1 / 75

รวมกฎ กติกา และพื้นฐานการเล่นHANDBALL

รวมกฎ กติกา และพื้นฐานการเล่นHANDBALL. นำเสนอ. ประวัติกีฬาแฮนด์บอล ประโยชน์ของการเล่น การมีน้ำใจนักกีฬา กติกา 19 ข้อ รวมทั้งอุปกรณ์การเล่น ผลการแข่งขันและการจัดอันดับของทีม ทักษะในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล. ประวัติกีฬาแฮนด์บอล.

Download Presentation

รวมกฎ กติกา และพื้นฐานการเล่นHANDBALL

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รวมกฎ กติกา และพื้นฐานการเล่นHANDBALL

  2. นำเสนอ • ประวัติกีฬาแฮนด์บอล • ประโยชน์ของการเล่น • การมีน้ำใจนักกีฬา • กติกา 19 ข้อ รวมทั้งอุปกรณ์การเล่น • ผลการแข่งขันและการจัดอันดับของทีม • ทักษะในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล

  3. ประวัติกีฬาแฮนด์บอล เยอรมันนีเป็นผู้ริเริ่ม ราวปลายศตวรรษที่ 19 โดยครูสอนพลศึกษาชื่อ Donrad Koch อาศัยทักษะพื้นฐานจากการเล่นฟุตบอลและบาสเกตบอล ชื่อที่เรียกในระยะแรกๆ คือ ฮอกกี้มือ โปโลบก โดยมีจำนวนผู้เล่นทีมละ 11 คน เหมือนฟุตบอล

  4. ค.ศ. 1900- เยอรมันนี เชคโกสโลวาเกีย และเดนมาร์ก ร่วมกันปรับปรุงการเล่นพื้นฐานขึ้น - ใช้ห้องพลศึกษาดัดแปลง เพราะสภาพอากาศไม่เป็นใจในการเล่นกลางแจ้ง- สถานที่คับแคบ จึงลดคนเล่นลงเหลือ ข้างละ7 คนค.ศ. 1904- แฮนด์บอลอยู่ในความดูแลของ สหพันธ์กีฬาสมัครเล่นระหว่างชาติ ( I.A.A.F )

  5. ค.ศ. 1909- โซเวียตปรับปรุงกีฬาแฮนด์บอลข้างละ 7 คนขึ้นอีก- เมือง Kharkov- โดย Edward Malyค.ศ. 1920- Karl Schelenz- ปรับปรุงขนาดของลูกให้เล็กลง- ปรับปรุงกติกาว่าด้วยการเคลื่อนที่ ในขณที่ไม่มีการส่งลูกและเลี้ยงลูกบอลได้ 3 ก้าว

  6. ค.ศ. 1926- I.A.A.F. ตั้งคณะกรรมการกีฬาแฮนด์บอล โดยคัดเลือกจากประเทศต่างๆในเครือสมาชิก- ตกลงกันเรื่องกติกาค.ศ. 1928- มีการตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลสมัครเล่นนานาชาติขึ้น- มี 11 ประเทศสมาชิก- มีการสาธิตการแข่งขันกีฬาแฮนด์บอลขึ้น ในโอกาสที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์

  7. ค.ศ. 1931- แฮนด์บอลถูกบรรจุเข้าเป็นรายแข่งขันกีฬาระหว่างชาติ โดยการยอมรับของ I.O.C.ค.ศ. 1934- ประเทศสมาชิกสหพันธ์แฮนด์บอลสมัครเล่นนานาชาติ ขยายตัวเพิ่มเป็น 25 ประเทศค.ศ. 1936- มีการบรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าในกีฬาโอลิมปิก- กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน- เรียกว่า NAZI OLYMPIC- เยอรมันได้เหรียญทอง

  8. ค.ศ. 1938- เยอรมันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันแฮนด์บอลชิงชนะเลิศของโลกเป็นครั้งแรก- มี 10 ประเทศเป็นผู้ร่วมเข้าแข่งขันค.ศ. 1946- ตั้งสหพันธ์แฮนด์บอลนานาชาติ ( THF)- สมาชิก 8 ประเทศ คือ เดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ และสวิตเซอร์แลนค.ศ. 1954THF จัดให้มีการแฮนด์บอลในร่มชิงชนะเลิศของโลกขึ้นเป็นครั้งแรกสวีเดน เป็นผู้ชนะเลิศ

