E N D
คำนำ • ผู้ที่มีหน้าที่จัดหาพัสดุและผู้ที่มีหน้าที่บริหารงานพัสดุจะต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 จนถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2545 จนสามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์และยังต้องมีความรอบรู้ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานขอรัฐ พ.ศ. 2542 และระเบียบคณะกรรมการตรวจการเงินแผ่นดินว่าด้วยวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. 2544 ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยจะต้องดำเนินการจัดหาพัสดุแบบเปิดเผยโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม มีความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณเป็นพื้นฐาน ก่อนดำเนินการจัดหาพัสดุทุกครั้ง ต้องศึกษากฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ก่อนที่จะดำเนินการจัดหาพัสดุ โดยเฉพาะระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
คำนำ (ต่อ) • งานพัสดุ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนมจึงได้ปรับปรุงจากเอกสารระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุของงานคลังและพัสดุ มหาวิทยาลัยนครพนม โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้าง ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 (e-Auction) หวังว่าเอกสารเล่มนี้จะอำนวยความสะดวกและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุตลอดจนผู้ที่สนใจงานพัสดุทั่วไป • นายชาลี ธรรมโสภณ • ผู้อำนวยการกลองกลาง สำนักงานอธิการบดี • มหาวิทยาลัยนครพนม • 31 มีนาคม 2552
ภาคที่ 1 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม * แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 ** แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 *** แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 **** แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ***** แก้ไขเพิ่มเติมตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2545
ระเบียบฯ พัสดุ 4 หมวด นิยาม ข้อ 5 การใช้บังคับ ข้อ 6 8 และกรรมการมอบอำนาจ ข้อ 9 หมวด 1 ข้อความทั่วไปมี 4 ส่วน บทกำหนดโทษ ข้อ 10 คณะกรรมการว่าด้วย ข้อ 11 12 การพัสดุ (กวพ.)
บททั่วไป ข้อ 13 15 ข้อ 16 73 การซื้อการจ้าง การจ้างที่ปรึกษา ข้อ 74 94 การจ้างออกแบบ ข้อ 95 122 หมวด 2 การจัดหามี 8 ส่วน และควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน ข้อ 123 127 การเช่า ข้อ 128 131 สัญญาและ ข้อ 132 144 หลักประกัน การลงโทษผู้ทิ้งงาน ข้อ 145
การยืม ข้อ 146 150 หมวด 3 การควบคุมและ การจัดจำหน่าย พัสดุ มี 3 ส่วน การควบคุม ข้อ 151 156 การจำหน่าย ข้อ 157 161 หมวด 4 บทเฉพาะกาล ข้อ 162 165
แผนภาพที่ 1 ขั้นตอนการซื้อและการจ้าง - ทำรายงานขอซื้อ/จ้างพัสดุทั่วไป (27) - ที่ดิน (28) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ - ให้ความเห็นชอบ (29) - แต่งตั้งคณะกรรมการ (34) - ตกลงราคา (19 , 39) - สอบราคา (20,40 - 43) - ประกวดราคา (21 , 44 - 56) - วิธีพิเศษ (23,57)(24 , 58) - กรณีพิเศษ (26,59) - วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ตามระเบียบ e-Auction พ.ศ.2549) ดำเนินการ ขออนุมัติซื้อ/จ้าง (65 - 67) ( 132 - 135 ) ทำสัญญา - การซื้อ ( 71) - การจ้าง (72 - 73) - การเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) - การงด / ลดค่าปรับ ขยายเวลา (139) - การบอกเลิก (137 - 138) ตรวจรับ เบิกจ่าย
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2545 ข้อกำหนดรวมทั้งสิ้น 165 ข้อ แบ่งเป็น 4 หมวดคือ
หมวด 1 ข้อความทั่วไปมี 4 ส่วน รวม 8 ข้อ ส่วนที่ 1 นิยาม รวม 1 ข้อ ข้อ 5 คำนิยาม คำนิยามในระเบียบนี้มีดังต่อไปนี้ “ พัสดุ ” วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ที่กำหนดไว้ในหนังสือการจำแนก ประเภทรายจ่ายตามงบประมาณของสำนักงบประมาณ “ การซื้อ ” การซื้อพัสดุทุกชนิด ทั้งที่มีการติดตั้งทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะ การจ้าง
