1 / 30

หลักเกณฑ์การลงทุน

การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย ( หมวดที่ 1 ส่วนที่ 9). หลักเกณฑ์การลงทุน. ไม่ทำให้นโยบายการลงทุนเบี่ยงเบนไปจากเดิม ลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตลงทุน (EPM)

jabir
Download Presentation

หลักเกณฑ์การลงทุน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย(หมวดที่ 1 ส่วนที่ 9)

  2. หลักเกณฑ์การลงทุน • ไม่ทำให้นโยบายการลงทุนเบี่ยงเบนไปจากเดิม • ลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตลงทุน (EPM) • ยกเว้นกองทุน PVD และกองทุน Money Market ให้ลงทุนเพื่อ Hedging เท่านั้น ข้อ 33

  3. Efficient Portfolio Management (EPM) • เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) • เพื่อลดค่าใช้จ่าย (Cost reduction) • เพื่อเพิ่มรายได้โดยไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ(Return enhancement) ข้อ 2(5)

  4. สินค้าหรือตัวแปรอ้างอิงสินค้าหรือตัวแปรอ้างอิง • หลักทรัพย์ ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ • อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน* • อันดับความน่าเชื่อถือ และ credit event • ทองคำ น้ำมันดิบ commodity index • สินค้าหรือตัวแปรอื่นที่สำนักงานกำหนด * ให้ทำธุรกรรมเพื่อลดความเสี่ยงเท่านั้น ข้อ 34 และ 35

  5. การจัดประเภทของสัญญา • เป็นตราสารทุน ในกรณีมีตราสารทุนเป็นตัวแปร หรือองค์ประกอบของตัวแปร • เป็นตราสารหนี้ ในกรณีมีตราสารหนี้ อัตราดอกเบี้ย อันดับความน่าเชื่อถือ หรือ credit events เป็นตัวแปร หรือองค์ประกอบของตัวแปร • เป็นตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ในกรณีมีตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุนเป็นตัวแปรหรือองค์ประกอบของตัวแปร ข้อ 39

  6. คู่สัญญา • Exchanges ที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน ทั้งในและต่างประเทศ • ธนาคารพาณิชย์ • ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ในประเทศ • ตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า • ผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า } ข้อ 36(4)

  7. Valuation • ราคาปิดของ Exchange • กรณี OTC ให้คู่สัญญาทำการคำนวณและแจ้งมูลค่าของสัญญาทุกวันที่ 15 และวันทำการสุดท้ายของเดือน • ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าสัญญา คู่สัญญาต้องทำการ update และแจ้งมูลค่าใหม่ทันที • ต้องมีข้อกำหนดให้ บลจ. สามารถ unwind สัญญาได้ ข้อ 37

  8. การทำธุรกรรม derivatives เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) • การทำธุรกรรม derivatives เพื่อลดความเสี่ยงให้ทำได้ไม่เกินความเสี่ยงที่กองทุนมีอยู่ • ในกรณีที่ตัวแปรของ derivatives ที่ใช้ลดความเสี่ยงไม่ใช่ตัวเดียวกับทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยง (cross hedge)ค่า correlation (in absolute value) ระหว่างผลตอบแทนของทรัพย์สินที่ต้องการลดความเสี่ยงและตัวแปรของ derivative ต้องไม่น้อยกว่า 0.7 (คำนวณจากข้อมูลอย่างน้อย 50 ตัวอย่าง) ข้อ 36(1)

  9. การทำธุรกรรม derivatives ที่ไม่ใช่เพื่อลดความเสี่ยง • ไม่อนุญาตสำหรับ PVD และ Money Market Fund • ธุรกรรม derivatives ดังกล่าวต้อง fully covered • “Fully covered คือการดำเนินการให้มีการกันหรือแยกทรัพย์สินของกองทุน (ตามประเภทที่ สนง. กำหนด) ในมูลค่าที่เพียงพอต่อมูลค่าสุทธิที่กองทุนอาจมีภาระต้องชำระหนี้หรือชำระค่าสินค้าเมื่อสิ้นสุดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ข้อ 38

