1 / 19

บทที่ 4 จ้างแรงงาน – จ้างทำ ของ

บทที่ 4 จ้างแรงงาน – จ้างทำ ของ.

Download Presentation

บทที่ 4 จ้างแรงงาน – จ้างทำ ของ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4จ้างแรงงาน – จ้างทำของ สัญญาจ้างแรงงานและสัญญาจ้างทำของ มีลักษณะที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันบ้าง บางประการ กล่าวคือ เป็นการจ้างให้บุคคลอื่นทำงานให้ แต่อย่างไรก็ตามสัญญาจ้างแรงงานมิได้มุ่งถึง ผลสำเร็จของงานเป็นหลักเหมือนดังเช่นสัญญาจ้างทำของที่แม้ว่าผู้รับจ้างสามารถใช้แรงงานหรือทรัพยากรอื่นใดก็ตามโดยมุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก

  2. จ้างแรงงาน • ความหมายของสัญญาจ้างแรงงาน • สัญญาจ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า “ลูกจ้าง” ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า “นายจ้าง” และ นายจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้” • ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานที่สำคัญ คือ • (1) สัญญาจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่งกล่าวคือ เป็นนิติกรรมสองฝ่ายระหว่างคู่สัญญาฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างที่มีการ บัญญัติไว้เป็นเอกเทศในลักษณะจ้างแรงงาน-จ้างทำของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ • (2) สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ก่อหนี้ให้แก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายโดยฝ่ายลูกจ้างมีหนี้ที่จะต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหนี้ที่จะต้องจ่ายสินจ้าง ให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงาน ซึ่งผลตามกฎหมายหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิ ที่จะไม่ชำระหนี้ได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการจ้างแรงงานส่วนใหญ่จะใช้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ

  3. (3) สัญญาจ้างแรงงานไม่มีแบบหรือหลักฐานเป็นหนังสือ กล่าวคือ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำตามแบบหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้น เพียงแต่เจตนาของทั้งสองฝ่ายตรงกัน ก็ถือว่าสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นแล้ว • (4) สัญญาจ้างแรงงานมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวของคู่สัญญา กล่าวคือ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะโอนสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอม ในกรณีเมื่อลูกจ้างตายลง สัญญาจ้างแรงงานย่อมระงับ ทายาทจะสวมสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาไม่ได้ แต่สำหรับกรณีนายจ้างนั้น หากสัญญาจ้างแรงงานมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคล ผู้เป็นนายจ้าง สัญญาจ้างย่อมระงับไปเช่นกัน

  4. ข้อสังเกต สัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นความตกลงในการทำงานที่ต้องใช้สติปัญญา นอกจากแรงงานก็ได้ สินจ้างในสัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นทรัพย์สินอื่นใด โดยไม่จำกัดเพียงแค่ ในรูปเงินตราเท่านั้น และ “ลูกจ้าง” ในที่นี้ไม่ได้หมายความรวมถึง ข้าราชการ และ ลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ • ตัวอย่างเช่น • คำพิพากษาฎีกาที่ 3834/2524 • จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ขับรถยนต์รับจ้าง บรรทุก หิน ดิน ทราย อันเป็นการทำงานให้แก่ จำเลยที่ 2 ภายใต้การบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 โดยจะมีจ่ายสินจ้างให้เป็นรายเที่ยว และกำหนดจ่ายสินจ้างเมื่อได้ทำงานเสร็จแล้วเป็นสัญญาจ้างแรงงาน • คำพิพากษาฎีกาที่ 769/2505 • ความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการกับกระทรวงทบวง กรม เป็นไปตามกฎหมายฝ่ายปกครอง เช่น พ.ร.บ ข้าราชการพลเรือน ฯ หาได้เกิดขึ้นและเป็นไปเพราะผล ของนิติกรรมสัญญาจ้างแรงงานไม่

  5. สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้าง • สิทธิของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน มีดังนี้ • (1) ได้รับสินจ้างตอบแทนในการทำงาน • (2) ได้รับสวัสดิการตามที่กำหนดในสัญญา และตามกฎหมาย • (3) ได้รับการปฏิบัติจากนายจ้างอย่างเสมอภาค • (4) ได้รับใบสำคัญแสดงการทำงานจากนายจ้างเมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุด • (5) ได้รับค่าเดินทางขากลับเมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลงในกรณีลูกจ้างต่างถิ่น ซึ่งนายจ้างเอามาโดยจ่ายค่าเดินทางให้โดยการเลิกหรือระงับการจ้างดังกล่าวไม่ได้เป็นความผิดของลูกจ้าง • (6) ได้รับความคุ้มครองสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

