 0.2 -1.272357 2.336858 ก.ค. 0.224292 0.2 -3.872734 6.960188 ส.ค. 0.095228 0.2 -2.363356 1.077889 ก.ย. 0.066496 0.2 7.271493 6.285922 ต.ค. 0.054709 0.2 3.476398 8.015825 พ.ย. 0.102614 0.2 -0.68668 3.749977 ธ.ค. 0.07362 0.2 0.134783 0.433462 ตารางที่ 4-8ค่าความถี่สัมพัทธ์สะสมมากที่สุดและค่าพารามิเตอร์ของข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศสุทธิรายเดือน

  38. ภาพที่ 4-1 กราฟการแจกแจงแบบ Gumbel ของข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างลำปลายมาศสุทธิรายเดือน

  39. การสร้างเส้นโค้งปฏิบัติการ(Probability Based Rule Curves) สร้างเส้นโค้งปฏิบัติการ (Probability Based Rule Curves) ของอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศที่ค่าความเสี่ยง 0.05, 0.10 และ 0.20 ดังแสดงในภาพที่ 4-13

  40. ภาพที่ 4-13โค้งปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ

  41. บทที่ 5สรุปและเสนอแนะ สรุป 1.ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศรายเดือนมีความเหมาะสมกับการแจกแจงแบบ Gumbel ที่ระดับความสำคัญ 5% ในทำนองเดียวกันปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำสุทธิก็มีการแจกแจงแบบเดียวกัน 2.ที่ความเสี่ยง 5, 10 และ 20% จะมีรอบปีการเกิดซ้ำ(Tr)เท่ากับ 20, 10 และ 5 ปี ตามลำดับ ซึ่งจากสถิติข้อมูลการบันทึกมีเพียง 4 ปี (พ.ศ. 2452-2545) ดังนั้นจึงสังเคราะห์ข้อมูลอีก 40 ชุด รวมเป็น 44 ชุด พบว่า ที่รอบปีการเกิดซ้ำ 5, 10 และ 20 ปี จะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรายปีเท่ากับ 107.59, 132.66 และ 156.70 ล้าน ลบ.ม. และรายเดือนดังแสดงในตารางที่ 5-1

  42. Tr(ปี) ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. 5 1.82 2.29 4.60 2.68 6.05 6.68 15.68 7.06 20.53 27.36 10.74 2.10 10 2.22 2.92 5.56 2.95 7.11 8.41 20.87 7.89 25.19 33.46 13.65 2.43 20 2.61 3.52 6.48 3.21 8.13 10.08 25.84 8.68 29.67 39.31 16.43 2.74 ตารางที่ 5-1ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำรายเดือนที่รอบปีการเกิดซ้ำต่าง

  43. เสนอแนะ 1.การปฏิบัติการของอ่างเก็บน้ำในฤดูแล้งให้ควบคุมการส่งน้ำตาม Lower Rule Curve(LRC) คือ ให้รักษาปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำไม่ให้ต่ำกว่า LRC ที่ความเสี่ยงต่างๆ เช่น ที่ความเสี่ยงมากก็จะรักษาปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำไว้น้อยกว่าที่ความเสี่ยงน้อย 2.การปฏิบัติการของอ่างเก็บน้ำในฤดูฝนให้ควบคุมการระบายน้ำตาม Upper Rule Curve(URC) คือ ให้พร่องน้ำจากอ่างเก็บน้ำให้ต่ำกว่า URC ที่ความเสี่ยงต่างๆ เช่น ที่ความเสี่ยงมากก็จะพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าที่ความเสี่ยงน้อย 3.ในการเลือกใช้ค่าความเสี่ยงให้คาดการณ์ว่าในแต่ละเดือนจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำที่รอบปีการเกิดซ้ำเท่าใด เช่น รอบปีการเกิดซ้ำ 5 ปี ก็ใช้ความเสี่ยง 20 % รอบปีการเกิดซ้ำ 10 ปี ก็ใช้ค่าความเสี่ยงที่ 10% หรือ รอบปีการเกิดซ้ำ 20 ปี ก็ใช้ค่าความเสี่ยงที่ 5%

More Related