  10. ประเภททรัพย์สินที่ใช้ cover สัญญา derivatives • เงินสด เงินฝากธนาคาร • หลักประกันในระบบการชำระหนี้ (Margin) • B/E ที่ออกโดยสถาบันการเงิน • ตราสารภาครัฐอายุไม่เกิน 3 ปี และเป็นสกุลเงินบาท • ตราสารหนี้อายุไม่เกิน 1 ปีที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA และมี rating 3 อันดับแรก • ตราสารหนี้อายุไม่เกิน 1 เดือนที่ขึ้นทะเบียนกับ ThaiBMA และมี rating 4 อันดับแรก

  11. ประเภททรัพย์สินที่ใช้ cover สัญญา derivatives(ต่อ) • ตราสารแห่งหนี้ที่มีผู้แสดงตนต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะเสนอซื้อและจะรับซื้อในราคาดังกล่าวตลอดอายุตราสาร • หุ้นสามัญจดทะเบียน • หน่วยลงทุนของกองทุนรวม daily redemption • ธุรกรรม Reverse Repo อายุคงเหลือไม่เกิน 7 วัน • รายการค้างรับหักด้วยรายการค้างจ่ายที่จะครบกำหนดภายใน 7 วัน (เฉพาะรายการที่เกิดจากการลงทุนในหรือจำหน่ายทรัพย์สินของกองทุน)

  12. Investment limit Product Limit • เพื่อ hedge: ได้ไม่เกินความเสี่ยงที่มี • ไม่ใช่เพื่อ hedge: ได้ไม่เกินมูลค่าของทรัพย์สินที่ใช้ cover Company Limit • คำนวณ company limit ของคู่สัญญา (ถ้ามี credit risk) • คำนวณ company limit ของสินค้าหรือตัวแปรเสมือนลงทุนในสินค้าหรือตัวแปรโดยตรง (ถ้าทำให้เกิด credit risk) ข้อ 71 และ 72

  13. Futures • Required cover = มูลค่าของ Notional amount • Company limit ของคู่สัญญา: ไม่คิด เนื่องจากมี clearing house • Company limit ของสินค้าหรือตัวแปร: • มีตัวแปรเป็น index: ไม่คิด • กรณีไม่ใช่ index: นับ notional amount ใน company limit ของแต่ละบริษัทตามน้ำหนักการอ้างอิง

  14. Futures: ตัวอย่าง • บลจ. A ซื้อ set50 index futures ที่ 550 จำนวน 2 contracts • Required cover = 2 x 550 x 1000 • Company limit = ไม่ต้องคำนวณ • บลจ. B ซื้อ PTT stock future ที่ 220 จำนวน 2 contracts • Required cover = 2 x 220 x 100 • Company limit = 2 x 220 x 100 (PTT)

  15. Forwards • Required cover = มูลค่าที่ต้องชำระตามสัญญา ณ วันครบอายุสัญญา • Company limit ของคู่สัญญา: net profit (minimum = 0) • Company limit ของสินค้าหรือตัวแปร: • คิดเฉพาะในกรณีการลงทุนมีสถานะเดียวกับ long position บนสินค้าหรือตัวแปร • มีตัวแปรเป็น index: ไม่คิด • กรณีไม่ใช่ index: นับ notional amount ใน company limit ของแต่ละบริษัทตามน้ำหนักการอ้างอิง

  16. Forwards: ตัวอย่าง บลจ. A ทำสัญญา long forward หุ้น BBL ที่ 100 บาทจำนวน 10,000 หุ้น โดยมีคู่สัญญาคือ KBANK • Required cover = 100 x 10,000 • Company limit (BBL) = 100 x 10,000 • Company limit (KBANK) = 0 อีก 15 วันถัดมามูลค่า Mark to market ของสัญญา = 120 บาท • Required cover = 100 x 10,000 (เท่าเดิม) • Company limit (BBL) = 120 x 10,000 • Company limit (KBANK) = (120 – 100) x 10,000

  17. SWAPs • Required cover = notional amount • Company limit ของคู่สัญญา: net profit (minimum = 0) • Company limit ของสินค้าหรือตัวแปร: • คิดเฉพาะในกรณีการลงทุนมีสถานะเดียวกับ long position บนสินค้าหรือตัวแปร • มีตัวแปรเป็น index: ไม่คิด • กรณีไม่ใช่ index: นับ notional amount ในcompany limit ของแต่ละบริษัทตามน้ำหนักการอ้างอิง

