1 / 41

วิชา ภูมิศาสตร์กายภาพ

วิชา ภูมิศาสตร์กายภาพ. Physical Geography. ภูมิศาสตร์. GEOGRAPHY. ภูมิ. แผ่นดิน/พื้นโลก. =. =. +. Geo. Graphos. ศาสตร์/ตำรา วิชา. =. Geo graphy = ภูมิศาสตร์. ภูมิศาสตร์.

bebe
Download Presentation

วิชา ภูมิศาสตร์กายภาพ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา ภูมิศาสตร์กายภาพ Physical Geography

  2. ภูมิศาสตร์ GEOGRAPHY

  3. ภูมิ แผ่นดิน/พื้นโลก = = + Geo Graphos ศาสตร์/ตำรา วิชา = Geography= ภูมิศาสตร์

  4. ภูมิศาสตร์ • ภูมิศาสตร์ เป็นเรื่องราวของการบรรยายหรือพรรณนาเกี่ยวกับโลก คณะกรรมการอภิธานศัพท์ ภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ได้ให้ความหมายภูมิศาสตร์ว่า “เป็นศาสตร์ที่บรรยายเกี่ยวกับเปลือกโลก ในแง่ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์ของพื้นที่ต่างๆ”พจนานุกรมของอเมริกันได้กล่าวว่า “ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับความแตกต่างของพื้นผิวโลกในแง่ของลักษณะเด่น การกำหนดและความสัมพันธ์ระหว่างสารประกอบของโลก”พจนานุกรมไทย – อังกฤษได้ให้ความหมาย ภูมิศาสตร์ ไว้ว่า เป็นศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

  5. สรุป ความหมายของ “ ภูมิศาสตร์ ” • ภูมิศาสตร์ (Geography) คือ ศาสตร์ทางด้านพื้นที่และบริเวณต่างๆ บนพื้นผิวโลก เป็นวิชาที่ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพ และมนุษย์ ที่เกิดขึ้น ณ บริเวณที่ทำการศึกษา รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่บริเวณโดยรอบ

  6. โครงสร้างที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ ประกอบด้วย • 1. ภูมิศาสตร์ระบบ (Systematic Geography) • 2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค (Regional Geography) • 3. ภูมิศาสตร์เทคนิค (Technical Geography) • 4. หลักปรัชญา (Philosophy)

  7. ลักษณะภูมิศาสตร์โลก • เน้นศึกษาลักษณะทางกายภาพบนพื้นผิวโลก 4 ประการ1. ธรณีภาค (Lithosphere) คือ ศึกษาเรื่องของเปลือกโลกส่วนที่เป็นของแข็งหรือส่วนที่เป็นดิน2. อุทกภาค (Hydrosphere) คือ เรื่องของเปลือกโลกส่วนที่เป็นพื้นน้ำ เช่น ทะเล มหาสมุทร3. บรรยากาศภาค (Atmosphere) คือศึกษาเรื่องของเปลือกโลกส่วนที่อยู่เหนือผิวโลก เราเรียกว่า ภาคบรรยากาศ และ กาลอากาศ ภูมิอากาศ (Climate) และ อากาศ (Weather)4. ชีวภาค (Biosphere ) คือ ศึกษาเรื่องสิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลก เช่น มนุษย์ สัตว์ พืช

  8. 1.การเน้นทางด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Emphasis) 2. การเน้นทางด้านนิเวศวิทยา (Ecological Emphasis) 3. การเน้นทางด้านภูมิภาค(Regional Emphasis) วิธีการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์

  9. การเน้นทางด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial Emphasis) สิ่งที่เราศึกษา นั้นอยู่ที่ไหน สิ่งที่สนใจนั้น เพราะเหตุใด จึงกระจาย อยู่บริเวณนั้น สิ่งที่สนใจ จะทำการ วัดหรือกำหนด ขอบเขตอย่างไร 1. 2. 3.

