1 / 70

ตอนที่ 2 ความรู้ทั่วไป การวิจัยทางการท่องเที่ยว

ตอนที่ 2 ความรู้ทั่วไป การวิจัยทางการท่องเที่ยว. การศึกษาหาความรู้เพื่อให้พบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ทางท่องเที่ยวอย่างมีแบบแผนทางวิทยาศาสตร์. หัวข้อ. 1.1 วิธีการหาความรู้ ความจริง สู่การวิจัย 1.2 ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 1.3 ทฤษฏี ความรู้ความจริง

jonny
Download Presentation

ตอนที่ 2 ความรู้ทั่วไป การวิจัยทางการท่องเที่ยว

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตอนที่ 2ความรู้ทั่วไปการวิจัยทางการท่องเที่ยว การศึกษาหาความรู้เพื่อให้พบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ทางท่องเที่ยวอย่างมีแบบแผนทางวิทยาศาสตร์

  2. หัวข้อ 1.1 วิธีการหาความรู้ ความจริง สู่การวิจัย 1.2 ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 1.3 ทฤษฏี ความรู้ความจริง 1.4 การวิจัย 1.5 ขั้นตอนในการวิจัย 1.6 ประเภทของการวิจัย 1.7 การวิจัยในบริบทการท่องเที่ยว 1.8 งานมอบหมายในห้องเรียน

  3. วิธีการหาความรู้ ความจริง นำมาสู่การวิจัย • วิธีโบราณ • วิธีอนุมาน(deductive) • วิธีอุปมาน(inductive) • วิธีอนุมาน-อุปมาน(deductive- inductive) • วิธีใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ของ จอห์น สจ๊วต มิลล์ • วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หน้าหลัก

  4. ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ • ข้อตกลงเกี่ยวกับรูปแบบของธรรมชาติ • สัจพจน์เกี่ยวกับชนิดของธรรมชาติ • สัจพจน์ของความคงเส้นคงวา • สัจจพนน์ของความเป็นเหตุเป็นผล • ข้อตกลงเกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการรับรู้ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการจำ • สัจจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการใช้เหตุผล

  5. ความรู้ ความจริง • ความรู้ ความจริงที่มนุษย์ค้นคว้าหานั้น คือสิ่งที่เชื่อถือได้ เพื่อใช้ในโอกาสต่างๆ ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องแน่นอนคงตัวเสมอไป แต่จะดำรงคงอยู่สภาพนั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง กาลเวลาเปลี่ยนไป ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเปลี่ยนไป ความรู้ ความจริงนั้นก็อาจเปลี่ยนแปลงได้

  6. ทฤษฏี • ทฤษฏี คือ ข้อกำหนดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของโครงสร้าง ความคิดรวบยอด และแบบเค้าโครงของตัวแปรต่างๆ เพื่อให้สามารถอธิบาย และคาดคะเนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ • ทฤษฏี จะตั้งขึ้นมาได้ ต้องผ่านการศึกษาค้นคว้าทดลองกับข้อมูลต่างๆ มาเป็นจำนวนมาก และเป็นเวลานาน จนมีความแน่ใจว่าเป็นความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้ • ทฤษฏี อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพการณ์และตามเวลาที่เปลี่ยนแปลง หรือในกรณีที่มีผู้สามารถนำหลักฐานมาพิสูจน์ลบล้างได้

  7. ความสัมพันธ์ของ ทฤษฏี ความรู้ความจริง • ช่วยเป็นเครื่องมือนำทางในการค้นหาความรู้ ความจริงใหม่ๆ • ช่วยสรุปความรู้ความจริงให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ • ช่วยในการหาส่วนที่ยังบกพร่องของความรู้ความจริงให้ครบถ้วน • ความรู้ ความจริงช่วยในการสร้างทฤษฏี • ความรู้ ความจริงช่วยในการปรับปรุงทฤษฏีเก่าๆ ให้เหมาะสม • ความรู้ ความจริงช่วยที่ค้นพบใหม่ๆ ช่วยบอกความผิดพลาดของ ทฤษฏีได้

