280 likes | 461 Views
อ.จุฑาทิพย์ จันทร์ ลุน. Open Access แหล่งสารสนเทศแบบเสรี. Open Access. ความหมาย แหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงได้ฟรี ไม่มีการจำกัดสิทธิในการเข้าถึงในระบบออนไลน์. การเกิดขึ้นของ Open Access.
E N D
อ.จุฑาทิพย์ จันทร์ลุน Open Accessแหล่งสารสนเทศแบบเสรี
Open Access ความหมาย • แหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงได้ฟรี ไม่มีการจำกัดสิทธิในการเข้าถึงในระบบออนไลน์
การเกิดขึ้นของ Open Access • ความต้องการเผยแพร่งานวิจัย หรือบทความทางวิชาการของนักวิจัย และนักวิชาการ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวนักวิจัยเอง โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง เนื่องจากสามารถจัดทำเผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • ปัญหาด้านราคาการจัดพิมพ์ และการจัดจำหน่าย • ปัญหาการเข้าถึงสารสนเทศ หรือแหล่งสารสนเทศ
ลักษณะของ Open Access • จดหมายเหตุหรือสิ่งพิมพ์รับฝาก • ไม่มีผู้เชี่ยวชาญอ่าน หรือ no peer review • ความหลากหลายของสาขาวิชา • เนื้อหาที่เผยแพร่มีทั้งที่เคยเผยแพร่แล้วหรือยังไม่ได้เผยแพร่ • จัดทำหรือเผยแพร่ผ่านโอเพนซอร์ส • ใช้ง่ายไม่มีค่าใช้จ่าย
ลักษณะของ Open Access • วารสาร • มีผู้เชี่ยวชาญอ่านบทความ • บทความเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก • อื่นๆ • บล็อก กลุ่มข่าว บอร์ด หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างของ Open Access ในยุคเริ่มต้น • Open Archives Initiative • Budapest Open Access Initiative • Public Library of Science • BioMed Central • SPARC • Dspace • Bethesda droup • HINARI • Creative Commons
ข้อดีของ Open Access • ผู้แต่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และมีค่าความน่าเชื่อถือสูง • ผู้อ่านหรือผู้ใช้เข้าถึงงานที่ต้องการได้ง่าย • ในแวดวงการเรียนการสอนมีความเท่าเทียมกันในการใช้ • สถาบันบริการสารสนเทศแก้ไขปัญหาด้านราคาวารสาร และปัญหาด้านลิขสิทธิ์ได้ • ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ได้ และสามารถเผยแพร่ได้ด้วยตนเอง • ในอนาคตการเผยแพร่สารสนเทศแบบเสรีจะมีเพิ่มมากขึ้นผ่านระบบโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์
เทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับ OA • อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีเครือข่าย
ข้อกฎหมายเบื้องต้นของ OA • การกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับการเข้าถึง เช่น การกำหนดลิขสิทธิ์สำหรับงานที่มีลิขสิทธิ์บางรายการ • งานบางรายการอาจจะไม่จำเป็นต้องกำหนดลิขสิทธิ์หรือการออกใบอนุญาต
ประเภทวารสารใน Open Access • วารสารทั่วไป • วารสารเฉพาะสาขาวิชา • วารสารท้องถิ่นหรือวารสารเฉพาะพื้นที่ • วารสารสถาบัน • วารสารรายปี หรือรายงานประจำปี
ประเภทของ Open Access • OA Publishing ('Gold' OA) ผู้เขียนบทความ แหล่งเงินทุนหรือ สถาบันต้นสังกัด เป็นผู้จ่ายค่าตีพิมพ์ (Author-pays) ให้แก่ OA Publishers และอนุญาตให้นำบทความไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตได้ ตัวอย่างของสำนักพิมพ์ OA ได้แก่ • Hindawi Publishing (1997) • BioMed Central (2001) • Public Library of Science - PLoS (2003)
ประเภทของ Open Access • OA Self-archiving ('green' OA) ตีพิมพ์ในวารสารของสำนักพิมพ์ทั่วไป แต่ผู้เขียนมีสิทธิ์นำ บทความมาจัดเก็บไว้ใน author's homepage หรือ institutional repository เพื่อนำไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตต่อได้ แหล่งเก็บประเภท Open Access Archives (OAA) ตัวอย่างเช่น PubMed Central (1999)
ประเภทของ Open Access • Truly OA Journals • ให้ใช้บทความออนไลน์ได้ฟรี ทันทีที่ตีพิมพ์ • ให้ผู้เขียนบทความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ • ให้เผยแพร่บทความออนไลน์ได้โดยไม่มีขีดจำกัด • OA Journals มีความหมายตรงข้ามกับ Subscription-based Journals
ประเภทของ Open Access • Delay Open Access • ให้ใช้บทความออนไลน์ได้ฟรีเฉพาะฉบับย้อนหลัง (free back issues) หลังจากตีพิมพ์ไปแล้ว 1-6 เดือน หรือ 1 ปี เป็นต้น • ตัวอย่างเช่น วารสารในกลุ่มของ HighWire Press
ประเภทของ Open Access • Dual-mode Open Access • วารสารชื่อเดียวกัน มีทั้ง print subscription และ OA edition
ประเภทของ Open Access • Hybrid Open Access (Author-choice OA) • ภายในวารสารฉบับเดียวกัน มีทั้งบทความ OA และ non-OA • Partial Open Access • OA เฉพาะบางบทความ (มักเป็นการโฆษณาของสำนักพิมพ์)
ประเภทของ Open Access • Low-income Open Access • OA เฉพาะประเทศในกลุ่ม low-income economies โดยให้บริการวารสารผ่านโครงการช่วยเหลือต่างๆ เช่น • Hinari(Health InterNetwork Access to Research Initiative) • AGORA (Access to Global Online Research in Agriculture)
ตัวอย่างOpen Access • OA Publishers • Public Library of Science (PloS) www.plos.org • Hindawi Publishing Cop. www.hindawi.com • OA Journal Resources • Directory of Open Access Journals (DOAJ) www.doaj.org • Open J-Gate (Informatics India Ltd.) www.openj-gate.com • Japan Science and Technology Information Aggregator, Electronic (J-Stage) www.jstage.jst.go.jp • Scientific Electronic Library Online (SciELO), Brazil www.scielo.br
ตัวอย่างOpen Access • OA Journal Resources • Free Full Text www.freefulltext.com • Free Medical Journals www.freemedicaljournals.com • HighWire Press. highwire.stanford.edu • Free Indexes • Google Scholar scholar.google.com • Windows Live Search Academic academic.live.com • Scirus www.scirus.com • PubMed www.pubmed.gov