1 / 34

มคอ. 4 รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม

มคอ. 4 รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม. โดย รองศาสตราจารย์ รัตนา อัตตปัญโญ. ความหมาย. ประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification) หมายรวมถึง การทำงานภาคสนาม การฝึกงานวิชาชีพในคลินิกหรือห้องปฏิบัติการหรือในหน่วยงาน

Download Presentation

มคอ. 4 รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มคอ.4รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนามมคอ.4รายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม โดย รองศาสตราจารย์ รัตนา อัตตปัญโญ

  2. ความหมาย ประสบการณ์ภาคสนาม (Field Experience Specification)หมายรวมถึง การทำงานภาคสนาม การฝึกงานวิชาชีพในคลินิกหรือห้องปฏิบัติการหรือในหน่วยงาน การฝึกงาน และฝึกปฏิบัติ ในภาคสนาม/สถานประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรทางการศึกษา

  3. สาระสำคัญของรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนามสาระสำคัญของรายละเอียดประสบการณ์ภาคสนาม ครอบคลุม ๑.ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการในรายวิชา หรือกิจกรรมที่นักศึกษาจะต้องออกฝึกงาน ฝึกภาคสนาม หรือสหกิจศึกษา ๒. การวางแผนในการจัดประสบการณ์ภาคสนามให้สอดคล้องและเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร

  4. มีการกำหนดสาระสำคัญ ดังนี้ • 3.1 วัตถุประสงค์และรายละเอียดของการดำเนินการ ของกิจกรรมนั้น ๆ ไว้อย่างชัดเจน • 3.2 ความรู้ ความเข้าใจที่นักศึกษาจะได้รับจาก การออกฝึกงาน • 3.3 กระบวนการ หรือวิธีการในการปลูกฝังทักษะ ต่าง ๆ • 3.4 คุณลักษณะอื่น ๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการ พัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย3.5 เกณฑ์การวัดและประเมินผลนักศึกษา • 4. การประเมินการดำเนินการตามรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม

  5. รายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม ประกอบด้วย 7 หมวดดังนี้ หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ หมวดที่ 3 การพัฒนาผลการเรียนรู้ หมวดที่ 4 ลักษณะและการดำเนินการ หมวดที่ 5 การวางแผนและการเตรียมการ หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของ การฝึกประสบการณ์ภาคสนาม

  6. หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • รหัสและชื่อรายวิชา • จำนวนหน่วยกิต หรือจำนวนชั่วโมง • หลักสูตรและประเภทของรายวิชา • อาจารย์ผู้รับผิดชอบ / อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม • ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่กำหนดให้มีการฝึกประสบการณ์ภาคสนามตามแผนการศึกษาของหลักสูตร • วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาประสบการณ์ภาคสนามครั้งล่าสุด

  7. หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ • จุดมุ่งหมายของประสบการณ์ภาคสนาม เช่น- เพื่อสร้างประสบการณ์วิชาชีพในสถานการณ์จริง • วัตถุประสงค์ของการพัฒนาหรือปรับปรุงประสบการณ์ภาคสนาม • เช่น - เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ

  8. หมวดที่ 3 การพัฒนาผลการเรียนรู้ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ

  9. ข้อมูลที่แสดงผลการเรียนรู้แต่ละด้านจากประสบการณ์ภาคสนามข้อมูลที่แสดงผลการเรียนรู้แต่ละด้านจากประสบการณ์ภาคสนาม • ความรู้ หรือทักษะที่ต้องการพัฒนา • กระบวนการ / กิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการจะพัฒนา • วิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้

  10. ตัวอย่างการเขียนหมวดที่3ตัวอย่างการเขียนหมวดที่3 • ด้านคุณธรรม และจริยธรรม ๑.๑ คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา เช่น • นักศึกษาจะต้องเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรในสถานประกอบการที่เข้าไปฝึกงานเช่น การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติตามธรรมเนียมปฏิบัติขององค์กร การเก็บรักษาความลับทางธุรกิจของสถานประกอบการเป็นต้น

  11. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ)ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ) ๑.๒ กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน โดยนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ สังเกตและพัฒนาตนเองในขณะฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงโดยการฝึกงานแบ่งเป็น ๓ ขั้นตอน ดังนี้ ๑. การปฐมนิเทศก่อนฝึกงาน เป็นขั้นตอนการทบทวนความรู้ ความเข้าใจนโยบาย การวางตน และเตรียมความพร้อมก่อนฝึกงาน

