230 likes | 413 Views
ตำรวจจราจร : ผลการตรวจทางโลหิตวิทยา ที่ไม่ควรมองข้าม. พ.ต.อ.หญิง อัจฉรมนต์ บูรณสมภพ งานโลหิตวิทยา กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ. บทนำ. การตรวจรับบุคลลภายนอกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ ต้องได้รับการตรวจสุขภาพดังต่อไปนี้คือ. ตรวจทางกายภาพ เอกซเรย์ปอด
E N D
ตำรวจจราจร : ผลการตรวจทางโลหิตวิทยา ที่ไม่ควรมองข้าม พ.ต.อ.หญิง อัจฉรมนต์ บูรณสมภพ งานโลหิตวิทยา กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ
บทนำ การตรวจรับบุคลลภายนอกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ ต้องได้รับการตรวจสุขภาพดังต่อไปนี้คือ • ตรวจทางกายภาพ • เอกซเรย์ปอด • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ • ตรวจสารเสพติดในปัสสวะ • ตรวจไวรัสตับอักเสบ B • ตรวจ HIV • ตรวจ VDRL
บทนำ • ในทุกๆ ปี สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมีสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจ คือการตรวจสุขภาพประจำปีหรือที่เรียกว่า Check up ซึ่งการตรวจที่จัดอยู่ในโปรแกรม คือ • การตรวจเลือด, ปัสสาวะ, อุจจาระ • เอกซเรย์ปอด • EKG โดยมีการแบ่งการตรวจตามกลุ่มอายุ ในส่วนของการตรวจเลือด มีการตรวจที่เป็นการตรวจพื้นฐานที่ต้ องตรวจในทุกกลุ่มอายุ คือการตรวจหาความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count ; CBC) ซึ่งเป็นการตรวจพื้นฐานที่สำคัญที่นอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยแล้วยังจะช่วยให้ข้อมูลบางอย่างซึ่งแพทย์อาจตรวจไม่พบ จากประวัติหรือการตรวจร่างกาย
บทนำ(ต่อ) “ตำรวจจราจร” เป็นกลุ่มงานสายหลักสายงานหนึ่งที่สำคัญของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ ที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวโดยตำรวจจราจรมีหน้าที่หลักที่สำคัญคือ “การจัดระเบียบการจราจรบน ท้องถนน” ด้วยเหตุนี้การปฏิบัติงานส่วนใหญ่จึงต้องอยู่บนถนนเป็นเวลานาน ๆ นั่นคือการปฏิบัติงานอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษทั้งจาก ไอเสียจากท่อรถยนต์, ความร้อนจากแสงแดด, เสียงจาก เครื่องยนต์, ฝุ่น, ละออกเกสร, เชื้อราในอากาศ ดังนั้นผู้ที่จะปฏิบัติงานตรงนี้จะต้องมีความพร้อมความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าความสัมบูรณ์ของเลือด ที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในอาชีพ(จราจร)
วัสดุและวิธีการ ตัวอย่างเลือดที่ใช้ในการศึกษา เก็บตัวอย่างเลือดจากตำรวจจราจรที่เข้ามารับบริการตรวจสุขภาพประจำปีที่โรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 83 ราย (ปี 2545) โดยเก็บตัวอย่างเลือด 3 มิลลิลิตร จากหลอดเลือดดำ ใช้สารกันเลือดแข็งชนิด K3 EDTA
วัสดุและวิธีการ(ต่อ) 2. การศึกษาข้อมูลทางโลหิตวิทยา การตรวจ CBC (WBC, HGB, HCT และ Differential WBC count),MCV ด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ Coulter STK ซึ่งใช้หลักการ Volume conductivity และ Scatter (VCS) โดยมีการประกันคุณภาพภายใน (IQC) ด้วยตัวควบคุม Commercial control กำกับการทำงานทุกครั้งก่อนการวิเคราะห์
