1 / 49

หน่วยที่ 11

หน่วยที่ 11. การแผ่รังสี ปฏิกิริยานิวเคลียร์และการประยุกต์ในทางสันติ. การค้นพบกัมมันตภาพรังสี. ขบวนการของการสลายตัว. อันตรายจากรังสี. พลังงานนิวเคลียร์. ปฏิกิริยาลูกโซ่. ปฏิกิริยาหลอมตัว. การประยุกต์ใช้รังสี. การค้นพบกัมมันตภาพรังสี.

ethan-boyer
Download Presentation

หน่วยที่ 11

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 11 การแผ่รังสี ปฏิกิริยานิวเคลียร์และการประยุกต์ในทางสันติ

  2. การค้นพบกัมมันตภาพรังสีการค้นพบกัมมันตภาพรังสี • ขบวนการของการสลายตัว • อันตรายจากรังสี • พลังงานนิวเคลียร์ • ปฏิกิริยาลูกโซ่ • ปฏิกิริยาหลอมตัว • การประยุกต์ใช้รังสี

  3. การค้นพบกัมมันตภาพรังสีการค้นพบกัมมันตภาพรังสี • กัมมันตภาพรังสี (radioactivity) คือการปลดปล่อยรังสีออกมาเองโดยไม่ต้องกระตุ้น ซึ่งค้นพบโดย Becquerel ในปี ค.ศ. 1896 • ในการค้นพบกัมมันตภาพรังสีนี้ Marie Curie มีส่วนร่วมในการทดลองด้วยหลายครั้ง และทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลร่วมกันในปี ค.ศ. 1903 • จากการทดลองพบว่ากัมมันตภาพรังสีเกิดจากการสลายตัวของนิวเคลียสที่ไม่มีเสถียรภาพ

  4. ขบวนการสลายตัว • การสลายตัวของนิวเคลียสที่ไม่มีเสถียรภาพมี 3 แบบคือ การสลายตัวให้อนุภาคแอลฟา การสลายตัวให้อนุภาคบีตาและการสลายตัวให้รังสีแกมมา • อนุภาคแอลฟา คือ นิวเคลียสของฮีเลียม (4He) • อนุภาคบีตาอาจเป็นได้ทั้งอิเล็กตรอนและโพซิตรอน ซึ่งมีประจุเท่ากับอิเล็กตรอนแต่มีเครื่องหมายตรงข้าม • รังสีแกมมาเป็นโฟตอนพลังงานสูง

  5. อำนาจทะลุทะลวงของกัมมันตภาพรังสีทั้ง 3 ชนิดเป็นดังนี้ • แผ่นกระดาษสามารถกั้นอนุภาคแอลฟาได้ • การกั้นอนุภาคบีตาต้องใช้แผ่นอะลูมิเนียมหนา 2 -3 มิลลิเมตร • รังสีแกมมาสามารถทะลุผ่านแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตร

  6. ค่าคงตัวของการสลายตัวค่าคงตัวของการสลายตัว • ในการสลายตัวของนิวเคลียสนั้นจำนวนนิวเคลียสที่สลายตัวต่อหนึ่งหน่วยเวลาจะแปรผันกับจำนวนนิวเคลียสที่มีอยู่ในสารกัมมันตรังสี หรือ • λ คือ ค่าคงตัวของการสลายตัว (decay constant) ซึ่งจะเป็นสิ่งที่กำหนดอัตราการสลายตัวของสาร • N คือ จำนวนนิวเคลียสของสารที่ยังเหลืออยู่ในขณะนั้น • N0 คือ จำนวนนิวเคลียสของสารที่มีอยู่ในตอนเริ่มต้น t=0

