620 likes | 1.02k Views
คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น. เสนอ อ.ฐิ ตาพร ดวงเกตุ. Next. คอมพิวเตอร์เบื้องต้น. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์. ความหมายของคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์. ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์. การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์. คณะผู้จัดทำ. แบบทดสอบ. ความหมายของคอมพิวเตอร์.
E N D
คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ Next
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ความหมายของคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ คณะผู้จัดทำ แบบทดสอบ
ความหมายของคอมพิวเตอร์ความหมายของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ยุคของคอมพิวเตอร์จะแบ่งตามวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุค คือ • 1.) ยุคหลอดสูญญากาศ อยู่ระหว่างช่วง พ.ศ.2488 – 2501 คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในยุคนี้คือ UNIVAC I , IBM 600 เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่มาก มีหลักการโดยนำหลอดสุญญากาศ (Vacuum tube) มาเป็นวงจรและใช้กระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ทำให้เครื่องเกิดความร้อนสูงจึงทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย • 2.) ยุคทรานซิสเตอร์ อยู่ระหว่างช่วง พ.ศ. 2502 – 2506 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะมีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคแรก เนื่องการมีการนำทรานซิสเตอร์ (Transistor) มาเป็นวงจร และนำวงแหวนแม่เหล็กมาใช้เป็นหน่วยความจำ ทำให้มีความแม่นยำมากขึ้น • 3.) ยุควงจรรวม อยู่ระหว่างช่วง พ.ศ. 2507 – 2512 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีการนำวงจรไอซี (Integrated Circuit) มาใช้เป็นสารกึ่งตัวนำซึ่งบรรจุวงจรทางตรรกะ แล้วพิมพ์ไว้บนแผ่นซิลิกอน (Silicon) ที่เราเรียกสั้นๆว่า “ชิป” • 4.) ยุควีแอลเอสไอ อยู่ระหว่างช่วง พ.ศ. 2513 – 2532 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีการนำวงจรไอซีจำนวนมารวมไว้ในแผ่นซิลิกอน 1 แผ่น ซึ่งสามารถบรรจุวงจรได้มากกว่า 1 ล้านวงจร เราเรียกว่าวงจร LSI (Large-Scale Integrated Ciruit) ด้วยวิวัฒนาการนี้ทำให้เกิดแนวคิดที่จะบรรจุวงจรที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำงานของคอมพิวเตอร์(CPU) ลงบนชิปตัวเดียว เรียกว่า “ไมโครโปรเชสเซอร์” • 5.) ยุคเครือข่าย อยู่ระหว่างช่วง พ.ศ. 2513 – จนถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีการนำวงจร LSI มาพัฒนาระบบไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากเดิม เรียกวงจรแบบนี้ว่าวงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) และมีการพัฒนาเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ พร้อมทั้งยังมีขีดความสามารถที่มากขึ้น
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ • องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆ กันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการมาทำงานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • ซอฟต์แวร์ (Software) • บุคลากร (People ware) • ข้อมูล / สารสนเทศ (Data/Information)
ฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
ซอฟต์แวร์ • ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ ดังนี้ • ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, UNIX, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, FORTRAN, Pascal, COBOL, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
บุคคลากร บุคลากร (People ware) หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้ • ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน • โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้ • ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (People ware) ทั้งสิ้น
ข้อมูล/สารสนเทศ ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) ข้อมูล (Data) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าจนกลายเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ประโยชน์ต่อได้หรือที่เรียกว่า สารสนเทศ (Information) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจจะเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ เช่น ภาพ เสียง เป็นต้น ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น โดยปกติจะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจก่อน จึงจะสามารถเอามาใช้งานในการประมวลผลต่างๆ ได้เราเรียกสถานะนี้ว่า สถานะแบบดิจิตอล ซึ่งมี 2 สถานะเท่านั้น คือ เปิด(1) และ ปิด(0)
