1 / 83

ระบบในร่างกาย

ระบบในร่างกาย. ในร่างกายถ้าเปรียบระบบอวัยวะกับการทำงานของระบบโรงงานสามารถเปรียบได้ดังนี้เช่น ผิวหนัง, ขน, เล็บ   เปรียบเหมือน     กำแพง ด่านตรวจ     สมอง    เปรียบเหมือน    คอมพิวเตอร์ 

Download Presentation

ระบบในร่างกาย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบในร่างกาย

  2. ในร่างกายถ้าเปรียบระบบอวัยวะกับการทำงานของระบบโรงงานสามารถเปรียบได้ดังนี้เช่น ผิวหนัง, ขน, เล็บ   เปรียบเหมือน     กำแพง ด่านตรวจ     สมอง    เปรียบเหมือน    คอมพิวเตอร์  ตา     เปรียบเหมือน  กล้อง V.D.O. วงจรปิด    รปภ.       ลิ้น     เปรียบเหมือน     ผู้ตรวจสอบคุณภาพ      หัวใจ  เปรียบเหมือน      เครื่องปั้มน้ำ     ปอด     เปรียบเหมือน     แอร์ ( ก๊าช ) ไต  ตับ   เปรียบเหมือน       เครื่องกำจัดของเสีย ถังขยะ กระเพาะอาหาร,ลำไส้      เปรียบเหมือน ห้องครัว ในร่างกายจะประกอบด้วยหน่วยของสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดคือ เซลล์ (cell) เซลล์ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ สเปิร์ม (sperm) และใหญ่ที่สุดคือไข่ (egg)   cell หลาย ๆ cell รวมกันกลายเป็น เนื้อเยื่อ (tissue) เนื้อเยื่อ หลาย ๆ เนื้อเยื่อ รวมกันกลายเป็น        ระบบ (system) ระบบหลาย ๆ ระบบ          รวมกันกลายเป็น        ส่วนประกอบของร่างกาย ส่วนประกอบของร่างกาย รวมกันกลายเป็น        ร่างกาย (body)

  3. เซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของร่างกายเซลล์ที่เป็นองค์ประกอบของร่างกาย 1.    เซลล์ร่างกาย (body cell) ลักษณะแบนบาง มีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางพบตามร่างกาย 2.    เซลล์เยื่อบุ (epidermis)   ลักษณะแบนบาง มีนิวเคลียสตรงกลางนูนเหมือนไข่ดาว พบตามเยื่อบุที่ มีผนังบางมีเมือก (mucus) หล่อเลี้ยง เช่น ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ดวงตา อวัยวะเพศภายใน 3.    เซลล์กล้ามเนื้อ (muscle cell) มี 3 ชนิด ก.   เซลล์กล้ามเนื้อลาย (reticular muscle) พบตาม แขน ขา     ข.   เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) พบตาม อวัยวะภายใน เช่น  ทางเดินอาหาร        ค.   เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac cell) พบที่หัวใจ

  4. 4.    เซลล์เม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell ; RBC) 5.    เซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell ; WBC) 6.    เซลล์ประสาท 7.    เซลล์กระดูก 8.    เซลล์สมอง 9.    เซลล์สืบพันธุ์ • ระบบต่างๆในร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีระบบ ถ้าระบบใดระบบหนึ่งผิดปรกติ ร่างกายก็จะแสดงความผิดปรกติออกมา เช่น  พิการ เป็นโรค ฯลฯ ระบบต่างๆในร่างกายที่จะได้ศึกษา ได้แก่ 

  5. 1. ระบบย่อยอาหาร (Digestion) ระบบย่อยอาหารทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ให้เป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างพลังงาน สร้างความเจริญ ขั้นตอนต่างๆ ที่จะเปลี่ยนจากอาหารให้เป็นสารอาหารก่อนที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดบริเวณผนังของลำไส้เล็ก การย่อยอาหารประกอบด้วย อวัยวะที่เกี่ยวข้อง น้ำย่อย และ ตัวเร่งปฏิกิริยา