  7. กราฟของการสลายตัวและเวลาครึ่งชีวิตกราฟของการสลายตัวและเวลาครึ่งชีวิต • กราฟของการสลายตัวเป็นไปตามสมการN = Noe-λtซึ่งมีลักษณะดังรูป • เวลาครึ่งชีวิต (half-life) คือ ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีสลายตัวเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของค่าเริ่มต้น • เวลาครึ่งชีวิตจะสัมพันธ์กับค่าคงตัวของการสลายตัวตามสมการ

  8. อัตราการสลายตัว • อัตราการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีคือจำนวนของการสลายตัวต่อวินาที หรือ • R0=λN0คืออัตราของการสลายตัวเมื่อเวลาเริ่มต้น t=0 • บางครั้งเราเรียกอัตราการสลายตัวว่า “กัมมันตภาพ (activity)” • หน่วยของกัมมันตภาพที่นิยมใช้คือ คูรี (curie, Ci) โดย 1 Ci = 3.7x1010ครั้ง/วินาที • หน่วยของกัมมันตภาพในระบบ SI คือ เบคเคอเรล (becquerel, Bq) โดย 1 Bq = 1 decay/s: 1 Ci = 3.7x1010 Bq

  9. การสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟา • การสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาจะมีจำนวน N, Z และ A ลดลงจากเดิมเท่ากับ 2,2 และ 4 ตามลำดับ ซึ่งจะมีสมการของการสลายตัวดังนี้ • X คือนิวเคลียสแม่ (parent nucleuse) • Y คือนิวเคลียสลูก (daughter) • การสลายตัวที่เป็นไปได้จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้ • เลขมวลก่อนการสลายตัวเท่ากับเลขมวลหลังการสลายตัว • เลขอะตอมก่อนการสลายตัวเท่ากับเลขอะตอมหลังการสลายตัว

  10. พลังงานของการสลายตัวในการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาพลังงานของการสลายตัวในการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟา • พลังงานของการสลายตัว (disintegration energy) Q จะหาค่าได้จากสมการ Q = (Mx – My – Mα)c2 • พลังงานนี้จะปรากฏอยู่ในรูปของพลังงานจลน์ของนิวเคลียสลูกและอนุภาคแอลฟา ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “Q-value” • ตัวอย่างหนึ่งของการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาคือ การสลายตัวของ 226Ra: • ถ้า 226Ra อยู่นิ่งก่อนการสลายตัวจะได้พลังงานของการสลายตัวมีค่าเป็น 4.87 MeV • ถ้า Q มีค่าเป็นลบแสดงว่ากระบวนการสลายตัวเป็นไปไม่ได้

  11.  และ คือนิวทริโน (neutrino) และ แอนไทนิวทริโน (antineutrino) การสลายตัวให้อนุภาคบีตา • การสลายตัวให้อนุภาคบีตาจะมีเลขมวล (A) ของนิวเคลียสแม่เท่ากับเลขมวลของนิวเคลียสลูกแต่เลขอะตอมเปลี่ยนไปเท่ากับ 1 ซึ่งมีสมการของการสลายตัวเป็น • การปลดปล่อยอิเล็กตรอนหรือโปรตอนเกิดมาจากภายในนิวเคลียส โดยนิวตรอนและโปรตอนจะแปลงตัวเองตามสมการ

  12. ตัวอย่างของการสลายตัวให้อนุภาคบีตาตัวอย่างของการสลายตัวให้อนุภาคบีตา

  13. พลังงานของการสลายตัวในการสลายตัวให้อนุภาคบีตาพลังงานของการสลายตัวในการสลายตัวให้อนุภาคบีตา • พลังงานของการสลายตัวในการสลายตัวให้อนุภาคบีตาจะเป็นดังนี้ กรณีของการสลายตัวให้อิเล็กตรอน : Q = (Mx – MY)c2 กรณีของการสลายตัวให้โพซิตรอน : Q = (Mx – MY - 2me)c2 • เทอม -2mec2เกิดจากการที่เลขอะตอมของนิวเคลียสแม่ ลดลง 1 เมื่อเกิดนิวเคลียสลูก • ถ้า Q มีค่าลบ การสลายตัวจะเป็นไปไม่ได้