  8. การวิจัย ความหมายการวิจัย คุณลักษณะที่ดี บทบาทของการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย ประเภทการวิจัย

  9. ความหมายของการวิจัย • การวิจัยคือ การค้นคว้า หาความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้โดยวิธีการที่มีระบบแบบแผนที่เชื่อถือได้ เพื่อนำความรู้ที่ได้นั้นไปสร้างกฎเกณฑ์ ทฤษฏีต่างๆ เพื่อไว้ใช้ในการอ้างอิงอธิบายปรากฏการณ์ เฉพาะเรื่องและปรากฏการณ์ทั่วๆ ไป และเป็นผลทำให้สามารถทำนายและควบคุมการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ ได้ (p.12) พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2531). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เจริญผล.

  10. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • เพื่อการแก้ปัญหา (Problem solving research) • เพื่อสร้างทฤษฏี (Theory-developing research) • เพื่อพิสูจน์ทฤษฏี (Theory testing research)

  11. บทบาทของการวิจัย • ทำให้เกิดวิทยาการใหม่ๆ ขึ้น • ทำให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหา • หน่วยงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการตัดสินใจ • ประเทศเกิดการพัฒนา

  12. ขั้นตอนของการทำวิจัย • เลือกหัวข้อปัญหา • ศึกษา ค้นคว้าทฤษฏี • ให้คำจำกัดความของปัญหา • สร้างสมมุติฐาน • พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล • วางแผนการวิจัย • สร้างเครื่องมือ • ทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ • เลือกกลุ่มตัวอย่าง • เก็บรวบรวมข้อมูล • จัดกระทำข้อมูล • เขียนรายงานการวิจัย

  13. การวิจัยในบริบทของการท่องเที่ยวการวิจัยในบริบทของการท่องเที่ยว • การท่องเที่ยวเป็นศาสตร์ที่อยู่ในสังคมศาสตร์ จึงเป็นการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในด้านพฤติกรรม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ โดยเฉพาะทางการท่องเที่ยว • การวิจัยทางการท่องเที่ยว จึงเป็น การศึกษาหาความรู้เพื่อให้พบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางท่องเที่ยวอย่างมีแบบแผนทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้แก่ นักท่องเที่ยว ชุมชน ผู้ประกอบการ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในการดำเนินกิจกรรมทางการท่องเที่ยว เพื่อแก้ปัญหา เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ และเพื่อสร้างแนวทางที่เหมาะสม

  14. วิธีในสมัยโบราณ • โดยบังเอิญ (by chance) • โดยขนบธรรมเนียบประเพณี (by tradition) • โดยผู้มีอำนาจ (by authority) • จากประสบการณ์ส่วนตัว (by personal experience) • โดยการลองผิดลองถูก (by trial and error) • โดยผู้เชี่ยวชาญ (by expert) กลับ

  15. โดยวิธีอนุมาน (deductive method) • อริสโตเติล เป็นผู้ที่ได้นำเอาหลักของเหตุผลมาใช้ ในการหาความรู้ ความจริง • เป็นการใช้เหตุผลโดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่เป็น เหตุ 2 ประการ แล้วหาความสัมพันธ์ของทั้ง 2 เหตุ สรุปเป็น ผล เช่น เหตุใหญ่ คนทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย เหตุย่อย นายแดงเป็นคน สรุป นายแดงต้องตาย

  16. โดยวิธีอนุมาน (deductive method) เหตุใหญ่ ถ้านักเรียนมาโรงเรียนสาย ครูจะทำโทษ เหตุย่อย เด็กชายจุกมาโรงเรียนสาย สรุป เด็กชายจุกจะ……… เหตุใหญ่ ถ้าฝนตกรถจะติด เหตุย่อย วันนี้ฝนตก สรุป ………………