“ การจ้าง ” การจ้างทำของ และการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และการจ้าง เหมาบริการแต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้าง ของส่วนราชการตามระเบียบของกระทรวงการคลังการรับขนการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการการจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “ พัสดุที่ผลิตในประเทศ ” ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสำเร็จรูปแล้ว โดยสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย
“ กิจการของคนไทย ” กิจการที่เป็นของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลสัญชาติไทย ที่ปรึกษา บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ หรือสามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรมเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งให้บริการด้านศึกษาสำรวจ ออกแบบและควบคุมงาน และการวิจัยแต่ไม่รวมถึง “การให้บริการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ ที่ปรึกษาไทย ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทย และได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง
“ หัวหน้าส่วนราชการ ” สำหรับส่วนกลาง คือ อธิบดีหรืออธิการบดี สำหรับส่วนภูมิภาคคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด “ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ” หัวหน้าหน่วยงานระดับกอง ซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับการพัสดุ หรือข้าราชการอื่น ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากหัวหน้าส่วนราชการ ให้เป็นหัวหน้า เจ้าหน้าที่พัสดุ แล้วแต่กรณี “ เจ้าหน้าที่พัสดุ ” เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัสดุหรือผู้ได้รับการแต่งตั้ง จากหัวหน้าส่วนราชการให้มีหน้าที่หรือปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัสดตามระเบียบนี้
“ ผู้อำนวยการโครงการ ” ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุตามโครงการเงินกู้หรือโครงการเงินช่วยเหลือ **** “ โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ” โรงงานที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานเลขที่ มอก.9001 หรือ มอก.9002 ในกิจการและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือสถาบันรับรองมาตรฐาน ไอ เอส โอ หรือหน่วยงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้การรับรองระบบงาน (accreditation)
*** “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน” บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาขายในการซื้อพัสดุ หรือเข้าเสนอราคาเพื่อรับจ้างทำพัสดุ หรือเข้าเสนองานเพื่อรับจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือรับจ้างออกแบบและควบคุมงาน ให้แก่ส่วนราชการเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในคราวเดียวกัน ได้แก่ การที่บุคคลหรือนิติบุคคลมีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้
แล้วไป (1) ความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร - ไม่เป็นผู้บริหารชุดเดียวกัน มีอำนาจในการบริหารจัดการอีกกิจการหนึ่งหรือหลายกิจการ เป็น………ในกิจการหนึ่ง ๐ ผู้จัดการ ๐ หุ้นส่วนผู้จัดการ ๐ กรรมการจัดการ ๐ ผู้บริหาร ๐ ผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน
แล้วไป (2) ความสัมพันธ์ในเชิงทุน - ดูหุ้น เป็น………ในกิจการหนึ่ง ๐ หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ ๐ หุ้นส่วนไม่จำกัด ความรับผิดชอบใน หจก. ๐ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก. หรือ บ.มหาชน ( > 25% ของกิจการ) - ในกิจการหนึ่ง เป็น……..อีกรายหนึ่งหรือ หลายราย ๐ หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน สามัญ ๐ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับ ผิดใน หจก. ๐ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก.
