200 likes | 333 Views
By Duangkamol kaewdang. SBAC Nonthaburi. สัปดาห์ที่ (Week) 1. ชื่อหน่วย (Name of Unit) จริยธรรมเบื้องต้น ชื่อหน่วยย่อย (Sub Unit) ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม. สาระสำคัญ (Concept). ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และ คุณธรรม จ ริยธรรม
E N D
By Duangkamolkaewdang SBAC Nonthaburi
สัปดาห์ที่ (Week) 1 ชื่อหน่วย (Name of Unit) จริยธรรมเบื้องต้น ชื่อหน่วยย่อย (Sub Unit) ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม
สาระสำคัญ (Concept) ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และคุณธรรม จริยธรรม ที่พึงประสงค์ในอาชีพคอมพิวเตอร์บุคลิกภาพ ความเชื่อมั่น ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ เจตคติที่ดีในงานอาชีพคอมพิวเตอร์
สมรรถนะหลัก/ย่อย (Unit of Competence / Element of Competence) 1. สามารถอธิบายความหมายของจริยธรรม คอมพิวเตอร์ได้ 2. สามารถอธิบายความหมายของจริยธรรม คอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง 3. สามารถอธิบายคุณธรรมจริยธรรม ได้อย่างถูกต้อง 4. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
จุดประสงค์พฤติกรรม (Behavioral Objectives) • อธิบายความหมายของจริยธรรมได้อย่างถูกต้องเมื่อครู บรรยายประกอบสไลด์การสอนเรื่อง ความหมายของ จริยธรรม • บอกคุณลักษณะของคุณธรรม จริยธรรมได้อย่างถูกต้อง หลังจากที่ครูให้ดูสื่อการสอนเรื่อง การสร้างคุณธรรม ☺ มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
ชื่อหน่วยย่อยที่ (Subunit) : 1.1 ความหมายและความสำคัญ ของจริยธรรม หัวข้อเรื่องที่ (Topic) : ประโยชน์ของจริยธรรม ขั้นให้ความรู้ (Motivation) ครูกล่าวถึงสภาพปัญหาสังคมในปัจจุบันที่เกิด ปัญหามากมายทในปัจจุบันนี้ ขั้นการให้เนื้อหาความรู้ (Information) ครูให้นักเรียนดูสไลด์ หมาเลี้ยงลูกและลูกทำร้ายแม่
ชาวบ้านจังหวัดสุโขทัย และผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กำลังช่วยคุณยายซึ่งถูก ลูกสาวทำร้ายร่างกาย ให้นักเรียนเขียนวิเคราะห์ภาพเหตุการณ์ทั้งสองภาพ จัดทำโดย อาจารย์ดวงกมล แก้วแดง จัดทำโดย อาจารย์ดวงกมล แก้วแดง
หัวข้อเรื่องที่ (Topic) 1.1.2 :ประโยชน์ของจริยธรรม ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Motivation) ครูย้อนกับไปถามถึงภาพที่นักเรียนได้ดูจากหัวข้อที่ 1 ขั้นการให้เนื้อหาความรู้ (Information) 1. ครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของจริยธรรม 2. ครูบรรยายเกี่ยวกับเรื่องของจริยธรรม
ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง จริยธรรมเบื้องต้น วิชา จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 2201-2403 จริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของ วิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิดหากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม
ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ)
ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ) “จริยธรรม” มาจากคำ 2 คำคือ จริย + ธรรม ซึ่งแปล ตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า
ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ) ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริง ที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ
ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ) คำว่า ธรรม พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ กล่าวว่า คือ 1 ธรรมชาติ 2. กฎของธรรมชาติ 3. หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ 4. การได้รับผลตามกฎของธรรมชาติ
คำว่า ธรรม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) กล่าวไว้ว่า คือ “สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ สภาวะธรรม, สัจธรรม, ความจริง, เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ ฯลฯ ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ)
(พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต ) เพิ่มศัพท์ และปรับปรุง พ.ศ. 2427 มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย หน้า 105) ที่นำเอา ความหมายของคำว่า ธรรม ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ)
ที่ท่านผู้รู้กล่าวไว้มาเสนอมากพอสมควรนี้ก็ เพื่อความเข้าใจคำว่า ธรรม ให้มากขึ้น เพราะเป็นคำที่สำคัญที่สุดและคนทั่วไปมักจะเข้าใจเพียงมัวๆเท่านั้น ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ)
ธรรม หรือ สัจธรรม เป็นแม่บท เป็นฐานของ ทุกอย่างต่อจาก สัจธรรม ก็คือสิ่งที่เรียกว่า จริยธรรม อันได้แก่หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความดีงาม ซึ่งเป็น ความจริงที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จ ตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ความจริงของมนุษย์ ต้องสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาติ จึงจะเกิด ผลสำเร็จได้ด้วยดี ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ)
จากนั้นจึงจะมาถึง วัฒนธรรม ซึ่งเป็นรูปแบบหรือเป็น วิธีปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นจริงตามที่มนุษย์ต้องการ สัจธรรม คือความจริงที่มีอยู่ตามธรรมดา เป็นภาวะ ของธรรมชาติจริยธรรม คือข้อผูกพันที่โยงสัจธรรม นั้นเข้ากับชีวิตและสังคมมนุษย์ ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ)
วัฒนธรรม คือรูปแบบการปฏิบัติตามจริยธรรมที่ปรากฏ ในวิถีชีวิตของสังคมมนุษย์ (วัฒนธรรมไทย สู่ยุคเป็นผู้นำและเป็นผู้ให้ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ โรงพิมพ์การศาสนา พ.ศ. 2538 หน้า 10) ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม (ต่อ)
By DuangkamolKaewdaeng