1 / 40

Back office

Back office. Pitfall. การบริหารทรัพยากรและประสานบริการ. เป้าหมายของมาตรฐาน. มีการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีความเพียงพอเหมาะสม สอดคล้องกับทิศทาง นโยบาย แผนยุทธศาสตร์ ความจำเป็นในการจัดบริการ. การบริหารทรัพยากรและประสานบริการ. 3. ทีมและหน่วยงานขาดการมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร.

demi
Download Presentation

Back office

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Back office Pitfall

  2. การบริหารทรัพยากรและประสานบริการการบริหารทรัพยากรและประสานบริการ

  3. เป้าหมายของมาตรฐาน • มีการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีความเพียงพอเหมาะสม สอดคล้องกับทิศทาง นโยบาย แผนยุทธศาสตร์ ความจำเป็นในการจัดบริการ

  4. การบริหารทรัพยากรและประสานบริการการบริหารทรัพยากรและประสานบริการ 3 • ทีมและหน่วยงานขาดการมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร • การสนับสนุนทรัพยากรไม่สอดคล้องกับปัญหา • ขาดเกณฑ์การจัดสรร ขาดการติดตามประเมินผล • ทรัพยากรที่จำเป็น (เครื่องมือ บุคลากร) ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอตามความจำเป็น • การจัดบริการไม่สอดคล้องกับปัญหาการให้บริการของรพ./ปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่

  5. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

  6. เป้าหมายของมาตรฐาน • ระบบงานของโรงพยาลบาลการกำหนดหน้าที่รับผิดชอบระบบประเมินและพัฒนาผลงานของบุคลากรการบริหารค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรเกื้อหนุนให้บุคลากรและโรงพยาบาลมีผลงานที่ดีมีการเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง. • ระบบการศึกษาฝึกอบรมและแรงจูงใจของโรงพยาบาลทำให้บุคลากรมีความรู้ทักษะและความสามารถที่จะส่งเสริมให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์และมีผลงานที่ดี. • จัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานและบรรยากาศที่สนับสนุนให้บุคลากรมีสุขภาพดี มีความผาสุก มีความพึงพอใจและมีแรงจูงใจในการทำงาน

  7. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 4 • ผู้รับผิดชอบดูภาพรวมด้านทรัพยากรบุคคลในระดับโรงพยาบาลยังไม่ชัดเจน • ขาดการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลปัญหา/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรมาสู่การวางแผนและกำหนดนโยบายด้านทรัพยากรบุคคลที่ชัดเจน Pitfall • การประเมินความเพียงพอไม่ชัดเจน การจัดอัตรากำลังในหน่วยงานที่ต้องดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติฉุกเฉินไม่เพียงพอ การทดแทนอัตรากำลังไม่ชัดเจน

  8. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 4 • การเตรียมบุคคลที่จะมาทดแทน การกำกับดูแล การให้คำปรึกษา และการติดตามประเมินผลยังไม่ชัดเจน • การวางแผนพัฒนาบุคลากรยังไม่ครอบคลุม เนื้อหาขาดความสอดคล้องกับปัญหา ส่วนขาด และความต้องการที่สำคัญของหน่วยงาน/บุคคล • ขาดการติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากร

  9. การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 4 • ช่องทางการรับทราบความต้องการของเจ้าหน้าที่ไม่ชัดเจน ขาดการนำความต้องการมาตอบสนองอย่างเป็นระบบ • มีการประเมินบรรยากาศในองค์กรแต่ทำไม่ครอบคลุมในทุกกลุ่ม และไม่มีการนำผลมาสู่การตอบสนอง

