1 / 168

วันพุธที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา อาคาร ๑๐ ชั้น ๓

การประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผล การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑. วันพุธที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

dayton
Download Presentation

วันพุธที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา อาคาร ๑๐ ชั้น ๓

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ วันพุธที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

  2. หลักการของกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ ๑. หลักการประเมินเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา ๒. หลักเอกภาพของการประเมินภายนอก สถาบันอุดมศึกษา ๓. หลักการประเมินตามเอกลักษณ์และจุดเน้นของ สถาบันอุดมศึกษา ๔. หลักความต่อเนื่องของการประเมินเพื่อให้สถาบัน พัฒนาคุณภาพสู่งานประจำและความยั่งยืน

  3. ความเชื่อมโยงของมุมมองทั้ง ๔ ของ BSC (Kaplan and Norton:๑๙๙๑) การเงิน ลูกค้า การบริหารจัดการ วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ การเรียนรู้และพัฒนา

  4. มิติที่ ๑ ด้านประสิทธิผล มิติที่ ๒ ด้านคุณภาพ มิติที่ ๑ ๒ ด้านคุณภาพการให้บริการ ตามยุทธศาสตร์ กรอบการประเมินการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ กรอบการประเมิน ครม . . และแผนยุทธศาสตร์ ส่วนราชการ ๔ ๓ มิติที่ มิติที่ ๓ ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มิติที่ ๔ ด้านการพัฒนาสถาบัน ด้านการพัฒนาองค์กร ด้านประสิทธิภาพ ของการปฏิบัติราชการ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา

  5. ระบบการให้คะแนนตามระบบอิงสถาบันระบบการให้คะแนนตามระบบอิงสถาบัน ระดับคะแนน ๑ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตกลงกันในคำรับรองการปฏิบัติราชการอย่างมาก ระดับคะแนน ๒ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตกลงกันในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับคะแนน ๓ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้ตามเป้าหมายที่ตกลงกันในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับคะแนน ๔ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้เกินเป้าหมายซึ่งการดำเนินการเช่นนั้นต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติ ระดับคะแนน ๕ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้เกินเป้าหมายอย่างมาก ซึ่งการดำเนินการเช่นนั้นต้องใช้ความพยายามสูงมากหรือพิจารณามิติอื่นเพิ่มเติม เช่น การประหยัด เป็นต้น

  6. คำอธิบายตัวชี้วัดตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑

  7. ๑. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง ๒. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของ สกอ. มิติที่ ๑ ๓.ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ ของสถาบันอุดมศึกษา ๔. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุมาตรฐานคุณภาพ สมศ. ของสถาบันอุดมศึกษา ๕. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาสถาบันสู่ระดับสากล

  8. ประเด็นการประเมินผล : ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ ๑ ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง น้ำหนัก : ร้อยละ ๕ • คำอธิบาย : • พิจารณาจากการบรรลุเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยถือว่า สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในสังกัดต้องร่วมรับผิดชอบผลการดำเนินงานของกระทรวงที่สังกัด หมายเหตุ : สถาบันไม่ต้องจัดทำรายงานตัวชี้วัดนี้ ในรายงานให้ระบุคะแนนเป็น ๑ มาก่อน ตัวชี้วัดนี้จะได้คะแนนเท่ากับกระทรวงที่สังกัด

  9. ตัวชี้วัดที่ ๒ ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ เป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา น้ำหนัก : ร้อยละ ๕ • คำอธิบาย : • พิจารณาจากการบรรลุเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยถือว่า สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในสังกัดต้องร่วมรับผิดชอบผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่สังกัด หมายเหตุ : สถาบันไม่ต้องจัดทำรายงานตัวชี้วัดนี้ โดยในรายงานให้ระบุคะแนนเป็น ๑ มาก่อน ตัวชี้วัดนี้จะได้คะแนนเท่ากับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ถ้าสถาบันใดไม่สังกัด สกอ.ให้นำน้ำหนักไปคิดรวมในตัวชี้วัดที่ ๑

  10. ตัวชี้วัดที่ ๓ ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา น้ำหนัก : ร้อยละ ๑๕ จำแนกเป็น ๓ ตัวชี้วัดย่อย โดยมีความเชื่อมโยงในการพิจารณา ดังนี้ ๓.๑ คุณภาพของแผนปฏิบัติราชการ (แผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้) ของสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (น้ำหนักร้อยละ ๔) ๓.๒ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ (แผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้) ของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (น้ำหนักร้อยละ ๕) ๓.๓ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่สะท้อนเอกลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษา (น้ำหนักร้อยละ ๖) โดยมีน้ำหนักเท่ากันทุกตัว