  18. SWAPs: ตัวอย่าง บลจ. B ทำ IRS กับ SCB เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ โดยมี Notional amount 20 ล้านบาท • Required cover = ไม่ require • Company Limit (SCB) = 0 อีก 15 วันถัดมา มูลค่าของสัญญา = 50,000 บาท • Company limit (SCB) = 50,000 บาท

  19. Options/Warrants • Required cover = มูลค่าการใช้สิทธิ • Company limit ของคู่สัญญา: net profit (minimum = 0) • Company limit ของสินค้าหรือตัวแปร: • คิดเฉพาะในกรณีการลงทุนมีสถานะเดียวกับ long position บนสินค้าหรือตัวแปร • มีตัวแปรเป็น index: ไม่คิด • กรณีไม่ใช่ index: นับ Option delta x notional amount ใน company limit ของแต่ละบริษัทตามน้ำหนักของการอ้างอิง • ห้ามwrite option ยกเว้น options ที่มีข้อผูกพันให้ส่งมอบสินค้าที่กองทุนมีอยู่แล้ว และต้องดำรงสินค้าดังกล่าวไว้อย่างพอเพียงตลอดอายุของ option นั้น

  20. Options/Warrants: ตัวอย่าง • บลจ. C ลงทุน long 210CALL จำนวน 20 contracts บนหุ้น PTT ซึ่งในขณะนั้นมีราคา = 220 (delta = 0.45) • Required cover = 210 x (100 x 20) • Company limit (PTT) = 0.45 x 220 x (100 x 20) • บลจ. D ลงทุนใน warrants ของ BBL ที่จะซื้อหุ้น BBL 1 หุ้นในราคา 95 บาท จำนวน 5,000 หน่วย ในขณะที่หุ้น BBL ราคา 100 บาท (delta = 0.55) • Required cover = 95 x 5,000 • Company limit (BBL) = 0.55 x 100 x 5,000

  21. การลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง(Structured Note)ของกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคลรายย่อย(หมวดที่ 1 ส่วนที่ 10)

  22. หลักเกณฑ์ • ต้องขอความเห็นชอบ • ไม่ทำให้นโยบายการลงทุนเบี่ยงเบน • มีการจ่ายผลตอบแทนที่อ้างอิงกับตัวแปรที่สำนักงานกำหนด(เหมือนของ derivatives) • กรณี settle ด้วยทรัพย์สินอื่น ต้องเป็นทรัพย์สินที่กองทุนลงทุนได้ • กรณี callable note ต้องเปิดเผยความเสี่ยงที่ผู้ออกอาจ call ตราสารก่อนครบอายุด้วย ข้อ 40 วรรค 1

  23. Valuation • ให้คู่สัญญาทำการคำนวณและแจ้งมูลค่าของตราสารไปยัง ThaiBMA ทุกวันที่ 15 และวันทำการสุดท้ายของเดือน • ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าตราสารคู่สัญญาต้องทำการ update และแจ้งมูลค่าใหม่ทันที • ต้องมีข้อกำหนดให้ บลจ. สามารถ unwind ตราสารได้ ข้อ 41

  24. การขอความเห็นชอบ ให้ บลจ. ยื่นคำขอพร้อมทั้งหลักฐานดังต่อไปนี้ • โครงสร้างและรายละเอียดของตราสาร • วัตถุประสงค์ของการลงทุนในตราสารดังกล่าว • วิธีการกำหนดมูลค่ายุติธรรมของตราสาร • การบริหารความเสี่ยง • การเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุน • การบันทึกบัญชีในงบการเงิน ข้อ 40 วรรค 2