  10. ประสิทธิภาพของระบบบริหารทรัพยากรบุคคลประสิทธิภาพของระบบบริหารทรัพยากรบุคคล ความเพียงพอ • ร้อยละของหน่วยงานที่มีProductivity อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด • ร้อยละของหน่วยงานที่มีการใช้เกณฑ์การประเมินภาระงาน • ความสามารถในการแก้ปัญหาในหน่วยงาน /วิชาชีพที่ขาดแคลน • ระยะเวลาในการสรรหาบุคลากร • สัดส่วนของจำนวนบุคลากรที่รับต่อจำนวนผู้สมัคร • ค่าตอบแทนนอกเวลาเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของบุคลากรน้อยกว่าร้อยละ 40 ตัวอย่าง

  11. ประสิทธิภาพของระบบบริหารทรัพยากรบุคคลประสิทธิภาพของระบบบริหารทรัพยากรบุคคล การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตัวอย่าง • ร้อยละของค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเทียบกับงบประมาณรายจ่าย • อัตราของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนด ความผาสุก • บรรยากาศองค์กรในประเด็นต่าง • อัตราการTurnover rate

  12. การบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยการบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย

  13. เป้าหมายของมาตรฐาน สิ่งแวดล้อมทางกายภาพขององค์กรเอื้อต่อความปลอดภัยและความผาสุกของผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และผู้มาเยือน. องค์กรสร้างความมั่นใจว่าผู้อยู่ในพื้นที่อาคารสถานที่จะปลอดภัยจากอัคคีภัย สารอันตราย หรือสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ. 2. องค์กรแสดงความมุ่งมั่นในการที่จะทำให้โรงพยาบาลเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเอื้อต่อสุขภาพดี เอื้อต่อกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และพิท้กษ์สิ่งแวดล้อม.

  14. สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 5 1. บทบาทของทีม • ขาดผู้รับผิดชอบดูภาพรวมด้านโครงสร้างกายภาพ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย Pitfall • มีทีมผู้รับผิดชอบแต่ยังขาดบทบาทการนำ การสนับสนุน การติดตามประเมินผล การกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน

  15. สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 5 2. โครงสร้างอาคารสถานที่ • ขาดการวางระบบการตรวจสอบ และการบำรุงรักษา • มีระบบการตรวจสอบและการบำรุงรักษา แต่ดำเนินการไม่ต่อเนื่อง • มีการพัฒนาปรับปรุงเฉพาะด้านโครงสร้างอาคารสถานที่เป็นส่วนใหญ่ แต่พบปัญหาเรื่องความปลอดภัย Pitfall

  16. มีขนาดไม่เพียงพอกับปริมาณน้ำเสียมีขนาดไม่เพียงพอกับปริมาณน้ำเสีย ขาดการดูแลและบำรุงรักษาระบบโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ขาดการตรวจคุณภาพน้ำทิ้งตามมาตรฐานที่กำหนด มีการตรวจคุณภาพน้ำทิ้งแต่ขาดการวิเคราะห์และแก้ไขที่เหมาะสม เมื่อผลการตรวจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 5 3. ระบบบำบัดน้ำเสีย Pitfall

  17. สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 5 4. ระบบกำจัดขยะ • การแบ่งประเภทขยะไม่ครอบคลุมประเภทขยะที่มีอยู่ในโรงพยาบาล • การจัดภาชนะรองรับขยะ อุปกรณ์การเคลื่อนย้าย สถานที่พักขยะการกำจัดขยะไม่เป็นตามมาตรฐานมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม Pitfall • เจ้าหน้าที่ขาดความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยก เคลื่อนย้าย พักและกำจัดขยะ

  18. สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 5 5. ระบบสนับสนุนฉุกเฉิน • ระบบสนับสนุนฉุกเฉิน(เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ระบบไฟฉุกเฉิน ระบบก๊าซทางการแพทย์ ระบบน้ำสำรอง ระบบขอความช่วยเหลือต่างๆ) ขาดความเพียงพอ ความพร้อมใช้ ความทันเวลา ความครอบคลุม Pitfall • ขาดแผนการบำรุงรักษา หรือมีแต่การดำเนินการไม่สม่ำเสมอ ขาดการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

