1 / 33

สิทธิ/สวัสดิการแรงงานหญิง

สิทธิ/สวัสดิการแรงงานหญิง. ศุภชัย ตรีศักดิ์ชาติ กลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน สำนักคุ้มครองแรงงาน. กรอบการ บรรยาย @ กฎหมายแรงงาน * เจตนารมณ์ของ กฎหมาย * พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน * การใช้แรงงานหญิง * สวัสดิการ @ การบริหารกฎหมาย

Download Presentation

สิทธิ/สวัสดิการแรงงานหญิง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิ/สวัสดิการแรงงานหญิงสิทธิ/สวัสดิการแรงงานหญิง ศุภชัย ตรีศักดิ์ชาติ กลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน สำนักคุ้มครองแรงงาน

  2. กรอบการบรรยาย @ กฎหมายแรงงาน * เจตนารมณ์ของกฎหมาย * พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน * การใช้แรงงานหญิง * สวัสดิการ @ การบริหารกฎหมาย * การควบคุม กำกับ บังคับใช้กฎหมาย * การส่งเสริมให้ปฏิบัติ

  3. รัฐ นายจ้าง (องค์กรนายจ้าง) ลูกจ้าง (องค์กรลูกจ้าง) กฎหมายคุ้มครองแรงงาน สิทธิ – หน้าที่ การจ้างงาน การใช้แรงงาน ความสัมพันธ์ที่เหมาะสม

  4. สาระทั้งหมดแห่ง กม.คุ้มครองแรงงาน’๔๑ ๑๖หมวด ๑๕๙ มาตรา ไม่รวมบทเฉพาะกาล 5

  5. เจตนารมณ์ของกฎหมาย 1. กำหนดมาตรฐานการคุ้มครองแรงงานขั้นต่ำที่นายจ้างพึงปฏิบัติต่อ ลูกจ้าง 2. กำหนดเพื่อรับรองสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่ลูกจ้างพึงได้รับจากนายจ้าง 3. กำหนดเพื่อให้การบริหารงานคุ้มครองแรงงานของประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  6. นัยแห่งกฎหมาย เป็น กม.ที่บัญญัติถึงสิทธิ – หน้าที่ ระหว่าง นจ.-ลจ. โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างงาน การใช้แรงงาน การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน ลักษณะสำคัญของกฎหมาย เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ขอบเขตการใช้บังคับ หลัก..ลูกจ้างทุกราย นายจ้างทุกประเภทกิจการ ยกเว้น..ราชการ รัฐวิสาหกิจ โรงเรียนเอกชน ลจ.งานบ้าน(ไม่มีธุรกิจอื่นรวมด้วย) นจ.-ลจ.ทำงานที่ไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ 7

  7. การตีความกฎหมายคุ้มครองแรงงานการตีความกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การตีความกฎหมายคุ้มครองแรงงานในส่วนที่กำหนดความผิดและมีโทษทางอาญาจะต้องให้เป็นไปเช่นเดียวกับการตีความกฎหมายทั่วไปส่วนการตีความในกรณีมีปัญหาหรือข้อสงสัยว่าจะตีความบทกฎหมายที่ไม่ชัดแจ้งไปในทางใดให้ตีความไปในทางหรือนัยที่จะให้การคุ้มครองลูกจ้างและสร้างปทัสถานที่ดีแก่สังคมแรงงานยิ่งกว่าที่จะตีความไปในทางหรือนัยที่จะให้ประโยชน์แก่นายจ้างหรือปัจเจกบุคคล

  8. บุคคลสำคัญตามกฎหมายแรงงานบุคคลสำคัญตามกฎหมายแรงงาน นายจ้าง-ลูกจ้าง(มาตรา 5) นายจ้างหมายความว่าผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนายจ้างมี 4 ประเภทคือ (มาตรา 5) 1.นายจ้างตัวจริงหมายถึงบุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ซึ่งเป็นนายจ้างตัวจริง 2.นายจ้างตัวแทนหมายถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล 3.นายจ้างรับมอบหมายถึงผู้ซึ่งได้รับมอบให้ทำงานแทนนายจ้างตัวจริงหรือนายจ้างตัวแทน 4.นายจ้างรับถือหมายถึงผู้ประกอบการที่มีกิจการจ้างเหมาค่าแรงซึ่งถือว่าเป็นทั้งนายจ้างของลูกจ้างตนเองและนายจ้างของลูกจ้างซึ่งมารับเหมาค่าแรงในกิจการของตนด้วย

  9. ลูกจ้างหมายความว่าผู้ที่ตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรลูกจ้างหมายความว่าผู้ที่ตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร ลูกจ้าง จึงหมายถึงลูกจ้างทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงานลูกจ้างชั่วคราวลูกจ้างประจำลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลาลูกจ้างสัญญาพิเศษและรวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านด้วย