  14. ตัวอย่างหนึ่งของการสลายตัวชนิดนี้คือ การสลายตัวของ ตามสมการ การสลายตัวให้รังสีแกมมา • เมื่อนิวเคลียสที่อยู่ในสถานะกระตุ้นเปลี่ยนไปอยู่ในสถานะอื่นๆ ซึ่งต่ำกว่านิวเคลียสจะปลดปล่อยรังสีแกมมาออกมาโดยมีสมการเป็น • เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่านิวเคลียสอยู่ในสถานะกระตุ้น

  15. จะเห็นว่า สลายตัวเป็น โดยปลดปล่อยอนุภาคบีตาก่อนในขั้นแรกก่อนที่ ซึ่งอยู่ในสถานะกระตุ้นจะปลดปล่อยรังสีแกมมาในขั้นที่ 2 การสลายตัวให้รังสีแกมมา (ต่อ) • การสลายตัวให้รังสีแกมมานี้จะไม่เปลี่ยนค่าของ Z1N และ A และรังสีแกมมาจะมีพลังงานเท่ากับผลต่างของระดับพลังงานที่เกี่ยวข้อง

  16. ตารางสรุปขบวนการของการสลายตัวตารางสรุปขบวนการของการสลายตัว

  17. ตัวอย่างที่ 11.1ถ้า ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีมีเวลาครึ่งชีวิตเป็น 6x103 และมีจำนวนนิวเคลียสเท่ากับ 3x1016 จงหา ค่ากัมมันตภาพของสารชนิดนี้ ตัวอย่างที่ 11.2 จงคำนวณหาค่าพลังงานปลดปล่อย Q ของการ สลายตัวให้อนุภาคบีตาของ 32P เมื่อค่ามวลอะตอม ของ 32P เท่ากับ 31.97391 u ของ 32S เท่ากับ 31.97207 u

  18. ตัวอย่างที่ 11.3 ถ้ามวลอะตอมในปฏิกิริยาการสลายตัวของ 238U ตามสมการ 11.7ประมวลสาระฟิสิกส์ 2 มีดังต่อไปนี้ 238U=238.05079 u 4He=4.00260 u 234Th=234.04363 u 1H=1.00783 u 237Pa=237.05121 u (ก) จงคำนวณหาพลังงานปลดปล่อยจากปฏิกิริยา การสลายตัว 238U 234Th+4He (ข) จงแสดงว่า 238U ไม่สามารถสลายตัวด้วยตัวเอง ให้อนุภาคโปรตอน

  19. อันตรายจากรังสี • เมื่อสสารดูดกลืนรังสีจะทำให้เกิดความเสียหายต่อสสาร โดยระดับของความเสียหายจะขึ้นอยู่กับพลังงานของรังสีและสมบัติของสสาร • ความเสียหายต่อโลหะที่ใช้ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูจะเกิดจากการชนด้วยนิวตรอนซึ่งจะทำให้โลหะอ่อนแอหรือสมบัติของโลหะที่ถูกชนเปลี่ยนไป • ความเสียหายต่ออวัยวะของสิ่งมีชีวิตจะขึ้นอยู่กับผลของการไอโอไนซ์ในเซลล์ของอวัยวะ ซึ่งจะทำให้การทำงานของอวัยวะเปลี่ยนไป • ความเสียหายจากรังสีจะขึ้นอยู่กับอำนาจการทะลุทะลวงของรังสีด้วย

