330 likes | 514 Views
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า. โดย นายอัควิทย์ เจริญพานิช นิติกร 7 ว สำนักกฎหมาย. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา. 1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ( ม .56,57) 2. เงินได้พึงประเมินคืออะไร ( ม .39) 3. ประเภทเงินได้พึงประเมิน 40(1) – 40(8) 4. ค่าใช้จ่าย (ม .42- 46 ทวิ )
E N D
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า โดย นายอัควิทย์ เจริญพานิช นิติกร 7 ว สำนักกฎหมาย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1.ผู้มีหน้าที่เสียภาษี (ม.56,57) 2.เงินได้พึงประเมินคืออะไร (ม.39) 3.ประเภทเงินได้พึงประเมิน 40(1) – 40(8) 4.ค่าใช้จ่าย (ม.42- 46ทวิ) 5.ค่าลดหย่อนและบริจาค (ม.47) 6.อัตราภาษีและการคำนวณภาษี (ม.48) 8.1คำนวณภาษีสิ้นปี 8.2 คำนวณภาษีครึ่งปี 8.3 คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย
1. ส่วนที่ว่าด้วยผู้เสียภาษี (Tax payer) กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้ามีฐานะเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล • มีฐานะเป็นคณะบุคคลตั้งแต่วันที่จัดตั้งกองทุนฯ • ต้องมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด • ผู้อำนวยการ/ผู้จัดการเป็นผู้ยื่นแบบฯ แทน
2. ส่วนที่ว่าด้วยฐานภาษี (Tax Base) ฐานภาษีของกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ที่เป็นมูลเหตุให้กองทุนฯ เสียภาษี ได้แก่ รายได้จากการเรียกเก็บเงินจากผู้ผลิตไฟฟ้า
3. ส่วนที่ว่าด้วยอัตราภาษี(Tax Rate) อัตราภาษีของกองทุนฯ แบ่งออกเป็น 2 อัตรา 1. อัตราก้าวหน้า ตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้ 2. อัตราคงที่ ตามการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยวิธีที่ 2 ในอัตราร้อยละ 0.5
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4. ส่วนที่ว่าด้วยวิธีการเสียภาษี(Tax Payment) วิธีการเสียภาษีของกองทุนฯ ได้แก่ 1. วิธีประเมินตนเอง 2. วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3. วิธีประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมิน
5. ส่วนที่ว่าด้วยวิธีหาข้อยุติในปัญหาภาษี(Tax Settlement) เมื่อกองทุนฯ ไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,94 หรือยื่นแบบ ภ.ง.ด.90,94 แล้ว แต่ไม่ถูกต้องครบถ้วน และเจ้าพนักงานได้ประเมินภาษีแล้ว กองทุนฯ มีสิทธิดังนี้ 1. อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ 2. หากไม่เห็นด้วย กองทุนฯ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง
6. ส่วนที่ว่าด้วยการบังคับตามบทบัญญัติ(Tax Sanction) กำหนดให้ทราบถึงสภาพบังคับหรือโทษของการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกองทุนฯ 1. โทษทางแพ่ง(เบี้ยปรับ,เงินเพิ่ม) 2. โทษทางอาญา(ปรับ,จำคุก)
1. กองทุนกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา “เงินได้พึงประเมิน” หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษีในหมวดนี้ เงินได้ที่กล่าวให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน เงินค่าภาษีที่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ประเภทต่างๆ ตามมาตรา 40 และเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ด้วย (มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร)
ประเภทของเงินได้ ประเภทที่ 1 กุล่มสัญญาจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ ประเภทที่ 2 กลุ่มสัญญาการรับทำงานให้ เช่นค่านายหน้าค่าส่วนลด ค่าคอมมิชชั่น ฯลฯ ประเภทที่ 3 กลุ่มทรัพย์สินทางปัญญา เช่นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ค่าลิขสิทธิ์ ฯลฯ ประเภทที่ 4 กลุ่มผลตอบแทนการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร ฯลฯ
