1 / 34

บัญชีรายได้ประชาชาติ

บัญชีรายได้ประชาชาติ. กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ. หน่วยเศรษฐกิจ ( Economic unit ) คือ ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภาคเศรษฐกิจ ( Economic Sector ) คือ การรวมหน่วยเศรษฐกิจที่มีบทบาท หน้าที่ และเป้าหมายเหมือนกันเข้าด้วยกัน. ภาคเศรษฐกิจ. ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาครัฐบาล

mason
Download Presentation

บัญชีรายได้ประชาชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บัญชีรายได้ประชาชาติ

  2. กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ • หน่วยเศรษฐกิจ ( Economic unit ) คือ ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • ภาคเศรษฐกิจ ( Economic Sector ) คือ การรวมหน่วยเศรษฐกิจที่มีบทบาท หน้าที่ และเป้าหมายเหมือนกันเข้าด้วยกัน

  3. ภาคเศรษฐกิจ • ภาคครัวเรือน • ภาคธุรกิจ • ภาครัฐบาล • ภาคการติดต่อกับต่างประเทศ

  4. ภาคครัวเรือน ( Household Sector ) • เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต • ปัจจัยการผลิต คือ ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ • ภาคครัวเรือนขายปัจจัยการผลิตให้กับภาครัฐบาลกับภาคธุรกิจ • ได้รับผลตอบแทนในรูป ค่าเช่า ค่าแรง ดอกเบี้ย และกำไร • ภาคครัวเรือน ( ในฐานะผู้บริโภค ) ก็จะนำรายได้ไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ

  5. ภาคธุรกิจ ( Business Sector ) • ซื้อปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน • ผลิตสินค้าและบริการ • ขายสินค้าให้กับภาคครัวเรือนและภาครัฐบาล

  6. ภาครัฐบาล ( Public Sector ) • รัฐเก็บค่าธรรมเนียม ( ส่วนใหญ่คือ ภาษี ) จากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เป็นรายได้ของรัฐ • รัฐต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจหรือปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน หรือจ่ายเป็นสินค้าสาธารณะ

  7. ภาคต่างประเทศ ( Foreign Sector ) • เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศ • การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเกิดจาก ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ( Comparative Advantage ) • ซึ่ง Comparative Advantage คือ การที่ประเทศใดมีความชำนาญในการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่งให้มีคุณภาพดี และต้นทุนต่ำ ซึ่งโยงถึงทรัพยากรที่แต่ละประเทศมีอยู่

  8. รายได้จากการส่งออก รายได้จากการส่งออก ต่างประเทศ สินค้านำเข้า สินค้านำเข้า รายได้ปัจจัยการผลิต สถาบันการเงิน ครัวเรือน ธุรกิจ ลงทุน ออม ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการ ภาษี รัฐบาล ภาษี ค่าใช้จ่ายภาครัฐ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ

  9. ส่วนรั่วไหล ( Leakage, Withdrawal ) • รายได้ส่วนที่รั่วไหลออกนอกกระแสการหมุนเวียน เกิดจากการที่ครัวเรือนไม่ได้นำรายได้ทั้งหมดไปซื้อสินค้า และธุรกิจก็ไม่ได้นำทั้งหมดไปซื้อปัจจัยการผลิต • ได้แก่ การออมจากภาคครัวเรือน ภาษีที่เก็บจากทั้งครัวเรือนและภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจและครัวเรือนนำเข้า

  10. ส่วนอัดฉีด ( Injection ) • รายได้ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาในกระแสการหมุนเวียน • ได้แก่ การลงทุนของภาคธุรกิจ ภาครัฐบาลซื้อสินค้าจากธุรกิจ รัฐบาลจ่ายเงินโอน และเงินไหลเข้าจากต่างประเทศซึ่งก็คือ ครัวเรือนส่งออกปัจจัยการผลิตและภาคธุรกิจส่งออก

  11. รายได้จากการส่งออก รายได้จากการส่งออก ต่างประเทศ สินค้านำเข้า สินค้านำเข้า รายได้ปัจจัยการผลิต สถาบันการเงิน ครัวเรือน ลงทุน ธุรกิจ ออม ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้าบริการ ภาษี ภาษี รัฐบาล ค่าใช้จ่ายภาครัฐ ค่าใช้จ่ายภาครัฐ

  12. นิยามตัวแปร • เงินออม ( Saving ) --------- S • การลงทุน ( Investment ) --------- I • ภาษี ( Tax ) --------- T • การใช้จ่ายภาครัฐ ( Government Expenditure ) -- G • นำเข้า ( Import ) -------- M • ส่งออก ( Export ) -------- X

  13. ส่วนอัดฉีด = ส่วนรั่วไหล ส่วนรั่วไหล ได้แก่ S + T + M ส่วนอัดฉีด ได้แก่ I + G + X S + T + M = I + G + X ( X - M ) = ( S - I ) + ( T - G ) ตีความได้ว่า ??????