  20. หน่วยของการวัดรังสี • คูรี (curie, Ci) : เป็นหน่วยที่ใช้วัดกัมมันตภาพ (activity) หรือความแรงของสารรังสี โดยสารรังสีที่มีกัมมันตภาพ 1 Ci จะสามารถปล่อยรังสีได้ 3.7 x 1010ครั้ง/วินาที • เรินต์เกน (roentgen, R) : เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณรังสี ที่สามารถผลิตประจุไฟฟ้าจำนวน 3.33 x 10-10 C ในอากาศปริมาตร 1 ลบ.ซม. ภายใต้สภาวะปกติ • หรือเป็นปริมาณรังสีที่สามารถถ่ายทอดพลังงาน 8.78 mJ ให้กับอากาศแห้งมวล 1 kg ที่สภาวะปกติ

  21. แร็ด (radiation absorbed dose, rad) : เป็นหน่วยที่ใช้วัดพลังงานที่ถูกดูดกลืนโดยวัตถุ โดย 1 rad คือพลังงานที่วัตถุดูดกลืนจำนวน 10 mJ/kg • เรม (radiation equivalent in man, rem) : เป็นหน่วยที่ใช้วัดปริมาณรังสีดูดกลืนเปรียบเทียบระหว่างชนิดของรังสี ทั้งนี้เพราะผลกระทบทางชีววิทยาของชนิดรังสีจะแตกต่างกัน ปริมาณรังสีในหน่วย rem = ปริมาณรังสีในหน่วย rad x RBE RBE=Radio Biological Effect ซึ่งจะมีค่าแตกต่างกันสำหรับรังสีต่างชนิดกัน

  22. แฟคเตอร์ RBE ของรังสีชนิดต่างๆ จะเป็นดังตาราง

  23. ระดับของรังสีที่ปลอดภัยระดับของรังสีที่ปลอดภัย • รังสีจากธรรมชาติ เช่น ถ่านหิน ดิน หรือ รังสีคอสมิคจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็น background จะมีค่าประมาณ 0.31 rem/yr • ระดับของรังสีที่ยอมรับได้คือ 0.5 rem/yr (ไม่รวม background) • สำหรับผู้ทำงานทางรังสีระดับรังสีที่ยอมรับได้ทั้งร่างกายคือ 5 rem/yr • 50% ของผู้รับรังสี 400-500 rem จะเสียชีวิต

  24. หน่วยวัดรังสีในระบบ SI แบบใหม่คือ gray (Gy) แทน rad และ Sievert (Sv) แทน rem

  25. พลังงานนิวเคลียร์ • พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่สามารถผลิตได้ด้วยปริมาณที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้จากน้ำตกและการเผาถ่านหิน • ตารางข้างล่างแสดงถึงเวลาที่สามารถใช้พลังงานชนิดต่างๆ ที่เกิดจากสารมวล 1 kg และนำมาใช้กับหลอดไฟ 100 วัตต์ ซึ่งจะเห็นว่าพลังงานของนิวเคลียร์ใช้ได้นานกว่า

  26. ปฏิกิริยาของพลังงานนิวเคลียร์ปฏิกิริยาของพลังงานนิวเคลียร์ • ปฏิกิริยาของพลังงานนิวเคลียร์มี 2 ประเภท คือ ปฏิกิริยาแบ่งแยกตัว (fission reaction) และปฏิกิริยาหลอมตัว (fusion reaction) • ในปฏิกิริยาแบ่งแยกตัวนิวเคลียสของธาตุหนักจะถูกแบ่งออกเป็นนิวเคลียสที่เบากว่า 2 นิวเคลียส • ปฏิกิริยาหลอมตัว นิวเคลียสขนาดเล็ก 2 นิวเคลียสจะหลอมรวมกันเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า • ปฏิกิริยาทั้งสองชนิดจะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

  27. ปฏิกิริยาแบ่งแยกตัว • เมื่อ 235U ดูดกลืนนิวตรอนอุณหภาพ (thermal neutron) จะเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกตัวตามสมการ • เมื่อ 236U คือนิวเคลียสสารประกอบซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ (10-12s) ก่อนที่จะแบ่งแยกตัวออก • X และ Y คือนิวเคลียสลูกซึ่งอาจเป็นไปได้หลายชนิดซึ่งสอดคล้องกับกฎการอนุรักษ์พลังงานและประจุ • ปฏิกิริยาชนิดหนึ่งที่เป็นไปได้คือ