  11. ตัวชี้วัดที่ ๓.๑ คุณภาพของแผนปฏิบัติราชการ (แผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้) ของสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ น้ำหนัก : ร้อยละ ๔ พิจารณาจากเกณฑ์คุณภาพในการจัดทำแผนของสถาบันอุดมศึกษา และคุณลักษณะของแผนครบตาม ๘ ประเด็น ประกอบด้วย ตัวชี้วัดใหม่ ๑) ตรงความต้องการจำเป็นและสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ ๒) สอดคล้องกับอัตลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติ ของสถาบัน ๓) สอดคล้องกับมาตรฐานสำหรับการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด ๔) มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ๕) เป็นระบบครบวงจรของแผนและเป็นรูปธรรม ๖) มีทรัพยากรเพียงพอ ๗) การถ่ายทอดแผนสู่หน่วยงานปฏิบัติ ๘) ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย / สถาบัน

  12. ข้อกำหนดในการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ ๓.๑ สถาบันอุดมศึกษาต้องส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ (ทั้งแผนงบประมาณและงบประมาณรายได้) แผนกลยุทธ์และเอกสารหลักฐานต่างๆที่แสดงถึงคุณภาพของแผนตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน ๒ ชุด ให้ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ที่ปรึกษา (สมศ.) วิเคราะห์และประเมินคุณภาพและให้ข้อเสนอแนะ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๐ สำนักงาน ก.พ.ร. จะแจ้งความเห็นให้สถาบันอุดมศึกษาทราบ/ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง จะต้องส่งกลับให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ที่ปรึกษา ประเมินคุณภาพครั้งสุดท้ายหากเกินกำหนดจะถูกปรับลดคะแนน ๐.๐๕ คะแนนของตัวชี้วัดที่ ๓.๑ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐

  13. เกณฑ์การให้คะแนน คุณภาพของแผนปฏิบัติราชการสถาบัน อุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นไปตามเกณฑ์ตามประเด็นที่กำหนด

  14. สถาบันอุดมศึกษาที่ส่งแผนฯตามกำหนดเวลา มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๕ แห่ง สถาบันอุดมศึกษาที่ส่งแผนฯหลังกำหนดเวลามีจำนวนทั้งสิ้น ๓๑ แห่ง สถาบันอุดมศึกษายืนยันที่จะใช้แผนฯเดิมมีจำนวนทั้งสิ้น ๖ แห่ง สถาบันอุดมศึกษาไม่ส่งแผนฯมีจำนวนทั้งสิ้น ๑ แห่ง ที่ปรึกษาจะแจ้งผลการประเมินคุณภาพแผนปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัดที่ ๓.๑ ภายในวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑

  15. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ (แผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้) ของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ น้ำหนัก : ร้อยละ ๕ คำอธิบาย : พิจารณาจากการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการทั้งแผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่สภามหาวิทยาลัย / สถาบันให้ความเห็นชอบ โดยตัวชี้วัดที่รายงานต้องไม่ซ้ำกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในคำรับรองนี้ ยกเว้นตัวชี้วัดที่ ๓.๓ หมายเหตุ : สถาบันต้องจัดทำรายงานตัวชี้วัดนี้ โดยระบุรายละเอียดตัวชี้วัดย่อยทุกตัวตามที่จัดส่งมาเมื่อวันที่ ๓๐ พ.ย. ๕๐ การกำหนดเป้าหมายและการให้คะแนน มี ๓ รูปแบบ ดังนี้

  16. กรณีที่เป้าหมายเป็นร้อยละ ให้วางเป้าหมายไว้ที่เกณฑ์ ๕ แล้วคิดสัดส่วนตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น กรณีเป้าหมายเป็นจำนวน ให้วางจำนวนตามเป้าหมายไว้ที่ค่า ๕ แล้วคิดสัดส่วนตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น กรณีที่ตัวชี้วัดเป็นระดับความสำเร็จ ให้ต้องกำหนดตามระดับความสำเร็จ ดังนี้

