1 / 32

การสร้างข้อสอบอัตนัย

การสร้างข้อสอบอัตนัย. วิทยากร อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส (ค.ด.การวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาฯ) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หลักการสร้างข้อสอบอัตนัย (สมพงษ์ พันธุรัตน์).

ayasha
Download Presentation

การสร้างข้อสอบอัตนัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสร้างข้อสอบอัตนัย วิทยากร อ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส (ค.ด.การวัดและประเมินผลการศึกษา, จุฬาฯ) อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  2. หลักการสร้างข้อสอบอัตนัย (สมพงษ์ พันธุรัตน์) ข้อสอบอัตนัยมุ่งเน้นให้ ผู้สอบจะต้องเรียบเรียงความคิดและความรู้ เรียบเรียงภาษาผูกประโยคให้เป็นข้อความที่ชัดเจน เขียนเป็นคำตอบให้ตรงตามต้องการของคำถาม

  3. ประเภทของข้อสอบอัตนัยประเภทของข้อสอบอัตนัย 1. แบบจำกัดคำตอบ (Restricted Response) 2. แบบขยายคำตอบ (Extended Response)

  4. แบบจำกัดคำตอบ(Restricted Response)กำหนดของเขต แบบฟอร์ม เนื้อหาในการตอบคำถาม ตัวอย่างเช่น - จงอธิบายสาเหตุของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มา 3 ประการ • จงยกตัวอย่างการกระทำที่แสดงถึงความรักชาติมา 5 ข้อ ข้อดี • ตรวจง่าย • ลดปัญหาด้านความไม่คงเส้นคงวาของการให้คะแนน ข้อเสีย - ด้วยข้อจำกัดของการตอบ จึงทำให้การวัดความคิดขั้นสูงยังมีข้อจำกัด

  5. แบบขยายคำตอบ/ไม่จำกัดคำตอบ(Extended Response) ตัวอย่างเช่น - จงอธิบายทฤษฎีกำเนิดชนชาติไทยมา 1 ทฤษฎี - จงอภิปรายเกี่ยวกับการสอนแบบบรรยายกับการสอนแบบ สืบสวน โดยให้บอกถึงหลักสำคัญที่ใช้ในการสอนแต่ละวิธี และข้อดี- ข้อเสีย ของการสอนทั้งสองแบบ ข้อดี - ผู้สอบมีอิสระในการตอบ และสามารถวัดการคิดขั้นสูงได้ ข้อเสีย - ยังมีปัญหาในเรื่องความคงเส้นคงวาของการตรวจให้คะแนน

  6. ข้อดีของข้อสอบอัตนัย • เหมาะสมที่จะวัดความคิดขั้นสูง • สร้างง่าย และรวดเร็ว • ส่งเสริมทักษะการเขียน • ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ วัดความสามารถ ในการบูรณาการความรู้ • ให้เสรีภาพแก่ผู้ตอบ • เดาไม่ได้ • ประหยัดค่าใช้จ่าย • ลดการทุจริตในการสอบ • ข้อจำกัดของข้อสอบอัตนัย • ถามได้ไม่คลุมเนื้อหา สุ่มเนื้อหาที่จะวัดได้จำกัด ถามได้น้อยข้อ • มีความไม่ยุติธรรมในการตรวจ • เสียเวลาในการตรวจ

  7. ควรใช้ข้อสอบอัตนัยเมื่อไหร่จึงจะได้ผลดีควรใช้ข้อสอบอัตนัยเมื่อไหร่จึงจะได้ผลดี • จำนวนผู้เข้าสอบพอเหมาะ และไม่นำข้อสอบมาใช้อีก • ผู้สอนต้องการพัฒนาทักษะด้านการเขียนของผู้เรียน • ผู้สอนให้ความสำคัญกับทัศนคติ แนวคิด ข้อคิดเห็น และคำอธิบายของผู้เรียน • ผู้สอนมีความมั่นใจในความสามารถของตนในการอ่าน และตรวจข้อสอบอย่างเป็นธรรม • ผู้สอนมีเวลาเตรียมและออกข้อสอบไม่มากนัก

