1 / 19

Student Team Achievement Division

Student Team Achievement Division. หรือ STAD. การเรียน แบบ ร่วมมือโดย ใช้ เทคนิค แบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์. การเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ ( student team achievement division ).

Download Presentation

Student Team Achievement Division

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. StudentTeam Achievement Division หรือSTAD การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์

  2. การเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (student team achievement division) หมายถึง การเรียนแบบร่วมมือที่กำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกันทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มละ 4 คน ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูง 1 คน ปานกลาง 2 คน และต่ำ 1 คน ซึ่งรูปแบบ STAD (Student Teams-Achievement Division)Slavin ได้เสนอรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม (Student Teams Learning Method) ซึ่งมี 4 รูปแบบ คือ Student Teams-Achievement Divisions (STAD) และ Teams-Games-Tournaments (TGT) ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถปรับใช้กับทุกวิชาและระดับชั้น Team AssistedIndividualization (TAI) เป็นรูปแบบที่เหมาะกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และ Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) ซึ่งเป็นรูปแบบในการสอนอ่านและ การเขียน

  3. หลักการพื้นฐานของรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม ของ Slavin ประกอบด้วย 1) การให้รางวัลเป็นทีม (Team Rewards) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการวางเงื่อนไขให้นักเรียนพึ่งพากัน จัดว่าเป็น PositiveInterdependence 2) การจัดสภาพการณ์ให้เกิดความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (IndividualAccountability) ความสำเร็จของทีมหรือกลุ่ม อยู่ที่การเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคนในทีม 3) การจัดให้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จ (Equal Opportunities ForSuccess) นักเรียนมีส่วนช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จด้วยการพยายามทำผลงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมในรูปของคะแนนปรับปรุง ดังนั้น แม้แต่คนที่เรียนอ่อนก็สามารถมีส่วนช่วยทีมได้ ด้วยการพยายามทำคะแนนให้ดีกว่าครั้งก่อนๆ นักเรียนทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อนต่างได้รับการส่งเสริมให้ตั้งใจเรียนให้ดีสุด ผลงานของทุกคนในทีมมีค่าภายใต้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนแบบนี้

  4. องค์ประกอบที่สำคัญมี 5 ประการ คือ (สำหรับรูปแบบ STADเป็นรูปแบบหนึ่งที่Slavinได้เสนอไว้ เมื่อปี ค.ศ. 1980 นั้นมี 5 ประการ) 1.การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียน (ClassPresentation) 2.การทำงานเป็นกลุ่ม (Teams) 3.การทดสอบย่อย (Quizzes) 4.คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน(Individual Improvement Score) 5.การรับรองผลงานของกลุ่ม (Team Recognition)

  5. 1. การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียน (ClassPresentation) ครูเป็นผู้นำเสนอสิ่งที่นักเรียนต้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์ ทักษะและหรือกระบวนการ การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียนนี้อาจใช้การบรรยาย การสาธิตประกอบการบรรยาย การใช้วิดีทัศน์หรือแม้แต่การให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองตามหนังสือเรียน 2. การทำงานเป็นกลุ่ม(Teams) ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักเรียนประมาณ 4-5 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีทั้งเพศหญิงและเพศชาย และมีหลายเชื้อชาติ ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนในกลุ่มได้ทราบถึงหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มว่านักเรียนต้องช่วยเหลือกัน เรียนร่วมกัน อภิปรายปัญหาร่วมกัน ตรวจสอบคำตอบของงานที่ได้รับมอบหมายและแก้ไขคำตอบร่วมกัน สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทำงานให้ดีที่สุดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้กำลังใจและทำงานร่วมกันได้

  6. โดยสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันในการตอบคำถามแต่ละข้อให้ได้ ในการกระตุ้นให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน ซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ 2.1 ต้องแน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามแต่ละข้อได้อย่างถูกต้อง 2.2 ให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามทุกข้อให้ได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนนอกกลุ่ม หรือขอความช่วยเหลือจากครูให้น้อยลง 2.3 ต้องให้แน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนสามารถอธิบายคำตอบแต่ละข้อได้ ถ้าคำถามแต่ละข้อเป็นแบบเลือกตอบ

