740 likes | 1.1k Views
การลดต้นทุนการผลิตข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา (ข้าวไม่ไวแสง). ระยะก่อนปลูกข้าว. 1. การเตรียมดิน. กระบวนการลดต้นทุน * ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตรา 5 ลิตร / ไร่ / น้ำ 20 ลิตร * ไถกลบตอซัง หมักไว้ 15 – 20 วัน ทุบ / ลูบเทือก
E N D
การลดต้นทุนการผลิตข้าว ต.ท่าถ่าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา (ข้าวไม่ไวแสง)
1. การเตรียมดิน • กระบวนการลดต้นทุน * ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตรา 5 ลิตร/ไร่/น้ำ 20 ลิตร * ไถกลบตอซัง หมักไว้ 15 – 20 วัน ทุบ/ลูบเทือก * ควรดึงร่องระบายร่องละ 4 เมตร เพื่อระบายน้ำและอากาศ
2. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ กระบวนการลดต้นทุน * ทำแปลงเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเมล็ดพันธุ์ * พันธุ์ข้าวต้องผ่านกระบวนการคัดพันธุ์ทำความสะอาด เพื่อกำจัดข้าวลีบออก ทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกดีขึ้น
* ทดสอบเมล็ดพันธุ์อย่างน้อย 5 กก. โดยการแช่น้ำ 12 ชม.หุ้ม 12 ชม. สังเกตการงอกไม่น้อยกว่า 85 % - น้ำที่แช่ต้องสะอาด - ถ้าอากาศหนาวต้องหุ้มเพิ่มอีก 6 ชั่วโมง - กระสอบที่ใช้ใส่เมล็ดพันธุ์ต้องน้ำไหลผ่านง่าย * หลังจากทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ ข้าวใส่กระสอบ ๆ ละ 20 กก.แช่ไว้ 12 ชม. หลังจากนั้นนำไปหว่านได้
1. หว่านข้าว 20 กก./ไร่ (นาดำใช้ 12 กก./ไร่) • กระบวนการลดต้นทุน • * ลดพันธุ์ข้าวลงจากเดิม 25 – 30 กก./ไร่
2. ฉีดสารคุมฆ่าวัชพืช (หลังหว่านข้าว 7 - 12 วัน) กระบวนการลดต้นทุน * ใช้สารชีวภาพ หรือวิธีกล (ถอน ตัด) * ใช้สารประเภทคุม-ฆ่า ตามคำแนะนำ * ถ้าไม่กำจัดวัชพืชช่วงนี้จะเพิ่มต้นทุนการกำจัดภายหลังเพราะวัชพืชจะกำจัดยาก
3. กำจัดหอยเชอรี่ กระบวนการลดต้นทุน * ใช้กากชาหว่าน * ใช้สารชีวภาพ - ใส่กากชาตอนเตรียมดินจะได้ผลดีที่สุด
4. ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช (หนอน แมลง) กระบวนการลดต้นทุน * หมั่นสำรวจแปลง * อนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ * ใช้สารป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
5. ใส่ปุ๋ยครั้งแรก (ข้าวอายุ 20 - 25 วัน) กระบวนการลดต้นทุน * ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี - นาดำใช้ปุ๋ย 20 กก./ไร่ อัตรา 1:1 - นาหว่านใช้ปุ๋ย 30 กก./ไร่ อัตรา 1:1 - ปุ๋ยเคมีที่ใช้ ยูเรีย (46-0-0) - ข้าวอายุสั้นใส่ตอนอายุ 15-20 วัน
1. รักษาระดับน้ำในนา 5-10 ซม. 2. หมั่นตรวจแปลงนาทุก ๆ 3 วัน * น้ำ * การเจริญเติบโตของข้าว * แมลงศัตรูพืช/โรคพืช
2. ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุข้าว 45-60 วัน กระบวนการลดต้นทุน * ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี - นาดำใช้ปุ๋ย 20 กก./ไร่ อัตรา 1:1 - นาหว่านใช้ปุ๋ย 40 กก./ไร่ อัตรา 1:1 - ข้าวอายุสั้นใส่ตอนอายุ 30 วัน
3. ตัดพันธุ์ปนและข้าววัชพืช กระบวนการลดต้นทุน * หมั่นสำรวจแปลง * ใช้วิธีการ ตัด / ถอน * สามารถทำตั้งแต่ข้าวอายุ 45 - ระยะข้าวโน้มรวง
4. ตัดหญ้าคันนา กระบวนการลดต้นทุน * ไม่ให้เป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูพืชและวัชพืช * ลดต้นทุนการซื้อสารป้องกันและกำจัดแมลง