  6. 1. ปากและฟัน (mouth and teeth) เป็นอวัยวะแรกของระบบย่อยอาหาร ภายในประกอบด้วย ฟัน ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ลิ้น ทำหน้าที่ส่งอาหารให้ฟันบดเคี้ยว และคลุกเคล้าอาหารให้อ่อนตัว ง่ายต่อการบดเคี้ยวของฟัน ต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่ขับน้ำลายออกมาคลุกเคล้า กับอาหาร ในน้ำลายมีเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งสามารถย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล ดังนั้นเมื่อเราอมข้าวเปล่าไว้นาน ๆ จึงรู้สึกหวานนิด ๆ 2. คอหอย (pharynx) เป็นท่ออยู่ระหว่างด้านหลังของช่องปากและหลอดลม บริเวณนี้เป็น จุดเชื่อมระหว่างหลอดลมกับหลอดอาหารโดยมีกลไกควบคุมการส่งอาหารหรืออากาศคนละเวลากัน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยต่อน้ำเหลือง 3 คู่อยู่รอบ ๆ คอหอย มีหน้าที่ดักจับเชื้อโรค เรียกว่า “ต่อม ทอนซิล” (tonsil)

  7. 3. หลอดอาหาร (oesophagus) อยู่ต่อจากคอหอยอยู่ด้านหลังหลอดลม (trachea) ส่วนบนเป็นกล้ามเนื้อลายมีหูรูด ช่วยปิดเปิดหลอดอาหารระหว่างกลืนอาหารส่วนท้ายเป็นกล้ามเนื้อ เรียบ ช่วยบีบส่งอาหารเป็นระยะ เรียกว่า เพอรีสตัลซีส (peristalsis) ช่วยให้อาหารเคลื่อนที่ ได้สะดวก 4. กระเพาะอาหาร (stomach) อยู่บริเวณด้านซ้ายของช่องท้องกว้างประมาณ 5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ***หมายเหตุ กระเพาะอาหารมีปริมาณ 50 cc แต่เมื่อได้รับอาหารจะยาวถึง 2000 cc หรือ 2 ลิตร ทำหน้าที่พักอาหารบริเวณเยื่อบุภายในจะมีต่อมผลิตน้ำย่อย (Grastric gland) ทำหน้าที่ ผลิตน้ำย่อยและกรดเกลือ (HCl) ซึ่งทำให้อาหารโปรตีนมีอนุภาคเล็กลง

  8. 5. ลำไส้เล็ก (Small Intestine) ยาวประมาณ 10 m แบ่งออกเป็น 3 ตอน 6. ลำไส้ใหญ่ (Large Intestine) ยาวประมาณ 1.5 เมตร เริ่มตั้งแต่ส่วนของอิเลียมจนถึงทวารหนัก หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ 1. สะสมกากอาหาร 2. ดูดซึมแร่ธาตุ น้ำ กลูโคส 3. มีจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยกากอาหารโดยเฉพาะเซลลูโลส ให้มีสภาพเหลวหรืออ่อนนุ่ม อวัยวะที่เกี่ยวข้องโดยอ้อม 1. ตับ (Liver) เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายมี 2 ซีก ซ้าย-ขวา มีสีน้ำตาลเนื้อแน่น มีถุงน้ำดีอยู่ด้วย

  9. 2. ตับอ่อน (Pancreas) มีลักษณะคล้ายใบไม้ยาวประมาณ 20-25 ซม. สีแดงหรือสีเทา ทำหน้าที่เป็นต่อมมี ท่อและต่อมไร้ท่อ ผลิตของเหลวได้ประมาณ 2 ลิตร ซึ่งประกอบด้วย ก. น้ำย่อย ซึ่งทำหน้าที่ย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรท และไขมัน ข.โซเดียมไบคาร์บอเนต มีคุณสมบัติเป็นเบส (ด่าง) เพื่อปรับสภาพอาหารที่มาจากกระเพาะ อาหารซึ่งมีสภาพเป็นกรด ให้มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นเบสอ่อน ๆ เพื่อจะไม่ทำลายเยื่อบุของลำไส้เล็ก (Villi) * น้ำย่อย (enzyme) ประกอบด้วย ไทยาลิน ในน้ำลาย เปปซินในกระเพาะอาหาร น้ำย่อยอื่น ๆ ที่ ดูโอดินัม และตับอ่อน * ตัวเร่งปฏิกิริยา (catalize) ประกอบด้วย น้ำ น้ำดีจากตับ กรดเกลือจากกระเพาะ

