1 / 274

หมวดที่ 3 ความรู้พื้นฐานสำหรับข้าราชการ

หมวดที่ 3 ความรู้พื้นฐานสำหรับข้าราชการ. 1. น.ส.ณัฐณิชาช์ จารุเดชา (ตุ๊ก) นิติกรปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร. น.ส. สุมลฑา เมืองศิลปะศาสตร์ (มล) นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. นายสิวะนนท์ พรหมมาศ (เม) นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ

gafna
Download Presentation

หมวดที่ 3 ความรู้พื้นฐานสำหรับข้าราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หมวดที่ 3 ความรู้พื้นฐานสำหรับข้าราชการ 1

  2. น.ส.ณัฐณิชาช์ จารุเดชา (ตุ๊ก) นิติกรปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร น.ส. สุมลฑา เมืองศิลปะศาสตร์ (มล) นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา นายสิวะนนท์ พรหมมาศ (เม) นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากร น.ส. ลัดดา ทรัพย์คงอยู่ (หนึ่ง) นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน

  3. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 1 ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัยและการรักษาวินัย หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 3

  4. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 2 บทบัญญัติวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 4

  5. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 3 จรรยาข้าราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 5

  6. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 4 โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 6

  7. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 5 การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 7

  8. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 1 การบริหารงานบุคคล หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 บทที่ 1 การบริหารงานบุคคล บทที่ 2 ทิศทางของระบบบริหารงานบุคคลภาครัฐ บทที่ 3 กระบวนการบริหารงานบุคคล บทที่ 4 ระบบบรรจุแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน บทที่ 5 ระบบเงินเดือนและการเลื่อนเงินเดือน หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 8

  9. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 2 การลาหยุดราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 • การลาติดตามคู่สมรส • การนับวันลา • ข้อคำนึงเกี่ยวกับวันลา • การลาป่วย • การลาคลอดบุตร • การลากิจส่วนตัว • การลาพักผ่อน • การลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์ • การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล • การลาเข้าศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย • การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 9

  10. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 3 สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 บทที่ 1 สวัสดิการเป็นตัวเงิน บทที่ 2 ค่าตอบแทนเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ บทที่ 3 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ บทที่ 4 สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลเมื่อพ้นจากการเป็นข้าราชการ หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 10

  11. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 4 งานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ บทที่ 1 ความสำคัญของงานสารบรรณและสิ่งที่เกี่ยวข้อง บทที่ 2 รูปแบบหนังสือราชการ บทที่ 3 สำเนาหนังสือราชการ ชั้นความลับและชั้นความเร็ว บทที่ 4 หลักการและแนวทางการเขียนหนังสือราชการ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 11

  12. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 2: ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หน่วยที่ 5 การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ บทที่ 1 หลักการการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ บทที่ 2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ บทที่ 3 การซื้อการจ้าง บทที่ 4 การจ้างที่ปรึกษา บทที่ 5 สัญญา บทที่ 6 การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ บทที่ 7 การลงทาผู้ทิ้งงาน บทที่ 8 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 12

  13. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 1 กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน บทที่ 1 ความเบื้องต้น บทที่ 2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง บทที่ 3 การจัดระเบียบราชการในกรม บทที่ 4 การบริหารราชการในต่างประเทศ บทที่ 5 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค บทที่ 6 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น บทที่ 7 การปฏิบัติราชการแทน บทที่ 8 การรักษาราชการแทน บทที่ 9 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 13

  14. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 2 กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หน่วยที่ 2 บทที่ 1 บททั่วไป บทที่ 2 คณะบุคคลและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรบุคคล บทที่ 3 หลักเกณฑ์ทั่วไปของข้าราชการพลเรือน บทที่ 4 การบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน บทที่ 5 ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ บทที่ 6 การบังคับใช้กฎหมายตามบทเฉพาะกาล หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 14

  15. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 3 กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของข้าราชการ บทที่ 1 หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 บทที่ 2 หลักเกณฑ์สำคัญของพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 บทที่ 3 องค์กรตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ บทที่ 4 บทกำหนดโทษ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 15

  16. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 4 กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ บทที่ 1 การกระทำละเมิด บทที่ 2 ความรับผิดทางละเมิด บทที่ 3 การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของหน่วยงานของรัฐ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 16

