1 / 33

สับปะรด ประวัติความเป็นมา

สับปะรด ประวัติความเป็นมา สับปะรดมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกประมาณปีพ.ศ. 2223-2243 ตรงกับสมัยพระนารายณ์มหาราชโดยชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับประเทศไทย.

janine
Download Presentation

สับปะรด ประวัติความเป็นมา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สับปะรด ประวัติความเป็นมา สับปะรดมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกประมาณปีพ.ศ.2223-2243ตรงกับสมัยพระนารายณ์มหาราชโดยชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายกับประเทศไทย

  2. สับปะรด เป็นพืชที่ทนแล้งเนื่องจากมีระบบการสังเคราะห์แสงที่เรียกว่า Crassulacean acid metabolism ( CAM )ที่แตกต่างจากพืชทั่วไปเนื่องจากต้องการคายน้ำน้อย ตอนกลางวันปากใบจะปิดและเปิดในตอนกลางคืนแทน ซึ่งผิดจากพืชอื่นที่ปากใบเปิดตอนกลางวันและจะปิดตอนกลางคืนซึ่งสูญเสียน้ำมากกว่า

  3. คุณประโยชน์ • สับปะรดมีกรดอะมิโน AHA และน้ำตาลทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น • วิตามินเอ วิตามินซีช่วยต้านอนุมูลอิสระ • สับปะรดเป็นแหล่งของเอ็นไซม์โบรมิเลน ซึ่งมีประโยชน์ ช่วยย่อยโปรตีน ช่วยลดการเกาะกันเป็นลิ่มเลือดของเกล็ดเลือด ช่วยย่อยเซลที่ตายแล้ว ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่เสื่อมโทรม ช่วยให้แผลผ่าตัดทุเลาเร็วขึ้น บรรเทาอาการอักเสบจากริดสีดวงทวารอาการเกี่ยวกับเส้นเลือดดำ โรคกระดูก และข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ และอาการปวดประจำเดือน

  4. คุณค่าทางโภชนาการ สับปะรดรับประทานเป็นผลไม้ได้ดีมีคุณค่าทางโภชนาการมากมายเพราะมีเกลือแร่และวิตามินต่างๆที่เป็นประโยชน์เมื่อรับประทานเนื้อสับปะรดจะได้รับสารอาหารและพลังงานดังนี้ สับปะรดจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศและเป็นพืชที่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเกษตรนอกจากนิยมบริโภคสดแล้วยังสามารถแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋องและในรูปน้ำสับปะรดส่งจำหน่ายต่างประเทศ ที่มา กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

  5. สรรพคุณทางยา • ทุกส่วนของสับปะรดช่วยขับปัสสาวะ • ใบสด เป็นยาถ่าย • ผลดิบ ใช้ห้ามเลือด ขับระดู ขับพยาธิ • ผลสุก ช่วยย่อยอาหาร ขับเหงื่อ บำรุงกำลัง • เปลือก แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี • ผลอ่อน แก้นิ่ว แก้กระษัย กัดและล้างทางเดินปัสสาวะ

  6. สถานการณ์สับปะรด สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย พื้นที่ปลูกประมาณ 6 แสนไร่ ปลูกในพื้นที่มากกว่า20จังหวัด เกือบทุกภาคของประเทศ ผลผลิตรวมทั้งประเทศ ประมาณ 2 ล้านตัน ผลผลิต 30% บริโภคสดในประเทศ และ ส่งผลสดจำหน่ายต่างประเทศเล็กน้อย ผลผลิตส่วนใหญ่ประมาณ 70% แปรรูปส่งจำหน่ายต่างประเทศ มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก นำรายได้เข้าประเทศ ปีละไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ เสปน อิสราเอล แหล่งปลูกที่สำคัญ ได้แก่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ระยอง จ.เพชรบุรี จ.ราชบุรี

  7. แผนผังข้อมูล ตามลักษณะห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain)ของการผลิตสับปะรดและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรด 26% ขายปลีก: แผง รถเร่ ตลาดนัด ห้างซุปเปอร์มาร์เก็ต • ขายสดในประเทศ • แหล่ง/พื้นที่ปลูกสับปะรด • ผลผลิตสับปะรดสด • บรรจุภัณฑ์/การขนส่ง 4% ขายส่ง : ตลาดไท สี่มุมเมือง • บริโภคสด • พื้นที่ปลูก 6 แสนไร่ • แหล่งปลูก 20 จังหวัด เช่นประจวบฯ ระยอง เพชรบุรี ผลผลิต. 2 ล้านตัน 69% • ขายเข้าโรงงานแปรรูปในประเทศ • น้ำสับปะรด • ผลิตภัณฑ์แปรรูป 70% • สับปะรดกระป๋อง • แช่แข็ง • ปัญหา • อื่นๆ ตลาดภายในประเทศ • ปัญหา • ปัญหา • คุณภาพผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน • ราคาตกต่ำ • การขนส่งราคาแพง • การเก็บรักษา อายุวางจำหน่ายสั้น ตลาดต่างประเทศ • ขาดเทคโนโลยีการผลิต ผลิตให้ได้คุณภาพ ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนการผลิตลด โรคแมลง • ขาดการวางแผนการตลาด ผลิตปริมาณเท่าไร จำหน่ายเมื่อไร ที่ไหน • ขายตัดราคากันเอง • โรงงานขนาดเล็กไม่มีเงินทุนพอ

