1 / 21

หมายถึง การจบชีวิตอย่างสงบ หรือการตายอย่างเป็นสุข มีอยู่สองแบบ คือ

การุณยฆาต. หมายถึง การจบชีวิตอย่างสงบ หรือการตายอย่างเป็นสุข มีอยู่สองแบบ คือ การช่วยให้ผู้ป่วย ที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบ ( Active euthanasia) การยุติการใช้เครื่องช่วยหายใจ ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย

breanna
Download Presentation

หมายถึง การจบชีวิตอย่างสงบ หรือการตายอย่างเป็นสุข มีอยู่สองแบบ คือ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การุณยฆาต • หมายถึง • การจบชีวิตอย่างสงบ หรือการตายอย่างเป็นสุข • มีอยู่สองแบบ คือ • การช่วยให้ผู้ป่วย ที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบ (Active euthanasia) การยุติการใช้เครื่องช่วยหายใจ ก็จัดอยู่ในประเภทนี้ด้วย • การปล่อยให้ผู้ป่วย ที่สิ้นหวัง ตายอย่างสงบ (Passive euthanasia) คือ การไม่สั่งการรักษา หรือยกเลิกการรักษา ที่จะยืดชีวิตผู้ป่วยที่สิ้นหวัง แต่ยังให้การดูแลรักษาทั่วไป เพื่อช่วยลด ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยจนกว่าจะเสียชีวิตไปเอง

  2. อย่างไรเรียกว่า “ตาย”??? • ทางการแพทย์ • สมองตาย (ก้านสมองตาย) เป็นไปได้ว่าหัวใจยังไม่หยุดเต้น • ทางกฎหมาย • ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ ในคำนิยาม • ในอดีต ยึดการเต้นของหัวใจเป็นหลัก เนื่องจากกฎหมายระบุว่า เมื่อหัวใจเต้นก็ถือว่ามีชีวิต (นอกร่างกาย) • ในปัจจุบัน ยังถกเถียงอยู่แต่ยอมรับกันในแง่ที่ว่า แพทย์(ระดับผู้อำนวยการโรงพยาบาล)ลงความเห็นว่า “ตาย”

  3. การุณยฆาตแนวคิดทางตะวันตกการุณยฆาตแนวคิดทางตะวันตก • มีข้อพิจารณา 3 ประการ คือ • เมื่ออยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส • สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง • บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้ และไร้การรับรู้ทางสมอง

  4. การุณยฆาตในประเทศต่างๆการุณยฆาตในประเทศต่างๆ • ประเทศเนเธอร์แลนด์ • แพทย์สามารถให้ผู้ป่วยจบชีวิตของตนเองได้ ตามความปรารถนาของ ผู้ป่วยเอง โดยคำขอของผู้ป่วย ต้องเป็นไปด้วยความ สมัครใจ ชัดเจน แน่นอน และได้ไตร่ตรองอย่างดีแล้ว ต้องมีการขอหลายครั้ง และการเจ็บป่วยนั้น ต้องสุดแสนจะทนทาน ไม่มีทางรักษาได้" 9.1% ของสาเหตุการตายทั้งหมดต่อปี 2,300 รายสมัครใจ 400 รายตายเพราะแพทย์ลงมือเอง 1,040 รายถูกกระทำโดยผู้ป่วยไม่มีส่วนรับรู้หรือให้ความยินยอม

  5. การุณยฆาตในประเทศต่างๆการุณยฆาตในประเทศต่างๆ • ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ • แพทย์สามารถทำการุณยฆาตได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ตราบใดที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่า “ไม่มีมูลเหตุที่จงใจทำให้ผู้อื่นตาย” • ประเทศออสเตรเลีย • เคยออกกฎหมายรองรับการการุณยฆาตได้ ทั้งในกรณีที่ผู้ป่วยร้องขอและญาติร้องขอ และทำได้ทั้งแบบ Active และ Passive แต่ได้มีการยกเลิกกฏหมายไปแล้ว

  6. การุณยฆาตในประเทศต่างๆการุณยฆาตในประเทศต่างๆ • ประเทศสหรัฐอเมริกา • มีการทำการการุณยฆาตอยู่ทั่วไป บางรายถูกตัดสินประหารชีวิต แต่มีแพทย์บางราย ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิด “มีการเปิดเผยจากแพทย์ว่ามีการทำการุณยฆาตอย่างลับๆ อยู่ทั่วไป”

  7. การุณยฆาตในประเทศไทย • ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (ประกาศใช้เดือนมีนาคม**) • มาตรา 12 “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้” • มาตรา 24 “บุคคลมีสิทธิแสดงความจำนงเกี่ยวกับวิธีการรักษาพยาบาลหรือปฏิเสธการรักษาที่เป็นไปเพื่อการยืดชีวิตในวาระสุดท้ายในชีวิตของตนเอง เพื่อการตายอย่างสงบและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” ** ยังไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากต้องสรรหาคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ก่อน คาดว่าไม่เกิน 1 ปี

  8. การุณยฆาตในประเทศไทย • สนับสนุน (สัก กอแสงเรือง) • ช่วยให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวัง พ้นจาก ความทุกข์ทรมาน • เป็นการแบ่งเบา ภาระ เรื่องค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล ของญาติ • การเลือกที่จะตาย หรือมีชีวิตอยู่นั้น เป็นสิทธิเสรีภาพ ส่วนบุคคล • ไม่สนับสนุน (แพทย์หญิง พรทิพย์ โรจนสุนันท์) • กระบวนการสิ้นสุดของชีวิต เป็นเรื่องของธรรมชาติ ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง • อาจทำให้เกิด อาชญากรรม ที่แฝงมาในรูปของการุณยฆาตได้ เช่น การค้าอวัยวะ หรือญาติผู้ป่วย ต้องการมรดก เป็นต้น • คำวินิจฉัยของแพทย์ว่า บุคคลนั้น เป็นผู้ป่วยที่สิ้นหวัง อาจผิดพลาด ทั้งที่ยังมีโอกาสรักษาให้หาย และรอดชีวิตได้

