1 / 21

อุปมา – อุปมัย โดย ผอ.ทองเหรียญ บุญปก “เพื่อนครูติวเตอร์”

อุปมา – อุปมัย โดย ผอ.ทองเหรียญ บุญปก “เพื่อนครูติวเตอร์”. โจทย์อุปมา – อุปมัย

chibale
Download Presentation

อุปมา – อุปมัย โดย ผอ.ทองเหรียญ บุญปก “เพื่อนครูติวเตอร์”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อุปมา – อุปมัย โดย ผอ.ทองเหรียญ บุญปก “เพื่อนครูติวเตอร์”

  2. โจทย์อุปมา – อุปมัย โจทย์อุปมา – อุปมัย (analogy) มีวัตถุประสงค์ในการวัดความสามารถในการวิเคราะห์และพิจารณาหาความสัมพันธ์ระหว่างคู่คำต่าง ๆ ว่ามีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในลักษณะใด และนำความสัมพันธ์ค้นพบไปใช้ในการพิจารณาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด โจทย์ดังกล่าวเป็นองค์ประกอบที่มักจะปรากฏอยู่เสมอในโจทย์ข้อสอบภาคความสามารถทั่วไปโดยมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 5 – 10 ข้อ ในการวิเคราะห์โจทย์ดังกล่าวมีขั้นตอนที่สำคัญในการพิจารณาดังนี้

  3. 1. ขั้นตอนการแก้โจทย์อุปมา - อุปมัย พิจารณาประเภทของคำที่ใช้ในคู่ความสัมพันธ์แรก 1. 2. 3. 4. 5. พิจารณาทิศทางของความสัมพันธ์ที่ใช้ พิจารณาหาความสัมพันธ์โดยสร้างข้อความเชื่อม เพิ่มรายละเอียดความสัมพันธ์ นำความสัมพันธ์ที่ค้นพบไปพิจารณาคำตอบ ไม่ได้ หรือได้คำตอบ มากกว่า 1 คำตอบ เลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุด

  4. การพิจารณาประเภทของคำการพิจารณาประเภทของคำ โดยพิจารณาประเภทของคำในคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์ว่าเป็นคำประเภทใด (เช่น คำนาม กริยา หรือวิเศษณ์) ทั้งนี้มีหลักที่สำคัญในการพิจารณาดังนี้ 1.1 หากคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำประเภทเดียวกัน คู่ความสัมพันธ์ในคำตอบจะต้องเป็นคำประเภทเดียวกันด้วย แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องเป็นคำประเภทเดียวกับคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์ ตัวอย่างเช่นตัวอย่าง 1 คนป่วย : ยา - - - ความหิว : ? ก. กิน ข. ปาก ค. ความจน ง. อาหาร จากตัวอย่างดังกล่าว คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำนาม คำนาม เมื่อคู่ความสัมพันธ์ในคำตอบคำแรก (ความหิว) เป็นคำนาม ดังนั้นในคำหลังจะต้องเป็นคำนามด้วย และเมื่อพิจารณาประกอบกับการพิจารณาลักษณะความสัมพันธ์ จะเลือกคำตอบที่เหมาะสม คือ ง. อาหาร (คนป่วยบำบัดได้ด้วยยา ความหิวบำบัดด้วยอาหาร)

  5. ตัวอย่างที่ 2 น้ำ : แดด - - - ? : ? ก. ใส : จัด ข. ไหล : ร้อน ค. เย็น : ส่อง ง. ไหล : ส่อง จากตัวอย่างดังกล่าว คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำตอบประเภทเดียวกัน คือ คำนามคู่ความสัมพันธ์ในคำตอบต้องเป็นคำประเภทเดียวกันด้วย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นประเภทเดียวกับคู่แรก เช่น อาจเป็นกริยา : กริยา หรือวิเศษณ์ : วิเศษณ์ ก็ได้ ในกรณีตัวอย่างคำตอบเป็นกิริยา : กริยา คือง. ไหล : ส่อง

  6. 1.2 หากคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำคนละประเภทกัน คู่ความสัมพันธ์ในคำตอบจะต้องมีลักษณะของประเภทเลียนตามแบบในโจทย์ทันที ตัวอย่างเช่นตัวอย่างที่ 3 เมา : สุรา - - - ? : ? ก อิจฉา : ความงาม ข. กระหาย : น้ำ ค. ปีติ : ความสำเร็จ ง. เศร้า : ตาย จากตัวอย่างดังกล่าว คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็นคำคนละประเภทกัน คือ คำกริยา : นาม ดังนั้นคู่คำตอบจะต้องเป็น กริยา : นาม ทันที จะเป็นคำประเภทอื่นไม่ได้ คำตอบที่เหมาะสมคือ ค.ปีติ : ความสำเร็จ ส่วนสาเหตุที่ไม่เลือก ง. เนื่องจาก “ตาย” ไม่ใช่คำนาม

