1 / 24

การบรรยายพิเศษ

การบรรยายพิเศษ. เรื่อง. สรุปสาระสำคัญ : แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์. โดย. ดร.อายุตม์ สินธพพันธุ์. ผู้อำนวยการ กองแผนงาน. สรุปสาระสำคัญ : แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์. ที่มาและความสำคัญ สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ กรมราชทัณฑ์ 5 ปี(พ.ศ.2547-2551) การบริหารความเปลี่ยนแปลง.

Download Presentation

การบรรยายพิเศษ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยายพิเศษ เรื่อง สรุปสาระสำคัญ : แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์ โดย ดร.อายุตม์ สินธพพันธุ์ ผู้อำนวยการ กองแผนงาน กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  2. สรุปสาระสำคัญ : แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์ • ที่มาและความสำคัญ • สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ กรมราชทัณฑ์ 5 ปี(พ.ศ.2547-2551) • การบริหารความเปลี่ยนแปลง กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  3. 1. ที่มาและความสำคัญ 1.1 แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์จัดทำขึ้นจากการที่มีการปฏิรูประบบราชการปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรมพ.ศ. 2545 1.2 มีวัตถุประสงค์ที่จะกำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงานที่วัดผลได้ปรากฏอยู่ในมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ซึ่งบัญญัติว่า “มาตรา 3/1 การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐการลดขั้นตอนการปฏิบัติงานการลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่นการกระจายอำนาจตัดสินใจการอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชนทั้งนี้โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  4. การจัดสรรงบประมาณและการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง การจัดสรรงบประมาณและการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงหลักการตามวรรคหนึ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานการมีส่วนร่วมของประชาชนการเปิดเผยข้อมูลการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งนี้ตามความเหมาะสมของภารกิจ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรานี้จะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้” กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  5. 1.3 การกำหนดเป้าหมายและวิธีการในการดำเนินการเพื่อการบริหารราชการที่ดีให้อยู่ในรูปของ“พระราชกฤษฎีกา”เรียกว่า“พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546”เน้นหลักการธรรมาภิบาลมีขั้นตอนชัดเจนโปร่งใสประโยชน์และประหยัด 1.4 พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546 หมวด 3 เป็นเรื่องการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐหรือเรียกว่า Result Based Management : RBM 1.5 การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์มีการจัดทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน (Performance Agreement) ในทุกระดับดังนั้นส่วนราชการจึงต้องจัดทำแผนงานในการปฏิบัติการเพื่อนำนโยบายที่รัฐบาลกำหนดแปลงไปสู่ภาคปฏิบัติซึ่งจะกำหนดวิธีดำเนินการและผลสำเร็จของงานที่มีตัวชี้วัดได้ว่าเกิดผลสัมฤทธิ์ตรงตามเป้าหมาย กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  6. 1.6 ความตกลงในการปฏิบัติงานจัดทำในรูปแบบการทำความตกลงร่วมกันอาทิรัฐมนตรีกับปลัดกระทรวงปลัดกระทรวงกับอธิบดีหรือ ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นๆที่ต้องรับผิดชอบปฏิบัติภารกิจตามแผนงาน 1.7 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเห็นชอบหลักการเรื่องการสร้างแรงจูงใจเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีให้มีการจัดส่วนราชการเป็น 3 กลุ่มตามระดับของการพัฒนาการปฏิบัติราชการและการได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ ได้แก่กลุ่มภาคบังคับกลุ่มท้าทายและกลุ่มนำร่องหรือหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง 1.8 ทุกส่วนราชการในระดับกรมและจังหวัดต้องจัดทำแผนการพัฒนาการปฏิบัติราชการขององค์กรตนเองเพื่อนำมาเจรจา และตกลงกับผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  7. 1.9 กรอบการประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการอยู่ภายใต้กรอบการประเมินผล 4 มิติได้แก่ มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ มิติที่ 2 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มิติที่ 3 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  8. 2. สาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการกรมราชทัณฑ์ 5 ปี (พ.ศ. 2547-2551) 2.1 ระยะเวลาของแผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์มีระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2547-2551 และในแต่ละปีจะมีแผนยุทธศาสตร์กรมฯประจำปีงบประมาณมุ่งเน้นความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงยุติธรรมและกลุ่มภารกิจด้านการพัฒนา-พฤตินิสัย 2.2 แผนยุทธศาสตร์กรมราชทัณฑ์เปรียบเสมือนเข็มทิศชี้นำทิศทางการพัฒนากรมราชทัณฑ์ในอนาคตสะท้อนให้เห็นถึงการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงหลักการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่เป็นการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM) โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (KPIs) กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  9. 