  6. หน้าที่ของลูกจ้าง • แยกพิจารณาได้3 ประการ กล่าวคือ • (1) หน้าที่หลักตามสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างจะต้องทำงานด้วยตนเอง เว้นแต่จะได้รับ • ความยินยอมจากนายจ้าง และลูกจ้างจะต้องทำงานเต็มกำลังความสามารถให้ตรงความประสงค์ อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ที่กำหนดหรือตกลงกันไว้ • (2) หน้าที่อื่น ๆ เช่น ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตาม และเชื่อฟังคำสั่งคำบังคับบัญชาของนาย • จ้าง และต้องปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษาความลับในงานของนายจ้างและต้องละเว้นกระทำการแข่งขันกับกิจการของนายจ้าง • (3) ผลของการฝ่าฝืนต่อหน้าที่ของลูกจ้าง ลูกจ้างที่กระทำผิดหน้าที่อาจถูกเลิกจ้าง หรืออาจเสียสิทธิบางประการตามข้อกำหนดในสัญญา หรือในระเบียบข้อบังคับของนายจ้างสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง

  7. สิทธิของนายจ้าง • ตามสัญญาจ้างแรงงาน มีดังนี้ • (1) ได้รับแรงงานจากการทำงานของลูกจ้างตามที่ตกลงกันในสัญญา • (2) ใช้อำนาจการบังคับบัญชาตามที่กฎหมายได้กำหนด และมีสิทธิลงโทษลูกจ้างตามความผิดเท่าที่กฎหมายให้การรับรองไว้เช่น การตักเตือน การลดขั้นเงินเดือน หรือหากมีกรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรงอาจไล่ออกโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ได้

  8. หน้าที่ของนายจ้าง • แยกพิจารณาได้ 3 ประการ กล่าวคือ • (1) หน้าที่หลักตามสัญญาจ้างแรงงาน นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ หรือในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายแม้ลูกจ้างจะไม่ได้ทำงานก็ตาม เช่น การจ่ายค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ • (2) หน้าที่อื่น ๆ เช่น นายจ้างมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัย และให้สวัสดิการในการทำงานของลูกจ้างและต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเสมอภาค และต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างสำหรับการกระทำละเมิด ในทางการที่จ้างของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอก และนายจ้างต้องออกใบสำคัญการผ่านงานให้แก่ลูกจ้าง เมื่อการจ้างงานสิ้นสุด ตลอดจนออกค่าเดินทางกลับให้ลูกจ้างตามเงื่อนไขของกฎหมาย • (3) ผลการฝ่าฝืนหน้าที่ของนายจ้าง เมื่อนายจ้างผิดหน้าที่ ถือได้ว่าเป็นการผิดนัด ชำระหนี้ ลูกจ้างชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ตามเงื่อนไขของกฎหมาย และเรียกร้องค่าเสียหายจากนายจ้างได้ตัวอย่างเช่น

  9. คำพิพากษาฎีกาที่ 267/2501 • เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดจ่ายค่าแรงงานให้ลูกจ้าง ตามผลงานที่ลูกจ้างได้ทำไป และต้องชำระดอกเบี้ยให้นับแต่วันผิดนัด • คำพิพากษาฎีกาที่3181/2530 • ลูกจ้างที่ทดลองงานหาใช่ลูกจ้างประจำสมบูรณ์อันพึงมีสิทธิตามกฎหมายเยี่ยงลูกจ้างประจำโดยทั่วไปไม่เพราะนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างเสียได้ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

  10. ความระงับของสัญญาจ้างแรงงานความระงับของสัญญาจ้างแรงงาน • สัญญาจ้างแรงงานอาจสิ้นสุดลงในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้ • (1) สัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาแห่งการจ้างมีเหตุแห่งการสิ้นสุด ดังนี้ • (1.1) สิ้นสุดเมื่อถึงกำหนดเวลาตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา • (1.2) สิ้นสุดเมื่อเงื่อนไขสำเร็จหรือเมื่อถึงเวลากำหนดกรณีสัญญามีเงื่อนไข หรือ เงื่อนเวลา • (1.3) เกิดจากการตกลงกันของคู่สัญญาในการเลิกสัญญา • (2) สัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแห่งการจ้าง มีเหตุแห่งการสิ้นสุด ดังนี้ • (2.1) การบอกเลิกสัญญาด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้มีผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง สินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินกว่า 3 เดือน • (2.2) มีการตกลงเลิกสัญญากันระหว่างคู่สัญญา • (2.3) เมื่องานเสร็จ สัญญาจ้างแรงงานย่อมระงับไปโดยปริยาย

  11. (3) กรณีพิเศษที่เกิดขึ้นโดยทั้งกรณีที่เป็นความผิดและไม่เป็นความผิดของลูกจ้าง คือ • (3.1) ความตายของคู่สัญญา ตามเงื่อนไขของกฎหมาย • (3.2) การทำงานของลูกจ้างตกเป็นพ้นวิสัย • (3.3) การโอนสิทธิของคู่สัญญาให้บุคคลภายนอก โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้ให้ความยินยอมและกรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถกระทำการดังที่ตนได้แสดงออกไว้แต่แรก • (3.4) ลูกจ้างกระทำความผิดอันเข้าลักษณะร้ายแรง เช่นจงใจขัดขืนคำสั่งโดยชอบของนายจ้างหรือละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควรหรือการที่ลูกจ้างทุจริตหรือผิดต่อหน้าที่ของตน • อายุความการดำเนินคดี • อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับสินจ้างมีกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่เลิกจ้าง

  12. จ้างทำของ • ความหมายของสัญญาจ้างทำของ • สัญญาว่าจ้างทำของนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นสาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของ มีดังนี้ • 1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน • กล่าวคือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

  13. 2. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ • กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างใน ผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง • 3. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ • กล่าวคือ สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาตกลงกัน แม้ด้วยวาจาก็สามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด

  14. สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของผู้รับจ้าง • สำหรับ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของผู้รับจ้างพอจำแนกได้ดังนี้ • (1) ต้องทำงานให้สำเร็จตามสัญญา • (2) ต้องจัดหาเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้ในการทำงาน • (3) ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ ต้องจัดหาชนิดที่ดีถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหา ผู้รับจ้างต้องใช้สัมภาระด้วยความระมัดระวังและประหยัด เมื่อทำเสร็จแล้วต้องคืนสัมภาระที่เหลือ • (4) ต้องรับผิดในความชักช้าของงานที่ทำเว้นแต่ความชักช้านั้นเกิดจากความผิดของผู้ว่าจ้าง • (5) ต้องยอมให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวแทนตรวจตราการงานได้ตลอดเวลา

  15. (6) ต้องแก้ไขความบกพร่องที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทำงานนั้น • (7) ต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องภายหลังการส่งมอบ เพียงที่ปรากฏขึ้นภายใน 1ปีนับแต่วันส่งมอบ หรือภายใน 5 ปีถ้าเป็นสิ่งปลูกสร้างบนพื้นดิน • (8) ถ้าผู้ว่าจ้างยอมรับการที่ทำบกพร่องนั้นโดยไม่อิดเอื้อน ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ความชำรุดบกพร่องนั้น จะไม่พึงพบได้ในขณะรับมอบ หรือผู้รับจ้างได้ปิดบังความ • นั้นเสีย • (9) ต้องทำการให้เสร็จและส่งมอบให้ตรงตามเวลาที่ตกลงกันไว้ หากส่งมอบล่าช้า ผู้ว่าจ้างชอบที่จะลดสินจ้างลง และอาจจะใช้สิทธิในการบอกเลิกสัญญาได้

  16. สิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้างสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง • สำหรับสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้ว่าจ้างพอจำแนกได้ดังนี้ • (1) สิทธิเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้รับจ้างไม่ได้เริ่มทำการในเวลาอันสมควร หรือในกรณี ที่ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานได้ทันตามกำหนดเวลา ตลอดจนสามารถใช้สิทธิยึดหน่วงสินจ้างได้ • (2) สิทธิเลิกสัญญาถ้าการที่จ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ แต่ผู้ว่าจ้างจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ผู้รับจ้างเช่นกัน • (3) หน้าที่ในการจ่ายสินจ้าง เว้นแต่จะมีเหตุให้ไม่ต้องจ่ายสินจ้าง หรือมีเหตุให้ลดสินจ้าง เช่น ผู้รับจ้าง มีสิทธิหักค่าจ้างเท่าที่เสียหายได้

  17. (4) ผู้ว่าจ้างย่อมรับผิดเมื่อผู้ว่าจ้างมีส่วนผิดในกรณีสั่งให้ทำหรือในการเลือกผู้รับจ้างหรือ • ในคำสั่งที่ตนได้ให้ไว้ • (5) ถ้าผู้รับจ้างเป็นผู้จัดสัมภาระ และการที่จ้างทำนั้นพังทลายหรือบุบสลาย ความวินาศ • นั้น ตกเป็นพับแก่ผู้รับจ้าง สินจ้างก็ไม่ต้องใช้ • (6) ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดการสัมภาระและการที่จ้างทำนั้นพังทลายหรือบุบสลายความวินาศ • ตกเป็นพับแก่ผู้ว่าจ้าง สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้ เว้นแต่เป็นความผิดของผู้ว่าจ้าง

  18. ความระงับแห่งสัญญาจ้างทำของความระงับแห่งสัญญาจ้างทำของ • สัญญาจ้างทำของจะระงับลงได้ดังนี้ • (1) สัญญาจ้างทำของระงับลงโดยผลของกฎหมาย เช่น การทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาหรือมีการวินาศสิ้นไปของสัมภาระ ตลอดจนความตายของผู้รับจ้าง • (2) สัญญาจ้างทำของระงับลงโดยการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาของคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง • (3) สัญญาจ้างทำของระงับลงโดยผู้ว่าจ้างใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ในกรณีที่การจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ และได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับจ้างเรียบร้อยแล้ว

  19. อายุความ • การฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อให้ผู้รับจ้างผิดในความชำรุดบกพร่อง ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น

More Related