  10. การเน้นทางด้านนิเวศวิทยา (Ecological Emphasis) โครงสร้างของระบบนิเวศ กลุ่มสิ่งมีชีวิต แหล่งที่อยู่ สิ่งแวดล้อม

  11. ด้านนิเวศวิทยา ศึกษาด้าน โครงสร้างและระบบความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งต่าง ๆ ในบริเวณพื้นที่ หนึ่งๆโดยหน่วยพื้นที่หนึ่ง ๆ ที่ประกอบด้วยสังคม ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมซึ่งต่างมีกิจกรรมและ หน้าที่ร่วมกันอย่างเป็นระบบ

  12. ภูมิศาสตร์กายภาพ • ภูมิศาสตร์กายภาพเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์และความสัมพันธ์ซึ่งคาบเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพหลายวิชาที่สำคัญ ได้แก่ วิชา อุตุนิยมวิทยา อากาศวิทยา สมุทรศาสตร์ ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา นิเวศน์วิทยาของพืช และธรณีสัณฐานวิทยา เน้นความสัมพันธ์ทางพื้นที่ นั่นคือ เน้นการกระจายบนพื้นผิวโลกหรือที่เรียกว่ารูปแบบทางภูมิศาสตร์ (Geographic pattern) ของสภาพแวดล้อม

  13. โลกและจักรวาล

  14. 1. เอกภพ (Universe) เป็นที่ว่างที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลจนไม่สามารถกำหนดขอบเขตได้

  15. กาแลคซี่ (Galaxy) ดวงดาวมากมายหลายร้อยล้านดวง ทั้งดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ฝุ่น และกลุ่มเนบิวลา

  16. กาแลคซี่ทางช้างเผือก (Milky Way) มีดวงดาวอยู่มหาศาลมากประมาณแสนล้านดวง โลกของเราก็อยู่ในระบบสุริยะจักรวาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางช้างเผือก มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดวงดาวต่าง ๆ หรือที่เรียกอีกอย่างว่าเทห์ฟากฟ้า ดวงดาวทุกดวงจะมีความเกี่ยวพันกันอยู่กับดวงดาวดวงหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ดวงจันทร์กับโลก โลกกับดวงอาทิตย์ เป็นต้น เทห์ฟากฟ้าที่ประกอบกันอยู่ในระบบสุริยะจักรวาล ได้แก่ ดาวเคราะห์ ดาวบริวาร ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดาวตก อุกกาบาต เป็นต้น

  17. 2.ระบบสุริยะจักรวาล (Solar System)

  18. 2. ระบบสุริยะจักรวาล (Solar System)cont. - เกิดจากการระเบิดของดวงดาวขนาดใหญ่ (Supernova Explosion) - เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของฝุ่นและก๊าซ ส่วนหนึ่งเป็นการรวมตัวของฝุ่นและก๊าซ เมื่ออุณหภูมิลดลง แรงโน้มถ่วงจะดึงดูดให้ฝุ่นและก๊าซมีการอัดตัวกันแน่น เกิดความร้อนและปฏิกริยานิวเคลียร์ที่แกนของก๊าซไฮโดรเจนเปลี่ยนเป็นก๊าซฮีเลียมและเกิดเป็นพลังงานมหาศาล ส่วนนี้กลายเป็นดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะจักรวาล ส่วนฝุ่นและก๊าซส่วนที่เหลือ เมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็นดาวเคราะห์หมุนรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งดาวเคราะห์เหล่านี้ประกอบไปด้วยของแข็ง เช่น ดิน หิน และปกคลุมด้วยก๊าซ ส่วนดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากๆ จะเป็นกลุ่มก้อนก๊าซที่มีขนาดใหญ่มาก

  19. 2. ระบบสุริยะจักรวาล (Solar System) cont. • เป็นระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาวพระเคราะห์ 9 ดวง และดวงจันทร์มากกว่า 48 ดวง นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดาวตก อุกกาบาต เป็นบริวารโคจรรอบๆ ดวงอาทิตย์

  20. 3. ดวงอาทิตย์ (Sun) ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะของเรา ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหางล้วนแล้วแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญยิ่งต่อโลก เช่น ให้พลังงานแก่พืชในรูปของแสง และพืชก็เปลี่ยนแสงให้เป็นพลังงานในการตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นน้ำตาล ตลอดจนทำให้โลกมีสภาวะอากาศหลากหลาย เอื้อต่อการดำรงชีวิต