  9. ค.ศ. 1956- มีการแข่งขันแฮนด์บอลหญิงเป็นครั้งแรก- ประเทศเชกโกสโลวาเกียเป็นผู้ชนะเลิศ- มีการปรับปรุงกติกาใหม่ที่เล่นกันจนถึงปัจจุบัน- โดยอาศัยกติกาของฟุตบอลและบาสเกตบอลมาผสมกันค.ศ. 1959- Dr. Peter Bushning - ริเริ่มนำกีฬาแฮนด์บอลเข้าไปเผยแพร่ที่รัฐนิวยอร์ก และรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา

  10. ค.ศ. 1968- B.J. Bowland และ Phil Hoden สมาชิกของสมาคมแฮนด์บอล ประเทศอังกฤษ- จัดให้มีการประชุมระหว่างสมาชิกของสมาคมแฮนด์บอลต่างๆ ในอังกฤษ- เพื่อเข้าร่วมเป็นสมาพันธ์ระหว่างชาติค.ศ. 1969- อิตาลี ได้เดินทางมาแข่งขันกีฬาแฮนด์บอล ที่ประเทศอังกฤษ- เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ

  11. ค.ศ. 1972- แฮนด์บอลถูกบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกอีครั้งหนึ่ง - ณ เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมัน- ประเทศยูโกสลาเวีย ได้เหรียญทองค.ศ. 1976- มีการบรรจุการแข่งขันประเภทหญิง- ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงมอลทรีลที่ประเทศแคนาดา- สหภาพโซเวียต ชนะเลิศ ทั้ง ทีมหญิง และ ทีมชายค.ศ. 1982- มีการบรรจุกีฬาแฮนด์บอลเป็นครั้งแรกกีฬาเอเชื่ยนเกมส์ครั้งที่ 9 ที่ประเทศอินเดีย

  12. กีฬาแฮนด์บอลในประเทศไทยกีฬาแฮนด์บอลในประเทศไทย พ.ศ. 2482- ได้มีการนำ กีฬาแฮนด์บอลเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย - โดยอาจารย์กอง วิสุทธารมย์ อดีตอธิบดีกรมพลศึกษา - มีการเล่นแบบ 11 คนอยู่- หลังจากนั้นไม่นานจึงถูกยกเลิกไปพ.ศ. 2500- นายธนิต คงมนต์ ได้เสนอกีฬาแฮนด์บอลเข้าไว้ในหลักสูตรพลศึกษาของวิทยาลัยและโรงเรียนฝึกหัดครูพลานามัย- ได้รับการอนุมัติใน พ.ศ. 2501

  13. ในปัจจุบัน กีฬาแฮนด์บอลได้ถูกบรรจุเข้าไว้ในการเรียนการสอน ในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และ มหาวิทยาลัย

  14. ประโยขน์ของการเล่น ประโยชน์ทางด้านร่างกาย ประโยชน์ทางด้านจิตใจ และ อารมณ์ ประโยชน์ทางด้านสังคมทั่วไป

  15. ประโยชน์ทางด้านร่างกายประโยชน์ทางด้านร่างกาย ส่งเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย-กล้ามเนื้อแข็งแรง สร้างความคล่องแคล่วว่องไว ความอ่อนตัว ความอดทนและพลัง เสริมสร้างระบบการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อ กับประสาทสัมผัส ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ของเนื้อเยื่อทำงานได้ดี ระบบโครงกระดูก พัฒนาดี เจริญเติบโตดี • เสริมสร้างบุคลิกภาพ สง่างามสมส่วน • เกิดไหวพริบปฏิภาณในการตัดสินใจ • สนุกสนาเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย • รู้คุณค่าของการออกกำลังกาย • มีน้ำใจเป็นนักกีฬา เคารพกฎ กติกา เป็นผู้ดูที่ดี • มีความสามัคคี • ฝึกการแก้ไขเฉพาะหน้า

  16. ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์ เกิดความมั่นใจ กล้าตัดสินใจ มีจิตใจหนักแน่น เกิดการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ยอมรับในตัวผู้อื่น เป็นผู้เสียสละ เป็นการพักผ่อน ระบายความเครียด จิตใจและอารมณ์ สุขุม เยือกเย็น

