1 / 11

บทบาทของ ผอ.สคร.

บทบาทของ ผอ.สคร. เป็นตัวแทนกรมควบคุมโรคในระดับเขต ควบคุมโรคคอตีบในเขตตนเองให้ได้โดยทำหน้าที่เป็น เสนาธิการที่เข้มแข็งของผู้ตรวจฯและสสจ.ทุกจังหวัดในเขต ทำหน้าที่ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ( Incident Commander ) ของสคร.ระดมทรัพยากรของสคร.ทำงานแบบบูรณาการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อ2.

anais
Download Presentation

บทบาทของ ผอ.สคร.

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาทของ ผอ.สคร. • เป็นตัวแทนกรมควบคุมโรคในระดับเขต • ควบคุมโรคคอตีบในเขตตนเองให้ได้โดยทำหน้าที่เป็น เสนาธิการที่เข้มแข็งของผู้ตรวจฯและสสจ.ทุกจังหวัดในเขต • ทำหน้าที่ ผู้บัญชาการเหตุการณ์(Incident Commander) ของสคร.ระดมทรัพยากรของสคร.ทำงานแบบบูรณาการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อ2. • อื่นๆเช่นเป็นผู้เชี่ยวชาญนำด้านวิชาการในเขตของสคร.

  2. การดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข • ดำเนินการรับเหตุการณ์ในรูปแบบWar roomโดยท่านปลัดกระทรวงเป็น IC • ตั้งเป้าหมายควบคุมการระบาดให้ได้ภายในสิ้นปีนี้ • การทำงานทำทั่วประเทศแต่ระยะนี้เน้นหนักที่จังหวัด15จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น สกลนคร (สคร.6) เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ (สคร.9) ชัยภูมิ (สคร.5)เชียงราย น่าน (สคร.10) พิจิตร (สคร.8) และ จังหวัดสุราษฎร์ธานี(สคร.11)

  3. โครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคคอตีบโครงสร้างศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคคอตีบ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ (ปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ทีมปฏิบัติการ/OPERATION ประธาน : รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เลขานุการ : นพ.โอภาส/นพ.ภาสกร ทีมยุทธศาสตร์/STAG ประธาน : นายแพทย์ศุภมิตร เลขานุการ : นพ.พรศักดิ์ ทีมสื่อสารความเสี่ยง ประธาน :ทพ.ญ.นัยนา แพร่ศรีสกุล เลขานุการ : นายดำรงค์ กัฬหะสุต ทีมบริหารจัดการ ประธาน : นพ.ทรงเกียรติ เล็กตระกูล เลขานุการ : นส.พ.พรพิทักษ์ ทีมส่งกำลังบำรุง ประธาน : พญ.ดวงตา อ่อนสุวรรณ เลขานุการ : นายกิตติ พิทักษ์นิตินันท์

  4. การสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯการสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯ • การดำเนินการในพื้นที่ • 1.ให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่ ดำเนินการวิเคราะห์สถานการณ์ สั่งการ กำกับ ติดตามผลการดำเนินการ โดยบูรณาการทรัพยากรในจังหวัด และศูนย์วิชาการต่าง ๆ ในระดับเขตร่วมกันควบคุมโรคไม่ให้เป็นปัญหาได้โดยเร็ว • 2.ให้รายงานผลการดำเนินงานมายังกรมควบคุมโรคทุกสัปดาห์ เพื่อวิเคราะห์และ แจ้งสำนักงานปลัดกระทรวง และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และในกรณีมีเหตุการณ์พิเศษเพิ่มเติม ให้รายงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข และกรมควบคุมโรคทราบทันที

  5. การสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯการสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯ • 1.พื้นที่ (อำเภอ) ที่พบผู้ป่วยโรคคอตีบหรือพื้นที่ที่สงสัยว่าเป็นพื้นที่ที่มีการแพร่เชื้อ 1.1 active case finding and contact case management - สอบสวนโรคและค้นหาผู้สัมผัสโรค - ติดตามผู้ที่ได้รับยาให้ได้รับคำแนะนำและกินยาปฏิชีวนะตามเกณฑ์(โดยอสม.) 1.2 MOP UP Vaccination เร่งให้วัคซีนโดยให้ภูมิคุ้มกันเสริมด้วย dT 2 ครั้ง ทุกคน เพื่อป้องกันความรุนแรงหากมีการติดเชื้อ โดยไม่เน้นประวัติการฉีดวัคซีน และให้เข็มแรกแล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ยกเว้นมีหลักฐานว่าได้รับวัคซีนครบถ้วน 1.3 Catch UP Vaccination หลังจากดำเนินการข้อ ที่ 1.2แล้ว 1 เดือนให้วัคซีนเก็บตกในเด็กตามระบบปกติ

