1 / 102

KPI and Benchmarking

KPI and Benchmarking. ดัชนีชี้วัดและการเปรียบเทียบสมรรถนะ. Key Performance Indicator. วิธีสร้างดัชนีชี้วัดที่ได้ผลจริง.

Download Presentation

KPI and Benchmarking

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. KPI and Benchmarking ดัชนีชี้วัดและการเปรียบเทียบสมรรถนะ

  2. Key Performance Indicator วิธีสร้างดัชนีชี้วัดที่ได้ผลจริง

  3. When you can measure what you are speaking about, and express it in numbers, you know something about it; but when you cannot measure it, when you cannot express it in numbers, your knowledge is of a meager and unsatisfactory kind William Thompson (Lord Kelvin), 1824-1907

  4. Chapter Outline • เข้าใจข้อแตกต่างของการวัดและการประเมิน • ความหมายและความสำคัญของ KPI • ภาพรวมในการกำหนด KPI • แนวทางในการออกแบบดัชนีชี้วัดโดยทั่วไป

  5. ความแตกต่างระหว่างการวัดและการประเมินความแตกต่างระหว่างการวัดและการประเมิน • การวัด (Measurement) • กระบวนการการกำหนดปริมาณ จำนวน ตัวเลข ลำดับ ระดับ เพื่อแทนคุณสมบัติของสิ่งของหรือเหตุการณ์ใด ๆ อย่างมีกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง • การประเมิน (Evaluation) • กระบวนการประมาณแนวโน้มและทิศทางเพื่อแทนคุณสมบัติของสิ่งของหรือเหตุการณ์โดยเปรียบเทียบกับกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ทราบสถานะของสิ่งของหรือเหตุการณ์นั้น ๆ • ทั้ง 2 สิ่งต้องทำคู่กันเสมอในการใช้ KPI

  6. เหตุผล 4 ประการที่ทำให้องค์กรธุรกิจต้องใช้ KPI “ถ้าวัดไม่ได้ก็บริหารจัดการสิ่งนั้นไม่ได้” • เพื่อตรวจสอบสถานะ (Check Position) • KPI เป็น Tool ตรวจสอบว่าองค์กรอยู่ ณ. ตำแหน่งใดในการแข่งขัน • เพื่อสื่อสารสถานะ (Communicate Position) • KPI เป็น Tool สื่อสารให้บุคคลในองค์กรยอมรับและไปในทิศทางเดียวกัน • ตัดสินใจด้วยข้อเท็จจริง ไม่ใช่ความรู้สึก • เพื่อยืนยันและจัดลำดับความสำคัญ (Confirm Priorities) • KPI ให้ข้อมูลที่นำไปประเมิน สิ่งใดสำคัญเร่งด่วน และสำคัญลดหลั่นลงไป • เพื่อตรวจสอบและติดตามความก้าวหน้า (Compel Progress) • KPI เป็น Tool ช่วยทบทวนความคืบหน้าและควบคุมการดำเนินการให้ได้ตามเป้าหมาย

  7. ความหมายของคำว่า KPI • ดัชนีชี้วัด (Key Performance Indicator, KPI) • เครื่องมือที่ใช้วัด และประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญขององค์กร ซึ่งสามารถแสดงผลเป็นข้อมูลในรูปของตัวเลขเพื่อสะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานขององค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร • ตัววัดความสำเร็จที่สำคัญ

  8. ตัววัดความสำเร็จ • ความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ • การที่องค์กรสามารถตอบสนองต่อลูกค้าได้ดีกว่าคู่แข่ง • ตัววัดความสำเร็จ (Performance Indicator) • การวัดผลการดำเนินงานทั้งในส่วนผลลัพธ์และกระบวนการ โดยคำนึงถึงการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

  9. แล้วอะไรล่ะที่สำคัญ • ปัจจัยวิกฤต (Critical Success Factor) • เหตุปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จนั้น ๆ • เป็นตัวกำหนดว่าสิ่งใดสำคัญต่อความสำเร็จ • สำคัญ (Key) • พิจารณาได้จากผลลัพธ์ที่สำคัญต่อธุรกิจรวมทั้งปัจจัยวิกฤตต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์เหล่านั้น ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่องค์กร

  10. 6 ขั้นตอนในการกำหนด KPI • กำหนดสิ่งที่จะวัด • หาปัจจัยหลักในการออกแบบ KPI โดยใช้ปัจจัยวิกฤต (KSF/CSF), Stakeholder และกระบวนการที่แตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม • กำหนด KPI ที่เป็นไปได้ • กลั่นกรอง เพื่อหา KPI หลัก • กำหนดผู้รับผิดชอบ • จัดทำ KPI Dictionary

  11. ขั้นตอนในการกำหนด KPI

  12. ขั้นตอนที่ 1 กำหนดสิ่งที่จะวัด (What to measure) • กำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) มี 2 รูปแบบได้แก่ กำหนดจากผลลัพธ์ และกำหนดจากความเพียรพยายามที่จะทำให้บรรลุผล (Effort) • แปลงวัตถุประสงค์ที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม

  13. ขั้นตอนที่ 2 หาปัจจัยหลักในการออกแบบ KPI โดยใช้ปัจจัยวิกฤต (Key Success Factors, KSF/ Critical Success Factor, CSF), Stakeholder และกระบวนการที่แตกต่างกันไปในแต่ละ อุตสาหกรรม • ปัจจัยวิกฤตเรียกอีกอย่างว่าปัจจัยสู่ความสำเร็จ • ปัจจัยวิกฤตต้องเป็นสิ่งสะท้อนถึงผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 • ต้องวัดได้ ไม่ว่าจะเป็นการวัดในเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ • หากวัดไม่ได้ ย้อนไปขั้นตอนที่ 1 จนกว่าจะได้สิ่งที่วัดได้ • ปัจจัยวิกฤตอาจมีหลายมิติ ได้แก่ มิติด้าน Quality, Quantity, Cost, Time, Satisfaction ,Safety เป็นต้น

  14. ขั้นตอนที่ 3 กำหนดดัชนีชี้วัด (Performance Indicators, PIs) • How to measure ค้นหาว่าจะวัดปัจจัยหลักในการออกแบบดัชนีชี้วัดที่ได้จากขั้นตอนที่แล้วอย่างไร ทั้งทางตรงและทางอ้อม • ดัชนีชี้วัดอาจแสดงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย เป็นต้น • กำหนดองค์ประกอบอื่น ๆของดัชนีชี้วัด ได้แก่ วิธีการวัดและการประเมิน สูตรคำนวณ ความถี่ในการวัดและหน่วยวัด รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจตรงกัน

  15. ขั้นตอนที่ 4 กลั่นกรอง เพื่อหาดัชนีชี้วัดหลัก (KPI) • กำหนดเกณฑ์ในการกลั่นกรองเพื่อคัดเลือกให้เหลือเฉพาะตัวที่สำคัญ • ต้องคัดเลือกหาดัชนีชี้วัดที่สำคัญหรือดัชนีชี้วัดหลักซึ่งเป็น Key • หลักเกณฑ์ที่นิยมนำมาใช้คัดเลือก ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ, ความทันสมัยของข้อมูล, ต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูล, ความสามารถในการนำไปเปรียบเทียบได้

  16. ขั้นตอนที่ 5 กำหนดผู้รับผิดชอบ • กำหนดผู้ที่รับผิดชอบ หรือ Owner และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับดัชนีชี้วัด หรือ Supporter ของดัชนีชี้วัดแต่ละตัว • หากดัชนีชี้วัดตัวใดตัวหนึ่งมีหน่วยงานหลายหน่วยงานเป็น Owner ต้องพยายามสรุปผู้รับผิดชอบหลักที่จะทำให้ดัชนีชี้วัดระดับองค์กรบรรลุเป้าหมายหรือเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลเพื่อรายงานผลเพียงหน่วยงานเดียวให้ได้ • ปัจจุบันมีการทำงานแบบคร่อมสายงาน (Cross Functional) มากขึ้น ดังนั้น การกระจายดัชนีชี้วัดอาจเป็นการกระจายใน 3 รูปแบบ Common KPI , Team KPI และ Direct KPI

  17. ขั้นตอนที่ 6 จัดทำ KPI Dictionary • KPI Dictionary หรือ KPI Dict. • ใช้สำหรับเปิดหาความหมายของคำศัพท์ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ใช้อ้างอิงหรือใช้ตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวข้องกับ KPI • KPI Dict. ประกอบด้วย ชื่อดัชนีชี้วัด ผู้รับผิดชอบ คำจำกัดความของดัชนีชี้วัด ความถี่ในการรายงานผล หน่วยงานของดัชนีชี้วัด การตีความ สูตรคำนวณ แหล่งที่มาของข้อมูล ผู้รับผิดชอบเก็บข้อมูล ค่าปัจจุบันและค่าเป้าหมายดัชนีชี้วัด

  18. ระดับของดัชนีชี้วัด

  19. ระดับของดัชนีชี้วัด • การกำหนดดัชนีชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPIs) • ใช้เพื่อชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ระดับองค์กร • การกำหนดดัชนีชี้วัดระดับฝ่ายงาน (Department KPIs) • ใช้เพื่อชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ระดับฝ่ายงาน รวมทั้งงานประจำตามภารกิจของฝ่ายงาน • การกำหนดดัชนีชี้วัดรายบุคคล • ใช้เพื่อชี้วัดความสำเร็จในการทำงานของแต่ละตำแหน่ง

  20. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ขั้นตอนการกำหนดดัชนีชี้วัดตัวอย่างการประยุกต์ใช้ขั้นตอนการกำหนดดัชนีชี้วัด

  21. หลักสำคัญในการออกแบบดัชนีชี้วัดขององค์กรหลักสำคัญในการออกแบบดัชนีชี้วัดขององค์กร • ทุก ๆ องค์กรต่างถือกำเนิดมาและดำรงอยู่เพื่อส่งมอบคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การทำความเข้าใจปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็น หลักสำคัญในการออกแบบดัชนีชี้วัดขององค์กร

  22. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มได้แก่ • ผู้ถือหุ้น • สังคม • ลูกค้า • พนักงาน • ผู้ส่งมอบ

  23. กระบวนการขององค์กรธุรกิจและความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกระบวนการขององค์กรธุรกิจและความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  24. กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจแต่ละประเภทกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจแต่ละประเภท

  25. ปัจจัยวิกฤตของธุรกิจแต่ละประเภทปัจจัยวิกฤตของธุรกิจแต่ละประเภท แบ่งออกเป็น 6 ประเภท • มิติเชิงปริมาณ • มิติเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น คุณภาพผลิตภัณฑ์ และคุณภาพการบริการ • มิติด้านต้นทุน • มิติด้านเวลา • มิติด้านความพึงพอใจ • มิติด้านความปลอดภัย

  26. ปัจจัยวิกฤตของธุรกิจแต่ละประเภท (ต่อ)

  27. การเทียบสมรรถนะ(Benchmarking)

  28. 1) กล่าวนำ • การเติบโตขององค์การค้าโลก(World Trade Organization) หรือ WTO ทำให้การค้าและการแข่งขันระหว่างประเทศทวีความสำคัญและซับซ้อนขึ้น องค์กรธุรกิจแห่งอนาคตต้องรู้จักตัวเอง การแข่งขันและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นแรงกระตุ้นให้องค์กรธุรกิจจำนวนไม่น้อยต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตนเอง ส่งผลให้องค์กรต่างๆสรรหาเครื่องมือและความรู้ใหม่ๆเข้ามาประยุกต์ใช้ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ เพื่อปรับสภาพให้องค์กรแข่งขันได้ และ Benchmark (Benchmarking Process) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาศักยภาพขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง

  29. เรามีจุดอ่อน…ทุกองค์กรมีจุดอ่อน….เรามีจุดอ่อน…ทุกองค์กรมีจุดอ่อน…. • แน่นอนว่า ไม่มีใครหรือองค์กรใด ดีครบถ้วน สมบูรณ์แบบไปหมดทุกเรื่อง ปัญหาที่ต้องถามก็คือ เรารู้หรือไม่ว่า จุดอ่อนของเรา หรือ ขององค์กร คืออะไร และ เราพร้อมที่จะแก้ไขหรือไม่ ?!? และ ควรจะแก้ไขอย่างไร ?!? เราจะแก้ไข จุดอ่อน ของเราได้อย่างไร ?

  30. วิธีการแก้ไข…. • เมื่อเรารู้จุดอ่อนของเราหรือองค์กรแล้ว ทางแก้ไขก็คือ • 1) วิธีการนำ เครื่องมือ หรือ ความรู้ ระบบคุณภาพ มาใช้ในการปรับปรุง • 2) วิธีการนำ ประสบการณ์จากภายนอก มาใช้ในการปรับปรุง • เครื่องมือตัวหนึ่งที่ช่วยให้เราทำทั้งสองข้อนั้นได้ คือ การเทียบสมรรถนะ หรือ Benchmarking เมื่อนำแนวทางของการเทียบสมรรถนะมาใช้ เป็นการยอมรับว่า • เหนือฟ้ายังมีฟ้า (เราไม่เก่งทุกเรื่อง) • พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง (เปิดใจ ยอมรับ) • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (เปิดเผย จริงใจ) • มีขั้นตอน/ระบบ (ทำตามกติกา) • ลองมาดูซิว่า ทำไมการเทียบสมรรถนะจึงเป็นที่กล่าวขวัญกันในวงการ ….

  31. ทำไมจึงควรเรียนรู้เรื่องการเทียบสมรรถนะ(Benchmarking)ทำไมจึงควรเรียนรู้เรื่องการเทียบสมรรถนะ(Benchmarking) การทำการเทียบสมรรถนะในประเทศต่างๆ ออสเตรเลีย 42% ของบริษัทชั้นนำ 500 บริษัท (1992) สหรัฐอเมริกา65% ของบริษัทชั้นนำ 1000 บริษัท (1992) อังกฤษ 78% ของบริษัทชั้นนำ 1000 บริษัท (1994) สิงคโปร์ 40% ของบริษัทชั้นนำ 400 บริษัท (1997) ไทย 12% ขององค์กรชั้นนำ 787 องค์กร (2002)

  32. เขามีเหตุจูงใจอะไรจึงทำการเทียบสมรรถนะเขามีเหตุจูงใจอะไรจึงทำการเทียบสมรรถนะ • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 57 % • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน 55 % • ข้อกำหนดใน QS 9000, TQA 33 % • นโยบายบริษัทแม่ 13 % ผลกการสำรวจสถานะการทำ Benchmarking ในประเทศไทย(2002) ฝ่ายวิจัยและสารสนเทศ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

  33. แล้วได้ประโยชน์อะไรจากการทำการเทียบสมรรถนะแล้วได้ประโยชน์อะไรจากการทำการเทียบสมรรถนะ • ความพึงพอใจของลูกค้า 3.75 • การลดระยะเวลาในการผลิต/ให้บริการ 3.66 • การลดของเสีย 3.64 • การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 3.64 • การส่งมอบ 3.63 • การลดต้นทุน 3.57 ผลกการสำรวจสถานะการทำ Benchmarking ในประเทศไทย(2002) ฝ่ายวิจัยและสารสนเทศ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

  34. Benchmarking ศักยภาพในการแข่งขัน ทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ผลการดำเนินงานดีขึ้น ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น

  35. เพิ่มศักยภาพการแข่งขันเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน Competitiveness 4 ปรับปรุง Improvement 3 • ใช้เครื่องมือปรับปรุง • ใช้แนวปฏิบัติที่ดี วิเคราะห์ Gap analysis 2 • เปรียบเทียบวิเคราะห์ความต่าง • ตั้งเป้าหมาย ประเมิน Assessment Benchmarking 1 • ประเมินจุดแข็งจุดอ่อน ดัชนี Index • จัดทำดัชนีชี้วัดและมาตรวัด • ทำสัญญาณเตือนภัย

  36. 2) ประวัติและความเป็นมาของการเทียบสมรรถนะ • ความคิดเรื่องการเทียบสมรรถนะอาจกล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์ เนื่องจากการก่อสร้างสมัยนั้นต้องมีการทำร่อยรอบเป็นเครื่องหมายสำหรับตัดก้อนหินอย่างแม่นยำเพื่อใช้ในการก่อสร้าง (Codling, 1998) • หันมาทางเอเชียมีแนวความคิดนี้เช่นกัน ตัวอย่างได้แก่ จากปรัชญาแม่ทัพชาวจีนกล่าวไว้ในตำราสงครามว่า “รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้งมิพ่าย” หมายความว่า ถ้ารู้จักจุดอ่อน จุดแข็งของเราและข้าศึกแล้ว การทำศึกสงครามก็จะไม่มีโอกาสพ่ายแพ้ ต่อมาได้นำมาประยุกต์ใช้ในวงการธรกิจทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการบริหาร หรือการแข่งขันในตลาด สามารถใช้ได้ทั้งสิ้น • แนวความคิดและหลักการทำงานของชาวญี่ปุ่นที่พยามอย่างสูงสุดเพื่อให้งานออกมาที่สุดในเชิง Best of the best ซึ่งชาวตะวันตกคิดแค่ “The best” ก็พอแล้ว (Camp, 1989)

  37. ญี่ปุ่น ค.ศ.1950 Dentotsu สหรัฐอเมริกา Benchmarking ค.ศ.1979 Xerox Corporation ประวัติการทำ Benchmarking

  38. การเทียบสมรรถนะอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกการเทียบสมรรถนะอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก • บริษัทซีร็อกซ์ได้ถือว่านำการเทียบสมรรถนะมาใช้ครั้งแรกอย่างเป็นรูปธรรม • บริษัทซีร็อกซ์นั้น ถือว่าเป็นผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เมื่อถึงปี 1970 สิทธิบัตรของเครื่องถ่ายเอกสารได้หมดอายุลง ทำให้เกิดคู่แข่ง และรายได้ของบริษัทลดลงอย่างมาก บริษัทถูกบีบอยู่ตรงกลางระหว่างบริษัทญี่ปุ่นซึ่งผลิตสินค้าได้ในราคาถูกกว่าและบริษัท IBM ที่ผลิตสินค้ามีคุณภาพสูงกว่า ทำให้บริษัทแรงค์ซีร็อกซ์ในอเมริกาซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทซีร็อกซ์คอร์ปอเรชันประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก (ซึ่ง 5 ปีก่อนหน้านี้บริษัทเคยได้กำไรเพิ่มขึ้นในอัตราปีละ 20% อันเกิดจากการผูกขาดเทคโนโลยีการถ่ายเอกสารไว้แต่ผู้เดียว) ในปี 1980 ส่วนแบ่งการตลาดลดลงมาเหลือเพียงครึ่งเดียว เขาไม่สามารถสู้คู่แข่งและสาขาต่างประเทศของบริษัทซีร็อกซ์เองได้ อันเนื่องมาจากวิธีการแข่งขันด้วยราคาที่ถูกกว่า หรือ คุณภาพที่ดีกว่า เป็นต้น

  39. แคมป์ (Robert C. Camp) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารคนหนึ่งได้นำความคิดเรื่องการเทียบสมรรถนะมาใช้ในบริษัท มีการปรับปรุงและเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก • การเทียบสมรรถนะโดยใช้แนวทางของแคมพ์ใช้เวลา 2-3 ปีก็ทำให้บริษัทนี้ ปรับปรุงคุณภาพ การส่งมอบสินค้าและการบริการ จนสามารถกลับมาเป็นผู้นำตลาดเครื่องถ่ายเอกสารใหม่ได้อีกครั้งและได้รับรางวัลมัลคอล์ม บอลดริจ (Coding, 1998)

  40. แนวทางการเปรียบเทียบสมรรถนะของแคมป์แนวทางการเปรียบเทียบสมรรถนะของแคมป์ • ในช่วงแรก ๆ แคมพ์ได้เสนอแนวความคิดการเทียบสมรรถนะไว้ 4 ประการ คือ • 1) เข้าใจการทำงานของตนเอง ซึ่งทำโดยการรวบรวมองค์ประกอบทุกอย่างเข้ามาพิจารณาเพื่อประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนของกระบวนการทำงานในองค์กร • 2) เข้าใจผู้นำ คือ รู้จักองค์กรที่เป็นผู้นำในวงการหรือคู่แข่งขันในธุรกิจเดียวกัน ความรู้ที่ได้รับจะทำให้เข้าใจว่าตนเองควรทำอะไร ทำอย่างไรให้มีความแตกต่างจากผู้อื่น หรือ ทำให้ดีมีคุณภาพทัดเทียมกันได้อย่างไร • 3) เข้าใจวิธีการ สามารถนำแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) มาใช้ด้วยความเข้าใจว่า เขาทำได้อย่างไรและทำไมเข้าจึงเป็นผู้ที่ทำได้ดีที่สุด • 4) เข้าใจการประยุกต์ สามารถนำความรู้ทั้งหมดที่ได้เรียนรู้เข้ามาปรับให้เมาะสมและลองใช้ในงานประจำขององค์กร

  41. ในช่วงแรกนั้นการเทียบสมรรถนะมักนิยมในเชิง “การเปรียบเทียบสมรรถนะในเชิงการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) เพราะเป็นการเทียบกับองค์กรที่เป็นคู่แข่งในวงการเดียวกัน เป้าหมายก็เพื่อทำให้ดีกว่าคู่แข่ง ดังนั้นในระยะเริ่มต้นจึงนิยมทำการเปรียบเทียบกันดังนี้ • 1) การเทียบทางด้านสินค้าหรือบริการ • 2) การเทียบกระบวนการ (ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการ) • 3) การผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติ (เปรียบเทียบปริมาณเอาต์พุต) • ด้วยเหตุนี้การเทียบสมรรถนะของบริษัทซีร็อกซ์ในครั้งแรก เป็นการเทียบกับคู่แข่ง เพื่อหาข้อมูลค่าใช้จ่ายในการผลิตเครื่องถ่ายเอกสาร โดยเริ่มจากการหาข้อมูล เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร การทำงานเป็นไปอย่างละเอียดถึงขนาดถอดเครื่องถ่ายเอกสารออกเป็นชิ้น ๆ เพื่อทำการศึกษาวิเคราะห์ (ระหว่างเครื่องที่ทำจากซีร็อกซ์ในสหรัฐกับฟูจิซีร็อกซ์ที่ทำในญี่ปุ่น)

  42. ผลปรากฏว่า ต้นทุนที่ซีร็อกซ์ในอเมริกาใช้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารนั้นเท่ากับราคาขายเครื่องถ่ายเอกสารของบริษัทฟูจิซีร็อกซ์ในตลาดญี่ปุ่น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำการเปรียบเทียบเฉพาะในกระบวนการผลิตตัวเครื่องถ่ายเอกสารเท่านั้น • ต่อมาได้เห็นผลดีข้างต้น จึงได้ทำการเทียบในเรื่องการผลิตเครื่องถ่ายเอกสารกับบริษัทอื่น ๆ ในประเทศญี่ปุ่นด้วย • ต่อมาอีกสองปีในการประชุมผู้ถือหุ้น หัวหน้าฝ่ายผลิตได้ประกาศในที่ประชุมว่าจุดเน้นสำคัญของบริษัทจะอยู่ที่การสร้างคุณภาพและวิธีการสร้างคุณภาพนั้นจะใช้การเทียบสมรรถนะ (Camp, 1989) • ต่อมาได้ขยายขอบเขตออกไปสู่ทุกแผนกของบริษัท และได้เรียนรู้ว่า การเทียบสมรรถนะของกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะให้ผลชัดเจนกว่าการเทียบสมรรถนะในขอบข่ายอื่น ๆ

  43. จากการทำ Benchmarking ของ Xerox พบว่า : ผลการทำ Benchmarking ของ Xerox • อัตราของเสีย.........................................มากกว่าคู่แข่ง 30 เท่า • ต้นทุนการออกแบบผลิตภัณฑ์.............มากกว่าคู่แข่ง 3 เท่า • เวลาในการปรับตั้งเครื่องจักร....................มากกว่าคู่แข่ง 5 เท่า • เวลาในการวางตลาดสินค้าใหม่............... มากกว่าคู่แข่ง 2 เท่า • ใช้จำนวนพนักงาน…..............….......... มากกว่าคู่แข่ง 2 เท่า

  44. ตัวอย่างการเทียบสมรรถนะของซีร็อกซ์ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเทียบการจัดส่งสินค้ากับคู่เทียบหลายบริษัทที่เป็นองค์กรภายนอก เช่น การจัดส่งสินค้าของ 3M ในเยอรมัน บริษัทฟอร์ดในเมืองโคโลญ เยอรมัน วอลโว่ในสวีเดน IBM ในสหรัฐอเมริกา ซีร็อกซ์พบว่า เขามีจัดเก็บสินค้าเพื่อรอจำหน่ายมากเกินไป ใช้เวลาในการจัดการกับข้อมูลคำสั่งซื้อมากกว่าบริษัทอื่นอยู่ 1 วัน การบริหารจัดการสินค้ารอขายที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเครื่องจักรทุ่นแรกจำนวนมาก หากแต่ขึ้นกับการวางแผนกระบวนการทำงานด้วยแรงคน

  45. Starting Point of Xerox’s Benchmarking: Production Process ประวัติการทำ Benchmarking • อัตราของเสียจากการผลิต/100 เครื่องจักร…….ลดลง 78 % • เวลาในการให้บริการ ..............................ลดลง 27% • ต้นทุน/หน่วย……..................………...…ลดลง 50 % • ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์………... เพิ่มขึ้น 50 % • รายได้ของพนักงาน ..............................เพิ่มขึ้น 20%

  46. 3) นิยามและความหมายของการเทียบสมรรถนะ • Benchmarking แปลตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า “การเทียบสมรรถนะ • หรือ การเทียบเคียงสมรรถนะ” • ความหมายดั้งเดิมของคำว่า “Benchmarking” ที่นิยามไว้ใน Webster Dictionary หมาย ถึง “เครื่องหมายของนักสำรวจที่กำหนดตำแหน่งที่ทำไว้ และนำมาใช้เป็นจุดอ้างอิง หรือ เป็นมาตรฐานสำหรับใช้วัดหรือเปรียบเทียบ” • เคิร์น (David T. Kerns) ซึ่งเป็น CEO ของบริษัทซีร็อคซ์ นิยามว่า “เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องในการประเมินผลผลิต การบริการและการปฏิบัติของตนเองกับคู่แข่งที่ทำได้ดีที่สุด หรือ ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำของวงการ • แคมพ์ ในฐานะเป็นผู้นำของการเทียบสมรรถนะ ให้ความหมายว่า “เป็นการค้นหาแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในอุตสาหกรรมซึ่งจะนำไปสู่ผลการปฏิบัติที่ดีกว่า” • เมื่อการเปรียบเทียบสมรรถนะได้แพร่หลายออกไป ได้มีการให้คำนิยามเพิ่มเติม เช่น

