260 likes | 1.48k Views
ชีวิตและวัฒนธรรมไทย. 3000-1301. วิชา ชีวิตและวัฒนธรรมไทย รหัส 3000-1301 อ. ขวัญตา จั่นอิ๊ด โทร 083-989-3239. จุดประสงค์รายวิชา. เพื่อเข้าใจถึงลักษณะของเอกลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมไทย การพัฒนาและสืบทอดวัฒนธรรมไทย เพื่อให้มีเจตคติที่ดีในการสร้างจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม.
E N D
ชีวิตและวัฒนธรรมไทย 3000-1301
วิชา ชีวิตและวัฒนธรรมไทยรหัส 3000-1301อ. ขวัญตา จั่นอิ๊ดโทร 083-989-3239
จุดประสงค์รายวิชา • เพื่อเข้าใจถึงลักษณะของเอกลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมไทย • การพัฒนาและสืบทอดวัฒนธรรมไทย • เพื่อให้มีเจตคติที่ดีในการสร้างจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
เกณฑ์การประเมินผลการเรียนภาคปกติเกณฑ์การประเมินผลการเรียนภาคปกติ • จิตพิสัย 10 คะแนน • ทดสอบย่อย 20 คะแนน • รายงาน 10 คะแนน • งานส่ง 20 คะแนน • สอบกลางภาค 20 คะแนน • สอบปลายภาค 20 คะแนน
ประมวลการสอน ภาคปกติ สัปดาห์ที่ 1 บทที่ 1 มนุษย์กับสังคม สัปดาห์ที่ 2 บทที่ 2 สังคมไทย สัปดาห์ที่ 3-4 บทที่ 3 วัฒนธรรม ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สัปดาห์ที่ 5-6 บทที่ 4 เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย สัปดาห์ที่ 7 รายงานการละเล่นไทย สัปดาห์ที่ 8 สอบกลางภาคเรียน
ประมวลการสอน ภาคปกติ สัปดาห์ที่ 10-11 บทที่ 5 ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย สัปดาห์ที่ 12-13 บทที่ 6 ค่านิยมในสังคมไทย+test สัปดาห์ที่ 14 บทที่ 7 พลเมืองดี สัปดาห์ที่ 15 บทที่ 8 จิตสาธารณะ สัปดาห์ที่ 16 ทบทวนบทเรียน สัปดาห์ที่ 17 สอบปลายภาคเรียน
รายงานกลุ่ม 10คะแนน(สัปดาห์ที่ 7) เรื่อง การละเล่นของไทย เช่น งูกินหาง หมากเก็บ มอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร ไม้โยกเยก ขี่ม้าส่งเมือง ปิดตาตีหม้อ ซ่อนหา โพงพาง เดินกะลา ปริศนาคำทาย สะบ้า เล่นว่าว ชักเย่อ ให้นักศึกษาจับกลุ่มๆละไม่เกิน 5 คน นำเสนอรายงานดังนี้ • รายงานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประโยชน์ที่ได้รับ • สาธิตวิธีการเล่น
1 บทที่ มนุษย์กับสังคม
มนุษย์ หมายถึง สัตว์ที่รู้จักใช้เหตุผล สัตว์ที่มีจิตใจสูง สังคม หมายถึง กลุ่มคนขนาดใหญ่ที่มีอำนาจเหนือกลุ่มย่อย มีดินแดน สามารถเลี้ยงตนเองได้ และมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
ความต้องการของมนุษย์ มาสโลว์ แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ คือ ความต้องการทาง สรีรวิทยา ความต้องการความสำเร็จแห่งตน ความต้องการ ของมนุษย์ ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัยของชีวิต ความต้องการที่จะมีชื่อเสียงเกียรติยศ ความต้องการทางสังคม
ลักษณะสำคัญที่ส่งผลดีต่อมนุษย์ลักษณะสำคัญที่ส่งผลดีต่อมนุษย์ มี 2 อย่าง คือ 1. มนุษย์มีความสามารถในการสร้าง และใช้สัญลักษณ์เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร 2. มนุษย์มีวัฒนธรรม
สาเหตุที่มนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นสังคมมนุษย์สาเหตุที่มนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นสังคมมนุษย์ เพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน สาเหตุมี 3 อย่าง คือ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนเองและกลุ่ม
องค์ประกอบของสังคม มีประชาชนจำนวนหนึ่ง สมาชิกประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของสถาบันและ วัฒนธรรมอย่างเดียวกัน มีองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ มีความสัมพันธ์ต่อกัน มีดินแดนที่ แน่นอน มีการกระทำต่อกันอย่างต่อเนื่องเป็นกิจวัตรประจำวัน
หน้าที่ของสังคม 1. ผลิตสมาชิกใหม่และรักษาจำนวนสมาชิกให้อยู่ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม 2. อบรมสมาชิกใหม่ให้สามารถเรียนรู้และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม 3. ดำรงรักษากฎระเบียบของสังคมไว้ ปกป้องคุ้มครองคนดี รักษากฎหมาย 4. ผลิต จำหน่าย จ่ายแจกสินค้าและบริการ
การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม กระบวนการจัดระเบียบ มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ บรรทัดฐาน สถานภาพ บทบาท
สถาบันทางสังคม ( Institution ) หมายถึง กฎเกณฑ์หรือระเบียบแบบแผนของสังคม ที่ใช้เป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติหรือการติดต่อกัน และทำหน้าที่สนองความต้องการและความจำเป็นของสังคม
สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันสื่อสารมวลชน สถาบันการเมืองและ การปกครอง สถาบันนันทนาการ สถาบันทางสังคมที่สำคัญ มี 7 สถาบัน คือ
โครงสร้างสังคมไทย โครงสร้างสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มีบรรทัดฐานของสังคมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนมาอยู่รวมกันเป็นสังคม อย่างสันติสุข
การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมไทยการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมไทย • 1. ค่านิยมเรื่องวัตถุนิยม • 2. โครงสร้างสังคมจะเปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทไปเป็นสังคมเมืองมากขึ้น • 3. ความสัมพันธ์ในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป คนในครอบครัวไม่มีเวลาให้กัน • 4. สังคมไทยต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีที่ทันสมัย และรับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น • 5. สังคมเกษตรกรรมจะลดน้อยลง
6. ความไม่เท่าเทียมภายในสังคมมีมากขึ้น 7. คนไทยจะเกิดความตื่นตัวและเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น เนื่องจากอิทธิพลของสื่อ 8. ปัญหาการขยายตัวของเมือง 9. สถาบันการศึกษาจะเป็นในลักษณะผลิตคนเพื่อเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมมากขึ้น 10. ปัญหาทางสังคมจะหลากหลายและรุนแรงขึ้นกับคนทุกเพศทุกวัย อันเป็นผลเนื่องจากความเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม