1 / 47

ส่วนที่ 1 สิทธิในเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญของข้าราชการ

ส่วนที่ 1 สิทธิในเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญของข้าราชการ. เบี้ยหวัด หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็น รายเดือน ให้แก่ นายทหารชั้นสัญญาบัตร นายทหารประทวน

Download Presentation

ส่วนที่ 1 สิทธิในเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญของข้าราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ส่วนที่ 1 สิทธิในเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญของข้าราชการ

  2. เบี้ยหวัด • หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนให้แก่ • นายทหารชั้นสัญญาบัตร • นายทหารประทวน • ที่ออกจากราชการและยังอยู่ในกองหนุน โดยจ่ายถึงวันครบกำหนดรับเบี้ยหวัด ตามข้อบังคับ ก.กลาโหมว่าด้วย เงินเบี้ยหวัด พ.ศ.2495 6

  3. ผู้มีสิทธิรับเบี้ยหวัดผู้มีสิทธิรับเบี้ยหวัด • 1. นายทหารสัญญาบัตร • เวลาราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี • ออกไปเป็นนายทหารกองหนุน 7

  4. 2. นายทหารสัญญาบัตรนอกประจำการ (นายทหารกองหนุน นายทหารนอกราชการ หรือ นายทหารพ้นราชการ) • - ที่ไม่ได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ • - ภายหลังกลับเข้ารับราชการประจำการใหม่ ไม่น้อยกว่า 1 ปี • ออกไปเป็นนายทหารกองหนุน 7

  5. 3. นายทหารประทวนและพลทหาร • -รับราชการประจำการครบกำหนดตาม กม.ว่าด้วย การรับราชการทหาร แล้ว • เข้ารับราชการประจำการต่อไม่น้อยกว่า 1 ปี • ออกจากราชการขณะยังไม่พ้นกองหนุนชั้นที่ 2 ตาม กม.ว่าด้วย การรับราชการทหาร 8

  6. 4. นายทหารประทวนและพลทหารกองหนุน • -ที่ไม่ได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ • ภายหลังสั่งให้กลับเข้าประจำการใหม่ไม่น้อยกว่า 1 ปี • ออกจากราชการขณะยังไม่พ้นกองหนุนชั้นที่ 2 ตาม กม.ว่าด้วย การรับราชการทหาร 8

  7. ทหารซึ่งไม่มีสิทธิรับเบี้ยหวัดทหารซึ่งไม่มีสิทธิรับเบี้ยหวัด 1. ออกจากราชการโดยได้รับบำเหน็จ บำนาญ ตาม กม. ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้ว 2. นายทหารประทวนและพลทหารประจำการ ที่ประจำการครบกำหนดแล้ว ต้องรับราชการต่อ -เลื่อนกำหนดเวลาปลด -ระดมพลเข้าฝึกวิชาทหาร/ทดลองความพรั่งพร้อม 9

  8. 3. ออกจากราชการเพราะความผิด เช่น -ทุจริตต่อหน้าที่ -กระทำความผิดต้องโทษจำคุก -ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย -ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาโดยชอบด้วย กม. เป็นต้น 9

  9. การงดรับเบี้ยหวัด 1. นายทหารสัญญาบัตร กองหนุนมีเบี้ยหวัด ซึ่งย้ายหรือปลดจากประเภทนี้แล้ว 2. นายทหารประทวนและพลทหาร ซึ่งปลดจากกองหนุน ชั้นที่ 2 3. เข้ารับราชการในตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ บำนาญ 4. กระทำความผิดตามที่กำหนด 5. หลีกเลี่ยงหรือบิดพลิ้วต่อราชการ 6. เจ็บไข้หรือพิการจนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ 10

  10. หลักการนับเวลา เพื่อรับเบี้ยหวัด = เวลาปกติ + เวลาทวีคูณ - ตัดเวลาราชการ การนับเวลา(ปกติ) 1. ทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) 2. นักเรียนทหาร 3. ทหารประจำการ หรือข้าราชการกลาโหม พลเรือน ***ทหารหญิง ไม่ได้รับสิทธิให้รับเบี้ยหวัด***

  11. การนับเวลา(อื่น) 1. เวลาทวีคูณ 2. การตัดเวลาราชการ วิธีคำนวณเบี้ยหวัด เวลาราชการไม่ถึง 15 ปี ได้ 15/50 ของเงินเดือน เวลาราชการ 15 ปี แต่ไม่ถึง 25 ปี ได้ 25/50 ของเงินเดือน ....เวลาราชการเกินกว่า 40 ปีขึ้นไป = (เวลา/50) x เงินเดือน แต่จะได้รับไม่เกินเงินเดือนเดือนสุดท้าย หลักการเดียวกับ บำเหน็จบำนาญปกติ 12

  12. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 1. พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม = ข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิก กบข. 2. พรบ. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 = ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.