  17. ประโยชน์ทางด้านสังคม มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย กติกา เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยขน์ ฝึกพื้นฐานการอยู่ร่วมกัน รู้จักการเข้าสังคม

  18. กติกาข้อ 1 : สนามแข่งกติกาข้อ 2 : เวลาการเล่นกติกาข้อ 3 : ลูกบอลกติกาข้อ 4 : ผู้เล่นกติกาข้อ 5 : ผู้รักษาประตูกติกาข้อ 6 : เขตประตูกติกาข้อ 7 : การเล่นลูกบอลกติกาข้อ 8 : การเข้าหาผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม กติกาข้อ 9 : การได้ประตู กติกาและอุปกรณ์การเล่น • กติกาข้อ 10 : การส่งลูกเริ่มเล่น • กติกาข้อ 11 : การส่งลูกเข้าเล่น • กติกาข้อ 12 : การส่งลูกจากประตู • กติกาข้อ 13 : การส่งลูกกินเปล่า • กติกาข้อ 14 : การยิงประตูโทษ • กติกาข้อ 15 : การโยนลูกบอลของผู้ตัดสิน • กติกาข้อ 16 : วิธีการส่ง • กติกาข้อ 17 : การลงโทษ • กติกาข้อ 18 : ผู้ตัดสิน • กติกาข้อ 19 : ผู้บันทึกและผู้จับเวลา

  19. การปฏิบัติ • 1.1. ยืนแล้วก้มลำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย งอเข่า ศีรษะตั้งตรง ตามองไปข้างหน้า • 1.2. เหยียดแขนไปข้างหน้า งอศอกตามธรรมชาติ แขนท่อนล่างอยู่ด้านหน้า กำมือหลวมๆ แบมือ และกางนิ้วมือออก ไม่เกร็ง • 1.3. เท้าทั้งสองยืนห่างประมาณช่วงไหล่ อาจยืนเท้าคู่ขนานหรือเท้านำเท้าตามก็ไได้ ให้เผยอส้นเท้าเล็กน้อยตามธรรมชาติใลักษณะพร้อมที่จะเคลื่อนไหวตลอดเวลา

  20. 2. การทรงตัวขณะเคลื่อนที่ • การปฏิบัติ • 2.1 ให้เลื่อนเท้าไปข้างหน้า แล้วลากเท้าอีกข้างหนึ่งตามมาชิดในท่าของการยืนทรงตัวเมื่อต้องการเคลื่อไหวไปข้าง • 2.2 ถ้าต้องการเคลื่อนที่ไปข้างๆ ให้ใช้เท้าที่ถนัดสืบเท้านำไปข้างๆ แล้ลากเท้าที่เหลือมาชิดตาม • หมายเหตุ การใช้เท้าเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ ตามความประสงค์ที่สั่งการนั้น ไม่ใช่การก้าว แต่ต้องสืบเท้าไปให้เร็ว ตามทิศทางที่ต้องการ

  21. 3. การทรงตัวเมื่อต้องการหยุด • การปฏิบัติ • การหยุดแบบเท้าหนึ่งอยู่หน้า ในขณะที่เรากำลังเคลื่อนที่ เมื่อต้องการหยุดเคลื่อนที่ ให้ใช้เท้าใดเท้าหนึ่งก้าวนำ งอเข่าลำตัวเอนมาข้างหลังเล็กน้อย • ย่อตัวต่ำลง ศีรษะตั้งตรง ตามองไปยังที่หมายข้างหน้า แขนกางออกเพื่อช่วยในการทรงตัว เท้าหลังยึดแน่นกับพื้น • การหยุดแบบเท้าคู่ ลักษณะกรหยุดแบบนี้ จะใช้ในส่วนของฝ่ายทีมรับ(การป้องกัน) เมื่อเราต้องการเลี้ยงลูกเข้ามาของฝ่ายตรงข้าม ใช้เท้ากระโดด เพื่อทิศทางและจังหวะหยุด แล้วลงสองเท้าพร้อมกัน • งอเข่าย่อตัวและเอียงลำตัว เพื่อทิ้งน้ำหนักตัวมาด้านหลังแล้วยืดตัวขึ้น สะโพกต่ำ ศีรษะตรง ตามองไปยังที่เป้าหมาย พร้อมที่จะใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นหลักในหารหมุนตัวหรือกลับตัวไปสู่ทิศทางที่ต้องการ