  19. สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 5 6. ระบบป้องกันระงับอัคคีภัย • ไม่มีการสำรวจความเสี่ยงด้านอัคคีภัย/มีการสำรวจตามรูปแบบแต่ไม่มีการสรุปรวมสู่การแก้ไขที่เป็นรูปธรรม • อุปกรณ์แจ้งเตือนและอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ทางหนีไฟ ป้ายบอกทางหนีไฟ ไม่เพียงพอ ไม่เหมาะสม ไม่พร้อมใช้ ขาดการตรวจสอบ ยากลำบากในการเข้าถึง • ขาดการฝึกซ้อมป้องกันและระงับอัคคีภัยในระดับโรงพยาบาลและระดับหน่วยงาน • เจ้าหน้าที่ไม่รับทราบแผนหรือทราบแต่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ Pitfall

  20. สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 5 7. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย • ขาดการประเมินภาวะเสี่ยงด้านอาชีวอนามัย(แสง เสียง ความร้อน ท่าทาง หน่วยงานที่มีความเสี่ยง) หรือประเมินแต่ยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุง Pitfall • ขาดเครื่องมือ อุปกรณ์ในการป้องกันเกี่ยวกับอาชีว อนามัย • เจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางหรือปฏิบัติด้วยความไม่เข้าใจ

  21. สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 5 8. โครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม • ไม่มีการนำระบบ 5 ส.มาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง • สถานที่ให้บริการคับแคบ การเข้าถึงยาก ป้ายบอกทางไม่ชัดเจน โดยเฉพาะหน่วยงานที่ต้องให้บริการผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ Pitfall • ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช่นราวจับในห้องน้ำ ทางเดิน สัญญาณแจ้งเหตุจากห้องน้ำหรือหน่วยงานที่มีความเสี่ยงเพื่อขอความช่วยเหลือ • ขาดโครงสร้างที่เหมาะสมในการให้บริการกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น

  22. การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์

  23. เป้าหมายของมาตรฐาน • มีระบบและการจัดการที่สร้างความมั่นใจว่ามีเครื่องมือที่จำเป็น พร้อมใช้งานทำหน้าที่ได้เป็นปกติ

  24. ไม่มีทีม/คณะกรรมการ/หน่วยงานที่ดูภาพรวมของเครื่องมือทั้งหมดในโรงพยาบาลไม่มีทีม/คณะกรรมการ/หน่วยงานที่ดูภาพรวมของเครื่องมือทั้งหมดในโรงพยาบาล ไม่มีการนำผลจากการทบทวน/ปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ไปวางระบบการบริหารจัดการเครื่องมือ(การเตรียมความพร้อมใช้ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การสอบเทียบ ระบบการซ่อมบำรุง)ให้เพียงพอ และมีความพร้อมใช้ ไม่มีการศึกษาข้อมูลเครื่องมือในภาพรวม (โดยเฉพาะเครื่องมือที่ใช้ดูแลผู้ป่วยวิกฤต/ฉุกเฉิน) ของโรงพยาบาล เครื่องมือและการจัดการเครื่องมือ 6 Pitfall

  25. ประสิทธิภาพระบบเครื่องมือประสิทธิภาพระบบเครื่องมือ ตัวอย่าง

  26. การพัฒนาคุณภาพหน่วยงานการพัฒนาคุณภาพหน่วยงาน Back office

  27. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญของหน่วยจ่ายกลางประเด็นคุณภาพที่สำคัญของหน่วยจ่ายกลาง

  28. หน่วยจ่ายกลาง • การแยกพื้นที่ เขตสกปรก เขตสะอาด เขตเก็บของปราศจากเชื้ออย่างชัดเจนระบบการไหลเวียนเป็นแบบ One way • การทำความสะอาด การจัดเตรียมห่อการติดป้ายบ่งชี้ การนึ่งฆ่าเชื้อเป็นไปตามมาตรฐาน • การติดตามประสิทธิภาพการนึ่งที่ครอบคลุม ด้านเชิงกล ด้านเคมี(ภายนอกภายใน) และด้านชีววิทยา • สถานที่จัดเก็บของสะอาดมิดชิด มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น การส่งมอบไม่มีโอกาสในการปนเปื้อน