  7. ตัวอย่างที่ 4 ปืน : ยิง - - - ? : ? ก. ลูกกระสุน : ธนู ข. ฆ่า : ตาย ค. ลูกบอล : โยน ง. แทง : มีด จากตัวอย่างดังกล่าว คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์เป็น นาม : กริยา ดังนั้นคำตอบต้องมีลักษณะของประเภทคำเลียนตามแบบในโจทย์ด้วย คือเป็น นาม : กริยา เช่นกัน ดังนั้น คำตอบที่เหมาะสมที่สุด คือ ค. ลูกบอล : โยน

  8. สรุป หลักในการพิจารณาประเภท

  9. 2. การพิจารณาทิศทางของความสัมพันธ์ที่ใช้ คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์บางข้อ อาจแสดงให้เห็นถึงทิศทางของความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ใหญ่ – เล็ก , ส่วนย่อย – ส่วนรวม, มาก – น้อย ฯลฯ ทิศทางดังกล่าว มีความสำคัญในการพิจารณาด้วยประการหนึ่ง โดยมีหลักพิจารณาว่า คู่ความสัมพันธ์ในคำตอบจะต้องมีทิศทางเกี่ยวกับคู่ความสัมพันธ์ในโจทย์ ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างที่ 5 ปืนใหญ่ : ปืนเล็กยาว................................? : ? ก. มืด : ดาบ ข. ภูเขา : จอมปลวก ค. หอก : ลูกดอก ง. ประตู : หน้าต่าง

  10. ตัวอย่างที่ 6 แพทย์ : โรงพยาบาล.................................? : ?ก. ศาล : ทนายความ ข. รักษาโรค : คนป่วย ค. ทนายความ : ศาล ง. พยาบาล : กระทรวงสาธารณสุข จากตัวอย่างที่ 5 แสดงถึงความสัมพันธ์ในทิศทาง ใหญ่ : เล็ก โดยทั้งคู่เป็นอาวุธที่มีขนาดต่างกันเราไม่สามารถตอบ ก. มีด : ดาบ ได้ เนื่องจากกลับทิศทาง ส่วนข้อ ข. ไม่เหมาะสมเนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ ไม่ใช่ของประเภทเดียวกัน คำตอบที่ถูกต้อง คือ ค. หอก : ลูกดอก เนื่องจากเป็นอาวุธและมีทิศทางเช่นเดียวกับโจทย์จากตัวอย่างที่ 6 แพทย์ : โรงพยาบาล แสดงความสัมพันธ์ในทิศทางแบบส่วนย่อย : ส่วนทั้งหมด (แพทย์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของโรงพยาบาล) ดังนั้น คำตอบที่ที่เหมาะสมที่สุดโดนไม่กลับทิศทางคือ ค. ทนายความ : ศาล

  11. 3. การพิจารณาความสัมพันธ์ คู่ความสัมพันธ์ในโจทย์จะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในลักษณะใดลักษณะหนึ่งซึ่งผู้ตอบข้อสอบจะต้องพยายามค้นให้พบ และนำความสัมพันธ์ดังกล่าวไปพิจารณาคำตอบ วิธีการหนึ่ง ซึ่งช่วยให้ผู้ตอบข้อสอบถามสามารถพิจารณาความสัมพันธ์ได้รวดเร็วขึ้น คือ การสร้างข้อความหรือวลี เพื่อช่วยเชื่อมคู่ความสัมพันธ์แล้วนำวลีดังกล่าวไปใช้เชื่อมคำในคู่คำตอบหากยังได้หลายคำตอบก็อาจเพิ่มรายละเอียดของความสัมพันธ์จนกระทั่งได้คำตอบที่เหมาะสมแต่เพียงคำตอบเดียว ลักษณะของความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่เสมอ ในโจทย์อุปมา – อุปมัย แสดงให้เห็นได้ตามตารางดังนี้

  12. รูปแบบความสัมพันธ์ที่ได้สรุป เป็นเพียงตัวอย่างในบางลักษณะที่ปรากฏบ่อยเท่านั้นในความเป็นจริงข้อสอบอาจจะมีลักษณะความสัมพันธ์อื่น ๆ ได้อีกมากมาย โดยไม่จำกัดแต่เพียงตัวอย่างข้างต้น ซึ่งในการพิจารณาผู้สอบอาจใช้บางประการหรือทั้งสามประการข้างต้นประกอบในการพิจารณาคำตอบ โดยเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว(ในชุดคำตอบอาจมีหลายคำที่เหมาะสม แต่เราจะเลือกคำตอบที่เหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น) ทั้งนี้โดยการพิจารณาความสัมพันธ์ และเพิ่มรายละเอียดความสัมพันธ์ให้มากขึ้นในกรณีที่ยังได้คำตอบมากกว่า 1 คำตอบ จนเหลือคำตอบที่เหมาะสมแต่เพียงคำตอบเดียว

  13. ตัวอย่างที่ 7 เกาะ : หมู่เกาะ - - - ?: ? ก. สันกำแพง : เชียงใหม่ ข. นักร้อง : วงดนตรี ค. ดวงดาว : แกแลกซี่ ง. ทีมฟุตบอล : ผู้เล่น

More Related