  17. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑ ระดับความสำเร็จการพัฒนาครู "กลุ่มสนุก" เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๔ การพัฒนาครูเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบการให้ความรู้ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเป็นที่ปรึกษา ฯลฯ กลุ่มสนุก หมายถึง กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๔ จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ส = จังหวัดสกลนคร น = จังหวัดนครพนม ุ = จังหวัดมุกดาหาร ก = จังหวัดกาฬสินธุ์ การดำเนินการ ประกอบด้วย ๗ ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ ๑ สร้างทีมงาน ขั้นที่ ๒ สำรวจและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นที่ ๓ สร้างชุดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นที่ ๔ จัดทำแผนปฏิบัติการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นที่ ๕ ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครกลุ่มสนใจ ขั้นที่ ๖ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ ขั้นที่ ๗ ประเมินโครงการ และจัดทำรายงาน

  18. ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)

  19. เกณฑ์การให้คะแนน : หมายเหตุ: กำหนดค่าเป้าหมายในแผนปฏิบัติราชการ คือ จำนวน ๑๘๐ คน จาก ๔ จังหวัด โดยกำหนดงบประมาณ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท

  20. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๒ ระดับความสำเร็จในการดำเนินการของการส่งเสริมศักยภาพการผลิต โคขุนของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผลิตโคขุน หมายถึง การศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ องค์ความรู้เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การผลิตโคขุนที่เชื่อมต่อการส่งเสริมพัฒนา และเสริมสร้างสมรรถภาพการผลิตโคขุนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในด้านพันธุ์ อาหาร การจัดการ และการควบคุมป้องกันโรค เพื่อยกระดับการผลิตและแปรรูปเนื้อโคขุนที่สร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลางโพนยางคำ จำกัด หมายถึง เกษตรกรที่ จดทะเบียนเป็นสมาชิกของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลางโพนยางคำ จำกัดกลุ่มสนุก หมายถึง กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๔ จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด กิจกรรมที่ ๑ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการผลิตโคขุนของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด กิจกรรมที่ ๒ การยกระดับมาตรฐานการผลิตและการแปรรูปเนื้อโคขุนโพนยางคำ

  21. ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)

  22. เกณฑ์การให้คะแนน : หมายเหตุ : กำหนดค่าเป้าหมายในแผนปฏิบัติราชการ คือ เกษตรกร จำนวน ๑๐๐ คน

  23. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๓ ระดับความสำเร็จของการจัดตั้งศูนย์การพัฒนาผ้าย้อมคราม น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ ศูนย์การพัฒนาผ้าคราม หมายถึง ศูนย์ครามทำหน้าที่ศึกษา วิจัย พัฒนาและเผยแพร่ความรู้ เรื่องผ้าย้อมครามตามธรรมชาติ เพื่อเป็นหน่วยงานกลางสำหรับแลกเปลี่ยน รวบรวม เผยแพร่ การจัดระบบองค์ความรู้เรื่องผ้าย้อมครามธรรมชาติ และพัฒนารูปแบบไปสู่การตลาดระดับประเทศและต่างประเทศ การพัฒนา หมายถึง การศึกษา วิจัย แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำสีครามและย้อมผ้าด้วยคราม การเผยแพร่องค์ความรู้และเทคนิคการย้อมผ้าด้วยสีคราม หมายถึง 1. การต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์จัดตั้งศูนย์คราม/โรงย้อมคราม 2. มีการอธิบายประกอบโบสเตอร์ และนิทรรศการ 3. บริการเอกสาร แผ่นดิสก์ และวีดีทัศน์ 4. จัดแสดงนิทรรศการนอกสถานที่บรรยายนอกสถานที่ 5. เป็นเครือข่ายร่วมกิจกรรมครามกับหน่วยงานอื่น

  24. ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)

  25. เกณฑ์การให้คะแนน :

  26. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๔ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวบ้านท่าวัด น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวบ้านท่าวัด หมายถึง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ปรากฏในพื้นที่บ้านท่าวัดให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถเป็นศูนย์กลางการศึกษา เรียนรู้ท้องถิ่นและศูนย์กลางการท่องเที่ยวหลักของหมู่บ้านรอบหนองหารสกลนคร แหล่งท่องเที่ยว หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ ทางประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชุมชนบ้านท่าวัด

  27. ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)

  28. เกณฑ์การให้คะแนน :