  10. วิธีที่จะไม่ทำให้กระเพาะอาหารถูกทำลาย - กินอาหารให้ตรงเวลา - ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด - ไม่กินยาแก้ปวดขณะท้องว่าง - ไม่ดื่มอาหารที่มีแอลกอฮอล์ - ลดความเครียด (Stress) - พักผ่อนให้เพียงพอ - ไม่รับประทานอาหารที่หยาบหรือแข็ง

  11. 2. ระบบสืบพันธุ์

  12. การเจริญเติบโตของหญิงและชายช่วงอายุ 10 - 17 ปี เพศหญิงจะมีอัตราการเจริญ เติบโตมากกว่าชาย หลังจากนั้นเพศชายจะเจริญเติบโตมากกว่าเพศหญิง และจะหยุดการเจริญประมาณ 20 ปี สำหรับเพศหญิง และ 25 ปีสำหรับเพศชาย อัตราการเจริญเติบโต จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ก. การแสดงออกจากพันธุกรรม (ยีโนไทพ์ ; Genotype) เป็นลักษณะที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ คือ มาจาก ยีน (Gene) นั่นเอง ได้แก่ สีผิว ผม ดวงตา ฯลฯ * ยีน (Gene) คือ หน่วยที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่าง ที่อยู่บนโครโมโซม ข. การแสดงออกจากสิ่งแวดล้อม (ฟีโนไทพ์ ; Phenotype) เป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่ง แวดล้อม (Enviroment) ได้แก่ อาหาร โรค จิตใจ การเลี้ยงดู ความรู้ ฯลฯ เมื่อร่างกายเข้าสู่วัยรุ่น ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน (Hormone) มากระตุ้นต่อมเพศให้ผลิต ฮอร์โมนเพศ แล้วทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ต่อมเพศของเพศชายจะอยู่ที่ อัณฑะ (Testis) ส่วนต่อมเพศของเพศหญิงจะอยู่ที่ รังไข่ (Ovary)

  13. ระบบสืบพันธุ์เพศชาย • ประกอบด้วย ก. อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ได้แก่ 1. ถุงอัณฑะ (Scrotum) ห่อหุ้มลูกอัณฑะให้อุณหภูมิต่ำกว่า 37 องศาเซลเซียส 2. องคชาติ (Penis) ข. อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ประกอบด้วย 1. อัณฑะ (Testis) ตอนเด็กจะอยู่ในช่องท้อง พอโตขึ้นจะเลื่อนลงมาอยู่ที่ถุงอัณฑะ ทำ หน้าที่ผลิต สเปิร์ม (Sperm) และฮอร์โมนเพศชาย 2. หลอดนำสเปิร์ม (Sperm) ทำหน้าที่ลำเลียงสเปิร์ม ไปเก็บที่ต่อมเก็บ คือต่อมเคาว์เปอร์ 3. ต่อมเคาว์เปอร์ (Cowper gland) ทำหน้าที่สร้าง อาหารให้กับสเปิร์ม ประกอบด้วยน้ำตาลฟรุกโตสและปรับ สภาพให้เป็นเบสอ่อน ๆ 4. ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) ทำหน้าที่สร้างสารให้มีปริมาณมากขึ้น และเก็บน้ำเชื้อ

  14. ระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย อสุจิ http://www.besthealth.com/besthealth/bodyguide/reftext/html/repr_sys_fin.html

  15. ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง • ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ 2 ส่วน ก. อวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอก ประกอบด้วย 1. แคมนอก (Major cam) มี 2 ข้าง ทำหน้าที่ปกปิดไม่สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ภายใน 2. แคมใน (Minor cam) มี 2 ข้าง เป็นเนื้อเยื่อบางติดกับแคมนอก 3. คลิตอรีส (Clitoris) ทำหน้าที่รับความรู้สึกทางเพศ 4. เยื่อพรหมจารี (Hymen)เป็นเยื่อบาง ๆ ปิดปากช่องคลอด 5. ท่อปัสสาวะ อยู่ตรงกลางระหว่าง Clitoris กับ ช่องคลอด ข. อวัยวะสืบพันธุ์ ภายใน ประกอบด้วย 1. รังไข่ (Ovary) ทำหน้าที่ผลิตไข่ และฮอร์โมนเพศ อยู่ลึกเข้าไปในอุ้งเชิงกราน มีเนื้อเยื่อยึด มีขนาดเท่าหัวแม่มือ หนัก 2- 3 กรัม 2. ท่อนำไข่ หรือปีกมดลูก (Oviduct) เป็นท่อเชื่อมระหว่างมดลูกกับรังไข่ ภายในมีขนเล็ก ๆ มากมาย เรียกว่า ซีเลีย (Celia) ท่อนำไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 cm ยาวประมาณ 6-7 cm เป็นบริเวณที่มีการปฏิสนธิ