  28. โมเดลของการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกตัวโมเดลของการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกตัว • การเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกตัวอาจเปรียบเทียบได้กับโมเดลการแยกตัวของหยดน้ำ (liquid drop model) ซึ่งจะมีขั้นตอน ดังรูป (a) Approach (b) Absorption (c) Oscillation (d) Fission

  29. เมื่อนิวตรอนพลังงานต่ำพุ่งเข้าชน 235U จะถูกดูดกลืนกลายเป็น 236U • เนื่องจาก 236U มีพลังงานส่วนเกินจึงเกิดการแปลงรูปเป็นแบบ dumbbell • แรงผลักระหว่างโปรตอนจะทำให้ 236U แบ่งแยกตัวออกเป็น 2 ส่วนพร้อมกับปล่อยนิวตรอนประมาณ 2.5 อนุภาค • เนื่องจากเกิดมวลพร่อง (mass defect) ในปฏิกิริยาจึงมีการปลดปล่อยพลังงานประมาณ 235 MeV ต่อครั้งของการแบ่งแยกตัว ซึ่งถือว่ามีค่าสูง พลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาทางเคมี

  30. ปฏิกิริยาลูกโซ่

  31. ปฏิกิริยาลูกโซ่ • นิวตรอนที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาแบ่งแยกตัวมีโอกาสถูกดูดกลืนโดยนิวเคลียสอื่นๆ ของ 235U ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain reaction) ดังรูป • ถ้าไม่มีการควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ จะนำไปสู่การระเบิด ซึ่งเป็นหลักการของระเบิดปรมาณู • ถ้าสามารถควบคุมได้จะสามารถนำพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาไปใช้ประโยชน์ในทางสันติ เช่น ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า

  32. เตาปฏิกรณ์ปรมาณู • Enrico Fermi ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1938 เป็นคนแรกที่สามารถพัฒนาเตาปฏิกรณ์ปรมาณูดังรูปได้สำเร็จในปี ค.ศ.1942

  33. เตาปฏิกรณ์ปรมาณู • เตาปฏิกรณ์ปรมาณูแบบที่ใช้น้ำเป็นตัวลดทอนพลังงาน (moderator) เป็นแบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีลักษณะดังรูป • เตาปฏิกรณ์แบบนี้จะใช้ 235U ซึ่งมีความเข้มข้นประมาณ 3% เป็นเชื้อเพลิง (แร่ยูเรเนียมในธรรมชาติจะมี 238U 99.3% และ235U 0.7%) • เนื่องจากปฏิกิริยาลูกโซ่ในแท่งเชื้อเพลิงจะทำให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ใน primary loop ร้อนจัด ซึ่งต้องควบคุมน้ำภายใต้ความดัน • น้ำใน primary loop จะถูกปั๊มไปยัง heat exchanger เพื่อนำความร้อนไปสู่น้ำใน secondary loop • น้ำใน secondary loop จะกลายเป็นไอน้ำ เพื่อนำไปหมุน turbine ทำให้เกิดการผลิตกระแสไฟฟ้าตามต้องการ

  34. ปฏิกิริยาหลอมตัว • ปฏิกิริยาหลอมตัวจะเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสขนาดเบา 2 ชนิดหลอมรวมกัน เกิดเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า • เนื่องจากมวลของนิวเคลียสหนักน้อยกว่าผลรวมของมวลของนิวเคลียสเบา จะเกิดมวลพร่องซึ่งนำไปสู่การปลดปล่อยพลังงาน • ตัวอย่างหนึ่งของปฏิกิริยาหลอมตัวคือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในดวงอาทิตย์ซึ่งเรียกว่า proton-proton cycle (p-p cycle) • เงื่อนไข 2 ข้อ ของการเกิด p-p cycle คือต้องมีอุณหภูมิสูงและมีความหนาแน่นของโปรตอนสูงพอ