  17. โดยวิธีอนุมาน (deductive method) • ข้อสรุปจะถูกต้องขึ้นอยู่กับ เหตุใหญ่ และเหตุย่อย • กรณีที่ 1 ถ้าเหตุใหญ่ เป็นจริง เหตุย่อยเป็นจริง ข้อสรุปจะเที่ยงตรงและเป็นจริงมาก • กรณีที่ 2 ถ้าเหตุใหญ่เป็นจริงน้อย เหตุย่อยมีความเป็นจริง ข้อสรุปนั้นก็มีความเป็นจริงน้อย ข้อสรุปจะถูกต้องขึ้นอยู่กับ เหตุใหญ่ และเหตุย่อย กลับ

  18. โดยวิธีอุปมาน • ฟรานซิส เบคอน ได้ชี้ข้อบกพร่องของแบบ อนุมาน 2 ประการคือ • วิธีอนุมานไม่ช่วยให้หาความรู้ใหม่ • การหาเหตุผลเป็นการใช้เหตุผลทางภาษา ข้อสรุปไม่ถูกต้องอยู่เสมอไป

  19. ข้อบกพร่องโดยวิธีอนุมานข้อบกพร่องโดยวิธีอนุมาน เหตุใหญ่ ถ้านักเรียนมาโรงเรียนสาย ครูจะทำโทษ เหตุย่อย เด็กชายจุกมาโรงเรียนสาย สรุป นายจุกถูกทำโทษ จะเห็นว่า ข้อสรุปที่ได้ไม่เป็นจริงเสมอไป

  20. ข้อบกพร่องโดยวิธีอนุมานข้อบกพร่องโดยวิธีอนุมาน เหตุใหญ่ นักศึกษาที่จบจากแม่โจ้อดทนสู้งาน เหตุย่อย นายแดง จบจากแม่โจ้ สรุป นายแดงอดทนสู้งาน จะเห็นว่า ข้อสรุปที่ได้ไม่เป็นจริงเสมอไปขึ้นกับเหตุใหญ่ที่ต้องเป็นจริง

  21. หลักของวิธีอุปมาน • หาความรู้เริ่มจากการเก็บข้อมูลย่อยๆ หลายๆ กรณี ใช้วิธีต่างๆ กัน • วิเคราะห์ความสัมพันธ์ • สรุปออกมาเป็นความรู้ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล

  22. ตัวอย่างวิธีอุปมาน • เก็บข้อมูล แมวแต่ละตัวออกลูกเป็นตัว • วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลมาพิจารณาพบว่า แมวที่พบมีหลายชนิด • สรุปผล แมวทุกชนิดออกลูกเป็นตัว ข้อสรุป เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นกับการเก็บข้อมูล

  23. ตัวอย่างวิธีอุปมาน • เก็บข้อมูล นศ.คณะพัฒนาการท่องเที่ยว จากแม่โจ้อดทดสู้งาน • วิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลมาพิจารณาพบว่า ทุกคณะมี นศ.จบแล้วอดทน สู้งาน • สรุปผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้ทุกคน อดทนสู้งาน ข้อสรุป เป็นจริงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นกับการเก็บข้อมูล

  24. การเก็บข้อมูลที่ดี เที่ยงตรง/เป็นตัวแทนที่ดี เก็บทุกหน่วยของประชากร เก็บบางส่วนของประชาการ

  25. หลักการ 3 ประการของวิธีอุปมาน • อุปมานแบบ สมบูรณ์ (Perfect induction)โดยการเก็บข้อมูลจากทุกหน่วย • อุปมานแบบ ไม่สมบูรณ์ (Imperfect induction)เก็บข้อมูลบางส่วน • อุปมานแบบ เบคอเนี่ยน (Baconian induction) โดยดูจาก 3 กรณีคือ พิจาณาจากส่วนที่เป็นอย่างเดียวกัน พิจารณาจากส่วนที่ต่างกันออกไป พิจารณาจากส่วนที่แปรเปลี่ยนไป แล้วนำมาวิเคราะห์ประกอบกัน กลับ