  17. หมวดที่ 3 ชุดวิชาที่ 1 ชุดวิชาที่ 2 ชุดวิชาที่ 3 หน่วยที่ 1 ชุดวิชาที่ 3 กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ หน่วยที่ 5 กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บทที่ 1 บททั่วไป บทที่ 2 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ บทที่ 3 หน้าที่และความรับผิดของผู้ให้บริการและบุคคลทั่วไป บทที่ 4 บทกำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิด บทที่ 5 การแต่งตั้งและความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ บทที่ 6 อำนาจและการดำเนินคดีของพนักงานเจ้าหน้าที่ บทที่ 7 ข้อควรคำนึงของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 2 หน่วยที่ 3 หน่วยที่ 4 หน่วยที่ 5 17

  18. ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ 18

  19. ชุดวิชาที่ 1 ระเบียบวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย 19

  20. หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย วินัย: เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีอยู่ในระบบราชการ และนอกจากนั้นยังเป็นเรื่องสำคัญและมีประโยชน์ต่อส่วนรวมและตัวของท่านเอง วินัยข้าราชการ ระเบียบแบบแผน - แบบที่กำหนดให้ปฏิบัติ - ข้อบังคับให้ปฏิบัติตาม - กฏระเบียบที่เป็นลายลักษณ์อักษร • ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออก • ประพฤติตนอยู่ในแบบแผน • ประพฤติอย่างมีระเบียบ • ประพฤติตามหน้าที่ • มีวินัยในตนเอง “วินัยข้าราชการ: มีความสำคัญกับทุกคน” 20

  21. หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย ขอบเขตของวินัยข้าราชการ การกระทำใดที่มีผลกระทบต่องานราชการ หรือวัตถุประสงค์ของทางราชการ โดยมีผลทำให้เสียหายต่องานราชการแล้ว จะถือว่าเป็นการกระทำผิดวินัยทั้งสิ้น แต่หากการกระทำใดที่เรากระทำไปแล้วไม่กระเทือนถึงวัตถุประสงค์ของทางราชการ เป็นเรื่องส่วนตัว การกระทำนั้นไม่ใช่ในขอบเขตของวินัยข้าราชการ การกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม “ผิดวินัยทั้งสิ้น” ขอบเขตของวินัย กำหนดขึ้นตามจุดมุ่งหมายของวินัยข้าราชการ กล่าวคือ “เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตาม วัตถุประสงค์หลักของทางราชการ ซึ่งได้แก่ ความเจริญของประเทศและความมั่นคงของชาติ และความผาสุกของประชาชน” 21

  22. หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย ทำไมจึงต้องมีวินัยข้าราชการ ความสำคัญของวินัย • ต่อตนเอง • ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของบุคคลให้เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา • ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • ช่วยส่งเสริมความสำเร็จและความก้าวหน้าในการทำงาน และการดำเนินชีวิต • ต่อส่วนรวม • เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของงานราชการ หรือเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้ดี • เพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน และความมั่นคงของประเทศ • เพื่อความผาสุกของประชาชน • เพื่อความสงบเรียบร้อยของวงราชการ 22

  23. หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย การรักษาวินัย การรักษาวินัย เป็นเรื่องที่เกิดจากรากฐานที่สำคัญ คือ “จิตใจของตัวข้าราชการผู้รักษาวินัย” • ผู้ที่จะสามารถจะรักษาวินัยได้ • จะต้องเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ • มีความรู้สึกที่ดีต่อการรักษาวินัยราชการ • สามารถควบคุมจิตใจของตนเองได้ โดยเฉพาะการทนต่อสิ่งยั่วยุต่างๆใน สังคม • มีสุขภาพจิตดี • สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการใช้เหตุผลตัดสินใจที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง 23

  24. หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย • สาเหตุที่ทำให้ข้าราชการกระทำผิดวินัย • ตัวอย่างไม่ดี • อบายมุข • ขาดขวัญกำลังใจ • งานล้นมือ • โอกาสเปิดช่องล่อใจ • เศรษฐกิจไม่ดี • ผู้บังคับบัญชาไม่สนใจ • ปล่อยปละละเลย สภาวะของจิต 10 ประการ ไม่เข้าใจ ตามใจคน สืบเนื่องมาจาก ล่อใจ สาเหตุ 10 ประการ ไม่ใส่ใจ ไม่มีจิตใจ (ระส่ำระสาย) ชะล่าใจ จำใจ เจ็บใจ เผลอใจ การตั้งใจทำผิด “น่ารังเกียจมากที่สุด” ตั้งใจ 24