วัสดุและวิธีการ(ต่อ) 3. การวิเคราะห์ผล • ใช้โปรแกรม Microsoft Excell ในการแปลผล • ช่วงค่าที่ใช้เป็นค่าอ้างอิง ค่าทางโลหิตวิทยาของ กฤษณา ปทีปโชติวงศ์ และคณะ
ผลการศึกษา นำผลที่ได้จากการตรวจวิเคราะห์ CBC จากตำรวจจราจรกลุ่มดังกล่าว 83 ราย เทียบกับค่าอ้างอิง โดยค่าที่ออกนอกช่วงค่าอ้างอิงถือว่าผิดปกติ พบว่า 43 ราย (57.8%) ผลการตรวจอยู่ในเกณฑ์ปกติทุกค่า และมี 40 ราย (48.19%) มีผลการตรวจผิดปกติในบางพารามิเตอร์ โดยมีรายละเอียดดังตาราง 1
Table 1: Hematology values in traffic police officers (Year 2545 , N = 83)
ผลการศึกษา (ต่อ) • ค่าความผิดปกติทางโลหิตวิทยาที่น่าสนใจในการศึกษาครั้งนี้ 1. ค่า HGB,HCT ที่ลดต่ำ 2. ค่า MCV ต่ำ 3. ค่า Eosinophilที่สูงขึ้น
Table 2: Number of abnormal hematology values(HGB,HCTandeosinophil) in traffic police officers. (Year 2545, N=40 )
วิจารณ์ ค่า HGB และ HCT ที่ลดต่ำ บ่งบอกถึงการมีภาวะ Anemia “ภาวะที่เลือดในร่างกายหย่อนประสิทธิภาพในการนำพาออกซิเจนไปแจกจ่ายให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย “ จากการศึกษาพบว่าใน 40 รายมีความผิดปกติในค่า HGB และ HCTถึง 16 ราย
วิจารณ์(ต่อ) • โดยในกลุ่มนี้พบว่า 5 รายมี • สัดส่วน HCT : HGB three of rule (3:1) • MCV ต่ำร่วมด้วย (51.2 – 67.3 fl) • พาหะ Thalassemia 5 รายนี้ Anemia • Iron Deficiency ส่วนอีก 9 ราย - HCT : HGB = Three of rule - MCV = ปกติ - ซีดเล็กน้อย ควร investigate หาสาเหตุของ Anemia • ค่า MCV ต่ำ6 ราย พบว่าค่า Hb Hct ปกติ อาจจะเป็น Iron deficiency
วิจารณ์(ต่อ) • ผลกระทบของภาวะโลหิตจาง • 1. ระบบหายใจ ทำให้เหนื่อยง่ายหายใจไม่สะดวก • ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้เวียนศีรษะ ตาพร่า เป็นลมได้ง่าย • สำหรับตำรวจจราจรผลดังกล่าวทั้งหมดนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานได้ เป็นผลที่กระทบต่อทั้งจราจรผู้ปฏิบัติงานและประชาชนผู้รับผลงาน
วิจารณ์(ต่อ) 3. ค่า Eosinophilที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ พบ10 ราย (12.0 – 17.4 %) จัดเป็น mild degree ซึ่งพบได้ใน - Parasite infection - โรคผิวหนัง - Leukemia - ภูมิแพ้ - ect. หากเป็นสาเหตุที่ภูมิแพ้ ---> ถือว่ามีความสำคัญ
วิจารณ์(ต่อ) สาเหตุภูมิแพ้ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำปฏิกิริยาไวมากเกินไปต่อสารที่พบตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น ละอองเกสร เชื้อราในอากาศ ควันจากท่อไอเสียรถ และขนสัตว์เลี้ยง และ ทั้งหมดนี้พบในสิ่งแวดล้อมในการทำงานของตำรวจจราจรทั้งสิ้น ผลกระทบ: คุณภาพชีวิตตำรวจจราจรจะแย่ลงและมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด โรคหืด ตามมาได้ (จากการวิจัยพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคหืดมีสาเหตุเกิดจากภูมิแพ้)