  22. การรับส่งลูกบอล

  23. การรับลูกบอลในลักษณะต่างๆการรับลูกบอลในลักษณะต่างๆ • 1. การรับลูกบอลในอากาศด้านหน้า • เหยียดแขนขึ้นไปเหนือศีรษะ และกระโดดตวัดจับลูกบอลเมื่อลูกบอลสัมผัสนิ้วมือจับกระชับให้แน่น ดึงแขนกลับลง มาพร้องลูกบอลเข้าสู่การครอบครอง • ถือลูกบอลชิดหน้าอก ข้อศอกกางออก เมื่อลงสู่พื้นแล้วต้องย่อเข่าทรงตัวให้มั่นคงในท่าของการทรงตัวที่ดี

  24. 2. การรับลูกที่ส่งมาไม่ตรงตัวทางแขนด้านที่ถนัด ปฏิบัติเช่นวิธีแรก • เพิ่มทักษะของการบิดลำตัวในขณะที่กระโดดไปในทิศทางที่ลูกบอลลอยมา มือด้านที่ไม่ถนัดจะบังคับลูก มือที่ถนัดจะรับประคองลูกบอลไว้ • 3. การรับลูกที่ส่งมาไม่ตรงตัว ทางแขนด้านที่ไม่ถนัด • ปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีที่ 2 แต่การใช้มือ จะทำในลักษณะตรงข้าม

  25. 4. การรับลูกบอลที่กลิ่งมาตามพื้น • ถ้าลูกบอลวางนิ่งอยู่บนพื้น แต่ผู้เล่นกำลังเคลื่อนที่ ใช้มือที่ถนัดคว้าลูกบอลขึ้นมา มือที่เหลือให้ประคองลูกขึ้นมา • ถ้าลูกบอลอยู่บนพื้นนิ่งๆ ให้หยิบด้วยมือทั้งสองข้าง ไม่ควรใช้มือเดียว • ถ้าลูกบอลกลิ้งมาและผู้รับกำลังเคลื่อนที่ผ่าน ปฏิบัติเช่นข้อ 4.2 • ถ้าลูกบอลกลิ้งไปข้างหน้า ผู้รับวิ่งตามเพื่อเก็บลูก ในทิศทางเดียวกันอาจใช้มือทั้งสองคว้าลูกขึ้นมา หรือจะใช้มือหนึ่งมือใดหยุดลูกและหยิบขึ้นมา

  26. การส่งลูกบอลประกอบด้วยหลักการดังนี้การส่งลูกบอลประกอบด้วยหลักการดังนี้ • 1. ผู้รับ-ผู้ส่งจะต้องส่งไปยังผู้รับอย่างแม่นยำ เป้าหมายในการส่งคือระดับอกของผู้รับ ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่จะทำให้ผู้รับรับได้ง่ายที่สุด • 2. ทิศทางส่งลูกไปข้างหน้า ทางซ้าย ทางขวา หรือย้อนหลัง ไปยังตำแหน่งที่ผู้รับยืนอยู่ การหลอกล่อเพื่อส่งลูกเป็นสิ่งที่ทำให้คู่ต่อสู้หลงทาง • 3. ความเร็วต้องมีการกะระยะ หรือคาดคะเนระยะทาง ระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อที่จะได้ส่งลูกออกไปได้ตามแรงที่เหมาะสม

  27. การปฏิบัติในการส่งลูก-ถ้าผู้ส่งถนัดมือขวา ก็จะต้องใช้เท้าซ้ายอยู่ข้างหน้าเท้าขวาในขณะส่งลูก- โน้มตัวไปด้านหน้า ถ่ายน้ำหนักตัวไปยังด้านหน้าเอเสริมแรงทำให้ลูกวิ่งได้เร็วและแรงมากยิ่งขั้น