  8. ข้อเสนอแนะในการเขียนข้อสอบอัตนัยข้อเสนอแนะในการเขียนข้อสอบอัตนัย • ควรใช้วัดความคิดระดับสูง • ควรกำหนดขอบเขตของปัญหา / สถานการณ์ • ควรเป็นปัญหา / สถานการณ์ใหม่ และเป็นจริง • ควรเขียนคำแนะนำในการตอบให้ชัดเจน • ควรให้ทำทุกข้อ ไม่ควรให้เลือกตอบบางข้อ • ควรเขียนคำเฉลยพร้อมกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนในแต่ละข้อ

  9. ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูงลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 3.00 การนำไปใช้ - ให้วางแผนแก้ปัญหา , โจทย์แก้ปัญหา - ให้ประยุกต์หลักการ หรือทฤษฎีกับสถานการณ์ - ให้ยกตัวอย่าง หรือแสดงตัวอย่าง - ให้จัดรวบรวมความคิดใหม่ให้สมบูรณ์ - ให้พิจารณาทางเลือกที่ดีที่สุดและระบุเหตุผล

  10. ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูงลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 4.00 การวิเคราะห์ - ให้เปรียบเทียบหรือระบุความแตกต่าง - ให้แสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล - ให้เหตุผลต่อเหตุการณ์ที่เป็นการตัดสินอย่างใด อย่างหนึ่ง - ให้ระบุสาเหตุที่สำคัญของเรื่อง - ให้บรรยายความผิดพลาดของงาน

  11. ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูงลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 5.00 การสังเคราะห์ - ให้เขียนเรียงความ เขียนโคลง - ให้ออกแบบโครงงาน โครงการ - ให้วางแผนการทดลอง - ให้สร้างข้อสอบ - ให้อภิปรายประเด็นใดประเด็นหนึ่ง - ให้ตั้งประเด็นใหม่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

  12. ลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูงลักษณะของคำถามที่ควรใช้วัดความคิดระดับสูง 6.00 การประเมินผล - ให้ตัดสินคุณค่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเทียบกับเกณฑ์ - ให้ตรวจสอบความบกพร่องของกระบวนการ - ให้วิจารณ์ความถูกต้อง ความเหมาะสมของข้อมูล หรือสถานการณ์ - ให้ประเมินคุณค่าของผลงาน

  13. ข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัยข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัย 1. ควรเฉลยคำตอบ พร้อมเกณฑ์การให้คะแนนไว้ก่อน 2. ควรอ่านคำตอบทุกคนคร่าวๆ ก่อน อย่างน้อยหนึ่งรอบ 3. ปรับคำเฉลย และเกณฑ์การให้คะแนนให้รับกับคำตอบ 4. การตรวจคำตอบ - Scoring Rubric เป็นเกณฑ์การให้คะแนนที่มีคำอธิบายพฤติกรรม ในแต่ละระดับของผลสัมฤทธิ์ มี 2 ลักษณะ คือ 1) Holistic Rubric คือ การให้คะแนนในภาพรวม 2) Analytic Rubric คือ การให้คะแนนตามองค์ประกอบย่อย - Benchmarks เป็นตัวอย่างคำตอบที่ใช้เสริม Rubric Scoring เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมว่า ตอบอย่างไรจะได้คะแนนเท่าไร

  14. ข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัยข้อเสนอแนะในการตรวจข้อสอบอัตนัย 5. ควรตรวจคำตอบทีละข้อไปจนครบทุกคน 6. เมื่อจะตรวจข้อต่อไป ควรสลับกระดาษคำตอบ 7. ควรมีการตรวจทานคะแนนอีกครั้ง โดยเฉพาะคนต้น ๆ และ คนท้าย ๆ 8. บันทึกข้อผิดพลาดของผู้ตอบ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุง การสอนต่อไป