  21. 3. ดวงอาทิตย์ (Sun)cont. ดวงอาทิตย์ประกอบด้วยไฮโดรเจนอยู่ร้อยละ 74 โดยมวล ฮีเลียมร้อยละ 25 โดยมวล และธาตุอื่นๆ ในปริมาณเล็กน้อย มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,780 เคลวิน (ประมาณ 5,515 องศาเซลเซียส หรือ 9,940 องศาฟาเรนไฮต์) ดวงอาทิตย์จึงมีสีขาว แต่เห็นบนโลกเป็นสีเหลือง เนื่องจากการกระเจิงของแสง ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากศูนย์กลางดาราจักรทางช้างเผือกเป็นระยะทางโดยประมาณ 26,000 ปีแสง ใช้เวลาโคจรครบรอบดาราจักรประมาณ 225-250 ล้านปี มีอัตราเร็วในวงโคจร 215 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 1 ปีแสง ทุกๆ 1,400ปี ปีแสง คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792.458 กิโลเมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607×1012 กิโลเมตร = 63,241.077 หน่วยดาราศาสตร์ = 0.30660 พาร์เซก เนื่องจากเอกภพมีขนาดมหึมา แสงจากวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเดินทางมาถึงเรา นั่นหมายความว่าเราเห็นอดีตของวัตถุนั้นอยู่ตลอดเวลาปีแสงใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างดาราจักร และไม่ใช่หน่วยวัดเวลา หนึ่งปีแสงมีค่าที่แน่นอนโดยใช้ตัวเลขปีจูเลียน (365.25 วัน) มาคำนวณซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล[1] คือ 9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร

  22. 4.ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล4.ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ระบบสุริยะจักรวาล มีดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างในตัวเองเป็นศูนย์กลางและประกอบไปด้วยดาวเคราะห์ที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเองเป็นดาวบริวารจำนวน 9 ดวง ดังนี้ 4.1 ดาวพุธ (Mercury) 4.2 ดาวศุกร์ (Venus) 4.3 ดาวโลก (Earth) 4.4 ดาวอังคาร (Mars) 4.5 ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) 4.6 ดาวเสาร์ (Saturn) 4.7 ดาวยูเรนัส (Uranus) 4.8 ดาวเนปจูน (Neptune) 4.9 ดาวพลูโต (Pluto)

  23. 5. โลก (Earth) • ดังที่ทราบมาแล้วว่าโลกเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มก๊าซ และมีการศึกษากันมาว่าโลกกลม โดยการหาวิธีการต่างในการสังเกตว่าโลกกลมนั้นได้มีการหาวิธีการหลายอย่าง อาทิเช่น • 1. การสังเกตเรือที่แล่นเข้าสู่ฝั่ง โดยเมื่อเรือแล่นเข้าสู่ฝั่งเราจะเห็นส่วนของเสากระโดงเรือก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ เห็นส่วนอื่น ๆ เนื่องจากพื้นผิวทะเลเป็นส่วนโค้งนั่นเอง • 2. การสังเกตตำแหน่งดาวเหนือ สังเกตโดยผู้ที่อยู่ในตำแหน่งเส้นศูนย์สูตรของโลกจะมองเห็น ดาวเหนืออยู่บนเส้นระนาบขอบฟ้า แต่เมื่อเคลื่อนที่หรือเดินทางขึ้นไปทางเหนือมากขึ้น ตำแหน่งของดาวเหนือจะอยู่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อเดินทางหรือเคลื่อนที่ไปถึงขั้วโลกเหนือ ตำแหน่งของดาวเหนือจะอยู่ตรงศีรษะพอดี