  8. ประเทศผู้ส่งออกน้ำสับปะรดของโลก ไทย 139 ล้าน US$ (29 %) อื่นๆ 214 ล้านUS$ (45%) ฟิลิปปินส์ 59 ล้านUS$ (12%) เนเธอร์แลนด์ 67 ล้านUS$ (14%)

  9. ประเทศผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องของโลก ไทย 378 ล้านUS$ (48%) อื่นๆ 222 ล้านUS$ (27%) อินโดนีเซีย 101 ล้าน US$ (12%) ฟิลิปปินส์ 108 ล้าน US$ (13%)

  10. พันธุ์สับปะรดที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งได้3 กลุ่มคือ 1.กลุ่มCayenneได้แก่พันธุ์ปัตตาเวีย นางแล ห้วยมุ่น เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดเกิน 90% ของสับปะรดที่ปลูกทั้งประเทศ ส่วนใหญ่แปรรูปส่งโรงงานสับปะรดกระป๋องบางส่วนบริโภคสดภายในประเทศและส่งออก 2.กลุ่มQueenได้แก่พันธุ์ตราดสีทองหรือพันธุ์ภูเก็ต พันธุ์ภูแล เป็นพันธุ์ที่ปลูกไม่แพร่หลายมากนัก มักนิยมบริโภคสด 3. กลุ่มSpanish กลุ่มนี้มีลักษณะผลและลำต้นอยู่ระหว่างกลางของ CayenneและQueenได้แก่พันธุ์อินทรชิต

  11. พันธุ์ปัตตาเวีย เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดเกิน 90% ของสับปะรดที่ปลูกทั้งประเทศ ส่วนใหญ่แปรรูปส่งโรงงานสับปะรดกระป๋องบางส่วนบริโภคสดภายในประเทศและส่งออก

  12. พันธุ์ตราดสีทองหรือพันธุ์ภูเก็ต พันธุ์สวี เนื้อแห้งกรอบ เป็นพันธุ์ที่ปลูกไม่แพร่หลายมากนัก มักนิยมบริโภคสดภายในประเทศส่วนใหญ่การส่งออกมีบ้างเล็กน้อยไปประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเช่นสิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว การส่งออกประเทศที่อยู่ห่างไกลยังไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากพบอาการไส้ดำเมื่อถูกความเย็นนานๆ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนและวิธีการป้องกันแก้ไข

  13. พันธุ์ ภูแลปลูกที่จ.เชียงราย จัดเป็นประเภทเดียวกันกับพันธุ์ภูเก็ต และตราดสีทอง เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคสด

  14. สับปะรดพันธุ์เพชรบุรี สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก

  15. บทบาทกรมส่งเสริมการเกษตรในการสนับสนุนการผลิตการตลาดสับปะรดบทบาทกรมส่งเสริมการเกษตรในการสนับสนุนการผลิตการตลาดสับปะรด

  16. นโยบายและแนวทางพัฒนาสับปะรดของประเทศไทยนโยบายและแนวทางพัฒนาสับปะรดของประเทศไทย 1. พัฒนาเทคโนโลยีการปลูกสับปะรดเพื่อเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่และปริมาณผลผลิตรวม 2. พัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง 3. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรดทั้งสดและแปรรูป 4. ส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสับปะรด

  17. การเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตสับปะรด อบรมให้ความรู้เกษตรกรในการผลิตสับปะรดที่ถูกต้องเหมาะสม สนับสนุนเกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงดินและต้นสับปะรด ใช้สารเคมีที่ถูกต้องตามชนิด ปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม

  18. อบรมให้ความรู้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสับปะรดตามแนวgapอบรมให้ความรู้เกษตรกรปฏิบัติดูแลรักษาสับปะรดตามแนวgap เผยแพร่ข้อมูลเอกสารวิชาการด้านสับปะรดให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และเกษตรกร ติดตามและนิเทศแปลงสับปะรดของเกษตรกรที่ร่วมโครงการ การผลิตสับปะรดให้มีคุณภาพและปลอดภัย

  19. การเพิ่มมูลค่าผลผลิตสับปะรดการเพิ่มมูลค่าผลผลิตสับปะรด • สนับสนุนการแปรรูปผลผลิตเช่นอาหารแปรรูป เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ยา • การกระจายการผลิตในช่วงที่ผลผลิตมีน้อยในแหล่งที่มีแหล่งน้ำ • ส่งเสริมผลิตสับปะรดคุณภาพดีมากขึ้น

  20. สร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกรสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกร • สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพหรือวิสาหกิจชุมชน • ให้ความรู้การบริหารกลุ่มให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน • สนับสนุนจัดหาแหล่งเงินทุนลักษณะเงินทุนหมุนเวียนให้กลุ่ม • อบรมให้ความรู้ด้านการผลิตการตลาดให้กลุ่ม

  21. การสนับสนุนด้านการตลาดการสนับสนุนด้านการตลาด • การกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต โดยติดต่อประสานงาน หาแหล่งจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า สถานที่ราชการ สถานที่แหล่งท่องเที่ยว ชุมชนต่างๆ • การประชาสัมพันธ์ผลผลิตในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมากเพื่อกระตุ้นการบริโภคผ่านสื่อต่างๆ

More Related