2.3 วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการกรมราชทัณฑ์ 5 ปีเพื่อให้บุคลากรในหน่วยงานมีโอกาสร่วมจัดทำแผนฯแบบใหม่เชื่อมโยงกับวาระของโลก ( The Global agenda) วาระแห่งชาติ (National Agenda) นโยบายรัฐบาล (Government Policy) ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบราชการของกพร. ยุทธศาสตร์กระทรวงและกลุ่มภารกิจ กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  10. 2.4 โครงสร้างของแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการกรมประกอบด้วย 1. วิสัยทัศน์หรือ Vision 2. พันธกิจหรือ Mission 2.1 ค่านิยมร่วมหรือ Shared Value 2.2 ความสามารถหลักหรือ Core Competency 3. เป้าประสงค์หลักหรือ Final strategy Outcome 4. ประเด็นยุทธศาสตร์หรือ Strategy Issues 5. ยุทธศาสตร์หรือ Strategy Goal 5.1 ดัชนีวัดความสำเร็จแบบสมดุลหรือ Balanced scorecard : BSC 6. แผนงานหรือ Program 7. โครงการหรือ Project กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  11. 2.5วิสัยทัศน์หรือ Vision เป็นองค์กรชั้นนำของอาเซียนในการควบคุมแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังเพื่อคืนคนดีมีคุณค่าสู่สังคม 2.6พันธกิจหรือ Mission ประกอบด้วย 1. ควบคุมผู้ต้องขังอย่างมืออาชีพ 2. บำบัดฟื้นฟูและแก้ไขพฤตินิสัยของผู้ต้องขังอย่างมีประสิทธิภาพ 2.7 ค่านิยมร่วม (Shared Value) มี 7 ประการได้แก่ 1. มีความเสียสละและทุ่มเทในการทำงาน 2. มีวินัย 3. ใฝ่หาความรู้ 4. มีความซื่อสัตย์ กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  12. 5. รักองค์กร 6. เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 7. มีคุณธรรม 2.8 ความสามารถหลักของกรมราชทัณฑ์ (Core Competency) มี 4 ประการได้แก่ 1. มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการผู้ต้องขังโดยใช้สหวิทยาการอย่าง บูรณาการ 2. มีศาสตร์และศิลป์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3. มีปฏิภาณไหวพริบสามารถแก้ไขสถานการณ์ในการทำงาน 4. มีความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านราชทัณฑ์อย่างต่อเนื่อง กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  13. 2.9 เป้าประสงค์หลักกรมราชทัณฑ์มี 3 เป้าประสงค์ (Goals) ได้แก่ 1. คืนคนดีสู่สังคมลดภาระและเสริมเศรษฐกิจภาครัฐ 2. เอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน 3. สร้างแบบอย่างที่ดีในการบริหารระบบราชการไทย เป้าประสงค์ที่ 1 : คืนคนดีสู่สังคมลดภาระและเสริมเศรษฐกิจภาครัฐประกอบด้วยตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) 8 ตัวชี้วัดได้แก่ 1. ร้อยละของคดีที่เกิดจากการกระทำผิดซ้ำของนักโทษเด็ดขาดภายหลังปล่อยตัวและผู้พ้นการคุมประพฤติภายในระยะเวลา 1 ปี 2. ร้อยละของรายได้จากการผลิตสินค้า และรับจ้างแรงงานถัวเฉลี่ยต่อจำนวนนักโทษเด็ดขาด (รายได้ต่อหัว) เพิ่มขึ้น 3. ร้อยละของการจ้างแรงงานและการประกอบอาชีพของนักโทษที่ได้รับการปล่อยตัว (เฉพาะกรณีนักโทษที่ได้รับใบรับรองความประพฤติจากกระทรวงยุติธรรม) กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  14. 4. เรือนจำ/ทัณฑสถานทุกแห่ง พัฒนาสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการใช้ชีวิตในเรือนจำสำหรับผู้ต้องขังอย่างน้อย 4 ด้านภายในปีงบประมาณ 2551 5. ร้อยละของจำนวนนักโทษเด็ดขาดที่ไม่รู้หนังสือได้รับการศึกษาให้สามารถอ่านออกเขียนได้และผ่านเกณฑ์ทดสอบของกรมราชทัณฑ์ 6. ร้อยละความสำเร็จของแผนโครงการนำหลักเกณฑ์การจำคุกและกักขังทางเลือกอื่นมาใช้กับนักโทษเด็ดขาดและผู้ต้องกักขัง 7. ร้อยละเฉลี่ยของจำนวนนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพ และผ่านเกณฑ์การประเมิน 8. ร้อยละของนักโทษเด็ดขาดที่มีวุฒิทางการศึกษาระดับภาคบังคับ (ม.3) ได้รับการศึกษาในระดับสูงขึ้นและสอบผ่านเกณฑ์การประเมินผลของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  15. เป้าประสงค์ที่ 2 : เอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืนประกอบด้วยตัวชี้วัด (KPIs) 1 ตัวชี้วัดได้แก่ 1. ร้อยละของคดียาเสพติดที่เกิดจากการกระทำผิดซ้ำของผู้ผ่านกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพในระบบต้องโทษภายหลังปล่อยตัวภายใน 1 ปี เป้าประสงค์ที่ 3 : สร้างแบบอย่างที่ดีในการบริหารระบบราชการไทย ประกอบด้วยตัวชี้วัด 22 ตัวชี้วัดได้แก่ 1. ร้อยละของความสำเร็จตามเป้าหมายผลผลิตของส่วนราชการ (ตามเอกสารงบประมาณรายจ่าย) 2. ร้อยละของความสำเร็จของการแก้ไขหรือยกเลิกกฎระเบียบ 3. ร้อยละของงบประมาณที่สามารถประหยัดได้ กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  16. 4. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการลดรอบระยะเวลาของขั้นตอนการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ 5. ระดับความสำเร็จของแผนงานการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้ในการปฏิบัติงาน 6. ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานเพื่อให้มีระบบการวัดผลิตภาพ 7. ระดับความสำเร็จของการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือองค์กรพัฒนาที่ไม่แสวงกำไรเข้ามามีส่วนร่วม 8. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนปรับปรุงแก้ไขบริการ 9. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ 10. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบบริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ - ระบบการให้บริการ - ช่องทางการให้บริการ กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  17. 11. ระดับความสำเร็จของการจัดทำมาตรฐานการรับประกันคุณภาพในงานที่เป็นภารกิจหลัก 12. ระดับความสำเร็จของการตอบสนองต่อความคิดเห็นของประชาชน 13. ร้อยละของการลดจำนวนบุคลากรบรรจุจริง 14. ร้อยละของการลดค่าใช้จ่ายบุคลากร 15. จำนวนครั้งในการฝึกอบรมข้าราชการในวิทยาการ/ความรู้ใหม่ 16. ร้อยละเฉลี่ยของจำนวนข้าราชการที่ฝึกอบรม 17. ผลสำเร็จในการจัดตั้งทีมงานในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กร 18. ผลสำเร็จในการจัดทำแผนปฏิบัติการในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กรสำหรับปีงบประมาณ 2548 19. ระดับความสำเร็จในการมอบอำนาจไปสู่ระดับล่าง 20. ร้อยละของความสำเร็จของการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมาย กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  18. 21. ระดับความสำเร็จในการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง 22. ร้อยละของความสำเร็จของการดำเนินแผนงาน/โครงการด้านนวัตกรรม (ตามที่ส่วนราชการเสนอมาและได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล) ประเด็นยุทธศาสตร์ กรมราชทัณฑ์ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ได้แก่ 1. เปลี่ยนภาระให้เป็นพลัง 2. รวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืน 3. เสริมสร้างสมรรถภาพในการบริหารทุกองค์กรด้วยระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  19. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : เปลี่ยนภาระให้เป็นพลังกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 2 ยุทธศาสตร์ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม 2. ยุทธศาสตร์การปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : รวมพลังแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผลอย่างยั่งยืนกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 1 ยุทธศาสตร์ได้แก่ยุทธศาสตร์ราชทัณฑ์ร่วมใจพิฆาตภัยยาเสพติด กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  20. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : เสริมสร้างสมรรถภาพในการบริหารทุกองค์กรด้วยระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ได้แก่ 1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างและการบริหารจัดการ 2. ยุทธศาสตร์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 3. ยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาระบบกฎหมายและระบบงานราชทัณฑ์ 4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในงานราชทัณฑ์ กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  21. การนำแผนไปปฏิบัติหรือ Implementation : การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ Results Based management เป็นขั้นตอนที่สำคัญมี 4 ขั้นตอนได้แก่ 1. การประชุมชี้แจงหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ 3. การจัดทำความต้องการในการเรียนรู้ 4. การจัดทำเอกสารการกระจายนโยบาย การติดตามและประเมินผล (Monitoring & Evaluation) 1. มีผู้รับผิดชอบหรือเจ้าภาพ 2. มีคณะทำงานหรือทีมงาน 3. มีเป้าหมายที่ชัดเจน 4. มีตัวชี้วัดและวิธีการวัดผลการดำเนินงานที่ชัดเจน กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  22. มิติและน้ำหนักที่ใช้ในการประเมินมิติและน้ำหนักที่ใช้ในการประเมิน มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจน้ำหนักร้อยละ 70 ประกอบด้วย 1. การประเมินผลยุทธศาสตร์ของส่วนราชการร้อยละ 50 (กลุ่มภารกิจร้อยละ 20 และระดับกรมร้อยละ 30) 2. ผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการน้ำหนักร้อยละ 20 (เอกสารงบประมาณร้อยละ 10 และการแก้ไขหรือยกเลิกกฎระเบียบร้อยละ 10) มิติที่ 2 ด้านประสิทธิภาพการปฎิบัติราชการน้ำหนักร้อยละ 10 มิติที่ 3 ด้านคุณภาพการให้บริการน้ำหนักร้อยละ 10 มิติที่ 4 ด้านพัฒนาองค์กรน้ำหนักร้อยละ 10 กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  23. 3. การบริหารความเปลี่ยนแปลง • ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง • ต้องบริหารเชิงรุกหรือ Proactive • ต้องพิจารณาทบทวนองค์ประกอบหลัก 4 ประการได้แก่ 1. โครงสร้างของการบริหาร (Structure) 2. กระบวนการในการทำงาน (Process) 2.1 คิดหากระบวนการใหม่ 2.2 เปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคน (Radical Change) 3. บุคลากร 4. เทคโนโลยีและสารสนเทศ กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

  24. กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์

More Related