  29. หน่วยโภชนาการ • การจัดสถานที่และระบบการไหลเวียนภายในสามารถลดโอกาสปนเปื้อน มีความสะอาดเช่น บริเวณรับวัตถุดิบ ล้างวัตถุดิบ เตรียมปรุง ปรุงอาหาร จัดจ่ายอาหาร สถานที่ปรุงอาหารสายยาง เป็นต้น • มีการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ(อุณหภูมิ)มีการตรวจสอบการปนเปื้อนของวัตถุดิบ และผู้ผลิต/ผู้ปรุง • มีระบบการตรวจสอบความถูกต้องของการรับคำสั่ง การผลิต การจัดและจ่ายอาหารแก่ผู้ป่วย • มีการจัดรายการอาหารเฉพาะโรคที่ชัดเจน

  30. หน่วยโภชนาการ • โภชนบำบัด (ตามบริบทโรงพยาบาล)มีกิจกรรมโภชน สุขศึกษา เช่น การให้สุขศึกษารายกลุ่ม รายคน ในโรคสำคัญมีการกำหนดกลุ่มผู้ป่วยเป้าหมาย โดยร่วมประสานกับทีมนำทางคลินิกแต่ละสาขาในการดูแล ให้คำแนะนำผู้ป่วยด้านโภชนาการตามความเหมาะสม • ในโรงพยาบาลที่ไม่มีโภชนากร จัดให้มีผู้ควบคุม กำกับที่เหมาะสม และประสานกับทีมนำทางคลินิกในการออกแบบระบบบริการอาหาร • สถานที่จัดเก็บแก๊สและอุปกรณ์เครื่องมือมีความปลอดภัย

  31. หน่วยซักฟอก • การจัดแบ่งพื้นที่ที่ชัดเจน(คัดแยก แช่ ซัก อบแห้ง พับ จัดเก็บ) ระบบการไหลเวียนไม่เป็น ONE WAY FLOW • การคัดแยกผ้าและภาชนะที่ใส่ผ้าตั้งแต่ที่หอผู้ป่วยหรือหน่วยงาน ได้แก่ ผ้าเปื้อนเหงื่อไคล ผ้าติดเชื้อ/ผ้าเปื้อนมาก (เปื้อนเลือด อุจจาระ) ผ้าที่เกี่ยวข้องกับเคมีบำบัด (ทั้งจากเจ้าหน้าที่/ผู้ป่วย)

  32. หน่วยซักฟอก • กระบวนการซักผ้าที่ไม่มีโอกาสในการปนเปื้อน ลดการใช้น้ำยาที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม • ระบบการจัดการป้องกันฝุ่นผ้าที่เกิดจากกระบวน การซักผ้า อบผ้า น้ำที่เกิดจากการซักผ้าและการทำความสะอาดบริเวณในหน่วยงานลงสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย

  33. หน่วยซ่อมบำรุง • การวางระบบการซ่อมแยกตามการซ่อมเร่งด่วน การซ่อมปกติ หรือการส่งซ่อมภายนอก • ระบบการสำรองอะไหล่ในกรณีการซ่อมเร่งด่วน และที่มีการชำรุดบ่อย • การมีส่วนร่วมในการวางระบบการเตรียมความพร้อมใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การสอบเทียบ และจัดทำประวัติการซ่อมของเครื่องมือ/อุปกรณ์ • ควรมีการประเมินประสิทธิภาพของระบบการซ่อม การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (เช่น Downtime อัตราการซ่อมซ้ำ ความสามารถในการซ่อม เป็นต้น)