  28. การยืนส่งบอลในลักษณะต่างๆการยืนส่งบอลในลักษณะต่างๆ • 1. ยืนส่งลูกบอลด้วยมือเดียว • 1.1 มือเดียวเหนือไหล่ตรงหน้า • การยืน เท้านำ เท้าตาม ถือลูกบอลด้วยมือด้านที่ตรงข้ามกันกับเท้านำ หรืออาจจะยืนเท้าคู่ขนานก็ได้ • ข้อศอกงอทำมุมประมาณ 90 องศา แขนตอนบนขนานกับพื้น หัวไหล่เหยียดออกจากลำตัว (บิดมาทางมือข้าที่จะส่ง) • ส้นมือและนิ้วมือประคองสัมผัสลูกบอล นิ้วมือจะเป็นตัวบังคับทิศทางของลูก

  29. 1.2 การส่งไปด้านข้าง ด้วยมือที่ถนัดและไม่ถนัด • วิธีปฏิบัติคล้ายกับวิธีมือเดียวเหนือไหล่ แต่มีข้อแตกต่างคือ • ลำตัวจะหมุนขณะที่ส่งลูกบอลไปตามทิศทางที่ส่งไป • หัวไหล่และสะโพกจะหมุนเพื่อส่งแรงตามไป • เหยียดแขนส่งแรงไปทางด้านข้าง ในทิศทางที่จะส่งลูกบอลไป

  30. 1.3. มือเดียวระดับหัวไหล่ตรงหน้า ยืนแบบเท้านำเท้าตาม หรือยืนแบบเท้าคู่ขนาน • แขนตอนบนทำมุมกับหัวไหล่ 45 องศากับข้อศอก มือถือลูกบอลอยู่ระดับไหล่ • แขนตอนบนทำมุมกับแขนตอนล่าง 90 องศา • สะโพก และหัวไหล่บิดไปทางด้านหลัง

  31. 1.4. ส่งลูกบอลมือเดียวระดับล่าง ยืนแบบเท้านำเท้าตาม • งอหรือก้มลำตัวลงต่ำระดับเอว ให้พอเหมาะเนื่องด้วยทิศทาง • มือจับลูกบอลค่อนมาทางข้างหลัง สายคามองที่เป้าหมายที่จะส่ง

  32. 1.5 ส่งลูกบอลระดับกลางด้านข้าง • วิธีการเหมือนข้อ 1.4 แตกต่างกันในตำแหน่งของการถือลูกบอลคือ ถือลูกบอลให้สูงขึ้นในระดับสะโพกเท่านั้น 1.6. การพลิกมือส่ง ยืนแบบเท้านำ เท้าตาม หรือเท้าขนาน • ถือลูกบอลให้ชิดลำตัว แขนงอ ลำตัวก้มเล็กน้อย • แขนด้านที่ถือลูกบอลเหยียดออก และพลิกมือเหยียดออกทางด้านข้างลำตัว • ลูกบอลต้องอยู่ระดับข้อมือ • เท้าด้านเดียวกับมือที่ถือลูกบอล เผยอส้นเท้า อุ้งเท้าเป็นจุดหมุนตามแรงในการส่งลูกบอลไปตามทิศทางที่ต้องการ

  33. 1.7 การส่งลูกมือเดียวอ้อมหลัง มือที่ถือลูกส่งผ่านด้านหลัง งอข้อศอก หงายฝ่ามือขึ้น แรงส่งจากข้อมือบังคับทิศทางด้วยปลายนิ้วมือทั้งห้า • ก้าวเท้าตรงกันข้ามกับมือที่ถือลูกบอลไปเฉียงหน้า • การส่งลูกบอลท่านี้สามารถส่งไปที่หมายข้างหน้า หรือด้านข้าง และแนวหัวไหล่จะเป็นแนวทิศทางของการส่งลูก

  34. 1.8. การส่งลูกมือเดียวอ้อมไหล่ • ตำแหน่งเริ่มต้น มือที่ถือลูกบอลงอแขนกึ่งเหยียดสูงระดับหัวไหล่ ลำตัวเอียงไปทางด้านที่ถือลูกบอล • การปฏิบัติ • ตวัดข้อศอกและตวัดข้อมือ บังคับลูกผ่านปลายนิ้วมือ ให้ลูกผ่านด้านหลังส่วนบนตอนหัวไหล่ไปสู่เป้าหมาย • การใช้ส่งลูกบอลท่านี้ นิยมส่งไปที่เป้าหมายข้างหน้า ในลักษณะหลอกล่อผู้เล่นด้านหลัง