  13. บำเหน็จ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับ ราชการมา ซึ่งจ่ายเป็น เงินก้อนครั้งเดียว บำนาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับ ราชการมา ซึ่งจ่ายเป็น รายเดือนจนกว่าจะเสียชีวิต หรือหมดสิทธิตามที่ กม. กำหนด *สิทธิในบำเหน็จบำนาญเป็นสิทธิเฉพาะตัว

  14. สิทธิข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิก กบข. ว่าด้วยเหตุแห่งบำเหน็จบำนาญ 1. เหตุทดแทน 2. เหตุทุพพลภาพ 3. เหตุสูงอายุ 4. เหตุรับราชการนาน หากมีเวลาราชการ 1 - 10 ปี = บำเหน็จ หากมีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป = บำนาญ หรือบำเหน็จ ก็ได้

  15. 1. เหตุทดแทน -เลิกหรือยุบตำแหน่ง -ทางราชการสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด เช่น เจ็บป่วยโดยสม่ำเสมอ ขาดคุณสมบัติทั่วไป(ล้มละลาย) และต้องโทษจำคุกในความผิดลหุโทษ-ออกตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เช่นข้าราชการการเมือง และทหารกองหนุนออกจากเบี้ยหวัด

  16. 2. เหตุทุพพลภาพ +ข้าราชการเจ็บป่วยทุพพลภาพ +แพทย์ที่ทางราชการรับรอง โดยข้าราชการลาออกเอง/ทางราชการสั่งให้ออก 3. เหตุสูงอายุ -ข้าราชการอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ (เกษียณอายุ) -ข้าราชการอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ และลาออก

  17. 4. เหตุรับราชการนาน -เวลาราชการครบ 30 ปีบริบูรณ์ -เวลาราชการครบ 25 ปีบริบูรณ์ และลาออก หากไม่เข้าทั้ง 4 เหตุโดยที่มีเวลาราชการ 10 ปี ขึ้นไป และลาออก = บำเหน็จ

  18. วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ (ตาม พรบ. 2494 ข้าราชการที่ไม่เป็นสมาชิก กบข.) บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ 50

  19. การนับเวลาราชการ • 1. เวลาระหว่างรับราชการปกติ • 2. เวลาทวีคูณ = เวลาที่ กม.ให้นับเพิ่มอีก 1 เท่า • - ตามที่ ก.กลาโหมกำหนด • - ในเขตประกาศกฎอัยการศึก • 3. การตัดเวลาราชการ • - เวลาที่ไม่ได้รับเงินเดือน - เวลาระหว่างรับเบี้ยหวัด • - วันลาในระหว่างประกาศกฎอัยการศึก

  20. เวลาราชการในการคำนวณให้นับแต่ จำนวนปี เศษของปี ถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็น 1 ปี เช่นเวลา 9 ปี 6 เดือน ให้นับเป็น 10 ปี และเวลาที่ใช้ในการคำนวณ = 10

  21. สิทธิข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. 1. หากมีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่ถึง 25 ปี = บำเหน็จ 2. หากมีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป = บำนาญ+เงินประเดิม*+เงินสะสม+เงินสมทบ+เงินชดเชย+ผลประโยชน์(*เฉพาะผู้ที่สมัครใจเป็นสมาชิกเมื่อ 20 มี.ค.40) หรือบำเหน็จ ก็ได้

  22. นอกจากนั้น ยังมี เหตุแห่งบำเหน็จบำนาญ 1. เหตุทดแทน 2. เหตุทุพพลภาพ 3. เหตุสูงอายุ หากมีเวลาราชการ 1 - 10 ปี = บำเหน็จ หากมีเวลาราชการตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป = บำนาญ หรือบำเหน็จ ก็ได้

  23. หลักการนับเวลาให้เกิดสิทธิ คือ หากเวลาราชการมีเศษครึ่งปีให้นับเป็น 1 ปี เช่นเวลา 9ปี 6 เดือน ให้นับเป็น 10ปี เพื่อให้เกิดสิทธิบำเหน็จ หรือ เวลา 24ปี 6 เดือน ให้นับเป็น 25ปี เพื่อให้เกิดสิทธิบำนาญ

  24. วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ (ตาม พรบ. 2539 สำหรับข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข.) บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ บำนาญ* =(เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการ) 50 * แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

  25. เวลาราชการในการคำนวณให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วยเวลาราชการในการคำนวณให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย เช่นเวลา 25ปี 6 เดือน = 25 + (6/12) = 25.50 ปี เวลา 25ปี 6 เดือน 15 วัน = 25 + (6/12) + (15/360) = 25.54 ปี