  47. สเปนโดลินิ (Spendolini, 1992) ได้นิยามว่า “เป็นกระบวนการที่เป็นระบบและมีความต่อเนื่องเพื่อประเมินผลผลิต บริการ หรือ กระบวนการทำงานขององค์กรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพขององค์กร” • ปีเตอร์ (Peter, 1994) อธิบายว่า “การเปรียบเทียบสมรรถนะคือการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้การปฏิบัติการที่เป็นเลิศมาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมหลายประการ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ แทนที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อย หรือเป็นเพียงการปรับปรุงจุดย่อย ๆ ที่ได้จากการสำรวจผลปฏิบัติงานในอดีต”

  48. The American Productivity and Quality Center’s Benchmarking Management Guide ได้นิยามว่า “เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องในการเปรียบเทียบและวัดองค์กรของตนเองกับองค์กรที่เป็นผู้นำในวงการ ไม่ว่าจะตั้งอยู่ที่ใดในโลก เพื่อที่จะได้ข้อมูลมาช่วยองค์กรในการปรับปรุงคุณภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง • บาล์ม (Balm, 1996) ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการเปรียบเทียบสมรรถนะของ IBM เน้นว่า การเปรียบเทียบสมรรถนะไม่ใช่กิจกรรมเดี่ยว แต่เป็นกลุ่มกิจกรรม โดยอธิบายว่า “เป็นกิจกรรมต่อเนื่องในการเปรียบเทียบกระบวนการ การปฏิบัติ ผลิตภัณฑ์หรือการบริการของตนเองกับกิจกรรมที่คล้ายคลึงกันขององค์กรที่ทำได้ดีที่สุด เพื่อให้เกิดการตั้งเป้าหมายการทำงานที่ท้าทาย แต่มีความเป็นไปได้ แล้วนำสิ่งที่ค้นพบไปปฏิบัติเพื่อให้ตนเองเป็นผู้ที่ดีที่สุดภายในเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์

  49. คอดลิง (Codling, 1998) เขานิยามความหมายในเชิงความมีประโยชน์ (ไม่ได้กล่าวถึงวิธีการ) เอาไว้ว่า “การเปรียบเทียบสมรรถนะ คือ เทคนิควิธีที่มีพลังมากที่สุดในการทำให้องค์กรมีและดำรงรักษาความสามารถในการแข่งขัน” • คุก (Cook, 1999) ได้เน้นไปในทางการเข้าใจตนเอง โดยกล่าวว่า “กระบวนการในการ ระบุ เข้าใจและประยุกต์แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศจากหน่วยงานภายในองค์กรเดียวกัน หรือ จากองค์กรภายนอกมาใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของตนเอง” • เคลลี (Kelly, 2001) ได้นิยามว่า “การวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานระหว่างองค์กร หรือ ภายในองค์กรเดียวกัน ด้วยจุดมุ่งหมายในการปรับปรุงตนเอง”

  50. ดังนั้นพอสรุปได้ว่า การเทียบสมรรถนะ คือ …… • เครื่องมือที่ใช้กำหนด สร้าง และบรรลุมาตรฐานที่เป็นเลิศ • ขั้นตอนที่เป็นระบบในการค้นหาวิธีการ แนวปฏิบัติและกระบวนการที่ดีที่สุดอย่างต่อเนื่องและนำส่วนที่ดีมาใช้หรือปรับใช้ส่วนที่ดีและดำเนินการตามเพื่อให้เป็นสิ่งที่ “ดีที่สุด” • การเปรียบเทียบผลงานของท่านกับองค์กรระดับโลก • การตรวจสอบที่ต่อเนื่องและหาประสบการณ์จากการเรียนรู้ที่ช่วยให้แน่ใจว่าได้ค้นพบ ปรับใช้และดำเนินการด้วยแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด • วิธีการสร้างเป้าหมายในผลการดำเนินงานและโครงการปรับปรุงคุณภาพที่เป็นระเบียบตามแนวปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดของอุตสาหกรรม • การค้นหาและเลียนแบบแนวปฏิบัติกระบวนการที่ดีที่สุดที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องและมักจะทำให้เกิดผลทางการพัฒนาที่สำคัญ

More Related