  29. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๕ ระดับความสำเร็จของการพัฒนามหาวิทยาลัยธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs University) น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ ยุทธศาสตร์ส่งเสริม สนับสนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดให้มีการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs (๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) ฉบับที่ ๒ แผนปฏิบัติการฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพ ทักษะและยกระดับ SMEs และบริกรธุรกิจ (Service Provider) โดยแนวทางการศึกษา (Best practice) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ตกลงความร่วมมือกับ SMRJ (Organization for Small & Medium Enterprises and Regional Innovation, Japan) ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงการนี้ขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด SMEs University ไม่ใช่การตั้งตามหาวิทยาลัย เป็นการสร้าง University network คือ การต่อยอดมหาวิทยาลัย เป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ คำแนะนำปรึกษา ให้วิชาการและเป็นศูนย์กลางข้อมูลเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยและสถาบันอิสระต่างๆ ซึ่งมีความพร้อมในด้านองค์ความรู้ และนำมาจัดให้เป็นระบบและมีมาตรฐาน SMEs University ของประเทศญี่ปุ่นจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัย มีที่ปรึกษา มีหอพัก และมีหน่วยงานเครือข่ายอยู่ทั่วไป การพัฒนามหาวิทยาลัยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs University) หมายถึง การยกระดับความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งทักษะในการแก้ไขปัญหาได้จริงของบุคลากร SMEs โดยมุ่งเน้นการบริการนักศึกษาที่มุ่งมั่นเป็นผู้ประกอบการ อาชีพอิสระ การดูแลและฟื้นฟู SMEs ที่เป็น OTOP การเสริมสร้างศักยภาพให้ SMEs ทั่วไป และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการเงิน

  30. ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)

  31. เกณฑ์การให้คะแนน :

  32. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๖ ร้อยละของนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยที่เพิ่มขึ้น น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๔ พิจารณาจากระดับความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นตัวชี้วัดที่ตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาขีดความสามารถในการขับเคลื่อนสังคมของประชาชนโดยใช้ความรู้เป็นฐาน นักศึกษาใหม่ หมายถึง นักศึกษาที่รับใหม่ในระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี และระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่องภาคปกติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ สูตรการคำนวณ : เกณฑ์การให้คะแนน :

  33. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๗ ระดับความสำเร็จของการจัดการอนุรักษ์พลังงานให้กับชุมชน น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ การจัดการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างถูกวิธี และคุ้มค่า สามารถพัฒนาระบบพลังงานทดแทนได้ ซึ่งระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดการอนุรักษ์พลังงานในชุมชนจะพิจารณาจาก ๑. จำนวนของผู้ที่เข้าร่วมฝึกอบรมตามโครงการ หมายถึง บุคลากรในชุมชนต่าง ๆ และอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาในชุมชน ๒. ระบบพลังงานทดแทน หมายถึง ชุดอุปกรณ์และระบบการทำงานของกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ๓. ปริมาณหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง หมายถึง ข้อมูลการเปรียบเทียบหน่วยการใช้ไฟฟ้าก่อนและหลังการดำเนินงานตามโครงการ

  34. ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)

  35. เกณฑ์การให้คะแนน :

  36. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๘ สัดส่วนนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ต่อนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ จำนวนนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึง จำนวนนักศึกษาทั้งหมดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคณะเทคโนโลยีการเกษตร ทุกระดับ ภาคปกติของมหาวิทยาลัย จำนวนนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ หมายถึง จำนวนนักศึกษาทั้งหมดด้านสังคมศาสตร์ จากคณะครุศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทุกระดับ ภาคปกติของมหาวิทยาลัย เกณฑ์การให้คะแนน :

  37. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๙ จำนวนหน่วยการเรียนรู้ E-learning ที่เพิ่มขึ้น น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๔ หน่วยการเรียนรู้ หมายถึง จำนวนเนื้อหาของบทเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนแล้วจบในตัว ซึ่งอาจจะมีมากกว่า ๑ บทเรียน และมีแบบฝึกหัด แบบทดสอบประกอบการเรียน E-learning หมายถึง การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูก ส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ เกณฑ์การให้คะแนน :

  38. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๐ ร้อยละของอาจารย์ประจำที่เข้าร่วมประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงาน วิชาการทั้งในและต่างประเทศ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำ ได้แก่ ๑. ผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการ ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสาขาวิชา ๒. การแสดงออกทางศิลปะอันเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติและระดับชาติ ๓. งานที่ได้รับสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ ๔. สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ทางซึ่งแสดงความก้าวหน้าทางวิชาการ เสริมสร้างองค์ความรู้หรือวิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชา หรือแสดงความเป็นต้นแบบ ต้นความคิดของผลงาน หรือแสดงความสามารถในการบุกเบิกงานในสาขาวิชานั้น การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ได้แก่ การนำเสนอผลงานวิจัย การบรรยาย การสัมมนา การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน หรือการนำเสนอในรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับประเภทของผลงานวิชาการที่นำเสนอ สูตรการคำนวณ : เกณฑ์การให้คะแนน :