  9. คุยกันสักนิด..... เรายอมรับแค่ไหน... ในการทำการุณยฆาต - กรณีเราป่วยหนัก และเราเป็นผู้ร้องขอ เราคิดเห็นอย่างไร

  10. คุยกันสักนิด..... เรายอมรับแค่ไหน... ในการทำการุณยฆาต - กรณีผู้ป่วยเป็นญาติของเรา เราคิดเห็นอย่างไร

  11. คุยกันสักนิด..... เรายอมรับแค่ไหน... ในการทำการุณยฆาต - ค่าใช้จ่ายในการรักษา กับอาการของโรค มีส่วนในการตัดสินใจด้วยหรือไม่ อย่างไร

  12. แล้วพระคัมภีร์ว่าอย่างไร...แล้วพระคัมภีร์ว่าอย่างไร... อพยพ 20:13 พระบัญญัติ 10 ประการ ข้อที่ 6 กล่าวว่า อย่าฆ่าคน พระคัมภีร์ถือว่าชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่า ซึ่งควรแก่การเคารพยกย่อง

  13. แล้วพระคัมภีร์ว่าอย่างไร...แล้วพระคัมภีร์ว่าอย่างไร... ปฐมกาล 1:27 พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามพระฉายาของพระองค์ ตามพระฉายาของพระเจ้านั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้น และได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง ชีวิตมนุษย์นั้นดี เพราะพระเจ้าทรงสร้างขึ้นตามแบบพระฉายาของพระองค์

  14. ถ้าพระเจ้าเห็นว่าชีวิตมนุษย์นั้นดี เราก็ไม่ควรตีความหมายว่า ทุกชีวิตจะถือสิทธิ์ว่าจะเลือกจบชีวิต ในเวลาและสถานการณ์ใดก็ได้ตามใจชอบ

  15. เรามักคิดว่า... การฆ่าคนเป็นความบาป

  16. ประเด็นทางจริยธรรม นักจริยศาสตร์คริสเตียนยอมรับการทำการุณยฆาต เนื่องจากเป็นการกระทำที่รักษาจริยธรรมที่สูงกว่า (ในด้านความรักที่มีต่อผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมาน และจิตใจของผู้ที่ยังอยู่)

  17. การุณยฆาตต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข...การุณยฆาตต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข... • คนนั้นทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส • ไม่มีหนทางช่วยเหลืออย่างอื่น • อยู่ในสภาพที่ไม่รู้ตัวแล้ว

  18. คำถามที่ต้องตอบกับการุณยฆาตคำถามที่ต้องตอบกับการุณยฆาต • ศักดิ์ศรีกับชีวิต ??? • 1/3 ของผู้ร้องในเนเธอร์แลนด์ ให้เหตุผลเรื่องศักดิ์ศรี • ผู้ร้องส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีควบคุมการเจ็บปวดที่ดีพอ แต่กลัวที่จะเห็นตนเองในสภาพย่ำแย่และหมดทางรักษา

  19. คำถามที่ต้องตอบกับการุณยฆาตคำถามที่ต้องตอบกับการุณยฆาต • ใครเป็นผู้เหมาะสมในการกำหนดชีวิต ??? • สภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยที่ตัดสินใจ • “เราจะแยกแยะระหว่างความเจ็บปวดทรมานที่บุคคลหนึ่งกำลังเผชิญอยู่และต้องการหลุดพ้น โดยที่ไม่กดดันทางอารมณ์ หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า ทุกครั้งที่ลืมตาตื่นขึ้นมาพบสภาพที่เจ็บปวดทรมานและเลือกที่จะตายในแต่ละวัน กับความเห็นทางการแพทย์ที่วินิจฉัยว่าบุคคลนั้นๆ ยังมีโอกาสที่จะเยียวยาและมีชีวิตต่อไปได้อีกระยะหนึ่งได้อย่างไร”

  20. คำถามที่ต้องตอบกับการุณยฆาตคำถามที่ต้องตอบกับการุณยฆาต • ใครเป็นผู้เหมาะสมในการกำหนดชีวิต ??? (ต่อ) • ผู้อื่นมีสิทธิตัดสินใจแทนหรือไม่ • ถ้าการตัดสินใจเรื่องความตายเป็นสิทธิส่วนบุคคล • ญาติ ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาพไม่ต่างจากพืช (Vegetative Stage) • แพทย์ ไม่มีทางรักษา ไม่มีโอกาส

  21. คำถามที่ต้องตอบกับการุณยฆาตคำถามที่ต้องตอบกับการุณยฆาต • โอกาสการรับการรักษาของผู้อื่น • เมื่อผู้ป่วยหมดหนทางรักษาให้หายจะมีประโยชน์ประการใดที่ต้องเสียเตียงคนไข้ของโรงพยาบาล ที่ยังมีผู้ป่วยรายอื่นๆ มีสิทธิที่จะใช้ได้ ในขณะที่ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากรอความช่วยเหลือ และมีโอกาสรอดชีวิตได้มากกว่า • เศรษฐกิจ • เป็นการใช้เทคโนโลยีอย่าฉลาด ไม่ใช่นำมายื้อชีวิตจนคนกลายเป็นซาก • รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่มีต้นทุนสูง เสียทรัพย์ เสียเวลา

More Related