  34. งานบริการเวชระเบียน • มีการวางระบบการให้บริการเวชระเบียนตลอด 24 ชั่วโมง • มีระบบการติดตามเวชระเบียนกลับหน่วยเวชระเบียนในแต่ละวัน มีระบบการยืม(ผู้มีสิทธิยืม ผู้มีสิทธิอนุมัติ) การกำหนดระยะเวลาในการส่งคืน • มีระบบการจัดเก็บที่สามารถค้นหาได้ง่าย และลดโอกาสในการเข้าถึง โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง(เช่น เด็กสตีที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เป็นต้น)

  35. งานบริการเวชระเบียน • สถานที่ในการจัดเก็บเวชระเบียนผู้ป่วยนอก/ใน เป็นสัดส่วน ลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย/การเข้าถึงโดยผู้ไม่เกี่ยวข้อง • มีการติดตามคุณภาพการบันทึกของOPD CARD ที่เป็นส่วนของข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย

  36. งานธุรการ • ทบทวนและวางระบบการรับ การคัดแยก การนำเสนอ การส่งหนังสือ/เอกสารให้ชัดเจนในประเภทหนังสือต่างๆ • มีการประกันเวลา ความรวดเร็ว ความถูกต้องในการให้บริการตามประเภทของหนังสือ • การจัดเก็บหนังสือ/เอกสารที่สามารถค้นหาได้ง่าย ลดการสูญหาย หรือถูกทำลาย • มีการนำความต้องการของผู้รับบริการมาพัฒนาระบบการให้บริการ และมีการสื่อสารขั้นตอนการให้บริการที่ชัดเจน

  37. งานการเงินและบัญชี • ทบทวนและวางระบบการรับ การจ่าย การบันทึกบัญชี การรายงานทางการเงินให้เป็นปัจจุบันและถูกต้องตามระเบียบ • มีการติดตามแผนการใช้จ่ายทางด้านการเงิน และมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเงิน • มีระบบการควบคุมภายในที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และนำผลมาพัฒนาปรับปรุงระบบให้มีความถูกต้องเป็นไปตามระเบียบ • การจัดเก็บเอกสารทางการเงินที่รัดกุม ปลอดภัย

  38. งานบริหารพัสดุ • มีการสำรวจและวางแผนความต้องการพัสดุ • มีระบบการจัดหา การเบิกจ่าย ที่เน้นการตอบสนองความต้องการ และได้พัสดุที่มีคุณภาพ • การสำรอง การจัดเก็บ สถานที่ในการจัดเก็บที่มีความปลอดภัย การควบคุมคลังที่มีประสิทธิภาพ • การจัดทำบัญชีที่เป็นปัจจุบัน มีการตรวจสอบ และรายงานที่ชัดเจน • มีการติดตามเครื่องชี้วัดที่สะท้อนคุณภาพ เช่น อัตราการค้างจ่าย ระยะเวลาในการปลดเปลื้อง ระยะเวลาในการสำรอง เป็นต้น

  39. งานทรัพยากรบุคคล • ทบทวนและวางระบบการสรรหาที่เน้นการมีส่วนร่วม การประกันระยะเวลา การตรวจสอบคุณวุฒิ • การจัดการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของเจ้าหน้าที่ • การนำนโยบายและแผนทรัพยากรบุคคลลงสู่การปฏิบัติในภาพรวม • การบันทึกประวัติและข้อมูลของเจ้าหน้าที่เป็นปัจจุบัน ครบถ้วน • ระบบการรักษาความลับ การเข้าถึงข้อมูล ระบบการยืมประวัติ

  40. งานยานพาหนะ • มีการบำรุงรักษายานพาหนะ การเปลี่ยนอะไหล่ตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น ยาง แบตเตอรี่ เป็นต้น • มีการตรวจสอบและเตรียมความพร้อมใช้เครื่องยนต์อุปกรณ์ในรถทั้งก่อนและหลังการใช้รถเป็นประจำทุกวัน พร้อมบันทึกผลการตรวจสอบ • มีระบบการรับคำสั่ง การจัดรถ การประกันระยะเวลา • ระบบการบันทึกการใช้รถ การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง

More Related