  25. หน่วยที่ 1: ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัย และการรักษาวินัย • การรักษาวินัย • เพื่อความก้าวหน้าของหน่วยงานและประเทศชาติ • เพื่อความยุติธรรม เป็นธรรม และความผาสุกของประเทศชาติ และเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพราชการ และความภาคภูมิใจในตนเอง 25

  26. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 2: บทบัญญัติวินัยข้าราชการ เนื้อหา • วินัยต่อประเทศชาติ • วินัยต่อผู้บังคับบัญชา • วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน • วินัยต่อประชาชน • วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ • วินัยต่อตนเอง 26

  27. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยข้าราชการพลเรือนตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 • ประเภทของวินัย • วินัยต่อประเทศชาติ (มาตรา 81) • วินัยต่อผู้บังคับบัญชา (มาตรา 82(4) 83(1) และ 83(2)) • วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน (มาตรา 82(7) และ 83(7)) • วินัยต่อประชาชน (มาตรา 82(8) 83(9) และ 85(5)) • วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ (มาตรา 82(1) (2) (3) (5) (6) (9) 83(3) (4) (5) และ 85(1) (2) (3)) • วินัยต่อตนเอง (มาตรา 82(10) 85(5) (6) (8) และ 85(4) (6)) 27

  28. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อประเทศชาติ ข้าราชการต้องสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้วยความบริสุทธิ์ใจ หากผู้ใดไม่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็จะมีความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หากการกระทำถึงขนาดเป็นผู้ไม่เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยแล้ว อาจตกเป็นผู้ขาดคุณสมบัติทั่วไปที่จะเข้ารับราชการตามมาตรา 36 ก. (3) และจะต้องถูกสั่งให้ออกจากราชการ เพราะขาดคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 110 (3) ได้ 28

  29. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อผู้บังคับบัญชา • “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฏหมายและระเบียบของทางราชการ” โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ จะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันที เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม (มาตรา 82(4)) • “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่ปฏิบัติราชการอันเป็นการกระทำข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำหรือได้รับอนุญาตเป็นพิเศษชั่วครั้งชั่วคราว” (มาตรา 83(2)) • “ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องไม่รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา การรายงานโดยปกปิดข้อความ ซึ่งควรต้องแจ้ง ถือว่าเป็นการรายงานเท็จด้วย” (มาตรา 83(1)) 29

  30. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายและระเบียบ หรือการรายงานเท็จอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง “เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” (มาตรา 85(7)) 30

  31. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน • สุภาพเรียบร้อยต่อกัน • รักษาความสามัคคี • ไม่กระทำการใดที่เป็นการกลั่นแกล้ง กดขี่ หรือข่มเหงกัน • ช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ วินัยต่อประชาชน • ต้อนรับปราชนที่มาติดต่อราชการ • ให้ความสะดวกแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ • ให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ • ให้การสงเคราะห์ต่อประชาชนที่มาติดต่อราชการ • ไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการ หากเป็นการดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่หรือข่มเหงประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง “ถือเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” 31

  32. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ • ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม • ไม่อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยตำแหน่งหน้าที่ราชการหาประโยชน์ • ไม่ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด • ไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยสุจริต • ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดี หรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่และรักษาประโยชน์ของทางราชการ • ไม่ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ • ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฏหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรีและนโยบายของรัฐบาล • ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ 32

  33. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ (ต่อ) • รักษาความลับของทางราชการ • อุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ ห้ามละทิ้งหรือทอดทิ้ง • ไม่ละทิ้งหน้าที่ราชการทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ • ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมือง การทุจริตยักยอมทรัพย์จากทางราชการนั้น ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมากในการทำงานราชการ “โทษถึงไล่ออกจากราชการ” 33

  34. หน่วยที่ 2 :บทบัญญัติวินัยข้าราชการ วินัยต่อตนเอง • “รักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน มิให้เสื่อมเสีย” • ไม่เป็นกรรมการผู้จัดการ หรือตำแหน่งคล้ายคลึงกันในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท • ไม่กระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศ • ไม่ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง • ไม่กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 34

  35. หน่วยที่ 3 : จรรยาข้าราชการ หน่วยที่ 3: จรรยาข้าราชการ เนื้อหา • สาระสำคัญของจรรยาข้าราชการ • แนวทางการจัดทำข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ 35