  14. ความหมายและการคำนวณรายได้ประชาชาติความหมายและการคำนวณรายได้ประชาชาติ • รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศไดใช้เวลาหนึ่ง โดยปกติคิดระยะเวลา 1 ปี • การคำนวณทำได้ 3 วิธีคือ • การคำนวณด้านผลผลิต ( Product Approach ) • การคำนวณด้านรายจ่าย ( Expenditure Approach ) • การคำนวณด้านรายได้ ( Income Approach )

  15. การคำนวณด้านผลผลิต ( Product Approach ) • คิดเฉพาะมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ( Final Goods and Service ) รวมถึงส่วนเปลี่ยนของสินค้าคงเหลือ ซึ่งนับเป็นสินค้าขั้นสุดท้าย • คิดแบบมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Method ) เพื่อป้องกันการนับซ้ำ

  16. ตัวอย่าง ขั้นการผลิต มูลค่าขาย มูลค่าขั้นกลาง มูลค่าเพิ่ม ข้าว 4 0 4 แป้ง 6 4 2 ขนมปัง 20 6 14 แซนวิซ 25 20 5 รวม 55 30 25

  17. การคำนวณด้านรายจ่าย( Expenditure Approach ) • เป็นการคิดจากรายจ่ายที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อนำมาซื้อสินค้าและบริการในระยะเวลาเดียวกัน แยกเป็น 4 ประเภท • รายจ่ายเพื่อการอุปโภคภาคเอกชน ( Consumption ; C ) • รายจ่ายเพื่อการลงทุน ( Investment ; I ) • รายจ่ายเพื่อการซื้อสินค้าบริการภาครัฐ ( government Expenditure ; G ) • การส่งออกสุทธิ ( Net Export ; X - M )

  18. รายได้ประชาชาติ= C + I + G + ( X - M ) รายจ่ายเพื่อการอุปโภคภาคเอกชน( C ) คือ ค่าใช้จ่ายของฝ่ายครัวเรือนในการซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งอาจเป็นสินค้าถาวรหรือสินค้าไม่ถาวร และอาจเป็นค่าบริการ รายจ่ายเพื่อการซื้อสินค้าบริการภาครัฐ ( G ) คือ ค่าใช้จ่ายของฝ่ายรัฐบาลในการซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ ค่าจ้างและเงินเดือนของข้าราชการ

  19. รายจ่ายเพื่อการลงทุนภาคเอกชน( I ) คือ รายจ่ายภาคธุรกิจเพื่อการลงทุน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. รายจ่ายเพื่อการก่อสร้างใหม่ 2. รายจ่ายเพื่อซื้อเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ เพื่อผลิตสินค้า บริการ 3. ส่วนเปลี่ยนของสินค้าคงเหลือ จำนวนผลิต = จำนวนขาย + ( สินค้าปลายงวด - สินค้าต้นงวด )

  20. การส่งออกสุทธิ ( X - M ) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่ประเทศส่งออกหักด้วยมูลค่าของสินค้าและบริการที่นำเข้าจากต่างประเทศ ท่านคิดว่าอะไรเป็นปัจจัยที่กำหนดตัวแปรทางเศรษฐกิจต่างๆเหล่านี้ ????

  21. การคำนวณด้านรายได้ ( Income Approach ) • การคำนวณด้านรายได้จะประกอบด้วย การคำนวณรายได้ทั้งหมดจากเจ้าของปัจจัยการผลิต( ผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิต ) ที่ได้มีการขายปัจจัยการผลิตให้กับผู้ซื้อ • รายได้ต้องไม่มีการรวมเงินโอน ( Transfer Payment ) ที่รัฐมีการจ่ายให้กับครัวเรือน

  22. รายการต่างๆ ประกอบด้วย • ค่าจ้างเงินเดือนและเงินทดแทนอื่นที่จ่ายให้แก่ลูกจ้าง • รายได้ที่เอกชนรับในรูปค่าเช่า • ดอกเบี้ยสุทธิ • รายได้ของกิจการที่ไม่อยู่ในรูปบริษัท • ค่าเสื่อมราคา • กำไรของบริษัทก่อนหักภาษี • ภาษีทางอ้อมของธุรกิจ ( ต่างจากภาษีทางตรง คือ ??? )

  23. รายได้ประชาชาติ สามารถแยกรายละเอียดได้เป็น GDP GNP NDP NNP NI PI DI

  24. 1. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศเบื้องต้น ( Gross Domestic Product : GDP ) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศ โดยยึดอาณาเขตทางการเมืองเป็นสำคัญ โดยไม่ยึดว่าทรัพยากรนั้นเป็นของคนชาติใด เช่น ชาวไทยไปทำงานที่ซาอุ รายได้ในซาอุนับเป็น GDP ของประเทศซาอุ และหากมารายน์ มาร้องเพลงในไทยรายได้ที่เกิดขึ้นก็นับว่าเป็น GDP ของไทยด้วย