  15. การตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบอัตนัย 1. คำถามตรงตามระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัด 2. คำถามผู้ตอบต้องใช้ความคิด ไม่ใช่สิ่งที่บอกหรือ อภิปราย ในชั้น หรือในตำรา 3. คำถามชัดเจนมีรายละเอียด และเงื่อนไขพอเพียง 4. เป็นคำถามที่มีคำตอบถูกต้องสมเหตุสมผล 5. บอกคะแนนเต็มของแต่ละข้อ 6. มีคำเฉลย / แนวคำตอบ พร้อมระบุเกณฑ์การให้คะแนน

  16. เกณฑ์การประเมินแบบแยกส่วน (Analytic Rubric) • แนวทางการให้คะแนนโดยพิจารณาจากแต่ละส่วนของงาน ซึ่งแต่ละส่วนจะต้องกำหนดแนวทางการให้คะแนนโดยมีคำนิยามหรือคำอธิบายลักษณะของงานในส่วนนั้นๆ ในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจน และกำหนดน้ำหนักคะแนนของแต่ละส่วนแยกจากกัน มีประโยชน์ในการประเมินสิ่งที่คาดหวังจากงานเป็นด้านๆ และทำให้รู้ว่าต้องแก้ไขปรับปรุงจุดใด

  17. ตัวอย่าง 1 กำหนดให้นักเรียนศึกษาว่ากระดาษทิชชู 3 ยี่ห้อ ยี่ห้อไหนจะซับน้ำได้ดีที่สุด โดยให้อุปกรณ์การทดลองประกอบด้วย หลอดแก้ว ถาด หลอดหยด และตาชั่ง เกณฑ์การให้คะแนนจะพิจารณาวิธีการ การทำให้อิ่มตัว การพิจารณาผล การชั่ง และการสรุปผล คะแนน วิธีการ การทำให้อิ่มตัว การพิจารณาผล การชั่ง ผล 4 ถูก ถูก ถูก ถูก ถูก 3 ถูก ถูก ถูก ผิด ถูก/ผิด 2 ถูก ถูก คลาดเคลื่อน ผิด ถูก/ผิด 1 ถูก ผิด คลาดเคลื่อน ผิด ถูก/ผิด 0 ไม่ได้ปฏิบัติเลย/ปฏิบัติผิดหมด

  18. ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความ แบบแยกประเด็น (Analytic Rubrics)

  19. สรุปผลการประเมิน • ระดับคุณภาพ • ดีมาก 14 – 16 คะแนน • ดี 11 – 13 คะแนน • พอใช้ 8 – 10 คะแนน • ควรปรับปรุง 1 – 7 คะแนน

  20. ตัวอย่างเกณฑ์การตรวจให้คะแนนการเขียนคล่องตัวอย่างเกณฑ์การตรวจให้คะแนนการเขียนคล่อง

  21. ตัวอย่างเกณฑ์การตรวจให้คะแนนความสามารถด้านการคิดแก้โจทย์ปัญหาตัวอย่างเกณฑ์การตรวจให้คะแนนความสามารถด้านการคิดแก้โจทย์ปัญหา

  22. เกณฑ์การประเมินในภาพรวม(Holistic Rubric) • แนวทางการให้คะแนน โดยพิจารณาจากภาพรวมของชิ้นงาน โดยจะมีคำอธิบายลักษณะของงานในแต่ละระดับไว้อย่างชัดเจนมีประโยชน์ในการใช้ประเมินการปฏิบัติงานที่มีกระบวนการซับซ้อนมากๆ เกินกว่าจะแยกแยะเป็นด้านต่างๆ ได้