  36. หน่วยที่ 3 : จรรยาข้าราชการ จรรยาข้าราชการ • ยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง • ความซื่อสัตย์ สุจริต และความรับผิดชอบ • การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ • การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน 36

  37. หน่วยที่ 4: โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ หน่วยที่ 4: โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ เนื้อหา • สาระสำคัญของจรรยาข้าราชการ • แนวทางการจัดทำข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการ 37

  38. หน่วยที่ 4: โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ ประเภทของการกระทำผิดวินัย • การกระทำผิดวินัยเล็กน้อย: ได้รับโทษภาคทัณฑ์ หากมีเหตุลดหย่อน และเป็นการกระทำผิดครั้งแรกจะงดโทษภาคทัณฑ์ แล้วใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือก็ได้ • การกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง: ได้รับโทษตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือนแล้วแต่กรณีตามความร้ายแรงของกรณีความผิด หากมีเหตุอันควรลดหย่อน ก็ลดหย่อนโทษได้ • การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง: ได้รับโทษไล่ออก หรือปลดออกจากราชการแล้วแต่กรณี ตามความร้ายแรงของกรณีความผิด สถานโทษทางวินัยข้าราชการพลเรือน • ภาคทัณฑ์ • ตัดเงินเดือน • ลดเงินเดือน • ปลดออก • ไล่ออก 38

  39. หน่วยที่ 4: โทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการ • การกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง • ทุจริตต่อหน้าที่ราชการและทุจริตเกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง • ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราการโดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง • ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกัน เป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมีพฤติกรรมอันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ • กระทำการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง • ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ข่มเหงหรือทำร้ายร่างการประชาชนผู้ติดต่อราชการ • กระทำผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุก หรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ • ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง • ละเว้นการกระทำหรือกระทำการใดๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสอง และมาตรา 82(11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83(10) ที่มีกฏ ก.พ. กำหนดให้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง 39

  40. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ หน่วยที่ 5: การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ เนื้อหา • คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) • การอุทธรณ์ • การร้องทุกข์ 40

  41. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) • อำนาจหน้าที่ • เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม • ออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 • พิจารณาวินิจฉัยเรื่องอุทธรณ์ (บางกรณี) และเรื่องร้องทุกข์ (กรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้) รวมถึงการคุ้มครองระบบคุณธรรม 41

  42. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ การอุทธรณ์: การที่ผู้ถูกลงโทษทางวินัยและผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการบางกรณีร้องขอให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเรื่องขึ้นพิจารณาใหม่ในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ที่ร้องขอ • ผู้มีสิทธิ์อุทธรณ์ • ผู้ถูกลงโทษทางวินัย ไม่ว่าจะเป็นโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก หรือไล่ออกแล้วแต่กรณี • ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการบางกรณีตามมาตรา 110 ให้ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือและลงลายมือชื่อ และที่อยู่ของผู้อุทธรณ์ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิ์อุทธรณ์ถึงแก่ความตายก่อนยื่นอุทธรณ์ ให้ทายาทโดยชอบธรรมยื่นอุทธรณ์แทนได้ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ 42

  43. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) • เหตุที่จะมีสิทธิอุทธรณ์ • ถูกสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออกหรือไล่ออก • ถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีดังต่อไปนี้ • เจ็บป่วยจนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างสม่ำเสมอ (มาตรา 110(1)) • ขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้ามบางประการ (มาตรา 110(3)) • ไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในระดับอันเป็นที่พอใจของทางราชการ (มาตรา 110(5)) • หย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ราชการ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ (มาตรา 110(6)) • “มีมลทิน หรือมัวหมองในกรณีที่ถูกสอบสวน”(มาตรา 110(7)) • ต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (มาตรา 110(8)) • ต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล ซึ่งยังไม่ถึงกับจะต้องถูกลงโทษปลดออกหรือไล่ออก (มาตรา 110(8)) 43

  44. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) ระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ผู้มีสิทธิอุทธรณ์จะต้องยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อ ก.พ.ค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง หรือถือว่าทราบคำสั่งดังกล่าว (มาตรา 114) • การพิจารณาวินัจฉัยอุทธรณ์ • ก.พ.ค. อาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เอง หรือตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ได้ (มาตรา 115) • กระบวนการพิจารณาจะดำเนินการในระบบไต่สวน โดยมีขั้นตอนตามที่กฎ ก.พ. ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ พ.ศ.2551 กำหนดไว้ รายละเอียดติดตามดูจากกฎ ก.พ.ค. ดังกล่าว • การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ แต่อาจขอขยายเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 60 วัน (มาตรา 118) 44