1. ใส่ปุ๋ยต่อช่วง เมื่อข้าวอายุ 65 - 70 วัน (ปุ๋ยแต่งหน้า) กระบวนการลดต้นทุน * ใช้ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 5 กก./ไร่ หรือ 21-0-0 อัตรา 10 กก./ไร่ (เพื่อเพิ่มจำนวนการสร้างเมล็ด)
2. ฉีดฮอร์โมน/สารป้องกันกำจัดแมลง/ สารป้องกันกำจัดโรคพืช กระบวนการลดต้นทุน - ใช้ฮอร์โมนที่หมักเอง - สารสกัดสมุนไพรไล่แมลง - ใช้สมุนไพรที่มีรสฝาดกำจัดโรคพืช
หมายเหตุ… ถ้าจำเป็นต้องใช้สารเคมี - ใช้สารเคมีให้ตรงกับโรคพืช/แมลง - ใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ทางการอนุญาตให้ขาย
1. รักษาระดับน้ำในนา 5 - 10 เซนติเมตร กระบวนการลดต้นทุน - หมั่นตรวจแปลงนาทุก ๆ 3 วัน - น้ำ - การเจริญเติบโตของข้าว - แมลงศัตรูพืช/โรคพืช
2. ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชในช่วงข้าวแทงช่อดอก 5-10 % กระบวนการลดต้นทุน * ป้องกันอย่าให้ต้นข้าวเกิดโรค - ตั้งแต่การเตรียมดิน - เตรียมเมล็ดพันธุ์ - การดูแลรักษาแปลง - อนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติ (ชีววิธี)
หมายเหตุ… - ถ้าเกิดโรคในขณะที่รวงข้าวตากเกสรให้ใช้สารเคมีในช่วงก่อนดอกบาน (เช้าไม่เกิน 9.00 น. บ่ายตั้งแต่ 15.00 น.เป็นต้นไป) - ถ้าใช้สารกำจัดแมลง ต้องดูฉลากยาให้ชัดเจนว่าสามารถผสมกับยากำจัดโรคพืชชนิดนี้ได้หรือไม่ (ยาร้อน-ยาเย็น) เพราะอาจเป็นอันตรายได้
1. หลังจากข้าวออกรวงแล้ว * อย่าให้ในนาขาดน้ำ - เพื่อให้ข้าวสุกเสมอกัน (พลับพลึง) * หลังจากข้าวออกรวงแล้ว 21 วัน ให้ระบายน้ำออกจากแปลงนา - เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว
1. หลังจากข้าวออกรวงแล้ว 26 - 28 วัน ให้ทำการเก็บเกี่ยว (ระยะพลับพลึง) กระบวนการลดต้นทุน * เก็บเกี่ยวขายทันที (ข้าวสด) - ลดต้นทุนการขนส่งและการตาก
* กรณีจำนำข้าวควรลดความชื้นโดยการตากให้มีความชื้น 15% * กรณีใช้ทำพันธุ์ให้ตากแดดลดความชื้นไม่เกิน 14% (ตาก 2-3 แดด)
ระยะหลังการเก็บเกี่ยวระยะหลังการเก็บเกี่ยว
1. ไถกลบตอซัง กระบวนการลดต้นทุน * ฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หลังจากเก็บเกี่ยวเสร็จและดินต้องความชื้นพอประมาณ อัตราใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ 5 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร * หมักทิ้งไว้ 15-20 วัน รอการทำนาครั้งต่อไป
2. กำจัดข้าวเรื้อ กระบวนการลดต้นทุน * ล่อให้ข้าวเรื้อขึ้นแล้วไถ ลดการเกิดข้าวดีด ข้าวเด้ง
การเมาตอซัง • การแก้ไข การเกิดแก็สในดินเนื่องจากการหมักฟางหรือตอซังข้าวหลังจากหว่านข้าวไปแล้ว 4-5 วัน ให้ระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ดินแห้งแก๊สจะได้ระเหยออกมาได้หลังจากนั้นวิดน้ำเข้านาและปฏิบัติตามขั้นตอนเหมือนเดิม
สูตรไล่แมลง • ส่วนผสม 1. กระเทียม 2. พริกสด หรือพริกแห้ง 3. ตะไคร้ 4. ข่า 5. เหล้าขาว 6. น้ำส้มสายชูหมัก 7. น้ำสะอาด
วิธีทำ * นำพริก ตะไคร้ กระเทียม ข่า มาทุบหรือหั่นให้แตก นำส่วนผสมใส่ลงในถังที่มีฝาปิดผนึกไม่ให้อากาศเข้าได้ เพราะจะทำให้แอลกอฮอล์ระเหยออกได้ นำเหล้าขาวมาผสมกับน้ำ ใส่ให้ท่วมวัสดุที่ใช้ ใส่น้ำส้มสายชูลงไปคนให้เข้ากัน ปิดฝาผนึกไว้ 24 ชั่วโมง นำมาฉีดพ่นไล่แมลง ส่วนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในคราวต่อไป
น้ำสกัดชีวภาพ (หัวเชื้อ) • ส่วนผสม 1. พืชผักอวบน้ำทุกชนิด 3 กิโลกรัม 2. ผลไม้สุกต่างๆ หรือเปลือกสับปะรด 3 กิโลกรัม 3. กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม
วิธีทำ -นำพืชผักผลไม้มาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกกับ กากน้ำตาลหมักใส่ในถัง หากของหนักทับและปิด ฝาให้สนิททิ้งไว้ในที่ร่ม 5-10 วัน จะได้น้ำสกัดมี สีน้ำตาล มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว แล้วกรองเอาแต่น้ำ ใส่ขวดเก็บไว้ใช้เป็นหัวเชื้อ (เก็บได้นาน 6 เดือน)
วิธีใช้ - หัวเชื้อ 15 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร • ประโยชน์ 1. ใช้ฉีดพ่นพืชผักผลไม้ 2. ใช้ทำปุ๋ยน้ำหมัก 3. ใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง
ประโยชน์ (ต่อ) 4.ใช้ปรับสภาพดินและน้ำ (ปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์) 5. ใช้ดับกลิ่นในถังส้วมและกองขยะ 6. ใช้เลี้ยงสัตว์ (ใส่น้ำให้กิน) 7. ใช้เลี้ยงปลา กุ้ง (คลุกอาหารให้กิน)
สูตรปุ๋ยน้ำหมัก (จากสัตว์) • ส่วนผสม 1. หอยเชอรี่หรือปลาสดหรือโปรตีนจากสัตว์ต่าง ๆ 3 กิโลกรัม 2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม 3. หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร 4. น้ำสะอาด 10 ลิตร 5. ถังพลาสติกมีฝาปิด 1 ใบ
วิธีทำ • นำหอยเชอรี่มาทุบ มาสับ หรือบด ให้พอแตก • ผสมน้ำกับกากน้ำตาลและหัวเชื้อเข้าด้วยกัน • นำหอยหรือปลา หรือเนื้อ ใส่ในถัง • นำน้ำที่ผสมกับกากน้ำตาลและหัวเชื้อลงในถังแล้วคนให้เข้ากัน และปิดฝาให้สนิทเก็บไว้ในที่ร่ม อย่างน้อย 15 วัน แล้วจึงนำมาใช้ได้
วิธีใช้ - น้ำปุ๋ยหมัก 50 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร • สรรพคุณ - ใช้เป็นปุ๋ยทางใบ ใช้ปรับสภาพดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน • หมายเหตุ - ในขณะหมักจะมีก๊าซในถังให้เปิดฝาระบายออกแล้วรีบปิดให้สนิท
ปุ๋ยหมักชีวภาพ (ชนิดผง) • ส่วนผสม 1. มูลสัตว์ (ไก่ไข่ หมู) 1 กระสอบ 2. แกลบ 1 กระสอบ 3. ขี้เถ้าแกลบ 1 กระสอบ 4. รำละเอียด 2 กิโลกรัม 5. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร 6. น้ำสะอาด 10 ลิตร
วิธีทำ • นำส่วนผสม มูลสัตว์ แกลบ ขี้เถ้าแกลบ รำ ผสมให้เข้ากัน • ผสมน้ำกับจุลินทรีย์ให้เข้ากัน และรดบนส่วนผสมทั้งหมดให้ความชื้นพอประมาณ (กำดูพอแบมือไม่แตก) • คลุกเข้ากันดีแล้วตักใส่กระสอบ มัดปากให้แน่น • วางกองเป็นชั้นทับกัน (แต่ข้างไม่ติดกัน) 5-7 วัน ใช้ได้
วิธีใช้ • นาข้าว 200 กิโลกรัม/ไร่ • พืชผัก 1 กิโลกรัม/ตารางเมตร • ไม้ผล 1-5 กิโลกรัม/ต้น/ปี
ปุ๋ยเม็ดชีวภาพ (แทนปุ๋ยเคมี) • ส่วนผสม 1. ปุ๋ยหมักชีวภาพ (แห้งผง) 70 กิโลกรัม 2. มูลไก่ไข่หรือมูลค้างคาว 10 กิโลกรัม 3. หินฟอสเฟต 10 กิโลกรัม 4. โดโรไมท์ 10 กิโลกรัม 5. ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสูตร(จากสัตว์) 3 กิโลกรัม 6. น้ำสกัดชีวภาพ (หัวเชื้อ) 2 กิโลกรัม 7. น้ำสะอาด 5 กิโลกรัม
วิธีทำ • นำปุ๋ยหมักมูลไก่หรือมูลค้างคาวหินฟอสเฟต โดโรไมท์ ผสมเข้าเครื่อง บดย่อยให้ละเอียด • ผสมปุ๋ยน้ำสกัด (หัวเชื้อ) น้ำสะอาด เข้าด้วยกัน • นำส่วนผสมทั้งแห้งและเปียก มาผสมกันให้มีความชื้นพอเหมาะ และเข้าเครื่องปั้นเม็ด • ผึ่งลมให้แห้งแล้วเก็บใส่กระสอบ (เก็บในที่ร่ม)
วิธีใช้ • นาข้าว 50 กิโลกรัม/ไร่ • พืชไร่/พืชผัก 1-2 กิโลกรัม/ตารางเมตร • ไม้ผลยืนต้น 1-5 กิโลกรัม/ต้น/ปี
ต้นทุนการผลิตข้าวไม่ไวแสง (นาดำ) ต่อไร่