  12. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ)ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ) ๒. การฝึกงาน นักศึกษาฝึกงานในสถานประกอบการเป็นเวลา ๑๖ สัปดาห์ โดยมีพนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการให้การนิเทศ อาจารย์นิเทศ จากมหาวิทยาลัยไปนิเทศในสถานประกอบการประมาณ ๑- ๒ ครั้ง ๓. การสัมมนาหลังฝึกงาน เป็นการสัมมนาเพื่อสรุปผลการปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ได้จากการฝึกงาน

  13. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ)ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม(ต่อ) ๑.๓ วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ เช่น • - รายงานที่นักศึกษาจัดทำขึ้นระหว่างการฝึกงาน • - การประเมินโดยสถานประกอบการ • - ประเมินโดยคณาจารย์ที่รับผิดชอบรายวิชา และอาจารย์นิเทศก์ • - ประเมินจากพัฒนาการของนักศึกษา

  14. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3 ๒. ด้านความรู้ ๒.๑ ความรู้ที่จะได้รับ เช่น • ได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติจริง ซึ่งจะเป็นการบูรณาการความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดในชั้นเรียนให้เข้ากับการปฏิบัติงานจริง

  15. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (ต่อ) ๒.๒ กระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ เช่น • การปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการโดยได้รับการแนะนำจากบุคลากรของสถานประกอบการ และมีอาจารย์นิเทศก์ให้คำปรึกษาอีกทางหนึ่ง จะสามารถพัฒนาความรู้ในเชิงบูรณาการได้เป็นอย่างดี

  16. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านความรู้(ต่อ)ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านความรู้(ต่อ) ๒.๓ วิธีการประเมินความรู้ที่ได้รับ เช่น • - ประเมินจากการมีส่วนร่วมครบทุกขั้นตอนในการฝึกงาน • - ประเมินจากรายงานที่นักศึกษานำส่งเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกงาน • - ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ • - ประเมินจากรายงานกรณีศึกษาที่จัดทำขณะฝึกงาน (ถ้ามี) • - ประเมินจากพัฒนาการของนักศึกษา

  17. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3 • ด้านทักษะทางปัญญา ๓.๑ ทักษะทางปัญญาที่จะได้รับการพัฒนา เช่น • - มีความรู้ความเข้าใจ และนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้ • - มีทักษะในการปฏิบัติงาน

  18. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ๓.๒ กระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาทักษะทางปัญญา • การปฏิบัติงานจริงเป็นกระบวนการที่จะพัฒนาทักษะทางปัญญาได้เป็นอย่างดี ๓.๓ วิธีการประเมินทักษะทางปัญญาที่ได้รับการพัฒนา • - ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ • - ประเมินจากรายงานกรณีศึกษาที่จัดทำขณะฝึกงาน

  19. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3 ๔. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๔.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถในการรับภาระความรับผิดชอบที่ควรมีการพัฒนา • - มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย • - พฤติกรรมการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ • - การมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคลากรในสถานประกอบการ

  20. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ(ต่อ)ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ(ต่อ) ๔.๒ กระบวนการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะพัฒนาทักษะและความสามารถในการรับภาระความรับผิดชอบ • การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยนักศึกษาสามารถปฏิบัติงานกับผู้ร่วมงานในสถานประกอบการได้ • รู้จักการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กร

  21. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ(ต่อ)ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ(ต่อ) ๔.๓ วิธีการประเมินทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความสามารถ ในการรับภาระความรับผิดชอบ • ประเมินจากรายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ

  22. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้หมวดที่3 ๕. ด้านทักษะการวิเคราะห์การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ ๕.๑ ทักษะการคิดคำนวณและการสื่อสารที่ควรมีการพัฒนา • - สามารถคิดอย่างมีระบบ และมีเหตุผลในการคิด • - สามารถสื่อสารด้วยการรายงานทั้งเป็นลายลักษณ์อักษร และด้วยวาจา

  23. ตัวอย่างการพัฒนาผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ(ต่อ) ๕.๒ กระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะพัฒนาทักษะ • การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานในองค์กร • การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สถานประกอบการจัดขึ้น ๕.๓ วิธีการประเมิน • - รายงานการประเมินผลของสถานประกอบการ • - ผลการประเมินของอาจารย์นิเทศก์