  25. 2. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น ( Gross National Product : GNP ) คือ มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นด้วยทรัพยากรของประเทศในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น ระหว่าง GDP และ GNP จะต่างกันตรงเรื่องของการเคลื่อนย้ายทรัพยากรระหว่างประเทศ โดยมีความสัมพันธ์กันว่า GNP = GDP + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ

  26. ตัวอย่าง • ในปี 2000 ไทยมี GDP อยู่ 1 แสนล้าน ในขณะที่ลาวมี GDP อยู่ 5 หมื่นล้าน สำหรับในไทยมีชาวต่างชาติ ( ไม่รวมลาว ) มีรายได้อยู่ 1 พันล้าน และรายได้ของชาวลาวอยู่ 2 พันล้าน ในทางกลับกัน ที่ประเทศลาวมีคนไทยมีรายได้ 1.5 พันล้าน และคนต่างชาติ ( ไม่รวมไทย ) มีรายได้ 0.5 พันล้าน และสมมติว่าไม่มีคนไทยและคนลาวไปอยู่ในประเทศอื่นๆเลย จงคำนวณหา GNP ของทั้งสองประเทศ

  27. 3. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติในประเทศสุทธิ ( National Domestic Product: NDP ) คือ GDP หักด้วยค่าเสื่อมราคา ( Depreciation or Capital Consumption Allowance ) 4. ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ( Net National Product: NNP ) คือ GNP หักด้วยค่าเสื่อมราคา • ทำไมต้องหักค่าเสื่อมราคา ?????

  28. 5. รายได้ประชาชาติ ( Net Income : NI ) หมายถึง NNP นั่นเอง แต่มีความแตกต่างที่การคำนวณมูลค่าว่าใช้ราคาปัจจัยการผลิตหรือราคาตลาด • ราคาปัจจัยการผลิตหมายถึงค่าตอบแทนที่ให้แก่ปัจจัยการผลิตโดยตรง แต่ราคาตลาดมีการรวมภาษีทางอ้อมธุรกิจไว้ด้วย ( ราคาตลาด เท่ากับ ต้นทุนค่าปัจจัย + ภาษีทางอ้อม ) • NI = NNP - ภาษีทางอ้อมธุรกิจ

  29. 6. รายได้ส่วนบุคคล( Personal Income : PI ) รายได้ที่ได้รับจริงก่อนหักภาษีเงินได้ที่ครัวเรือนต้องจ่าย • มีความแตกต่างจากรายได้ประชาชาติในส่วนที่หน่วยผลิตไม่ได้มีการจัดสรรให้กับครัวเรือน • PI = NI - ภาษีประกันสังคม - ภาษีรายได้บริษัท - กำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร + ( เงินโอน + ดอกเบี้ยที่เอกชนได้รับจากรัฐบาล )

  30. 7. รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง( Disposable Income : DI ) คือ รายได้ที่ครัวเรือนใช้จ่ายได้จริง • นั่นคือ รายได้ที่ครัวเรือนได้รับ ( PI ) ที่มีการหักภาษีเงินได้ ไปแล้ว • DI =PI - ภาษีเงินได้

  31. รายได้ต่อบุคคล = ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นปีที่ n จำนวนประชากรปีที่ n 8. รายได้เฉลี่ยส่วนบุคคล ( Per Capita Income ) เป็นการถัวเฉลี่ยของบุคคลในประเทศ โดยสามารถคำนวณจาก

  32. รายได้ประชาชาติตามราคาตลาด และตามราคาคงที่ • GNP พิจารณาโดยใช้ราคาในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อเวลามีการเปลี่ยนแปลงไปราคาของสินค้าก็จะเปลี่ยน การคำนวณมูลค่าเพื่อเปรียบเทียบก็อาจไม่เห็นภาพที่แท้จริง เพราะมูลค่าคือ ราคาคูณปริมาณ ดังนั้นอาจมีผลเปลี่ยนแปลงที่มาจากราคา หรือปริมาณ • ดังนั้นจึงมีการเลือกใช้ Real GDP เป็นการแก้ปัญหา โดยใช้ ดัชนีราคาเป็นตัวปรับ ซึ่งดัชนีราคาตัวนั้นเรียกว่า ดันีผลิตภัณฑ์ประชาชาติภายในประเทศ ( GDP Deflator )

  33. “การที่ Money GNP มีการเพิ่มขึ้นอาจไม่ได้หมายความว่าปริมาณผลผลิตรวมในประเทศสูงขึ้น” ท่านเข้าใจคำกล่าวนี้อย่างไร จงอธิบาย ????

  34. ความสำคัญของบัญชีรายได้ประชาชาติความสำคัญของบัญชีรายได้ประชาชาติ • ข้อพึงระวังในการใช้เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาทางเศรษฐกิจ

More Related