  45. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) • การคัดค้านกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ • ผู้อุทธรณ์มีสิทธิยื่นคำคัดค้านกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังต่อไปนี้ • รู้เห็นเหตุการณ์ในการกระทำผิดวินัย หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ • มีส่วนได้เสียในการกระทำผิดวินัย หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ • มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้อุทธรณ์ • เป็นผู้กล่าวหา • เป็นหรือเคยเป็นผู้บังคับบัญชาผู้สั่งลงโทษ หรือสั่งให้ออกจากราชการ • เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้อุทธรณ์ในการดำเนินการทางวินัย หรือการสั่งให้ออกจากราชการ • มีความเกี่ยวพันทางเครือญาติ หรือทางการสมรสกับบุคคลตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) อันอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้อุทธรณ์ 45

  46. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) • ผลการพิจารณาวินิจฉัยของ ก.พ.ค. • เมื่อ ก.พ.ค. รับคำอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้ว ผลการพิจารณาวินิจฉัยอาจเป็นไปในลักษณะต่างๆตามมาตรา 120 ดังนี้ • ไม่รับอุทธรณ์ หรือยกอุทธรณ์ (อุทธรณ์ฟังไม่ขึ้น) • มีคำวินิจฉัยให้แก้ไขหรือยกเลิกคำสั่ง และ • - ให้เยียวยาความเสียหายแก่ผู้อุทธรณ์ หรือ • - ให้ดำเนินการประการอื่นใดแก่ผู้อุทธรณ์เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การนำเรื่องฟ้องศาลปกครอง หากผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับมติ ก.พ.ค. สามารถนำเรื่องไปฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค. 46

  47. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์ (ต่อ) การถอนอุทธรณ์ เมื่อผู้อุทธรณ์ยื่นคำอุทธรณ์ต่อ ก.พ.ค. แล้ว หากผู้อุทธรณ์ไม่ประสงค์จะดำเนินเรื่องอุทธรณ์ต่อก็มีสิทธิ์ขอถอนอุทธรณ์ในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องยื่นของถอนก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดในเรื่องอุทธรณ์นั้น ทั้งนี้การถอนอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ด้วย สำหรับกรณีที่เป็นการถอนอุทธรณ์ด้วยวาจาต่อ ก.พ.ค. หรือกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้กระทำได้และบันทึกไว้ แล้วให้ผู้อุทธรณ์ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน 47

  48. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การร้องทุกข์ การร้องทุกข์: การที่ผู้ร้องขอมีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาและเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ ร้องขอให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ ยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาใหม่ในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ร้องขอ ผู้มีสิทธิ์ร้องทุกข์ ต้องเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่มีความคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติ หรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการและเป็นกรณีที่ไม่อาจอุทธรณ์ได้ (มาตรา 122) ผู้มีสิทธิร้องทุกข์ จะแต่งตั้งทนายความ หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นร้องทุกข์แทนได้ แต่ต้องมีเหตุ ตามที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.ค. 48

  49. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การร้องทุกข์ (ต่อ) • เหตุที่จะร้องทุกข์ • กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ • กรณีผู้บังคับบัญชาปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความคับข้องใจ ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด โดยสรุปดังนี้ • ไม่ชอบด้วยกฎหมาย • เลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม • สร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น • สร้างภาระให้เกิดขึ้นเกินสมควร • ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ • ประวิงเวลา หรือหน่วงเหนี่ยวการดำเนินการบางอย่าง จนเป็นเหตุให้เสียสิทธิ หรือไม่ได้รับสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้ในเวลาอันสมควร • ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอื่นใดที่ไม่เป็นไปตามระบคุณธรรมตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 49

  50. หน่วยที่ 5 : การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การร้องทุกข์ (ต่อ) • ผู้ที่จะรับคำร้องทุกข์ได้ • เหตุที่เกิดจากผู้บังคับบัญชา ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไป ตามลำดับ • เหตุที่เกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรี เจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรี ให้ร้องทุกข์ต่อ ก.พ.ค. ระยะเวลายื่นคำร้องทุกข์ ผู้ร้องทุกข์จะร้องทุกข์ได้สำหรับตนเองเท่านั้น และต้องยื่นคำร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้มีอำนาจ พิจารณาวินิจฉัยร้องทุกข์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ 50

More Related