แล้วไป (3) ความสัมพันธ์ในเชิงไขว้กัน เป็น………ในกิจการหนึ่ง ๐ ผู้จัดการ ๐ หุ้นส่วนผู้จัดการ ๐ กรรมการจัดการ ๐ ผู้บริหาร ๐ ผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน เป็น………ในกิจการหนึ่ง ๐ หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ ๐ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับ ผิดชอบใน หจก. ๐ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก.หรือ บ.มหาชน (> 25% ของกิจการ)
“ การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ” การที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายรายกระทำการอย่างใด ๆ อันเป็นการขัดขวาง หรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่าง เป็นธรรมในการเสนอราคาไม่ว่าจะกระทำการโดย ๐ สมยอมกัน หรือโดยการให้ หรือรับว่าจะให้ หรือยอมจะรับเงิน หรือ ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใด ๐ ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขมขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ๐ แสดงเอกสารอันเป็นเท็จ หรือ ๐ กระทำการใดโดยทุจริต ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ในระหว่างผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองาน ด้วยกัน หรือเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้เสนองาน รายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญา หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อให้เกิดความได้เปรียบส่วนราชการ โดยมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ
ส่วนที่ 2 การใช้บังคับและการมอบอำนาจ รวม 4 ข้อ ข้อ 6 การใช้บังคับ ระเบียบนี้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ โดยใช้เงินงบประมาณเงินกู้และเงินช่วยเหลือ ** ข้อ 9 การมอบอำนาจ ผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ จะมอบอำนาจเป็นหนังสือ ให้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งใดก็ได้ โดยให้คำนึงถึงระดับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่จะได้รับมอบอำนาจเป็นสำคัญเมื่อมีการมอบอำนาจแล้วผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไม่ได้ *** “ให้ผู้มอบส่งสำเนาหลักฐาน การมอบอำนาจ ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณีทราบทุกครั้ง”
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) รวม 2 ข้อ ข้อ 11 องค์ประกอบของ กวพ. คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุเรียกโดยย่อ “กวพ” ข้อ 12 อำนาจหน้าที่ของ กวพ. มีหน้าที่ ดังนี้ (1) ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบฯ พัสดุ
หมวดที่ 4 การจัดหา มี 8 ส่วน รวม 133 ข้อ ส่วนที่ 1 บททั่วไป รวม 3 ข้อ **ข้อ 13 การวางแผนในการจัดหา หลังจากได้ทราบยอดเงินที่จะนำมาใช้ในการจัดหาแล้ว ให้ส่วนราชการรีบดำเนินการให้เป็นไปตามแผน และตามขั้นตอนของระเบียบนี้ เพื่อให้พร้อมที่จะทำสัญญาได้ทันที เมื่อได้รับอนุมัติทางการเงินแล้ว
***ข้อ 15 การจัดทำเอง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งผู้ควบคุมรับผิดชอบในการจัดทำเอง และ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจการปฏิบัติงาน โดยมีคุณสมบัติและหน้าที่เช่นเดียว กับคณะกรรมการตรวจการจ้าง เว้นแต่ส่วนราชการมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดย เฉพาะอยู่แล้ว *** ข้อ 15 ทวิ หลักการของการจัดหาพัสดุ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของการจัดหาต้องดำเนินการ โดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่าง เป็นธรรม
๐ มีข้อมูลครบถ้วน และเพียงพอ ๐ เวลาเผยแพร่เพียงพอ และทั่วถึง ๐ ผ่านสื่อ ๐เกณฑ์ที่ใช้พิจารณา ต้องชัดเจน ๐ รักษาบรรยากาศของการแข่งขันอย่างเสมอภาค และเป็นธรรม ๐ กำหนดจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่จัดหา ๐ ต้องมีการบันทึกหลักฐานในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน พร้อม ทั้งต้องระบุเหตุผลในการพิจารณา สั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
ข้อ 15 ตรี การตรวจสอบผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ตามข้อ 15 ทวิ ให้ผู้เสนองานที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีสิทธิที่จะ เสนอราคาในแต่ละครั้งเพียงรายเดียวเท่านั้น ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่าเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ก่อนเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานแล้วแต่กรณี กรณีที่ใช้วิธีการประกวดราคาแบบ 2 ซอง (ตามข้อ 54) หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก(ตามข้อ 85 และ 86)ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือเสนองาน ก่อนเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิค ซองข้อเสนอด้านราคา หรือซองข้อเสนอทางการเงิน