ประเภทของเงินได้ (ต่อ) ประเภทที่ 5 กลุ่มค่าเช่าทรัพย์สิน เช่นค่าเช่าบ้านฯลฯ ประเภทที่ 6 กลุ่มวิชาชีพอิสระ เช่นค่าว่าความ ฯลฯ ประเภทที่ 7 กลุ่มงานรับเหมา เช่นค่ารับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ ประเภทที่ 8 กลุ่มธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์และอื่น ๆ เช่น กิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม กิจการร้านค้าทอง กิจการเสริมสวยและสปา กิจการซื้อมาขายไป กิจการรับจ้างทำของ ฯลฯ
ประเภทของเงินได้ของกองทุนฯประเภทของเงินได้ของกองทุนฯ กองทุนฯ มีเงินได้จากการเรียกเก็บเงินจากผู้ผลิตไฟฟ้า เข้าลักษณะนิยามคำว่า เงินได้พึงประเมิน และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร หากต่อมากองทุนฯ นำเงินรายได้ไปฝากธนาคาร ดอกเบี้ยที่ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
การหักค่าใช้จ่ายของกองทุนการหักค่าใช้จ่ายของกองทุน 1. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ของกองทุนฯ มิได้ระบุรายการตามมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2511 กองทุนฯ จึงมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายตามความจริงหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละกิจการและเป็นค่าใช้จ่ายที่ชอบด้วยกฎหมายโดยต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่าย
การหักค่าใช้จ่ายของกองทุน(ต่อ)การหักค่าใช้จ่ายของกองทุน(ต่อ) 2. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ของกองทุนฯ กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่าย
ค่าลดหย่อน (ALLOWANCES) กองทุนฯ มีสิทธิหักค่าลดหย่อน ได้ดังนี้ 1. บุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท (มาตรา 47(6) แห่งประมวลรัษฎากร)
ค่าลดหย่อน (ต่อ) 2. เงินบริจาคสาธารณกุศล ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของยอดเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนรายการที่ 1 - 11 แล้ว (ยอดสุทธิก่อนหักเงินบริจาค)
การคำนวณภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94)ของกองทุนฯ วิธีการที่ 1 1. เงินได้ประเภทที่ 8 (ม.ค. - มิ.ย.) 2. แต่ละประเภท หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง 3. หักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนด * 4. ผลลัพย์เป็นเงินได้สุทธิ 5. คูณด้วยอัตราภาษี
การคำนวณภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 94) (ต่อ) วิธีการที่ 2 6. เงินได้ประเภทที่ 8 จากยอดก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ จำนวนตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป 7. คูณด้วยอัตราภาษี 0.5% หรือ 5 / 1000 หมายเหตุ เปรียบเทียบจำนวนภาษีที่มากกว่า ระหว่างผลของข้อ 5 หรือ ข้อ 7 และให้เสียภาษีจากจำนวนที่มาก
การคำนวณภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด. 90)ของกองทุนฯ วิธีการที่ 1 1. เงินได้ตั้งแต่ประเภทที่ 4,8 (ม.ค. - ธ.ค.) 2. รายได้ประเภทที่ 8 หักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง รายได้ประเภทที่ 4 หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ 3. หักค่าลดหย่อนได้ เต็มตามอัตราที่กฎหมายกำหนด *
ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด. 90, 91) 4. หักเงินบริจาคได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่ เกิน 10% ของยอดสุทธิก่อนหักเงินบริจาค 5. ผลลัพย์เป็นเงินได้สุทธิ 6. คูณด้วยอัตราภาษี
ภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด. 90, 91) วิธีการที่ 2 7. เงินได้ประเภทที่ 4 รวมกับประเภทที่ 8 จากยอดก่อนหัก ค่าใช้จ่ายใด ๆ จำนวนตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป 8. คูณด้วยอัตราภาษี 0.5% หรือ 5/1000 หมายเหตุ เปรียบเทียบจำนวนที่มากกว่า ระหว่างผลของข้อ 6 หรือข้อ 8 และให้เสียภาษีจากจำนวนที่มาก
เกณฑ์ขั้นต่ำของเงินได้ที่ต้องยื่นเสียภาษี เกณฑ์ขั้นต่ำของการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94,90 กองทุนฯ ต้องมีเงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันเกิน 30,000 บาท ต่อปี (มาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
2. กองทุนฯ กับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย วัตถุประสงค์ของการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เพื่อ - ให้เสียภาษีถูกต้องขณะที่มีความพร้อม - บรรเทาภาระภาษีในการยื่นเสียภาษีสิ้นปี - ลดภาระค่าใช้จ่าย - ป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร - ให้การบริหารการจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพ ทำให้รัฐมีรายรับอยู่ตลอดเวลา
กฎหมายที่ใช้บังคับในการหัก ณ ที่จ่าย 1. ม.50 แยกตามประเภทเงินได้ 2. ม.3 เตรส ให้อำนาจกรมสรรพากรออก ท.ป.4/2528 ให้บางรายมีสิทธิหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย บางรายการได้
หน้าที่ของกองทุนในฐานะผู้จ่ายเงินได้หน้าที่ของกองทุนในฐานะผู้จ่ายเงินได้ 1. คำนวณหักภาษีไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้ 2. ยื่นแบบและนำส่งภาษีภายในเวลาที่กำหนด 3. ยื่นแบบสรุปยอดการจ่ายทั้งปีที่ถูกหักและไม่ถูกหัก 4. ถ้าจ่ายให้คนต่างประเทศต้องแนบแบบแจ้งข้อความ 5. จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายและส่งมอบแก่ผู้มีเงินได้ 6. จัดทำบัญชีพิเศษและรายการหักภาษีที่นำส่ง
ความรับผิดของกองทุนในฐานะผู้จ่ายเงินได้ความรับผิดของกองทุนในฐานะผู้จ่ายเงินได้ ความรับผิดทางแพ่ง 1. ไม่ได้หักและไม่ได้นำส่ง - ภาษีร่วมกับผู้มีเงินได้ - เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษี 2. ไม่ได้หักแต่ได้ออกภาษีแทนไปบางส่วน - ภาษีร่วมกับผู้มีเงินได้ - เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษี
ความรับผิดของกองทุนในฐานะผู้จ่ายเงินได้ความรับผิดของกองทุนในฐานะผู้จ่ายเงินได้ 3. ได้หักและนำส่งภายในกำหนดเวลาแต่นำส่งไม่ครบ - ภาษีส่วนที่ขาดร่วมกับผู้มีเงินได้ - เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของส่วนที่ขาด 4. ได้หักไว้ครบแต่นำส่งไม่ครบ / ไม่นำส่งภายใน กำหนดเวลา - ภาษีที่นำส่งไม่ครบ / ไม่นำส่ง แต่เพียงผู้เดียว - เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ขาด /ไม่นำส่ง
ความรับผิดของกองทุนในฐานะผู้จ่ายเงินได้ความรับผิดของกองทุนในฐานะผู้จ่ายเงินได้ ความรับผิดทางอาญา 1. ไม่ได้ยื่นแบบฯ และนำส่งภายในกำหนดเวลา ต้อง ระวางโทษไม่เกิน 2,000 บาท 2. ไม่ได้ทำบัญชีพิเศษ ต้องระวางโทษปรับกระทงละ 1,000 บาท 3. ไม่ได้จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายและส่งมอบภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับกระทงละ 500 บาท
ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ (ต่อ) 4. ไม่ได้ยื่นบัญชีการจ่ายเงิน / หลักฐาน ภายใน 15 วันนับแต่วันออกจากงาน ต้องระวางโทษปรับกระทงละ1,000 บาท 5. ไม่ได้ยื่นขอมีเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1. ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร • กรณีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ( ม. 50 (1) ) • กรณีเงินได้ประเภทที่ 3 และ 4 ( ม. 50 (2) ) • กรณีเงินได้ประเภทที่ 5 และ 6 ( ม. 50 (3) ) • กรณีเงินได้ประเภทที่ 8 (ม.50 (5)) 2. ตามมาตรา 3 เตรส (ท.ป.4/2528)ฯ
จบคำบรรยาย ขอขอบคุณ