  35. แล้วเกิด หรือ • p-p cycle เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ 3 ระดับ ดังสมการ • จะเห็นว่าอนุภาคโปรตอน 4 อนุภาคหลอมรวมกันเกิดอนุภาคแอลฟา 1 อนุภาค และโพซิตรอน 2 อนุภาค • พลังงานที่ปลดปล่อยจากปฏิกิริยาอยู่ในรูปของพลังงานของรังสีแกมมา โพซิตรอน และนิวตริโน ซึ่งมีค่าเป็น 26.7 MeV

  36. เตาปฏิกรณ์ชนิดเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชันเตาปฏิกรณ์ชนิดเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชัน • เนื่องจากเงื่อนไขของอุณหภูมิและความหนาแน่น ทำให้ p-p cycle ไม่สามารถเป็นไปได้ในเตาปฏิกรณ์บนโลก • ปฏิกิริยาที่อาจเป็นไปได้ในเตาปฏิกรณ์ชนิดเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชัน คือปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับ ดิวเทอเรียม (deuterium) และทริเทียม (tritium) : • ข้อได้เปรียบของเตาปฏิกรณ์ชนิดนี้คือการมีเชื้อเพลิงไม่จำกัดเพราะเราสามารถผลิตดิวเทอเรียม 0.12 g จากน้ำ 1 แกลลอน และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2 บาท

  37. ปัจจัยของความสำเร็จของเตาปฏิกรณ์แบบหลอมตัวปัจจัยของความสำเร็จของเตาปฏิกรณ์แบบหลอมตัว • ความหนาแน่นของอนุภาคเชื่อเพลิง (n) ต้องสูงพอ เพื่อให้มีปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียสสูงพอ • อุณหภูมิของพลาสมาต้องสูงพอ (~ 108k) เพื่อให้อนุภาคดิวเทอรอนที่วิ่งชนกันสามารถเอาชนะแรงผลักคูลอมบ์ได้ • ช่วงเวลากักกัน (confinement time,  ) ต้องนานพอ เพื่อรักษาให้อุณหภูมิและจำนวนพลาสมาสูงพอและคงค่าอยู่ได้ เมื่อรวมเงื่อนไขเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะได้เงื่อนไขที่ทำให้ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชันเป็นจริง ซึ่งเรียกว่า “Lawson’s criterion” n≥ 1020 s.m-3

  38. ลักษณะเตาปฏิกรณ์แบบเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชันลักษณะเตาปฏิกรณ์แบบเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชัน

  39. การประยุกต์ใช้รังสี ชนิดของการประยุกต์ใช้รังสี • การประยุกต์ทางการเกษตร • การประยุกต์ทางการแพทย์ • การประยุกต์ทางการศึกษาวิจัยและผลิตไอโซโทป • การประยุกต์ทางการผลิตกระแสไฟฟ้า

  40. การประยุกต์ใช้รังสีทางการเกษตรการประยุกต์ใช้รังสีทางการเกษตร • ผลผลิตทางการเกษตร (พืชและสัตว์) มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค • ในอดีตเคยมีพันธุ์พืชนับพันล้านชนิด แต่ปัจจุบันเหลือน้อยมาก เพราะถูกทำลายด้วยแมลงและโรคระบาด • การเน่าเปื่อยของเนื้อสัตว์ตามกาลเวลาและการระบาดของเชื้อโรคและพยาธิในเนื้อสัตว์ ทำให้มนุษย์มีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ • นอกเหนือจากการตากในแสงแดด การอบด้วยความร้อย การอุ่นหรือต้มด้วยคลื่นไมโครเวฟแล้ว ยังสามารถใช้รังสีในกระบวนการผลิตและถนอมอาหารด้วย