  23. ตัวอย่าง 2 กระดาษขนาด 8 x 12 นิ้ว ต้องการทำเป็นกล่องสี่เหลี่ยมไม่มีฝา โดยตัด มุมทั้ง 4 ออกให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีด้านเป็นจำนวนเต็มของนิ้ว ควรจะ ตัดออกด้านละกี่นิ้ว โดยให้กล่องมีปริมาตรมากที่สุด เกณฑ์การให้คะแนน 4 - คำตอบถูก แสดงเหตุผลถูกต้อง แนวคิดชัดเจน 3 - คำตอบถูก เหตุผลถูกต้อง อาจมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย 2 - เหตุผลหรือการคำนวณผิดพลาด แต่มีแนวทางที่จะนำไปสู่คำตอบ 1 - แสดงวิธีคิดเล็กน้อยแต่ยังไม่ได้คำตอบ 0 - ไม่ตอบหรือตอบไม่ถูกเลย

  24. ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความ แบบภาพรวม (Holistic Rubrics)

  25. เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับเทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 1 กำหนดรายละเอียดขั้นต่ำไว้ที่ระดับ 1 แล้วเพิ่มลักษณะสำคัญๆ สูงขึ้นมาทีละระดับ เช่น การประเมินทักษะการเขียน ในองค์ประกอบด้าน “เนื้อหา” สามารถกำหนดได้ดังนี้ ระดับที่ 1 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ระดับที่ 2 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและลำดับเรื่องได้ไม่วกวน ระดับที่ 3 เนื้อหาที่เขียนสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ลำดับเรื่องได้ชัดเจน สอดแทรกสาระบางอย่าง ทำให้เรื่องน่าสนใจและอ่านแล้วเกิดจินตนาการ

  26. เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับเทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 2 กำหนดตัวแปรย่อยที่มีน้ำหนักเท่ากันทุกตัว แล้วระบุว่าตัวแปรหายไปเท่าไร ระดับคะแนนก็ลดหลั่นตามลำดับ เช่น การประเมินการจัดทำรายงาน อาจมีประเด็นของรูปแบบที่ต้องมี ปก คำนำ สารบัญ การอ้างอิง และบรรณานุกรม โดยอาจกำหนดเกณฑ์การประเมินในด้าน “รูปแบบ” ของการเขียนรายงานได้ดังนี้ ระดับ 4 มีครบ คือ ปก คำนำ สารบัญ การอ้างอิง บรรณานุกรม ระดับ 3 ขาด 1 ลักษณะ ระดับ 2 ขาด 2 ลักษณะ ระดับ 1 ขาด 3 ลักษณะ

  27. เทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับเทคนิคการเขียนคำอธิบายคุณภาพของแต่ละระดับ เทคนิควิธีที่ 3 การเขียนรายละเอียดในเชิงปริมาณ เช่น “การใช้ภาษา” ระดับ 1 ภาษาผิดพลาดไม่เกิน 50 % แต่ยังสื่อความหมายได้ ระดับ 2 ภาษาถูกต้อง 50 – 70 % และสื่อความหมายได้ ระดับ 3 ภาษาถูกต้อง 70 – 90 % เชื่อมโยงภาษาได้ดี ระดับ 4 ภาษาถูกต้อง 90 – 100 % ภาษาสละสลวย

  28. เด็กชาย B เด็กชาย A “ชุมชนสุขภาพดี”

  29. แบบเขียนข้อสอบอัตนัย วิชา...........................................................................เลขที่ข้อสอบ    มาตรฐานที่/ตัวชี้วัด…………….................................................................................................เนื้อหา........................................................ รูปแบบข้อสอบ  จำกัดคำตอบ (Restricted Response) ขยายคำตอบ (Extended Response) ระดับพฤติกรรมที่วัด  ความจำ  ความเข้าใจ  การนำไปใช้  การวิเคราะห์  การประเมินค่า  การสร้างสรรค์ โจทย์หรือคำถาม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… แนวคำตอบ (เฉลย) ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… เกณฑ์การตรวจให้คะแนน  Holistic Rubric  Analytic Rubric ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ผู้เขียนข้อสอบ......................................... ผู้ตรวจคุณภาพข้อสอบ................................................. (..............................................................) (..............................................................)

  30. เพื่ออนาคตของเด็กไทย ร่วมใจกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา

More Related