  7. 3.การทดสอบย่อย (Quizzes)หลังจากที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูก็ทำการทดสอบย่อยนักเรียน โดยนักเรียนต่างคนต่างทำ เพื่อเป็นการประเมินความรู้ที่ นักเรียนได้เรียนมา สิ่งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นความรับผิดชอบของนักเรียน 4.คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน(Individual Improvement Score)คะแนนพัฒนาการของนักเรียนจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนทำงานหนักขึ้น ในการทดสอบแต่ละครั้งครูจะมีคะแนนพื้นฐาน ส่วนคะแนนของกลุ่ม (Team Score)ได้จากการรวมคะแนนพัฒนาการของนักเรียนทุกคนในกลุ่มเข้าด้วยกัน • 5.การรับรองผลงานของกลุ่ม (Team Recognition)โดยการประกาศคะแนนของกลุ่มแต่ละกลุ่มให้ทราบ พร้อมกับให้คำชมเชย หรือให้ประกาศนียบัตรหรือให้รางวัลกับกลุ่มที่มีคะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด โปรดจำไว้ว่า คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนมีความสำคัญเท่าเทียมกับคะแนนที่นักเรียนแต่ละคนได้รับจากการทดสอบ

  8. 6 ขั้นตอนการสอนมีดังนี้ 1) ขั้นเตรียม เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกสมาชิกที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ 2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ครูกระตุ้นความสนใจ หรือ ทบทวนความรู้ที่จำเป็น 3) ขั้นตอนเสนอบทเรียน เป็นขั้นตอนการสอนของครู โดยใช้สื่อการสอน เช่น แผนภาพ เป็นต้น

  9. 4) ขั้นฝึกทักษะ เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำแบบฝึกหัด นักเรียนจะได้รับ แบบฝึกหัด และบัตรเฉลย นักเรียนจะผลัดกันทำหน้าที่ มีการอภิปรายและตรวจสอบว่ากลุ่มมีข้อผิดพลาดในการทำอย่างไร แล้วแก้ไขข้อผิดพลาดลงในแบบฝึกหัด 5) ขั้นทดสอบหลังเรียน เป็นขั้นที่นักเรียนทดสอบเป็นรายบุคคล 6) ขั้นสรุปและประเมินผล เป็นขั้นที่ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน ข้อดีและ ข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขในการทำงานร่วมกัน ครูประเมินผลการเรียนของนักเรียนโดยนำคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนแต่ละคนมาเปรียบเทียบกับคะแนนฐาน เพื่อหาคะแนนพัฒนาของแต่ละคน นำคะแนนพัฒนาเทียบเป็นคะแนนกลุ่มจากตาราง แล้วนำคะแนนที่ทุกคนทำในกลุ่มมาเฉลี่ย กลุ่มใดมีคะแนนกลุ่มผ่านเกณฑ์จะได้รับรางวัลทั้งกลุ่มตามที่กำหนด

  10. เทคนิคการสอนแบบ Student Teams-Achievement Division (STAD) • ขั้นที่ 1 : ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อนด้วยการซักถามและอธิบายตอบข้อสงสัยของนักเรียน • ขั้นที่ 2 : จัดกลุ่มแบบคละกัน (Home Teams) กลุ่มละ 3-4 คน • ขั้นที่ 3 : แต่ละทีม ศึกษาหัวข้อที่เรียนจากแบบฝึก (Work Sheet and AnswerSheet)นักเรียนแต่ละคนทำหน้าที่และปฏิบัติตามกติกาของCooperative Learningเช่น เป็นผู้จดบันทึก ผู้คำนวณ ผู้สนับสนุน เป็นต้น เมื่อสมาชิกทุกคน เข้าใจและสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องทุกข้อ ทีมจะเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา

  11. ขั้นที่ 4 : สำหรับ STAD นักเรียนแต่ละคนจะทำการทดสอบ แทนการแข่งขันตอบปัญหา • ขั้นที่ 5 : ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบจะติดประกาศ ไว้ในมุมจดหมายข่าวของห้อง 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการทางสังคม เช่น ทักษะกระบวนการกลุ่ม ทักษะการเป็นผู้นำ และฝึกความรับผิดชอบ วัตถุประสงค์

  12. ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดี 1. ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตนเองและกลุ่มร่วมกับเพื่อนสมาชิก 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้ร่วมมือกันเรียนรู้ 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนผลัดกันเป็นผู้นำ ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคม 4. ผู้เรียนมีความตื่นเต้นสนุกกับการเรียนรู้ ข้อจำกัด1. ถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบจะส่งผลให้งานกลุ่มและการเรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จ 2. เป็นวิธีที่ผู้สอนจะต้องเตรียมการและดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจึงจะได้ผลทำให้ผู้สอนมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น

  13. แบบทดสอบ 1. STADย่อมาจากคำว่าอะไร 2. ขั้นตอนการเรียนรู้ ของ student team achievement division มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง 3.ข้อดีและข้อจำกัดของ student team achievement division มีกี่ข้อ อะไรบ้าง

  14. 4. เทคนิคการสอนแบบ Student Teams-Achievement Division มีกี่ขั้น พร้อมอธิบาย • 5. องค์ประกอบที่สำคัญมีกี่ข้อ อะไรบ้าง

  15. เฉลย • 1. Student Teams-Achievement Division

  16. 5 ขั้นตอนคือ • ขั้นเตรียมเนื้อหา ประกอบด้วย • 2. ขั้นจัดทีม 3. ขั้นการเรียนรู้ สิ่งที่ควรคำนึงในการศึกษากลุ่ม • 4. ขั้นทดสอบย่อย • 5. การรับรองผลงานและเผยแพร่ชื่อเสียงของทีม

  17. 3. 6 ข้อ ข้อดี 1. ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตนเองและกลุ่มร่วมกับเพื่อนสมาชิก 2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้ร่วมมือกันเรียนรู้ 3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนผลัดกันเป็นผู้นำ ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคม 4. ผู้เรียนมีความตื่นเต้นสนุกกับการเรียนรู้ข้อจำกัด 1. ถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบจะส่งผลให้งานกลุ่มและการเรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จ 2. เป็นวิธีที่ผู้สอนจะต้องเตรียมการและดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจึงจะได้ผลทำให้ผู้สอนมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น

  18. 4. มี 5 ขั้น คือ • ขั้นที่ 1 : ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อนด้วยการซักถามและอธิบายตอบข้อสงสัยของนักเรียน ขั้นที่ 2 : จัดกลุ่มแบบคละกัน (Home Teams) กลุ่มละ 3-4 คน ขั้นที่ 3 : แต่ละทีม ศึกษาหัวข้อที่เรียนจากแบบฝึก (Work Sheet and Answer Sheet) นักเรียนแต่ละคนทำหน้าที่และปฏิบัติตามกติกาของ Cooperative Learning เช่น เป็นผู้จดบันทึก ผู้คำนวณ ผู้สนับสนุน เป็นต้น เมื่อสมาชิกทุกคน เข้าใจและสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องทุกข้อ ทีมจะเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา ขั้นที่ 4 : สำหรับ STAD นักเรียนแต่ละคนจะทำการทดสอบแทนการแข่งขันตอบปัญหา ขั้นที่ 5 : ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบจะติดประกาศไว้ในมุมจดหมายข่าวของห้อง

  19. 5. (สำหรับรูปแบบ STAD เป็นรูปแบบหนึ่งที่ Slavinได้เสนอไว้ เมื่อปี ค.ศ. 1980 นั้นมี 5 ประการ) 1.การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียน (ClassPresentation) 2.การทำงานเป็นกลุ่ม (Teams) 3.การทดสอบย่อย (Quizzes) 4.คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน (Individual Improvement Score) 5.การรับรองผลงานของกลุ่ม (Team Recognition)

More Related