  41. ผลที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีพืชหรืออาหารผลที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีพืชหรืออาหาร • เมื่อฉายรังสีกับพืชหรืออาหารจะทำให้เกิดการถ่ายเทพลังงานแก่โมเลกุลของพืชหรืออาหาร ทำให้โมเลกุลถูกไอโอไนซ์กลายเป็นโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าและอนุมูลอิสระ • อนุมูลอิสระจะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลอื่นๆ และโมเลกุลของน้ำซึ่งมีอยู่ในพืชและอาหารกลายเป็นโมเลกุลใหม่ที่มีสมบัติทางชีวเคมีเปลี่ยนไป • โมเลกุลเหล่านั้นอาจทำหน้าที่เพี้ยนไปทำให้เซลล์ของพืชตายไปหรืออาจรบกวนการแบ่งเซลล์ของพืชทำให้จุลชีพที่อยู่ในพืชหรืออาหาร เช่น บักเตรี เชื้อรา พยาธิและแมลง ตายหรือเป็นหมันได้ • การฉายรังสีพืชหรืออาหารจึงมีประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตหรือถนอมอาหารและสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชด้วยการกลายพันธุ์ได้

  42. ชนิดของรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีชนิดของรังสีที่ใช้ในการฉายรังสี • องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) มีความเห็นร่วมกันว่าการฉายรังสีในประมาณไม่เกิน 10 kgray ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ • ชนิดของรังสีที่อนุญาตให้ฉายได้ คือ • รังสีแกมมาจาก Co-60 และ Cs-137 • รังสีเอ็กซ์จากเครื่องผลิตรังสีที่ใช้ความต่างศักย์ไม่เกิน 5 ล้านโวลต์ • อิเล็กตรอนจากเครื่องเร่งอนุภาคที่ใช้ความต่างศักย์ไม่เกิน 5 ล้านโวลต์

  43. ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการเกษตรลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการเกษตร • ควบคุมการงอกของพืช-ผัก เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียมและมันฝรั่งในระหว่างการเก็บรักษา • ควบคุมการแพร่พันธุ์ของแมลงเช่น ในข้าวสาร ถั่วเขียวและมะขามหวาน ในระหว่างการเก็บรักษา • ยืดอายุการเก็บรักษาอาหารสด เช่น อาหารทะเล เนื้อสัตว์และผลไม้ • ทำลายเชื้อโรคและพยาธิในอาหาร เช่น เชื่อ Salmonella เพื่อป้องกันโรคอุจจาระร่วงและพยาธิตัวกลม • เหนี่ยวนำให้กลายพันธุ์เพื่อคัดเลือกลักษณะเด่นของพืชเอาไว้และกำจัดลักษณะด้อยทิ้งไป เช่น ในข้าว ข้าวสาลี มันฝรั่ง และข้าวโพด

  44. ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการแพทย์ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการแพทย์ • เพื่อการตรวจและวินิจฉัย เช่น การตรวจฮอร์โมนและเอนไซม์ในเลือด การตรวจโรคคอหอยพอกด้วย I-125 และการทำงานของต่อมธัยรอยด์ และการเอกซ์เรย์ปอดและกระดูก • เพื่อการบำบัดรักษา เช่น ใช้รังสีแกมมาจากCo-60รักษาโรคมะเร็ง และใช้ I-131 รักษาโรคต่อมธัยรอยด์ • เพื่อการทำปลอดเชื้อผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น การปลอดเชื้อในเข็มเย็บแผล เข็มฉีดยา ผ้าปิดแผล ทำการปลอดเชื้อในเภสัชภัณฑ์ เช่นการปลอดเชื้อในยาปฏิชีวนะและสเตียรอยด์ และการปลอดเชื้อในเนื้อเยื่อสำหรับการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น การปลูกถ่ายกระดูกและการปลูกถ่ายผิวหนัง