  26. ความแตกต่างระหว่างบำเหน็จ VS บำนาญ สำหรับผู้มีสิทธิเลือก บำเหน็จ + รับเงินก้อนใหญ่ ครั้งเดียว - ไม่มีความผูกพันกับทางราชการอีกต่อไป บำนาญ + รับเงินก้อนน้อยเป็นรายเดือนตลอดชีวิต + มีสิทธิได้รับเงินอื่น ดังนี้ 1. บำเหน็จดำรงชีพ 15 เท่าของบำนาญรายเดือน 2. บำเหน็จตกทอด 30 เท่าของบำนาญรายเดือน 26

  27. (ต่อ) 3. บำเหน็จค้ำประกัน (จากบำเหน็จตกทอดคงเหลือ) 4. สิทธิสวัสดิการ (ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน ช่วยเหลือการศึกษาบุตร) 5. เงินช่วยค่าครองชีพ (ช.ค.บ.) 6. เงินช่วยพิเศษ/เงินค่าทำศพ 3 เท่าของบำนาญรายเดือน 27

  28. บำเหน็จดำรงชีพ หมายถึง เงินที่รัฐจ่ายให้ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือ การดำรงชีพ โดยจ่ายเป็น เงินก้อน ทั้งนี้เป็นไปตาม -กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จ ดำรงชีพ พ.ศ. 2546 -กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จ ดำรงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551

  29. เกณฑ์การจ่าย 1. ให้จ่ายในอัตรา 15 เท่าของบำนาญรายเดือน (ไม่รวม ช.ค.บ.) แต่ไม่เกิน 400,000 บาท ตามเงื่อนไขดังนี้ (1) อายุต่ำกว่า 65 ปี ขอได้ไม่เกิน 200,000.- (2) อายุ 65 ปีขึ้นไป ขอได้ไม่เกิน400,000.-แต่ถ้าใช้สิทธิตาม (1) แล้ว ให้ขอรับเพิ่มได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิ เช่น เคยขอรับไปแล้ว 200,000.- จึงขอรับได้อีกแค่ 200,000.-

  30. เกณฑ์การจ่าย (ต่อ) 2. ระยะเวลาในการขอรับ ตั้งแต่ 1 ต.ค. – 31 ธ.ค. ของทุกปีหากออกจากราชการและเลือกรับบำนาญจะขอรับพร้อมบำนาญเลยก็ได้ 3. ผู้รับบำนาญที่มีกรณี/ต้องหาว่ากระทำความผิดวินัย/อาญา ก่อนออกจากราชการ จะขอรับได้เมื่อกรณี/คดีถึงที่สุดแล้ว และมีสิทธิรับบำนาญ 30

  31. บำเหน็จตกทอด หมายถึง เงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ให้แก่ ทายาทของข้าราชการ หรือทหารกองหนุน มีเบี้ยหวัด หรือผู้รับบำนาญที่เสียชีวิต ซึ่งจ่าย เป็น เงินก้อนครั้งเดียว ประเภทของบำเหน็จตกทอด 1. ข้าราชการประจำ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด 2. ข้าราชการบำนาญ

  32. ผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด 1. บิดามารดา =1 ส่วน 2. คู่สมรส =1 ส่วน 3. บุตร = 2 ส่วน ถ้า 3 คนขึ้นไป = 3 ส่วน หากไม่มีลำดับ 1-3 จึงจะตกทอดให้แก่บุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาไว้ หากไม่มีเลย สิทธิยุติลง

  33. วิธีคำนวณบำเหน็จตกทอดวิธีคำนวณบำเหน็จตกทอด 1. ข้าราชการประจำ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดบำเหน็จตกทอด = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ 2. ข้าราชการบำนาญ บำเหน็จตกทอด = (บำนาญรายเดือน + ช.ค.บ.) * 30 หัก บำเหน็จดำรงชีพ (ถ้าเบิกแล้ว) บำเหน็จค้ำประกัน (ถ้าใช้สิทธิ)

  34. บำเหน็จค้ำประกัน ผู้รับบำนาญสามารถนำสิทธิในบำเหน็จ ตกทอดไปใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้

  35. การคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือการคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือ บำเหน็จดำรงชีพ บำนาญ 10,000 x 15 เท่า = 150,000 บาท รับครั้งเดียว 150,000.- บำเหน็จตกทอด (บำนาญ 10,000 + ชคบ. 3,000) x 30 เท่า = 390,000 บาท หัก บำเหน็จดำรงชีพ 150,000.- บำเหน็จตกทอดคงเหลือ 240,000.- ที่สามารถนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกันการกู้เงินได้