  25. ลักษณะของ structured note ที่ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานแล้ว • หุ้นกู้อนุพันธ์ที่ • ขึ้นทะเบียน ThaiBMA และมีราคาที่กำหนดโดย ThaiBMA • ได้รับ rating ระดับ investment grade หรือมี บลจ. ลงทุนไม่น้อยกว่า 3 รายในช่วง IPO • ตราสารที่ออกโดยสถาบันการเงินไทย หรือสถาบันการเงินต่างประเทศที่ได้รับ rating ระดับ Investment grade ที่ • อยู่ในรูปแบบตราสารหนี้ • อ้างอิงกับ ราคาหุ้น/กลุ่มหุ้นจดทะเบียน ตราสารแห่งหนี้ ดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ commodity index หรือ อัตราดอกเบี้ย • ชำระคืนเงินต้นเต็มจำนวน ณ วันครบอายุ ข้อ 42

  26. Product Limit • PVD และ PF รายย่อย: ไม่เกิน 15% ของ NAV • MF: ไม่เกิน 25% ของ NAV ยกเว้น • กองทุนรวมปิด (Close-end Fund) • Auto redemption fund • กองทุนเปิดที่ช่วงเวลาระหว่างการเปิดซื้อขายหน่วยครอบคลุมตลอดช่วงอายุของตราสาร เช่น กอง annual redemption ลงทุนใน structured note อายุ 9 เดือน ข้อ 67 และ 68

  27. วิธีการคำนวณ company limit • นำมูลค่าตราสารไปคำนวณ company limit ของผู้ออกหรือผู้ที่ต้องชำระหนี้ตามตราสาร • ในกรณีที่การลงทุนทำให้กองทุนต้องรับ credit risk ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือตัวแปร ให้นำมูลค่าตราสารไปคำนวณ company limit ของสินค้าหรือตัวแปรเสมือนลงทุนในสินค้าหรือตัวแปรโดยตรง • ในกรณีที่ตราสาร settle ด้วยทรัพย์สินอื่น ให้นำมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวไปคำนวณ company limit เสมือนลงทุนในทรัพย์สินนั้นโดยตรงในทันทีที่ลงทุน ข้อ 73 และ 74

  28. ตัวอย่างการคำนวณ company limit บลจ. C ลงทุนใน structure note ที่ออกโดยธนาคาร CC มีมูลค่า10 ล้านบาท และมีการจ่ายผลตอบแทน ณวันครบอายุดังนี้ Basket return = (0.6*stock A return + 0.4* stock B return) Note’s return = max (basket return,0) • Company Limit ของธนาคาร CC= 10 ล้านบาท • Company Limit ของ A = 0.6 x 10 = 6 ล้านบาท • Company Limit ของ B = 0.4 x 10 = 4 ล้านบาท

  29. ก่อนการลงทุนในDerivatives และ Structured Note • PVD: บลจ. ต้องอธิบายถึงความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงให้คณะกรรมการกองทุนทราบ และได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะกรรมการกองทุน • MF/PF: บลจ. ต้องเปิดเผยไว้ในนโยบายการลงทุน อธิบายความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงไว้ในโครงการ ในกรณีกองเก่าต้องทำการแก้ไขโครงการหรือสัญญาการจัดการก่อนลงทุน • Derivatives ที่มีสินค้าหรือตัวแปรที่เป็นทองคำ น้ำมันดิบ หรือ commodity index หาก บลจ. ต้องการขอมติผู้ถือหน่วยแก้ไขโครงการเพื่อลงทุน ให้ บลจ. จัดส่งหนังสือนัดประชุมหรือหนังสือขอมติที่มีข้อมูลความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงให้สำนักงานพิจารณาก่อน และให้ถือว่าสำนักงานเห็นชอบหากสำนักงานไม่ท้วงติงภายใน 15 วัน ข้อ 46

  30. การจัดทำข้อมูลการลงทุนสำหรับ MF PF รายย่อยและ PVD • วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ • กำไร/ขาดทุนที่คาดว่าจะได้รับ • การวิเคราะห์ความเสี่ยงของคู่สัญญา • แผนรองรับการชำระหนี้ตามสัญญา/ตราสาร • MF ให้จัดส่งข้อมูลให้ trustee ภายใน 5 วันทำการนับแต่วันที่ทำธุรกรรม และจัดเก็บสำเนาไว้เพื่อตรวจสอบได้ • PVD PF รายย่อย ให้จัดส่งข้อมูลให้ลูกค้าหรือ FC ข้อ 47 และ 48

More Related