  16. 3. มดลูก (Uterus) มีลักษณะคล้ายผลชมพู่ กว้างประมาณ 4 ซ.ม.ยาว 6-8 ซ.ม.หนาประมาณ 2 ซ.ม.ส่วนล่างแคบเข้าหากันเรียกว่า “ ปากมดลูก” ต่อกับส่วนของช่องคลอดมดลูกประกอบด้วยเนื้อเยื่อ หลายชั้นคล้ายฟองน้ำทำหน้าที่ในการสร้างรก รองรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว (Zygote) เป็นที่ แลกเปลี่ยนก๊าซและส่งอาหารให้กับตัวอ่อน (Embryo) 4. ช่องคลอด (Vagina) เป็นทางผ่านของสเปิร์มเข้าสู่มดลูก ลึกประมาณ 1.5- 2.0 นิ้ว

  17. ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง รังไข่ http://www.besthealth.com/besthealth/bodyguide/reftext/html/repr_sys_fin.html

  18. 3. ระบบหมุนเวียนของเลือดและน้ำเหลือง

  19. ระบบหมุนเวียนของเลือดระบบหมุนเวียนของเลือด • ตัวจักรสำคัญของระบบนี้คือ หัวใจ และหลอดเลือด • หัวใจของคนเราประกอบด้วย กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทุกๆวันหัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง สูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน • ระบบไหลเวียนโลหิตของเราประกอบไปด้วย หลอดเลือดซึ่งเชื่อมติดต่อกันเป็นโครงข่ายทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากหัวใจห้องซ้ายล่าง Left Ventricle ฉีดเลือดไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เรียกว่า Aorta แล้ว ต่อไปยังหลอดเลือดแดง Artery ,Aterioles ต่อเส้นเลือดฝอย capillaries เลือด ณ.บริเวณนี้จะอุดมไปด้วย อาหารและออกซิเจนซึ่งแลกเปลี่ยนกับเนื้อเยื่อ แล้วไหลกลับสู่หลอดเลือดดำ vein ซึ่งนำเข้าหลอดเลือดดำใหญ่และเข้าสู่หัวใจ

  20. โครงสร้างของหัวใจ หัวใจของเราประกอบด้วย 4 ห้อง ห้องข้างบนเรียก atrium มีทั้งซ้ายและขวา ส่วนห้องข้างล่างเรียก ventricle ซึ่งก็มีทั้งซ้ายและขวา ระหว่างหัวใจห้องข้างบนและล่างจะมีลิ้นหัวใจกั้นอยู่ • Tricuspid valve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวา และล่างขวา • Pulmonary or pulmonic valveกั้นระหว่างหัวใจห้องบนขวากับหลอดเลือดดำ • Bicuspidvalve กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและล่างซ้าย • Aortic semilunar valve กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายและหลอดเลือด aorta

  21. ลิ้นพัลโมนารี

  22. การทำงานของหัวใจ หัวใจจะรับเลือดดำเข้าสู่หัวใจห้องบนขวา Right atrium ไหลผ่านลงหัวใจห้องล่างขวา Right ventricle ซึ่งจะฉีดเลือดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด เลือดที่ฟอกแล้วจะไหลกลับเข้าหัวใจที่ห้องซ้ายบน Left Atrium แล้วไหลลง Left ventricle ซึ่งจะสูบเลือดไปเลี้ยงร่างกายทางหลอดเลือดแดง ลิ้นหัวใจ (Valve) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทำหน้าที่ ปิด-เปิด ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ มี ลักษณะคล้ายถุง นายวิลเลียม ฮาร์วีย์ ชาวอังกฤษ ค้นพบว่าเลือดไหลไปทางเดียว และมีลิ้นควบคุมอยู่ 2 กลุ่ม 4 ลิ้น ชีพจร (Pulse) คือ การหดและคลายตัวของหลอดเลือดในจังหวะเดียวกับการหดและคลายตัวของ หัวใจ อัตราชีพจร (Pulse rate) เป็นค่าที่บอกอัตราการเต้นของหัวใจ โดยการจับที่หลอดเลือดแดงที่อยู่ ตื้น ๆ เช่น ข้อมือ ซอกคอ ขาหนีบ เพศชายประมาณ 70 ครั้ง/นาที หญิงประมาณ 75 ครั้ง/นาที