  6. การสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯการสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯ 1.3 Active surveillance - จัดระบบเฝ้าระวังเชิงรุก อาการไข้ เจ็บคอ ฝ้าสีเทาในคอ โดย อสม. สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รายงานส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชน 1.4 Early diagnosis and treatment จัดให้มีการวินิจฉัย รักษาตามแนวทางฯ ตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ทันท่วงที 1.5 Risk communication การสื่อสารความเสี่ยง เรื่องการป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไป อสม. ชุมชน บุคลากรสาธารณสุข และในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน 1.6 war room จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้สั่งการ ประชุมติดตามสถานการณ์ ระดมทรัพยากรดำเนินการ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และให้รายงานให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบผลปฏิบัติงานเป็นระยะ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

  7. การสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯการสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯ 2.พื้นที่เสี่ยงที่มีโอกาสสูงจะพบผู้ป่วย (พื้นที่ระดับอำเภอที่อยู่ติดกับพื้นที่ 1) 2.1 ให้วัคซีนเก็บตก(catch up) ตามระบบปกติ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กรณีเด็กอายุ 7 - 15 ปีที่ไม่ทราบประวัติให้ dT สองครั้งห่างกันหนึ่งเดือน และให้ดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว เสร็จภายใน สองสัปดาห์ 2.2 ทบทวนความรู้ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเรื่องโรคคอตีบ การวินิจฉัย การรักษา ตลอดจนแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยภายในหนึ่งสัปดาห์

  8. การสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯการสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯ 2.3Risk communication การสื่อสารความเสี่ยง เรื่องการป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไป อสม ชุมชน บุคลากรสาธารณสุข และในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน 2.4war room จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นผู้สั่งการ ประชุมติดตามสถานการณ์ประเมินความเสี่ยง ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ 2.1 และ 2.2 อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และให้รายงานให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบผลปฏิบัติงานเป็นระยะอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

  9. การสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯการสั่งการโดยปลัดกระทรวงฯ • 3.พื้นที่อื่นๆ นอกจาก 1 และ 2 • 3.1 ให้วัคซีนเก็บตก(catch up) ตามระบบปกติ • 3.2 ทบทวนความรู้แก่แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเรื่องโรคคอตีบ การวินิจฉัย การรักษา ตลอดจนแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย • 3.3 Risk communication การสื่อสารความเสี่ยง เรื่องการป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไป อสม ชุมชน บุคลากรสาธารณสุข และในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน • 3.4นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ติดตามสถานการณ์การเกิดโรคร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคในเขตรับผิดชอบ และให้รายงานผลการดำเนินงานตามข้อ 3.1 และ 3.2 ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบภายใน 2 สัปดาห์และเมื่อมีเหตุการณ์อื่นๆเพิ่มเติม

  10. พื้นที่ในการปฏิบัติการพื้นที่ในการปฏิบัติการ • หน่วยการทำงานให้ใช้หน่วยอำเภอ • 1.พื้นที่ระบาด:พื้นที่ที่พบผู้ป่วยยืนยันหรือพื้นที่ที่มีการแพร่โรค • 2.พื้นที่สงสัย:พื้นที่มีผู้ป่วยสงสัยหรือน่าจะเป็น • 3.พื้นที่เสี่ยง:พื้นที่ที่ติดกับพื้นที่ระบาด • 4.พื้นที่อื่นๆ:พื้นที่อื่นๆนอกจาพื้นที่1 ,2และ3

  11. มาตรการดำเนินการในพื้นที่มาตรการดำเนินการในพื้นที่ • 1.พื้นที่ระบาด:War room, Diagnosis&treatment (แพทย์ ชันสูตร Logistics)Contact case management, Mop-Up vaccinationทุกคน,Active surveillance • 2.พื้นที่สงสัย: :War room, Diagnosis&treatment Contact case management, Mop-Up vaccinationเด็กต่ำกว่า15ปีและกลุ่มเสี่ยงเช่นชาวเขา ต่างด้าว • 3.พื้นที่เสี่ยง: War room, Diagnosis&treatment, Mop-Up vaccinationเด็กต่ำกว่า15ปีและกลุ่มเสี่ยงเช่นชาวเขา ต่างด้าว • 4.พื้นที่อื่นๆ: ติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด ,Diagnosis&treatment, Catch-Up vaccinationเด็กต่ำกว่า12ปี

More Related