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ • ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล (Word processing) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้ • งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย • งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน • งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน • งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ, กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น • การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการดูแลรักษาแป้นพิมพ์(keyboard) • 1.ปัดฝุ่นและทำความสะอาดเป็นประจำ • 2.อย่าทำน้ำหกถูกแผงแป้นพิมพ์ • 3.คลุมผ้าทุกครั้งหลังการใช้งาน วิธีการดูแลรักษาจอภาพ (Monitor) • 1.ทำความสะอาดหน้าจอ • 2.อย่านำแม่เหล็กเข้าใกล้จอภาพ วิธีการดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ (Printer) • 1.ปิดเครื่องพิมพ์ทุกครั้งหลังใช้งาน • 2.เมื่อกระดาษติดอย่ากระชากให้ค่อยๆดึงออก
วิธีการดูแลรักษาเมาส์ (Mouse) • 1.ควรวางเมาส์ไว้ที่แผ่นรองเมาส์ทุกครั้ง • 2.อย่ากระแทกเมาส์กับพื้น • 3.ทำความสะอาดเมาส์บริเวณลูกกลิ้ง วิธีการดูแลรักษาตัวเครื่อง (case) • 1.ไม่ควรให้เครื่องอยู่บริเวณที่มีอุณหภูมิสูง • 2.ไม่ควรทำน้ำหรืออาหารหกใส่เครื่อง
การดูแลรักษาแผ่นดิสก์ (Diskette) • 1.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปไว้ในที่ที่มีความชื้นสูงหรือเปียก • 2.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปเข้าใกล้กับวัตถุที่มีสนามแม่เหล็ก • 3.ไม่ควรนำแผ่นดิสก์ไปวางไว้ในที่ที่มีอุณภูมิสูงหรือที่ที่มีแสงแดดส่องถึง • 4.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นดิสก์ถ้าจะต้องเขียนให้เขียนลงบนป้าน • ที่มีชื่อไว้สำหรับติดบนแผ่นดิสก์ • 5.ไม่ควรงอแผ่นดิสก์ เพราะอาจจะทำให้แผ่นชำรุดและอาจจะทำให้ไม่สามารถ • เก็บบันทึกข้อมูลได้ • 6.ห้ามนำแผ่นดิสก์ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่กำลังอ่านข้อมูล
การดูแลรักษาแผ่นซีดี (Cd) • 1.ควรเก็บแผ่นซีดีไว้ในกล่อง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ • 2.ไม่ควรขีดหรือเขียนสิ่งใดลงบนแผ่นซีดี เนื่องจากจะทำให้แผ่นซีดีเกิดรอย • ขีดข่วนและเสียหาย ใช้งานไม่ได้ • 3.การจัดแผ่นซีดีที่ถูกต้อง ควรใช้น้วชี้หรือนิ้วกลางใส่ลงไปที่ช่องตรงกลางของ • แผ่นแล้วใช้นิ้วอื่นจับตรงส่วนขอบของแผ่น ไม่ควรใช้มือจับบริเวณด้านหน้าหรือด้าน • หลังของแผ่นซีดี เนื่องจากคราบน้ำมันหรือสิ่งสรกปรกบนมืออาจทำให้แผ่นซีดีใช้งาน • ไม่ดีเท่าที่ควร • 4.ไม่ควรงอแผ่นซีดี เนื่องจากแผ่นซีดีเป็นพลาสติดแข็งไม่มีความยืดหยุ่นซึ่งอาจจะ • ทำให้แผ่นซีดีมีโอกาสแตกหักได้ง่าย
ข้อ 1.คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึงอะไร • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง • เครื่องคิดเลข • เกมส์ออนไลน์ • ถูกทุกข้อ
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ 2.ยุคของคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ยุค • 2 ยุค • 3 ยุค • 4 ยุค • 5 ยุค
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ 3. คอมพิวเตอร์ยุคใดที่ใช้ทรานซิสเตอร์มาเป็นวงจร • ยุคที่ 1 • ยุคที่ 2 • ยุคที่ 3 • ไม่มีข้อถูก
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ 4.ข้อใดเป็นองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ • Internet • Facebook • People • Software
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ 5.ข้อใดคือวิธีดูแลรักษาจอภาพ • นำผ้าชุบน้ำเปียกๆมาเช็ดหน้าจอ • ปล่อยหน้าจอไว้เฉยๆ • ไม่นำแม่เหล็กมาเข้าใกล้จอภาพ • ไม่มีข้อใดถูกต้อง
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ 6.ข้อใดไม่ใช้วิธีการดูแลรักษาแผ่นซีดี 1.ไม่ควรงอแผ่นซีดี 2.ไม่นำแผ่นซีดีไปตากแดด 3.นำแผ่นซีดีมาขีดเขียน 4.ควรเก็บไว้ในกล่องที่สะอาด
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ7.ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์คืออะไรข้อ7.ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์คืออะไร 1.ใช้ในการดูสื่อลามก 2.ใช้ค้นหาข้อมูลในการทำงาน 3.ใช้เผยแพร่ข้อมูลในทางที่ผิด 4.ใช้ซื้อ-ขายสิ่งผิดกฎหมาย
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ.8 ฮาร์แวร์ หมายถึงอะไร 1. สิ่งที่สัมผัสได้ 2.สิ่งที่มองไม่เห็น 3.สิ่งที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ 4.สิ่งที่ไม่มีตัวตน
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ9.คือวิธีการรักษาแป้นพิมพ์ข้อ9.คือวิธีการรักษาแป้นพิมพ์ 1.ไปวางไว้ในที่ชื้น 2.ใช้ผ้าเปียกชุบน้ำเช็ด 3.ขีดขูดเพื่อให้เกิดรอย 4.ปัดฝุ่นทุกครั้งหลังใช้งาน
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ข้อ 10. ข้อใดคือการใช้คอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกต้อง 1.ใช้ในการทำงาน ปริ้นท์งานต่างๆ 2.ใช้ในการหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 3.ใช้ดูการ์ตูนคลายเครียด 4.ใช้ดูสื่อลามก หนังโป๊
ถูกต้องครับ... เก่งมากๆครับ สุดยอดดดดดดดด ...
เสียใจด้วยครับ ... เลือกผิดข้อแล้ว ... พยายามต่อไปครับ
ยินดีด้วยครับ ... คุณทำแบบทดสอบสำเร็จแล้วครับ Mission Complete
คณะผู้จัดทำ 1. เด็กชายณฐนนท์ ยอดมณี ชั้น ม.1/1 เลขที่ 3 2. เด็กชายภูษณพงษ์ สุขสุเสียง ชั้น ม.1/1 เลขที่ 11