  10. เงินตามพระราชบัญญัตติคุ้มครองแรงงานนี้ 11 อย่าง 1.ค่าจ้าง 2.ค่าล่วงเวลา 3.ค่าทำงานในวันหยุด 4.ค่าล่วงเวลาในวันหยุด 5.ค่าชดเชย 6.ค่าชดเชยพิเศษ 7.เงินเพิ่ม 8. เงินสะสม 9.ค่าจ้างในวันทำงาน 10.ดอกเบี้ย 11.ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

  11. การใช้แรงงานหญิง 12

  12. การใช้แรงงานหญิง (38-43) งานที่ห้ามไม่ให้ ลจ.หญิงทำ คุ้มครองหญิงทำงานในการเวลาวิกาล คุ้มครอง ลจ.หญิงมีครรภ์ สิทธิการลาคลอดบุตร

  13. ห้าม (นายจ้าง) ไม่ให้ ลจ.หญิงทำงาน - เหมือง/ก่อสร้าง ที่ทำใต้ดิน ใต้น้ำ อุโมงค์ ปล่องภูเขา เว้นแต่ลักษณะงานไม่เป็นอันตราย..... - นั่งร้านสูง ๑๐ เมตรขึ้นไป • ผลิต/ขนส่งวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ เว้นแต่..... กรณี ลจ.หญิงทำงานระหว่างเวลา 24.00 – 06.00 น.พ.ตรวจฯเห็นว่างานนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สั่งให้ นจ.เปลี่ยนเวลาทำงานหรือลดเวลาการทำงานได้ตาที่เห็นสมควร

  14. ห้าม (นายจ้าง) ไม่ให้ ลจ.หญิงมีครรภ์ทำงาน - เครื่องจักร/เครื่องยนต์ ที่มีความสั่นสะเทือน - ขับเคลื่อน/ติดไป กับยานพาหนะ - ยก เบก หาม หาบ ทูน ลาก ของเกิน ๑๕ กิโล - งานในเรือ - งานล่วงเวลา วันหยุด และกลางคืน ๒๒ – ๐๖ *ถ้ามีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าไม่อาจ ทำงานหน้าที่เดิมมีสิทธิขอเปลี่ยนงาน ชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ และ นจ.ต้องเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้

  15. สิทธิลาคลอด หลัก.. - หญิงซึ่งมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร - ลาได้ครรภ์หนึ่ง ไม่เกิน 90 วัน - นับวันหยุดระหว่างลาเพื่อคลอดบุตรให้ถือเป็นวันลาเพื่อคลอดบุตรด้วย *ถ้ามีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าไม่อาจทำงานหน้าที่เดิมมีสิทธิขอเปลี่ยนงานชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ และ นจ.ต้องเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้

  16. ห้าม...มิให้ นจ.เลิกจ้าง ลจ,หญิงเพราะเหตุมีครรภ์ ข้อสังเกตุ - บทบัญญัตินี้ห้ามเด็ดขาด ไม่มีข้อยกเว้น - นจ.จะเลี่ยงทำสัญญากับ ลจ.ว่ามีครรภ์ให้ลาออกหรือยอมให้เลิกจ้าง ไม่มีผลใช้บังคับ - แม้ ลจ.หญิงรับรองก่อนเข้าทำงานว่าไม่มีครรภ์ เมื่อเข้าทำงานปรากฏภายหลังว่าตั้งครรภ์มาก่อน ก็เลิกจ้างไม่ได้ - แม้งานบางอย่าง หญิงมีครรภ์ทำไม่ได้หรือไม่เหมาะที่จะทำหรือมี่งานจะเปลี่ยนให้ทำ นจ.ก็เลิกจ้างไม่ได้

  17. ฎ.1956/2548 ระหว่างลาคลอด นจ.เลิกจ้าง ลจ.หญิงนั้นได้ หากไม่ปรากฏว่าเลิกจ้างเพราะเหตุมีครรภ์ ฎ.1394/2549 ข้อตกลงว่าภายใน 2 ปีนับแต่เริ่มสัญญา หาก ลจ.ตั้งครรภ์ ถือว่าบอกเลิกสัญญาจ้างได้ ขัด ม.43

  18. ให้ นจ.ปฏิบัติต่อลุกจ้างชาย/หญิงโดยเท่าเทียมกันในการจ้างงาน เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจปฏิบัติเช่นนั้นได้ ตัวอย่าง การกำหนดการเกษียณอายุ โดยกำหนดให้หญิงเกษียณเมื่อครบ 55 ปี ชายเกษียณเมื่อครบ 60 ปี ไม่ได้ นจ.จะกำหนดว่างานบางตำแหน่งให้จ้างแต่ ลจ.ชายเท่านั้นไม่ได้ เว้นแต่.....