  45. ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการศึกษาวิจัยและผลิตไอโซโทปลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการศึกษาวิจัยและผลิตไอโซโทป • เพื่อศึกษาวิจัยในการสร้างเครื่องมือตรวจสอบวัสดุหรือสารชนิดต่างๆ เช่น • วัตถุระเบิด ยาเสพติดและของผิดกฎหมาย • ตรวจหาแหล่งน้ำมัน ถ่านหินและแร่ต่างๆ • ตรวจระดับกัมมะถันในอากาศรอบๆ โรงไฟฟ้าถ่านหิน • เพื่อการผลิตไอโซโทปที่ใช้ในทางการแพทย์ เช่น การผลิต I-131โดยอาศัยเตาปฏิกรณ์ปรมาณู

  46. ลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการผลิตกระแสไฟฟ้าลักษณะการประยุกต์ใช้รังสีทางการผลิตกระแสไฟฟ้า • การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยอาศัยปฏิกิริยาแบ่งแยกตัวในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู ซึ่งมี U-235 ความเข็มข้น 3.5% เป็นเชื้อเพลิง • ข้อดีของการผลิตกระแสไฟฟ้าดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการผลิตโดยพลังงานน้ำตก น้ำมันเตาและแก๊สธรรมชาติ • ข้อเสียของการผลิตกระแสไฟฟ้าดังกล่าวคือความปลอดภัยและปัญหาในการกำจัดกากเชื้อเพลิงปรมาณูที่มีอายุนานนับล้านปี • การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยอาศัยปฏิกิริยาหลอมตัวในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูแบบเทอร์โมนิวเคลียร์

  47. 1. จงหาพลังงานที่ถูกปลดปล่อย (Q) เป็น MeV ในการสลายตัวของ 232U ตามสมการ กำหนดให้มวลอะตอมของ 2. จงคำนวณหาค่าพลังงานปลดปล่อย Q สำหรับ ปฏิกิริยาการแตกตัวของ 235U ออกเป็น 140Ce และ 94Zr และอนุภาคนิวตรอนตามสมการ 3. สลายตัวให้อนุภาคแอลฟา 4 ครั้ง อนุภาคบีตา 2 ครั้ง แล้วจะกลายเป็นธาตุใด กำหนดให้มวลอะตอม แบบฝึกหัดที่ 11

  48. 4. เมื่อเวลาผ่านไป 4 ชั่วโมงสารกัมมันตรังสีจำนวนหนึ่งสลายตัวไปเหลือเพียง 1/32 เท่าของปริมาณเดิม จงหาค่าคงตัวของเวลาและเวลาครึ่งชีวิตของสารนี้ 5. ในสารกัมมันตรังสีชนิดหนึ่ง 128I ซึ่งใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์โดยเป็นตัวตรวจวัดอัตราการดูดกลืนไอโอดีนของต่อมไทรอยด์จากการทดลองได้ข้อมูลอัตราการสลายตัวของ 128I ดังตารางจงหาค่าคงตัวของการสลายตัวและเวลาครึ่งชีวิตของสาร 6. ชนิดของการประยุกต์ใช้ทางรังสีมีกี่ชนิด อะไรบ้าง 7. จงอธิบายถึงผลที่เกิดขึ้นจากการฉายรังสีพืชและอาหารพอสังเขป

  49. 8. จงอธิบายถึงชนิดของรังสีที่อนุญาตให้ฉายได้ 9. จงอธิบายถึงลักษณะของการฉายรังสีทางการเกษตรพอสังเขป 10. จงอธิบายถึงลักษณะของการฉายรังสีทางการแพทย์พอส้งเขป 11. จงอธิบายถึงลักษณะของการฉายรังสีทางการศึกษาวิจัยและผลิตไอโซโทปพอสังเขป 12. จงอธิบายถึงลักษณะของการฉายรังสีทางการผลิตกระแสไฟฟ้าพอสังเขป

More Related