วิจารณ์(ต่อ) • สำหรับค่าความผิดปกติหรือการเปลี่ยนแปลงที่พบในค่าอื่น ได้แก่ • 11 ราย (ร้อยละ 13.25) มีค่า WBCสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยมีค่าอยู่ ในช่วง (10.5 – 20.8) และ 1 ราย (ร้อยละ 1.2) มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 2.8x103/µl • 4 ราย (ร้อยละ 4.82) มีค่า Neutrophil ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 30.2 – 35.5 % และ 8 ราย (ร้อยละ 9.64) มีค่า Neutrophil สูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 68.3 – 83.6 % • 9 ราย (ร้อยละ 10.84) มีค่า lymphocyte ต่ำ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 9.6 – 22.1 % • 7 ราย (ร้อยละ 8.43) มีค่า Monocyteสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 11.2-15.9 % • อาจเป็นผลของพยาธิสภาพของร่างกายในช่วงขณะนั้น และไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานประจำของตำรวจจราจรโดยตรง/ ระยะยาว
สรุป “ความปลอดภัย”บนท้องถนนก็จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดซึ่งกฎ, ระเบียบ วินัยของผู้ขับขี่ และ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการควบคุม กฎ, ระเบียบ และวินัยของผู้ขับขี่ คือตำรวจจราจร แต่โดยที่การทำงานต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษตลอดเวลา ทำให้เสี่ยงต่อการมีภูมิชีวิตที่อ่อนแอได้ง่าย ดังนั้น “ความพร้อมของสุขภาพ”ของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ การมีสวัสดิการการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี แต่อาจจะดียิ่งขึ้นหรือไม่หากมีแนวทางการคัดเลือกบุคลากรและการจัดการที่เป็นระบบ
ข้อเสนอแนะ • ในการคัดเลือก บุคคลเข้ามาทำหน้าที่เป็นตำรวจจราจรนั้น นอกจากการ ซักประวัติและตรวจโรคตามโปรแกรมปกติแล้ว ควรเพิ่มการตรวจทดสอบภูมิแพ้และการตรวจหาภาวะโลหิตจาง และสาเหตุของโรค ลงในโปรแกรมการตรวจคัดเลือก ทั้งนี้เพื่อให้การคัดสรรคนได้เหมาะสมกับงาน(Put the right man in the right job)
ข้อเสนอแนะ • สำหรับจราจรผู้ปฏิบัติงาน • การตรวจ CBC ก่อนเริ่มปฏิบัติงานและตรวจสุขภาพประจำปี มีประโยนช์เพื่อตรวจติดตามคุณภาพชีวิตหลังรับราชการและนำไปสู่การปรับปรุงและแก้ไขที่เหมาะสมดังนี้ • 2.1 ระยะเวลาในการปฏิบัติงานแต่ละ ผลัด/คาบ ควรให้เป็นระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาความเครียด ความอ่อนล้า การสัมผัสมลพิษเป็นเวลานาน ซึ่งอาจนำไปสู่อุบัติเหตุหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ในงานที่ต้องรับผิดชอบ
ข้อเสนอแนะ 2.2 ควรมีการหมุนเวียนตำรวจจราจรระหว่างสถานีตำรวจที่อยู่ในจุดที่มีการจราจรหนาแน่นหรือมีมลพิษมากกับจุดที่มีจราจรหรือมลพิษเบาบาง 2.3 หน้ากากที่แจกจ่ายขณะปฏิบัติงานควรได้มาตรฐานและมีอย่างเพียงพอ 2.4 ควรมีการสับเปลี่ยนหน้าที่ตำรวจจราจรที่พบว่ามีปัญหาสุขภาพในเรื่อง Anemiaและภูมิแพ้ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของตำรวจจราจรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาวและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