  19. การยกของหนัก (ม.๓๗) ห้ามให้ ลจ. ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของ หนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนด เด็กหญิงอายุ ๑๕-๑๘ปี ไม่เกิน ๒๐ กิโลกรัม เด็กชายอายุ ๑๕-๑๘ ปี และลูกจ้างหญิงไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม ลูกจ้างชาย ไม่เกิน ๕๐ กิโลกรัม

  20. เพศ - การเลือกปฏิบัติ 21

  21. สิทธิไม่เท่าเทียมกัน คำพิพากษาฎีกาที่ 6011-6017 / 2545 คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 50 ปี ส่วนลูกจ้างชายนายจ้างให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีซึ่งเป็นการปฏิบัติต่อลูกจ้างชายหญิงไม่เท่าเทียมกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ เมื่ออายุครบ 50 ปีและลูกจ้างชาย นายจ้างให้เกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปี เป็นการปฏิบัติต่อลูกจ้างชายหญิงไม่เท่าเทียมกัน โดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างชายหญิงทำงานที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร จึงเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ม.15 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

  22. ฎ.๑๕๖๒/๒๕๔๘ นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างเกษียณอายุ ต่างกันโดยอาศัยตำแหน่งงาน ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ สิทธิเท่าเทียมกัน 23

  23. “มาตรา ๑๖ ห้ามมิให้นายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกินคุกคาม หรือ ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ทางเพศ ต่อลูกจ้าง

  24. หลักเกณฑ์ - ห้ามนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน ผู้ตรวจงาน - กระทำการล่วงเกินทางเพศ กระทำการไม่สมควรทางเพศโดยผู้ถูกกระทำไม่ยินยอม ทั้งด้วยวาจาหรือวิธีอื่นใด - ต่อลูกจ้าง (หญิง/ชาย/เด็ก/เพศทางเลือก)

  25. พจนานุกรม“ล่วงเกิน”= แสดงอาการเกินสมควรต่อผู้อื่นโดยล่วงจารีตประเพณี หรือจรรยา มารยาท เช่น ลวนลาม ดูหมิ่น สบประมาท • ตัวอย่างการล่วงเกินทางเพศ ไม่ถึงขั้นอนาจารหรือกระทำชำเรา เช่น • การแทะโลม • การใช้โทรศัพท์หรือการพูดลามก • การเอารูปลามกให้ดู • การเกี้ยวพาราสีในเชิงลามกเรื่องเพศ • การจับมือถือแขน

  26. น้ำดื่ม ห้องน้ำ/ส้วม ปัจจัยพยาบาล ห้องพยาบาล หมอ สวัสดิการ

  27. สวัสดิการ 99 ให้ นจ.ปิดประกาศการจัดสวัสดิการตามกฎกระทรวง/ตามที่การตกลงกันกับ ลจ.ในที่เปิดเผย • น้ำดื่มสะดาด 1/40 • ห้องน้ำ/ส้วม สะอาด แยก ช/ญ ช.1/15 ญ 2/15 • ปัจจัยปฐมพยาบาล 10+ จำนวนที่เพียงพอ อย่างน้อยต้อง 29 รายการ 200+ เวชภัณฑ์ ห้องพยาบาล 1 เตียง พยาบาลเทคนิค แพทย์ 2 ครั้ง/ สัปดาห์/ 6 ชม. 1,000+ เวชภัณฑ์ ห้องพยาบาล 2 เตียง พยาบาลเทคนิค 2 คน แพทย์ 3 ครั้ง/สัปดาห์/12 ชม ยานพาหนะ

  28. การบริหารกฎหมาย ด้านการกำกับ/ควบคุม • นจ.ที่มี ลจ.10คน+ ต้องจัดให้มีข้อบังคับเป็นภาษาไทย/ประกาศ/ส่งสำเนาให้อธิบดีหรือผู้รับมอบหมาย/เก็บสำเนา/เผยแพร่เปิดเผย/อธิบดี-ผู้รับมอบ สั่งแก้ไขได้ • ให้มีทะเบียน ลจ./เอกสารการจ่ายค่าจ้าง • การยื่นคำร้อง/พิจารณาคำร้อง ยื่น พ.ตรวจฯ/ออกคำสั่ง • พ.ตรวจฯ มีอำนาจเข้าไปใน สปก.ตรวจสภาพการจ้าง/สภาพการทำงาน/ออกคำสั่ง

  29. การบริหารกฎหมาย ด้านการส่งเสริม/จูงใจ • โครงการ/กิจกรรม สปก.ดีเด่น แรงงานสัมพันธ์/สวัสดิการ/ความปลอดภัยฯ/โรงงานสีขาว/มาตรฐานแรงงาน/โรงเรียนในโรงงาน • โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการคุ้มครองแรงงาน • กิจกรรมการมอบรางวัลสตรีทำงานดีเด่น วันสตรีสากล • มุมนมแม่ • สถานรบเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน

  30. โทษตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโทษตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

  31. ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีโทษอาญา ตามมาตรา 144 สูงสุด จำคุก 1 ปี ปรับ 2 แสน ผู้กระทำผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการผู้จัดการต้องรับโทษมาตรา 158 พ.ร.บ. คุ้มครองฯ

  32. ด้วยความปราถนาดี ศุภชัย ตรีศักดิ์ชาติ กลุ่มงานแรงงานหญิง เด็ก และเครือข่าย การคุ้มครองแรงงาน โทร 085 4803529 E-mail Sup_labour@hotmail.com โชคดี....มีเงินใช้จ่ายอย่างพอเพียง เพียงพอ

More Related