  24. 5. โลก (Earth) cont. • 3. การสังเกตจากการเกิดจันทรุปราคา เนื่องจากปรากฏการณ์ดังกล่าวเงาของโลกจะปรากฏให้ เห็นบนดวงจันทร์ ของเงาของโลกที่สังเกตเห็นจะมีลักษณะเป็นส่วนโค้งของวงกลม • 4. โดยการถ่ายภาพของโลก เป็นวิธีการพิสูจน์ได้ชัดเจนที่สุด โดยถ่ายภาพจากดาวเทียม หรือ การถ่ายภาพจากยานอวกาศ ที่โคจรอยู่รอบโลก • 5. นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกมาก เช่น การชั่งน้ำหนักสิ่งของ ซึ่งจะมี น้ำหนักแตกต่างกัน ในแต่ละส่วนของโลก วิธีการทางด้านเทคโนโลยีการ สำรวจ และการสังเกตจากวิธีการเดินเรือสมัยใหม่

  25. 5.1 โลก (Earth) cont. 5.1 ลักษณะรูปทรงของโลก 5.1.1. ทรงรีที่ขั้วทั้งสองยุบตัวลง (Oblate Ellipsoid) หรือเราเรียกว่าทรงรีแห่งการหมุน เนื่องมาจากสภาวะของโลกที่หนืด เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดแรงเหวี่ยง และทำให้เกิดการยุบตัวบริเวณขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ และป่องตัวออกบริเวณส่วนกลางหรือเส้นศูนย์สูตร สามารถสังเกตได้จากความยาวของเส้นศูนย์สูตร ที่มีความยาว 12,757 กิโลเมตร (7,927 ไมล์) และระยะทางจากขั้วโลกเหนือมาขั้วโลกใต้มีความยาว 12,714 กิโลเมตร (7,900 ไมล์) ซึ่งมีความแตกต่างกัน 43 กิโลเมตร (27 ไมล์)

  26. 5.1 โลก (Earth) cont. 5.1.2 รูปทรงแบบยีออยด์ (Geoid) โดยจะเป็นไปตามสภาพพื้นผิวโลกที่มีความขรุขระสูงต่ำ ดังนั้นส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปจะมีลักษณะนูนสูง จึงต้องมีการปรับลักษณะพื้นผิวโลกเสียใหม่ โดยใช้แนวของพื้นผิวของระดับน้ำทะเลตัดผ่านเข้าพื้นดินที่มีระดับเท่ากันกับรูปทรงโลก เรียกว่า รูปทรงของโลกแบบยีออยด์

  27. 5.2 การเคลื่อนไหวของโลก การเคลื่อนไหวของโลกสามารถจำแนกเป็น 2 ลักษณะ คือ ถ้าหากเป็นการเคลื่อนไหวของโลกรอบตัวเองเราเรียกว่า “การหมุน” ส่วนการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์เราเรียกว่า “การโคจร” ซึ่งสามารถศึกษาได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  28. 5.2 การเคลื่อนไหวของโลก 5.2.1 การหมุนของโลก เป็นการเคลื่อนไหวของโลกรอบแกนของตัวเอง ปรากฏการณ์การหมุนของโลกทำให้เกิดกลางวัน และกลางคืน ซึ่งเรียกว่า “วัน” แต่ละวันใช้เวลาแตกต่างกันไปดังนี้ วันดาราคติ (Sidereal Day) ยึดหลักการหมุนรอบแกนตัวเองของโลกครบ 1 รอบ โดยใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที 4.09 วินาที วันสุริยคติ (Solar Day) ยึดหลักช่วงระยะเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นเมอริเดียนครบ 1 รอบ (เที่ยงวันหนึ่งไปยังอีกเที่ยงวันหนึ่ง) ซึ่งจะกำหนดเวลาเท่ากับ 24 ชั่วโมง ทิศทางการหมุนรอบตัวเองของโลกอาจยึดหลักการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ได้เช่นกัน เช่น ถ้าหากมองลงมายังบริเวณขั้วโลกเหนือ ทิศทางการหมุนของโลกจะมีทิศทางทวนเข็มนาฬิกา โลกจะหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกเสมอ ทิศทางการหมุนรอบตัวเองของโลกจะตรงข้ามกับเทห์ฟากฟ้าอื่น ๆ ที่มีแนวการเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกเสมอ

  29. 5.2.2 อัตราความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลก • จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยบริเวณเส้นศูนย์สูตร ความเร็วในการ • หมุนรอบตัวเองของโลกเท่ากับ 1,700 กิโลเมตร / ชั่วโมง ส่วนบริเวณละติจูดที่ 60 องศา ความเร็วของการหมุนรอบตัวเองของโลกจะมีค่าประมาณ 850 กิโลเมตร / ชั่วโมง หรือประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วที่ศูนย์สูตร แต่บริเวณขั้วโลกความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกมีค่าเป็นศูนย์ ผลจากการที่อัตราความเร็วของการหมุนรอบตัวเองของโลกต่างกัน จะมีผลตามมาที่สำคัญ คือ • - แรงเหวี่ยงของโลกมีผลต่อน้ำหนักของวัตถุ เพราะเป็นแรงหนีศูนย์กลาง ดังเช่น • วัตถุชิ้นหนึ่งมีน้ำหนัก 250 กิโลกรัมที่ศูนย์สูตร ขณะที่โลกยังไม่มีแรงเหวี่ยง แต่ถ้าโลกมีแรงเหวี่ยงเกิดขึ้นจะทำให้น้ำหนักของวัตถุเท่ากับ 249 กิโลกรัม แสดงว่าแรงเหวี่ยงจากการหมุนรอบตัวเองของโลกมีผลต่อน้ำหนักของวัตถุ • - มีผลต่อทิศทางของลมและกระแสน้ำ โดยทิศทางของลมและกระแสน้ำบริเวณขั้วโลกเหนือจะเบนไปทางขวามือ ส่วนซีกโลกใต้จะเบนไปทางซ้ายมือ เพราะโลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก

  30. 5.3. ปรากฏการณ์จากการหมุนรอบตัวเองของโลก การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญ ได้แก่ การเกิดกลางวัน-กลางคืน การเกิดรุ่งอรุณ และสนธยา ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้ 5.3.1 การเกิดกลางวันและกลางคืน (Day and Night) เมื่อโลกหมุนรอบตัวเองด้านที่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ จะทำให้ เกิดกลางวัน ส่วนด้านที่หันหลังให้ดวงอาทิตย์ จะเป็นเวลากลางคืน 5.3.2 รุ่งอรุณและสนธยา (Dawn and Twilight) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากโมเลกุลหรือนุภาคต่าง ๆ ในบรรยากาศ เช่น ฝุ่นละออง ความชื้น เกิดการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์กลับมายังพื้นโลก ซึ่งจะเกิดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น และหลังดวงอาทิตย์ตกดิน

  31. 5.4 การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เคปเลอร์ : Kepler ได้ค้นพบปรากฏการณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการโคจรของโลก และดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เขากล่าวว่า “แนวการโคจรของดาวเคราะห์ รอบดวงอาทิตย์จะมีลักษณะเป็นวงรี” “ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ๆ จะโคจรไปตามแนวเส้นตรงที่เชื่อมต่อระหว่างดาวเคราะห์กับดวงอาทิตย์ ซึ่งอัตราความเร็วของการโคจรดังกล่าว ในพื้นที่รัศมีซึ่งมีระยะทางเท่ากันจะใช้เวลาในการโคจรเท่ากัน” วันพสุสงกรานต์เหนือ (Perihelion) หมายถึง ช่วงที่พื้นดินส่วนใหญ่อยู่ทางเหนือ ระยะทางของโลกที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดของวงโคจร คือ 147 ล้านกิโลเมตรโลกจะโคจรตามวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ซึ่งประกอบกับแกนโลกเอียงทำมุม 23 1/2 องศา ทำให้ขั้วโลกเหนือไม่ได้รับแสงในแนวดิ่งจากดวงอาทิตย์มากเท่าขั้วโลกใต้ และช่วงวันดังกล่าวซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่งวงโคจรซึ่งโลกอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งตรงกับวันที่ 3 มกราคม วันพสุสงกรานต์ใต้ (Aphelion) โดยระยะทางของโลกจะห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดเป็นระยะทาง 152 ล้านกิโลเมตร (94.5 ล้านไมล์) โดยในวงโคจรระยะที่โลกจะเคลื่อนที่ลงมาทางทิศตะวันตก ประกอบกับแกนโลกเอียงทำให้พื้นดินส่วนใหญ่ของขั้วโลกเหนือได้รับแสงดิ่งจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ซึ่งตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม

  32. 5.5 ผลที่เกิดขึ้นจากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ 5.5.1 ความผันแปรของระยะเวลากลางคืนและกลางวัน เนื่องมาจากแกนโลกเอียงจึงทำให้เกิดความผันแปรของความยาวนานของ กลางคืนและกลางวันเมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในแต่ละภูมิภาคไม่เท่ากัน

  33. 5.5.2 การเกิดฤดูกาลบนพื้นโลก (Season) การเกิดฤดูกาลจะแปรผันโดยตรงกับปริมาณของความร้อนที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามจำนวนฤดูกาลที่เกิดบนพื้นโลกในส่วนต่าง ๆ กันก็ยังมีระยะเวลาและจำนวนฤดูกาลแตกต่างกันไป ช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ โลกจะหันซีกเหนือออกห่างจากดวงอาทิตย์ ทำให้ได้รับแสงน้อยมากมีผลทำให้อุณหภูมิต่ำลง ส่วนซีกโลกใต้จะได้รับแสงดิ่งจากดวงอาทิตย์ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นมากจึงเป็นช่วงฤดูร้อน หลังจากเดือนกุมภาพันธ์ โลกจะค่อย ๆ หันด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์ทำให้บริเวณเส้นศูนย์สูตรได้รับแสงดิ่งจากดวงอาทิตย์ ช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม พื้นที่บริเวณดังกล่าวจึงเป็นฤดูร้อน ส่วนพื้นที่ซีกโลกเหนือจะเริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิ ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม โลกหันซีกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ จึงทำให้ซีกโลกเหนือได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ในอัตราสูง ส่งผลให้ซีกโลกเหนือมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซีกโลกเหนือจึงเป็นฤดูร้อน ในทางกลับกันซีกโลกใต้จะมีอุณหภูมิต่ำเนื่องจากได้รับแสงจากดวงอาทิตย์น้อย จากเดือนกันยายน เป็นต้นไป โลกเริ่มโคจร โดยเบนด้านข้างเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้แสงดิ่งของดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนลงทางใต้ ทำให้อุณหภูมิของซีกโลกเหนือค่อย ๆ ลดลง ในช่วงเวลาดังกล่าว (เดือนกันยายน-พฤศจิกายน) จึงเป็นฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกเหนือ

  34. 5.5.3 ความสูงของดวงอาทิตย์เที่ยงวัน

  35. 5.5.3 ความสูงของดวงอาทิตย์เที่ยงวัน cont. ในวันที่ 21 มีนาคม และวันที่ 23 กันยายน เราเรียกสองวันนี้ว่า วันวิษุวัต (Equinox) โดยจะ เป็นวันที่มีช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืน (วิษุวัต แปลว่า เท่ากัน) โดยวันที่ 21 มีนาคม (ช่วงฤดูฝน) เรียกว่าวัน วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และวันที่ 23 กันยายน (ช่วงฤดูใบไม้ร่วง) เรียกว่าวัน ศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) วันที่ 21 มิถุนายนนี้ ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไปอยู่ทางซ้ายสุดของท้องฟ้า วันดังกล่าวขั้วโลกเหนือจะมีชั่วโมงของกลางวันมาก และขั้วโลกใต้จะมีชั่วโมงของกลางคืนมากเรียกว่าวัน ครีษมายัน (Summer Solstice) วันที่ 22 ธันวาคม ของทุกปี วันดังกล่าวขั้วโลกเหนือจะมีชั่วโมงของกลางคืนมาก และขั้วโลกใต้จะมีชั่วโมงของกลางวันมาก เรียกว่าวัน วันเหมายัน (Winter Solstice)