ข้อ 15 จัตวา การกำหนดเอกสารแสดงคุณสมบัติ ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละราย ตามข้อ 15 ตรีวรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่กำหนดให้ผู้เสนอราคาหรือถ้าผู้เสนองาน ยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติแยกมาต่างหากโดยอย่างน้อยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้ (1) กรณีเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองพร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง ๐ การจดทะเบียนนิติบุคคล ๐ บริคณห์สนธิ ๐ บัญชีรายชื่อ หุ้นส่วนผู้จัดการ ๐ กรรมการผู้จัดการ ๐ ผู้มีอำนาจควบคุม และ ๐ บัญชีรายชื่อ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
(2) กรณีเป็นบุคคลธรรมดา หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ยื่นสำเนา เอกสารพร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง ๐ บัตรประชาชนของผู้นั้น ๐ ข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน ( ถ้ามี) ๐ บัตรประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วน (3) กรณีผู้เสนองานเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสำเนาเอกสารพร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง ๐ สัญญาของการเข้าร่วมค้า ๐ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร่วมค้า และ ๐ หนังสือเดินทางกรณีผู้ร่วมค้าเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ ถือสัญชาติไทย หรือ ๐ ผู้ร่วมค้าเป็นนิติบุคคลให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (1)
(4) เอกสารอื่นตามที่ส่วนราชการกำหนด เช่น ๐ หนังสือแสดงฐานะทางการเงิน ๐ สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ ๐ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ห้ามใส่ซองและให้ยื่นพร้อมกับการยื่นซองสอบราคา ,ประกวดราคา หรือเสนองานแล้วแต่กรณี สำหรับ กรณีที่กำหนดให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียว ตามข้อ 87(2) ให้ผู้เสนองานยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตาม วรรคหนึ่ง มาพร้อมกับการยื่นซองดังกล่าวด้วย เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ตามข้อ 15 ตรีวรรคสอง แล้ว ให้เจ้าหน้าที่ประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือก ไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทำการของส่วนราชการโดยพลัน และถ้าผู้เสนอราคาอยู่ ณ สถานที่เปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เสนอราคาทราบด้วย
ข้อ 15 เบญจ การตัดรายชื่อผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หากปรากฎว่ามีผู้เสนอราคา หรือเสนองานเป็นผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ตัดรายชื่อผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานที่มีผลประโยชน์ร่วมกันทุกรายออก จากการเป็นผู้เสนอราคาในครั้งนั้น พร้อมแจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานทราบโดยพลัน ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน เพราะเหตุเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน อาจอุธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง พร้อมทั้งแสดงเหตุผลของการอุทธรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วย
ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้ปลัดกระทรวงพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยพลัน การวินิจฉัยอุทธรณ์ของปลัดกระทรวงให้ถือเป็นที่สุด สำหรับการเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทำพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น และให้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้ กวพ. ทราบด้วย การยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ย่อมไม่เป็นเหตุให้มีการขยายระยะเวลาการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน เว้นแต่ปลัดกระทรวงพิจารณาเห็นว่าการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่งและในกรณีที่ปลัดกระทรวงพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับคำคัดค้านของผู้อุทธรณ์ และเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว จะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ให้ปลัดกระทรวงมีอำนาจยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานดังกล่าวได้
ข้อ 15 ฉ การปฏิบัติกรณีพบผู้เสนอราคามีการขัดขวางการแข่งราคาอย่าง เป็นธรรม ก่อนหรือขณะที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน หากปรากฏว่า มีผู้เสนอราคา หรือเสนองานกระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมต่อ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก่อนหรือในขณะที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงหากเชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้ตัดผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานทุกราย ให้นำความในข้อ 15 จัตวา วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้เสนอราคาหรือผู้เสนอราคาที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคา หรือผู้เสนอราคา ตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติได้ ทั้งนี้ ให้นำความในข้อ 15 เบญจ มาใช้กับการอุทธรณ์โดยอนุโลม และให้หัวหน้าส่วนราชการเสนอต่อปลัดกระทรวงเพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออก ตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ทิ้งงาน