  24. หมวดที่ 4 ลักษณะและการดำเนินการ 1. คำอธิบายทั่วไปของประสบการณ์ภาคสนาม หรือคำอธิบายรายวิชา 2. กิจกรรมของนักศึกษา เช่น ปฐมนิเทศ จัดทำรายงานการฝึกปฏิบัติงานภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกงาน สัมมนาหลังการฝึกปฏิบัติงานร่วมกับอาจารย์ของคณะฯ 3. งาน หรือรายงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย 4. การติดตามผลการเรียนรู้การฝึกประสบการณ์ ภาคสนาม / การนิเทศงาน และการประมวลผล

  25. หน้าที่ ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยง เช่น วางแผนกิจกรรม ให้คำแนะนำ ประเมินผลการฝึกงาน • 6. หน้าที่ ความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา / อาจารย์นิเทศ • เช่นให้คำปรึกษา ประสานงานและร่วมวางแผนกับพนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ • การเตรียมการในการแนะแนวและช่วยเหลือนักศึกษา เช่น จัดปฐมนิเทศแนะนำการฝึกงาน จัดอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน • สิ่งอำนวยความสะดวก และการสนับสนุนที่ต้องการจากสถานประกอบการ เช่น ที่พัก สถานที่นั่งทำงานเอกสาร พนักงานพี่เลี้ยง

  26. หมวดที่ 5 การวางแผนและการเตรียมการ 1. การกำหนดสถานที่ฝึก 2. การเตรียมนักศึกษา – จัดรายวิชาเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา 3. การเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษา / อาจารย์นิเทศก์ - ประชุมเพื่อมอบหมายงาน 4. การเตรียมพนักงานพี่เลี้ยงในสถานที่ฝึกงาน- ติดต่อประสานงาน และแจ้งแผนปฏิบัติงาน สหกิจศึกษา

  27. หมวดที่5การวางแผนและการเตรียมการ(ต่อ)หมวดที่5การวางแผนและการเตรียมการ(ต่อ) 5. การจัดการความเสี่ยง เช่น • ความเสี่ยงจากสถานที่ตั้ง การเดินทาง และสภาวะการทำงาน คัดเลือกสถานที่ฝึกงานที่ไม่ตั้งอยู่ในเขตอันตราย การคมนาคมสะดวก และสภาวะการทำงานไม่เสี่ยงอันตราย • ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุการทำงานของนักศึกษา ปฐมนิเทศแนะนำนักศึกษา ทำประกันอุบัติเหตุการเจ็บป่วยและชีวิตให้นักศึกษา • ความเสี่ยงด้านสังคม ปฐมนิเทศแนะนำการวางตัวที่เหมาะสมต่อบุคลากรทุกระดับของสถานที่ฝึกงาน

  28. หมวดที่ 6 การประเมินนักศึกษา 1. หลักเกณฑ์การประเมิน – ผลสำเร็จของงาน ความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ฯลฯ 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา -พนักงานพี่เลี้ยง ร่วมกันประเมินกับอาจารย์นิเทศก์

  29. 3. ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา - ให้คำแนะนำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติตน และปฏิบัติงาน 4.ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา - ดูแลนักศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลนักศึกษาในสถานประกอบการ ตรวจรายงาน เป็นต้น 5. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง – ประเมินการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล - ประชุมหารือร่วมกันระหว่างอาจารย์กับพนักงานพี่เลี้ยงเพื่อหาข้อสรุป

  30. หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม • 1. กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม • 1.1 นักศึกษา • นักศึกษาให้ข้อมูลหลังกลับจากสถานประกอบการ (โดยใช้แบบประเมิน)

  31. 1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ ใช้แบบประเมินผลนักศึกษา ให้คะแนน และให้ข้อเสนอแนะ 1.3อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม ใช้แบบบันทึกการนิเทศงานสหกิจศึกษา 1.4 อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่ ประเมินจากการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

  32. กระบวนการทบทวนผลการประเมินและการวางแผนการปรับปรุง • - อาจารย์ในสาขาวิชาร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมิน สรุปประเด็นการพัฒนา ปรับปรุง ทั้งที่เกี่ยวข้องในเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมนักศึกษา การวัดและประเมินผล และความร่วมมือกับสถานประกอบการ เพื่อวางแผนการฝึกปฏิบัติงานรุ่นต่อไป และปรับปรุงหลักสูตรในระยะเวลาที่กำหนด

  33. จบการบรรยาย

  34. ขอบคุณค่ะ

More Related