  36. 6. ดวงจันทร์ (Moon) ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก วิถีการโคจรของดวงจันทร์จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ดวงจันทร์มีวงโคจรรอบโลกเป็นวงรี ดังนั้นจะมีช่วงของวงโคจรที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทาง 356,000 กิโลเมตร (221,500 ไมล์) อัตราความเร็วของการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกจะเร็วมากที่สุดเมื่อยู่ใกล้ตำแหน่ง เปริจี (Perigee) ส่วนช่วงของวงโคจรที่ห่างจากโลกมากที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะทาง 407,000 กิโลเมตร (253,000 ไมล์) อัตราความเร็วของการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกจะช้าที่สุดเมื่ออยู่ใกล้ตำแหน่ง อะโปจี (Apogee) เช่นกัน บริเวณพื้นผิวของดวงจันทร์ส่วนใหญ่เต็มไปด้วย ภูเขา ที่ราบ และหุบเหวต่างๆ จากการวิเคราะห์ตัวอย่าง แร่ หิน และดิน บนดวงจันทร์ของนักวิทยาศาสตร์ ทำให้เราทราบว่าวัตถุต่างๆ ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนและน้ำ เราจึงพอสรุปได้ว่าบนดวงจันทร์ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

  37. ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ • 1 การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง (Tide) • เกิดจากแรงดึงดูดระหว่าง โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง แรงดึงดูดต่อระยะทาง ถ้า โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันจะเกิดน้ำขึ้นและน้ำลงเป็นอย่างมาก เราเรียกว่า "น้ำมาก" (Spring Tide) แต่ถ้าหากดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ มีแรงดึงดูดที่กระทำต่อโลกเป็นมุม การเกิดน้ำขึ้นน้ำลงจะมีน้อยมาก เรียกว่า "น้ำตาย" (Neap Tide) ซึ่งน้ำขึ้น น้ำลง แต่ละแห่งบนโลกไม่เท่ากัน • 2 สุริยุปราคา (Solar Eclipse) • สุริยุปราคา เกิดจากตำแหน่งร่วม (Conjunction) ของการโคจรมาอยู่ในแนวเดียวกันของ โลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทำให้เงาของดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เอาไว้ในเวลากลางวัน • 3 จันทรุปราคา (Lunar Eclipse) • เกิดจากตำแหน่งร่วม (Conjunction) ของดวงจันทร์ โลก ดวงอาทิตย์ ที่ • โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ทำให้เงาของโลกบังดวงจันทร์

  38. 7. การกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก • 7.1 ละติจูด (Latitude) • เป็นการกำหนดระยะทางเชิงมุมบนพื้นโลก เป็นจำนวนองศาจากจุดศูนย์กลางของโลก เมื่อนำตำแหน่งดังกล่าวมาต่อกันจะกลายเป็นแนวเส้นขนานไปกับศูนย์สูตร บางครั้งเราจึงเรียกว่า เส้นขนาดแห่งละติจูด (Parallels of Latitude) ตามปกติช่วงห่างของละติจูดแต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา ดังนั้นจะมีทั้งหมด 180 เส้น คือ อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 90 เส้น ใต้เส้นศูนย์สูตร 90 เส้น สำหรับค่าเฉลี่ยของระยะทาง 1 องศาละติจูดบนพื้นโลกเท่ากับ 110 กิโลเมตร (69 ไมล์)

  39. 7. การกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก 7.2 ลองจิจูด (Longitude) เป็นการกำหนดระยะทางเชิงมุมที่วัดจากศูนย์กลางของโลกในแนวนอนของเส้นศูนย์สูตรไปทาง ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตกจากเมริเดียนย่านกลาง (Prime Meridian) เมริเดียนย่านกลาง หรือ เมริเดียน 0 องศา ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1884 โดยให้ลากผ่านหอดูดาวเมืองกรีนิช ใกล้มหานครลอนดอน ประเทศอังกฤษ ส่วนแนวเส้นเมริเดียนอื่น ๆ จะเป็นแนวรัศมีออกไปทางตะวันออก และตะวันตกข้างละ 180 องศา ซึ่ง 1 องศา ลองจิจูด คิดเป็นระยะทางบนพื้นโลก 111 กิโลเมตร (69 ไมล์) ลองจูด มีบทบาทสำคัญในการกำหนดเวลาบน พื้นโลก

  40. Longitude Latitude

More Related