  39. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๑ จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนา น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๔ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การพัฒนาหลักสูตรใหม่ หรือ ปรับปรุงหลักสูตรเดิม โดยพัฒนา หรือปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และวิทยาการในสาขานั้น ๆ ในการปรับปรุงหลักสูตรอาจเป็นการปรับปรุงหลักสูตรทั้งหมด หรือบางส่วนของหลักสูตร ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เกณฑ์การให้คะแนน :

  40. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๒ จำนวนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ หมายถึง ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครกับหน่วยงานอื่น ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อทำให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครกับหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายมีการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายต้องมีทั้ง๒ลักษณะคือ เครือข่ายในมหาวิทยาลัยเพื่อระดมและประสานสัมพันธ์สรรพกำลังระหว่างบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเองและเครือข่ายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อระดมและประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่นประโยชน์ของการสร้างเครือข่าย เกณฑ์การให้คะแนน :

  41. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๓ ระดับความสำเร็จการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาที่ครบถ้วนและสอดคล้อง กับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ กิจกรรมนักศึกษา หมายถึง กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ดำเนินการทั้งโดยสถาบันและโดยองค์การนักศึกษา เป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสได้รับการพัฒนาสติปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกาย และคุณธรรมจริยธรรมสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ๕ ประการ ได้แก่ ๑) ความรู้ ๒) ทักษะการคิด ๓) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๔) ทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร ๕) การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม

  42. ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)

  43. เกณฑ์การให้คะแนน :

  44. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๔ ระดับความสำเร็จการใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมกัน น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ การบริหารงานโดยการบูรณาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์การบริหารงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในโลกยุคปัจจุบัน ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)

  45. เกณฑ์การให้คะแนน :

  46. ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๕ ระดับความสำเร็จในการจัดระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ ประเด็นย่อยในการพิจารณา ๗ ข้อ ๑. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาของสถาบัน ๒. มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพจากคณะกรรมการระดับนโยบาย และผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคีทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ๓. มีการกำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา และ มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอก ๔. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพที่ครบถ้วน ทั้งการควบคุมคุณภาพ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ (อย่างน้อย ๓ ปีนับรวมปีที่มีการติดตาม) ๕. มีการนำผลการประกันคุณภาพมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน ๖. มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา และใช้ร่วมกันทั้งระดับ บุคคล ภาควิชา คณะ และสถาบัน ๗. มีระบบส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอกสถาบัน

  47. เกณฑ์การให้คะแนน :

  48. ตัวชี้วัดที่ ๓.๓ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่สะท้อนเอกลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษา น้ำหนัก : ร้อยละ ๖ ตัวชี้วัดใหม่ • คำอธิบาย : ตัวชี้วัดนี้ได้มีการเจรจาแล้ว โดยให้สถาบันอุดมศึกษาเลือกหรือสร้างตัวชี้วัดสำคัญ ๓ ตัวชี้วัด ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ • สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษาและการพัฒนาประเทศ • บ่งชี้คุณภาพการศึกษา • สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา และ • สะท้อนอัตลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษา • ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่เลือกหรือสร้างต้องเป็นตัวชี้วัดที่ระบุในแผนปฏิบัติราชการของ • สถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ผ่านความเห็นของสภามหาวิทยาลัย • /สถาบัน ถ้าเป็นตัวชี้วัดใหม่สถาบันอุดมศึกษาต้องขออนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยในการ • ปรับแผนปฏิบัติราชการประจำปี

  49. ตัวชี้วัดที่ ๓.๓ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ตัวชี้วัดที่ ๓.๓.๑ ระดับความสำเร็จการพัฒนาครู "กลุ่มสนุก" เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ น้ำหนัก : ร้อยละ ๒ การพัฒนาครูเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบการให้ความรู้ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเป็นที่ปรึกษา ฯลฯ กลุ่มสนุก หมายถึง กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๔ จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ส = จังหวัดสกลนคร น = จังหวัดนครพนม ุ = จังหวัดมุกดาหาร ก = จังหวัดกาฬสินธุ์ การดำเนินการ ประกอบด้วย ๗ ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ ๑ สร้างทีมงาน ขั้นที่ ๒ สำรวจและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นที่ ๓ สร้างชุดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นที่ ๔ จัดทำแผนปฏิบัติการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นที่ ๕ ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครกลุ่มสนใจ ขั้นที่ ๖ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ ขั้นที่ ๗ ประเมินโครงการ และจัดทำรายงาน

More Related