ข้อ 15 สัตต การตัดรายชื่อผู้เสนอราคา ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ภายหลังได้รับการคัดเลือกแล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานแล้ว ว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีสิทธิที่ได้รับการคัดเลือกตามที่ประกาศรายชื่อไว้ตามข้อ 15 จัตวา วรรคสามเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมหรือขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้หัวหน้าส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกดังกล่าวทุกรายออกจากประเทศรายชื่อ ให้หัวหน้าส่วนราชการเสนอต่อปลัดระทรวงเพื่อพิจารณาให้ผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคา หรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ทิ้งงาน
ขั้นตอนการซื้อและการจ้างขั้นตอนการซื้อและการจ้าง - ทำรายงานขอซื้อ/จ้างพัสดุทั่วไป (27) - ที่ดิน (28) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ - ให้ความเห็นชอบ (29) - แต่งตั้งคณะกรรมการ (34) - ตกลงราคา (19 , 39) - สอบราคา (20,40 - 43) - ประกวดราคา (21 , 44 - 56) - วิธีพิเศษ (23,57)(24 , 58) - กรณีพิเศษ (26,59) - วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง) ดำเนินการ ขออนุมัติซื้อ/จ้าง (65 - 67) ( 132 - 135 ) ทำสัญญา - การซื้อ ( 71) - การจ้าง (72 - 73) - การเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) - การงด / ลดค่าปรับ ขยายเวลา (139) - การบอกเลิก (137 - 138) ตรวจรับ เบิกจ่าย
ข้อ 27 การรายงานการขอซื้อหรือจ้าง ก่อนดำเนินการขอซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากซื้อที่ดินหรือสิ่งก่อสร้างให้ เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการ ตามรายการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็น ที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (3)ราคามาตรฐาน หรือ ราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายใน ระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ (4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้างโดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้ หรือเงิน ช่วยเหลือ ที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นทั้งหมดถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่า จะซื้อจ้างในครั้งนั้น (5) กำหนดเวลาที่ต้องใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ (6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น (7) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้าง การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศ ประกวดราคา
การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท และการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษกรณีเร่งด่วน ตามข้อ 23 (2) หรือ ข้อ 24 (3) ซึ่งไม่อาจทำรายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น จะทำรายงานตามวรรคหนึ่ง เฉพาะรายการที่เห็นว่าจำเป็นก็ได้
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง เหตุผล - ให้ระบุถึงสาเหตุที่หน่วยงานมีความประสงค์ ที่จะซื้อหรือจ้าง เช่น ยังไม่มีใช้ ยังไม่พอใช้ เสียหรือชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ความจำเป็น - เพื่อใช้ในหน่วยงานของราชการ หรือใช้ในการเรียนการสอนในวิชา…… (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง 2.1 งานจัดซื้อวัสดุ - ให้ระบุรายการวัสดุและจำนวน ตามรายละเอียดแนบท้าย 2.2 งานจัดซื้อครุภัณฑ์ - ให้ระบุรายการครุภัณฑ์ จำนวนและคุณลักษณะเฉพาะ (Specification) ของครุภัณฑ์พร้อมลงนามผู้กำหนด Spec 2.3 งานจัดจ้างซ่อมครุภัณฑ์ - ให้ระบุรายการซ่อมครุภัณฑ์ หมายเลขทะเบียนครุภัณฑ์ ตามรายละเอียดแนบท้าย 2.4 งานจัดจ้างสิ่งก่อสร้าง - ให้ระบุรายการ จำนวนสิ่งก่อสร้าง และแบบรูปรายการ พร้อมลายเซ็นผู้รับผิดชอบใน Title Block 2.5 งานจ้างเหมา - ให้ระบุรายการงานที่จะจ้างเหมา จำนวนงานตามรายละเอียดแนบท้าย
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) (3) ราคามาตราฐาน หรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายใน ระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ 3.1 งานจัดซื้อวัสดุ- ให้ระบุราคาที่เคยซื้อวัสดุครั้งสุดท้าย ภายในระยะเวลา 2 ปี งบประมาณ 3.2 งานจัดซื้อครุภัณฑ์- ให้ระบุราคามาตราฐาน ที่ทางราชการได้กำหนดไว้ หรือราคาเคยซื้อ ครุภัณฑ์ครั้งสุดท้ายภายใน ระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ 3.3 งานจัดจ้างซ่อมครุภัณฑ์ - ให้ระบุราคาที่เคยจ้างซ่อมครั้งสุดท้าย ภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ 3.4 งานจัดจ้างสิ่งก่อสร้าง - ให้ระบุราคากลางสำหรับสิ่งก่อสร้าง ที่คณะกรรมการราคากลาง ได้ ตรวจ (Bill of Quantity, BOQ)ของผู้ประมาณราคาที่ได้ ประมาณการไว้ 3.5 งานจ้างเหมาบริการ- ให้ระบุราคากลาง