  23. หน้าที่ของเลือด 1. ลำเลียง O2 และ CO2 2. ลำเลียงสารอาหารที่ลำไส้เล็ก ไปสู่ เซลล์ 3. ลำเลียงของเสียออกจากเซลล์ ไปสู่ อวัยวะขับถ่าย 4. ลำเลียงภูมิคุ้มกัน 5. รักษาอุณหภูมิของร่างกาย

  24. ระบบน้ำเหลือง

  25. ระบบน้ำเหลือง ( Lymphatic system ) ประกอบด้วย - น้ำเหลือง ( Lymph ) เป็นของเหลวที่ซึมผ่านเส้นเลือดฝอยออกมาหล่อเลี้ยงอยู่รอบๆเซลล์ ประกอบด้วย กลูโคส อัลบูมิน ฮอร์โมน เอนไซม์ ก๊าซ เซลล์เม็ดเลือดขาว ( แต่ไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงและเพลตเลต )- ท่อน้ำเหลือง ( Lymph vessel ) มีหน้าที่ลำเลียงน้ำเหลืองทั่วร่างกายเข้าสู่เส้นเวนใหญ่ใกล้หัวใจ(Subclavian vein) ปนกับเลือดที่มีออกซิเจนน้อย ท่อน้ำเหลืองมีลิ้นกั้นคล้ายเส้นเวนและมีอัตราการไหลช้ามากประมาณ 1.5 มิลลิเมตรต่อนาที - อวัยวะน้ำเหลือง ( Lymphatic organ ) 1) ต่อมน้ำเหลือง ( Lymph node ) - พบทั่วร่างกาย ภายในมีลิมโฟไซต์อยู่เป็นกระจุก - ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ มี 5 ต่อม เรียกว่า ทอนซิล (Tonsil) มีหน้าที่ ป้องกันจุลินทรีย์ที่ผ่านมาในอากาศไม่ให้เข้าสู่หลอดอาหารและกล่อง เสียงจนอาจเกิดอักเสบขึ้นมาได้

  26. 2) ม้าม ( Spleen ) - เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด - มีหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด ( เฉพาะในระยะเอมบริโอ ) ป้องกันสิ่ง แปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด สร้างแอนติบอดี ทำลายเซลล์ เม็ดเลือดแดงและเพลตเลตที่หมดอายุ 3) ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) - เป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่เป็นต่อมไร้ท่อ - สร้างลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ที เพื่อต่อต้านเชื้อโรคและอวัยวะปลูก ถ่ายจากผู้อื่น • ข้อควรจำการไหลของน้ำเหลืองในท่อเหลือง เกิดขึ้นจากการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ ท่อน้ำเหลืองนั้น

  27. 4. ระบบหายใจ

  28. ระบบหายใจ • ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบนี้ ประกอบด้วยอวัยวะสำคัญ ได้แก่ 1. จมูก เป็นอวัยวะส่วนต้นของระบบหายใจ ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศ ช่วยกรองฝุ่น ละออง และเชื้อโรคบางส่วนก่อนอากาศจะผ่านไปสู่อวัยวะอื่นต่อไป 2. หลอดคอ (Pharynx)เมื่ออากาศผ่านรูจมูกแล้วก็ผ่านเข้าสู่หลอดคอ ซึ่งเป็นหลอดตั้งตรงยาวประมาณยาวประมาณ 5 นิ้ว หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่ทีสุด คือกระดูกธัยรอยด์ ที่เราเรียกว่า "ลูกกระเดือก" ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง

  29. 3. หลอดเสียง (Larynx)เป็นหลอดยาวประมาณ 4.5 cm ในผู้ชาย และ 3.5 cm ในผู้หญิง หลอดเสียงเจริญเติยโตขึ้นมาเรื่อยๆ ตามอายุ ในวัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว หลอดเสียงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในผู้ชาย เนื่องจากสายเสียง (Vocal cord) ซึ่งอยู่ภายในหลอดเสียงนี้ยาวและหนาขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป จึงทำให้เสียงแตกพร่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากฮอร์โมนของเพศชาย4. หลอดลม (Trachea)เป็นส่วนที่ต่ออกมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก ลักษณะรูปร่างของหลอดลมเป็นหลอดกลมๆ ประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปวงแหวน หรือรูปตัว U ซึ่งมีอยู่ 20 ชิ้น วางอยู่ทางด้านหลังของหลอดลม

  30. 5. ปอด (Lung) เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบหายใจ มีอยู่สองข้าง วางอยู่ในทรวงอก มีรูปร่างคล้ายกรวย มีปลายหรือยอดชี้ขึ้นไปข้างบนและไปสวมพอดีกับช่องเปิดแคบๆของทรวงอก ซึ่งช่องเปิดแคบๆนี้ประกอบด้วยซี่โครงบนของกระดูกสันอกและกระดูกสันหลัง ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลมระหว่างปอด 2 ข้าง มีหัวใจอยู่ ปอดข้างขวาจะโตกว่าปอดข้างซ้ายเล็กน้อย และมีอยู่ 3 ก้อน ส่วนข้างซ้ายมี 2 ก้อนหน้าที่ของปอด คือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura)เป็นเยื่อที่บางและละเอียดอ่อน เปียกชื้น และเป็นมันลื่น หุ้มผิวภายนอกของปอด เยื่อหุ้มนี้ ไม่เพียงคลุมปอดเท่านั้น ยังไปบุผิวหนังด้านในของทรวงอกอีก

  31. 5. ระบบขับถ่ายของเสีย

  32. ระบบขับถ่ายของเสีย • ระบบขับถ่ายมีอวัยวะต่าง ๆ ทำหน้าที่ขับถ่ายหรือกำจัดของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากร่างกาย คือ ปัสสาวะและเหงื่อขับออกโดย ไตและต่อมเหงื่อ อุจจาระขับออกโดยลำไส้ใหญ่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขับออกโดยปอด

  33. ไต (Kidney) ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะ มี 1 คู่ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว ถ้าผ่าไตตามยาวจะพบว่าไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เปลือกไตชั้นนอกกับเปลือกไตชั้นใน มีขนาดยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร หนา 3 เซนติเมตร บริเวณตรงกลางของไตมีส่วนเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไต (nephron) นับล้านหน่วยเป็นท่อที่ขดไปมาโดยมีปลายท่อข้างหนึ่งต้น เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า “ โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman scapsule)” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วยภายในแอ่งจะมีกลุ่มเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุกเรียกว่า “ โกลเมอรูลัส (glomerulus)” ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่ไหลผ่านไต

  34. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นระบบหลักของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขจัดสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการปอดและผิวหนังรวมอยู่ในกระบวนการนี้ด้วยซึ่งทำหน้าขจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และเหงื่อตามลำดับระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบขับถ่ายปัสสาวะเป็นระบบหลักของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขจัดสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการปอดและผิวหนังรวมอยู่ในกระบวนการนี้ด้วยซึ่งทำหน้าขจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และเหงื่อตามลำดับ • อวัยวะที่ทำหน้าที่ขับถ่ายปัสสาวะประกอบด้วย ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง ทำหน้าที่ดูดซึม สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกลับคืนสู่กระแสเลือด และขับถ่ายของเสียออกจากเลือด คือ น้ำปัสสาวะให้ไหลไปตามหลอดไต เข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เมื่อมีปริมาณมากก็จะถูกขับออกจาก ร่างกายทางท่อปัสสาวะ

  35. การบำรุงและดูแลรักษาไต ควรปฏิบัติดังนี้ 1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2. ไม่รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด 3. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ 4. หากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

  36. ระบบการขับถ่ายเหงื่อ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ขับเหงื่อออกจากร่างกาย คือ ต่อมเหงื่อ ซึ่งอยู่ใต้ ผิวหนัง ทำหน้าที่กลั่นกรองเอาเกลือแร่และน้ำที่เป็นของเสียที่ปนอยู่ในกระแสเลือด และขับ ออกในรูปของเหงื่อไปตามท่อของต่อมเหงื่อ ออกทางรูเหงื่อที่ผิวหนัง การขับถ่ายดังกล่าวยัง เป็นการระบายความร้อนออกนอกร่างกายด้วย ฉะนั้นเราจึงควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพสมบูรณ์ดี