  36. การคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือการคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือ บำเหน็จดำรงชีพ บำนาญ 30,000 x15 เท่า = 450,000 บาท รับครั้งแรก 200,000 บาท รับเมื่ออายุครบ 65 ปี อีก 200,000 บาท บำเหน็จตกทอด (บำนาญ 30,000 + ชคบ. 1,500) x 30 เท่า = 945,000 บาท หัก บำเหน็จดำรงชีพ 400,000 บาท บำเหน็จตกทอดคงเหลือ จำนวน 545,000.- ที่สามารถนำไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินได้

  37. ส่วนที่ 2 การยื่นเรื่องขอรับเบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ และการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  38. 1. กรอกแบบที่กำหนด - แบบขอรับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ (แบบ 5300) กรณีขอรับบำนาญ - แบบขอลดหย่อนภาษี (แบบ สรจ.1) กรณีขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมบำนาญ - แบบขอรับบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สรจ.3) กรณีบัญชีเงินฝากธนาคารมีชื่อเป็นบัญชีร่วม - แบบแสดงเจตนาขอให้โอนเงิน (แบบ สรจ.2) 38

  39. 2. ถ่ายสำเนาเอกสารและรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกฉบับด้วยตัวเอง - บัตรประจำตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้าน - หน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (บัญชีกระแสรายวัน หรือ ออมทรัพย์ เท่านั้น) - บัตรสมาชิก กบข. (ถ้าเป็นสมาชิก กบข.) - อื่นๆ เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล3. ยื่นเอกสารตามข้อ 1. และ 2. ให้ส่วนราชการต้นสังกัด (ส่วนราชการผู้ขอ) 39

  40. 4. เมื่อส่วนราชการต้นสังกัดรับเรื่อง จะพิมพ์สลิป ลงทะเบียนรับให้ผู้มีสิทธิ เพื่อใช้ติดตามเรื่องกับ ส่วนราชการต้นสังกัด หรือสำนักงานคลังเขต 1 ต่อไป 5. ส่วนราชการ จะส่งสำนักงานคลังเขต 1 ดำเนินการตรวจอนุมัติ 40

  41. ตัวอย่างหนังสือสั่งจ่ายตัวอย่างหนังสือสั่งจ่าย 41

  42. ส่วนที่ 3 การเกิดสิทธิในบำเหน็จบำนาญและสวัสดิการ

  43. เมื่อสำนักงานคลังเขต 1 ได้รับเรื่องขอรับบำเหน็จบำนาญ จากส่วนราชการครบทั้ง 2 ส่วน คือ 1. แบบขอรับบำเหน็จบำนาญ และเอกสารประกอบ 2. ข้อมูลในระบบ e-pension จึงจะดำเนินการตรวจอนุมัติ 43

  44. 3. เมื่อเรื่องได้รับการอนุมัติ* สำนักงานคลังเขต 1 จะส่งหนังสือการสั่งจ่ายแจ้งให้ผู้รับบำเหน็จบำนาญทราบ *สิทธิสวัสดิการจะกลับมาเหมือนเดิม 4. ส่วนราชการผู้เบิกทำบันทึกขอเบิกเงินในระบบ 5. กรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับบำเหน็จบำนาญ 44

  45. การขอรับเงินช่วยเหลือผู้ซึ่งออกราชการโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด เอกสารที่ต้องเตรียม 1. กรอกข้อมูลในแบบ ค.ก.ษ. 2. ถ่ายสำเนาเอกสารและรับรองสำเนาถูกต้อง ทุกฉบับด้วยตัวเอง - บัตรประจำตัวประชาชน หรือทะเบียนบ้าน 45

  46. - หน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (บัญชีกระแสรายวัน หรือ ออมทรัพย์ เท่านั้น) หากใช้บัญชีเงินฝากธนาคารมีชื่อเป็นบัญชีร่วม ให้กรอกแบบแสดงเจตนาในแบบ สรจ.2 ด้วย ส่วนราชการจะนำมารวบรวมกับหลักฐานอื่นๆ และดำเนินการส่งข้อมูลขอเบิกเงินดังกล่าวไปยังกรมบัญชีกลาง (กรุงเทพ) เพื่อตรวจอนุมัติสั่งจ่ายเงินให้ต่อไป 46

  47. การเปลี่ยนแปลงส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ ให้ติดต่อได้ที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญเดิม และส่งแบบ สรจ.11 ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้ต่อไป การแจ้งงดเบิกบำนาญ 1. กรณีกลับเข้ารับราชการใหม่ 2. กรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิต โดยส่งแบบ สรจ.12 ให้กรมบัญชีกลางทราบ 47

More Related