  35. 1.9. การส่งลูกมือเดียวอ้อมไหล่ • 1.1การส่งลูกบอลแบบผลัก • - ตำแหน่งเริ่มต้นเหมือนวิธีส่งลูกระดับไหล่ตรงหน้า • -เทคนิคอาศัยการหมุนของหัวไหล่และสะโพก • -ลำตัวมีการเคลื่อนไหวไปข้างหน้าเล็กน้อยและลูกบอลถูกผลักไปตามทิศทางที่ต้องการ

  36. 1.10. การส่งลูกแบบตวัด • - ตำแหน่งเริ่มต้นเหมือนกับการส่งลูกบอลอ้อมหัวไหล่ • - ตำแหน่งการถือลูกไม่ควรสูงกว่าระดับหัวไหล่ • - การปฏิบัติเป็นลักษณะของการหลอดล่อยิงประตูในทันทีทันใดก็เปลี่ยนเป็นส่งลูกโดยการตวัดให้ลูกลอยขึ้นไปในอากาศ • - วิถีของลูกบอลนั้นลอยเป็นวิถีโค้ง

  37. 2.การยืนส่งด้วยมือสองมือ2.การยืนส่งด้วยมือสองมือ • 2.1 การส่งสองมือระดับอก • ยืนให้เท้าทั้งสองยืนห่างกันพอประมาณ จะยืนเท้านำเท้าตาม หรือเท้าขนานก็ได้ • การเริ่มส่งลูกบอลจะอยู่ที่หน้าอก ข้อศอกอยู่ข้างลำตัว • ถือลูกบอลพร้อมด้วยใช้ข้อมือทั้งสอง เพื่อดึงลูกบอลลงมาข้างล่างระดับท้อง • ผลักลูกบอลออกจากหน้าอก ด้วยกำลังของนิ้วมือทั้งสองและไม่เกร็ง • เมื่อปล่อยลูกแล้ว มือและแขนจะต้องเหยียดไปตามวิถีทางของลูกบอล

  38. 2.1 ส่งลูกบอลสองมือเหนือศีรษะ2.1 ส่งลูกบอลสองมือเหนือศีรษะ • จับลูกบอลสองมือชูข้นเหนือศีรษะ • ยืนแบบเท้านำ เท้าตาม หรือเท้าขนานก็ได้ • ขณะส่งลูกบอลให้เหวี่ยงมือและแขนไปด้านหลัง บิดข้อมือหงายไปข้างหลังและตวัดข้อมือเหวี่ยงแขนไปในทิศทางที่จะส่งลูกบอลไป • สามารถก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งตามไปข้างหน้าเพื่อช่วยในการทรงตัว

  39. 2.1 ส่งลูกบอลสองมือด้านหน้า2.1 ส่งลูกบอลสองมือด้านหน้า • มือหนึ่งสัมผัสบริเวณค่อนมาทางด้านหลังของลูกบอล อีกมือหนึ่งที่เหลือประคองลูก • เอียงลำตัวไปทางด้านข้างในขณะเดียวกัน ให้ก้าวเท้าออกไปด้านข้าง(อาจเฉียงด้านหน้า) พร้อมกับย่อเข่า ส่วนเท้าที่เหลือให้เผยอส้นเท้า • น้ำหนักตัว และศูนย์ถ่วงอยู่ใกล้เท้าแรก • การส่งลูกบอลออกไปให้เหยียดข้อมือผลักลูกไปยังเป้าหมาย

  40. การกระโดดส่งลูกบอล1. กระโดดส่งลูกบอลมือเดียวตรงหน้า- กระโดดใช้เท้าด้านที่ตรงข้ามกับมือที่ถือลูก (Take off) ในขณะเดียวกันให้งอเข่าตรงข้าม- ขณะที่ตัวลอยอยู่ในอากาศ ส่งลูกบอลออกไป ในขณะเดียวกันให้บิดลำตัว เพื่อส่งกำลังติดตามด้วยไหล่ ข้อศอก และสุดท้ายที่ข้อมือจนตึงปลายนิ้ว

More Related