  37. ระบบขับถ่ายของสัตว์ • การขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวออกจากร่างกายเพื่อให้สิงมีชีวิตอยู่ได้เป็นการกำจัดสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและเป็นการรักษาระดับสมดุลของของเหลวในร่างกาย                 1. Contractile   vacuoles:คอนแทรกไทล์แวคิวโอลมี ลักษณะเป็นถุงบางๆใช้ในการขับนํ้าออกจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวในนํ้าจืดโดยที่นํ้ามากเกินปกติจะเข้าไปในแวคิวโอลตามช่องเล็กๆจำนวนมากที่อยู่รอบๆแวคิวโอลเมื่อแวคิวโอลขยายเต็มที่จะเกิดหดตัวและมีแรงดันให้นํ้าพุ่งออกไปนอกเยื้อหุ้มเซลล์                 2.Nephrida or  nephridium:เนฟริเดียเป็นท่อขับถ่ายในหนอนใส้เดือนตัวอ่อนของแมลงต่างๆและสัตว์จำพวกมอลลัสก์หลายชนิด เช่น  ทาก หนอน ที่มีการพัฒนาการสูงขึ้นจะเก็บสะสมของเสียไว้ในช่องลำตัวหนอนที่มีการพัฒนาน้อยและตัวอ่อนของพวกมอลลัสก์จะมีส่วนที่เรียกว่าโปรโทเนฟริเดียม ของเสียในรูปของเหลวจะไหลเข้าไปในท่อกลวงของเฟลมเซลล์ซึ้งมีขนเส้นเล็กๆคล้ายซีเลียของเสียในเนฟริเดียมและโปรโทเนฟริเดียมจะไหลออกทางช่องเล็กๆหรือรูขับถ่ายที่เรียกว่าเนฟริดิโอพอร์               3.Malpinghian  tubules:ท่อมัลพิเกียนเป็นท่อยาวพบในสัตว์ไฟลัมอาร์โทร โพดาหลายชนิดเช่นแมลงท่อมัลพิเกียนจะดูดเก็บของเสียที่อยู่ในรูปสารละลายจากช่องเลือดกลางลำตัวและจะขับต่อไปยังทางเดินอาหาร

  38. 6. ระบบโครงกระดูก • ระบบโครงกระดูก เป็นระบบที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องค้ำจุนร่างกายให้คงรูปอยู่ได้ และช่วยในการเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ • ส่วนประกอบของระบบโครงกระดูก กระดูก กระดูกอ่อน เอ็นลิกาเมนต์ เอ็นเท็นดอน • โครงกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงหลักสำหรับให้กล้ามเนื้อและเอ็นมายึดเพื่อให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้ และป้องกันอันตรายให้แก่วัยวะบางส่วนของร่างกายนอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของเนื้อสร้างเม็ดเลือดด้วย

  39. โครงกระดูกของคนมี 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามตำแหน่ง ที่อยู่ ได้แก่ • โครงกระดูกแกน โครงกระดูกแกนในผู้ใหญ่ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 80 ชิ้น ซึ่งวางตัวในแนวแกนกลางของลำตัว ซึ่งได้แก่ • กะโหลกศีรษะ (Skull) มีจำนวน 22 ชิ้น • กระดูกหู (Ear ossicles) จำนวน 6 ชิ้น • กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น • กระดูกสันหลัง (Vertebral column) จำนวน 26 ชิ้น • กระดูกซี่โครง (Ribs) จำนวน 24 ชิ้น • กระดูกอก (Sternum) 1 ชิ้น

  40. 2. โครงกระดูกรยางค์ โครงกระดูกรยางค์ในผู้ใหญ่จะมีทั้งหมด 126 ชิ้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนแขนและขาของร่างกายเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว โดยจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ • กระดูกส่วนไหล่ (Shoulder girdle) 4 ชิ้น • กระดูกแขน (Bones of arms) 6 ชิ้น • กระดูกมือ (Bones of hands) จำนวน 54 ชิ้น • กระดูกเชิงกราน (Pelvic girdle) 2 ชิ้น • กระดูกขา (Bones of legs) 8 ชิ้น • กระดูกเท้า (Bones of feet) 52 ชิ้น

More Related