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) (4) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง - ให้ระบุวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง (5) กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ เช่น 5.1 งานจัดซื้อ - ให้กำหนดวันส่งมอบ(ภายใน 5 วันทำการนับตั้งแต่วันถัดจาก วันรับใบสั่งซื้อ) 5.2 งานจัดซื้อครุภัณฑ์ - ให้กำหนดวันส่งมอบ ภายใน…….วัน นับถัดจาก วันลงนามสัญญา 5.3 งานจัดจ้างซ่อมครุภัณฑ์ - ให้กำหนดวันส่งมอบงานจ้างซ่อม ภายใน......วัน นับถัดจากวันรับใบสั่งจ้างซ่อม 5.4 งานจัดจ้างสิ่งก่อสร้าง - ให้กำหนดวันทำการแล้วเสร็จ นับถัดจาก วันที่ลงนามในสัญญา 5.5 งานจ้างเหมาบริการ - ให้เริ่มทำงานตั้งแต่วันที่ลงนามจนถึงวันจ้างทำงานวันสุดท้าย
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) (6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น 6.1 วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง - ให้ระบุวิธีที่จะซื้อจ้าง โดยดูจากวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างแล้ว พิจารณาวิธีซื้อ หรือจ้าง ตามระเบียบข้อ 19 ถึง 26 6.2 เหตุผลที่จะซื้อหรือจ้าง - เป็นการให้เหตุผลในการจัดซื้อหรือจ้าง ตามข้อ 6.1 ตามระเบียบฯ พัสดุ ข้อ 19 ถึง 26 เช่น
~ วิธีตกลงราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาไม่เกิน 100,000 บาท ~ วิธีสอบราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาเกิน 100,000 บาท 2,000,000 บาท ~ วิธีประกวดราคา การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาเกิน 2,000,000 บาท ~ วิธีพิเศษ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาเกิน 100,000 บาท ~ วิธีกรณีพิเศษ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง ไม่กำหนดวงเงิน ~ วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การซื้อหรือการจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาเกิน 2,000,000 บาท แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ)
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) 7) ข้อเสนออื่น ๆ 7.1 เอกสารและ / หรือ แบบรูปรายการ 7.1.1 งานจัดซื้อวัสดุวิธีตกลงราคา - ใบเสนอราคาของผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 7.1.2 งานจัดซื้อครุภัณฑ์วิธีสอบราคา หรือประกวดราคา - คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ - คุณสมบัติของผู้เสนอราคา - ให้ผู้เสนอราคาส่งตัวอย่างแคตตาล็อค 7.1.3 งานจัดจ้างสิ่งก่อสร้างวิธีสอบราคา หรือประกวดราคา - แบบรูปรายละเอียดและจำนวนที่ต้องการ - คุณสมบัติผู้เสนอราคา - ใบเสนอราคา
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) 7.2 การเสนอขอ แต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ในการซื้อหรือจ้าง 7.2.1 วิธีตกลงราคา ~ ถ้าการซื้อหรือจ้างในวงเงิน ไม่เกิน 10,000 บาท ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือลูกจ้างประจำ 1 คน ซึ่งมิใช่เป็นผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ หรืองานจ้าง ~ ถ้าการซื้อหรือจ้าง ในวงเงิน ไม่เกิน 100,000 บาท ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 เป็นคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง คือ ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) 7.2.2 วิธีสอบราคา ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปจำนวน อย่างน้อย 3 คน เป็นคณะกรรมการ คือ ประธาน กรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน ~ คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา ~ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ~ ห้ามแต่งตั้งกรรมการเปิดซองสอบราคาเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ 7.2.3 วิธีประกวดราคา ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็น คณะกรรมการ คือ ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน ~ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา ~ คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา ~ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง ~ ห้ามแต่งตั้งกรรมการพิจารณาผลประกวดราคา เป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำรายงานขอซื้อหรือจ้าง ตามระเบียบฯ ข้อ 27 (ต่อ) 7.2.4 วิธีพิเศษ ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็น คณะกรรมการ คือ ประธานกรรมการ 1 คน และ กรรมการอย่างน้อย 2 คน 1) วิธีจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ~ คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ~ (คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ) 2) วิธีจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ~ คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ~ (คณะกรรมการตรวจการจ้าง ) 7.2.5 วิธีกรณีพิเศษ ให้แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นคณะกรรมการ คือ ประธานกรรมการ 1 คน และ กรรมการอย่างน้อย 2 คน ~ คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง
ขั้นตอนการซื้อและการจ้างขั้นตอนการซื้อและการจ้าง - ทำรายงานขอซื้อ/จ้างพัสดุทั่วไป (27) - ที่ดิน (28) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ - ให้ความเห็นชอบ (29) - แต่งตั้งคณะกรรมการ (34) - ตกลงราคา (19 , 39) - สอบราคา (20,40 - 43) - ประกวดราคา (21 , 44 - 56) - วิธีพิเศษ (23,57)(24 , 58) - กรณีพิเศษ (26,59) - วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง) ดำเนินการ ขออนุมัติซื้อ/จ้าง (65 - 67) ( 132 - 135 ) ทำสัญญา - การซื้อ ( 71) - การจ้าง (72 - 73) - การเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) - การงด / ลดค่าปรับ ขยายเวลา (139) - การบอกเลิก (137 - 138) ตรวจรับ เบิกจ่าย
ข้อ 29 การให้ความเห็นชอบ ให้หัวหน้าส่วนราชการตั้งคณะกรรมการ 8 คณะซื้อหรือจ้างคณะพร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาแล้วแต่กรณี คือ (1) คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (2) คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา (3) คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา (4) คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (5) คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (6) คณะกรรมการร่าง TOR และร่างเอกสาร ประกวดราคา (7) คณะกรรมการประกวดราคา (8) คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (9) คณะกรรมการตรวจการจ้าง เมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบตามรายการที่เสนอตาม ข้อ 27 หรือ ข้อ 28 แล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการวิธีการซื้อหรือจ้างต่อไป ข้อ 34 คณะกรรมการดำเนินการซื้อหรือจ้าง ให้คณะกรรมการแต่ละคณะ รายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าส่วนราชการภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ามีเหตุที่ทำให้การรายงานล่าช้า ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจำเป็น
ข้อ 35 องค์ประกอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการตามข้อ 34 ให้ประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คนและกรรมการอย่างน้อย 2 คน โดยปกติให้ แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปในกรณีจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลที่มิใช่ข้าราชการร่วมเป็นคณะกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งข้าราชการที่มีคุณสมบัติดังกล่าว ข้างต้นทำหน้าที่ประธานกรรมการแทน ในกรณีเมื่อกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคาหรือรับซองประกวดราคาแล้ว ประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานกรรมการในเวลานั้น โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ 42 (1) หรือข้อ 49 แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งเพื่อดำเนินการต่อไป
ในการซื้อหรือจ้างครั้งเดียว ห้ามแต่งตั้ง ผู้ที่เป็นกรรมการรับ - และเปิดซองประกวดราคา เป็น กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา หรือ แต่งตั้งผู้ที่ เป็นกรรมการเปิดซองสอบราคา หรือ กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา เป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ คณะกรรมการทุกคณะ เว้นแต่ คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคาควรแต่งตั้งผู้ชำนาญการเกี่ยวกับพัสดุหรืองานจ้างนั้น ๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย สำหรับการซื้อหรือจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้ง ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ คนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุ หรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้
ข้อ 36 องค์ประชุมและมติ ในการประชุมของคณะของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานฯออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้าง ให้ถือมติเอกฉันท์ กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทำบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย ข้อ 37 ผู้ควบคุมงานจ้างก่อสร้าง ให้หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งผู้ควบคุมเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคล ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอ โดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพ ( ปวช.)
ขั้นตอนการซื้อและการจ้างขั้นตอนการซื้อและการจ้าง - ทำรายงานขอซื้อ/จ้างพัสดุทั่วไป (27) - ที่ดิน (28) เจ้าหน้าที่พัสดุ หัวหน้าส่วนราชการ - ให้ความเห็นชอบ (29) - แต่งตั้งคณะกรรมการ (34) - ตกลงราคา (19 , 39) - สอบราคา (20,40 - 43) - ประกวดราคา (21 , 44 - 56) - วิธีพิเศษ (23,57)(24 , 58) - กรณีพิเศษ (26,59) - วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง) ดำเนินการ ขออนุมัติซื้อ/จ้าง (65 - 67) ( 132 - 135 ) ทำสัญญา - การซื้อ ( 71) - การจ้าง (72 - 73) - การเปลี่ยนแปลงสัญญา (136) - การงด / ลดค่าปรับ ขยายเวลา (139) - การบอกเลิก (137 - 138) ตรวจรับ เบิกจ่าย
ข้อ 18 วิธีซื้อและวิธีจ้าง (1) วิธีตกลงราคา (2) วิธีสอบราคา (3) วิธีประกวดราคา มีวิธีซื้อหรือจ้าง 6 วิธี คือ (4) วิธีพิเศษ (5) วิธีกรณีพิเศษ (6) วิธีประมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ***** * ข้อ 19 ความหมายของวิธีตกลงราคา การซื้อหรือจ้างครั้งหนึ่ง มีราคาไม่เกิน 100,000 บาท * ข้อ 20 ความหมายของ วิธีสอบราคา ราคาเกิน 100,000 - 2,000,000 บาท