  26. วิธีอนุมาน-อุปมาน • ชาร์ล ดาวิน ได้นำเอาทั้งแนวคิดอนุมานและอุปมาน มารวมกัน เพราะเห็นว่า การที่จะได้ความรู้ ความจริงได้ จะใช้วิธีการอย่างเดียว อย่างใดอย่างหนึ่งไม่เพียงพอ ต้องใช้ทั้งสอง ตั้งชื่อว่า วิธีการคิดแบบใคร่ครวญรอบคอบ (Reflective thinking) ซึ่งเป็นต้นแบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ต่อมา

  27. วิธีอนุมาน-อุปมาน • ขั้นที่ 1 ขั้นปัญหา • ขั้นที่ 2 แถลงและนิยามปัญหา • ขั้นที่ 3 ตั้งสมมุติฐาน • ขั้นที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้องและเหตุผลที่ตั้งขึ้นโดยวิธีการอนุมาน • ขั้นที่ 5 ทดสอบสมมุติฐานโดยการปฏิบัตินำไปสู่การสรุปผลโดยวิธีอุปมาน กลับ

  28. วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) ได้เสนอหลักของความสัมพันธ์เชิงเหตุผล 5 ประการ • วิธีของความสอดคล้อง (method of agreement) • วิธีของความแตกต่าง (Method of difference) • วิธีของความสอดคล้องและไม่สอดคล้อง (join method of agreement and disagreement) • วิธีของการแปรผันร่วมกัน (method of concomitant variation) • วิธีของส่วนที่เหลือ (method of residue) กลับ

  29. วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของความสอดคล้อง (method of agreement) • สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ สองอย่างขึ้นไป ทั้งสองอย่างมีเหตุหรือผล ของปรากฏการณ์นั้นๆ • เช่น คนกลุ่มหนึ่งหลังจากรับประทานอาหารร่วมกัน ทุกคนมีอาการปวดท้อง อาจสรุปได้ว่าอาหารที่รับประทานเป็นสาเหตุของการปวดท้อง กลับ

  30. วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของความแตกต่าง (Method of difference) • สิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ สองอย่างในปรากฏการณ์สิ่งที่แตกต่างกันทำให้เกิดผลต่างกันในปรากฏการณ์นั้นๆ • เช่น คนหนึ่งอ้วน เป็นโรคเบาหวาน คนหนึ่งผอม ไม่เป็นโรคเบาหวาน อาจสรุปได้ว่าความอ้วนเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน กลับ

  31. วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของความสอดคล้องและไม่สอดคล้อง (join method of agreement and disagreement) • คนกลุ่มหนึ่งมีแม่และลูกหญิง ดื่มน้ำที่เดียวกันเป็นโรคท้องเดิน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง มีพ่อและลูกชาย ไม่ได้ดื่มน้ำ และท้องไม่เดิน สรุปได้ว่า การดื่มน้ำเป็นสาเหตุของโรคท้องเดิน กลับ

  32. วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของการแปรผันร่วมกัน (method of concomitant variation) • อัตราการเกิดของเด็กขึ้นกับคู่แต่งงาน หากที่ใดมีจำนวนคู่แต่งงานมากแสดงว่าอัตราของเด็กมีมากด้วย กลับ

  33. วิธีของจอห์น สจ๊วต มิลล์ (Mill’s method) • วิธีของส่วนที่เหลือ (method of residue) • A B C -----> X Y Z • A เป็นสาเหตุทำให้เกิด X • B เป็นสาเหตุทำให้เกิด Y • อาจสรุปได้ว่า • C เป็นสาเหตุทำให้เกิด Z กลับ

  34. วิธีการทางวิทยาศาสตร์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ • จอห์น ดิวอี้ ได้นำเอาวิธีของ ชาร์ล ดาวินมาสานต่อ กลายเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่มีระบบแบบแผนสมบูรณ์ที่สุด ใช้เป็นวิธีการหาความรู้ ความจริงที่เชื่อถือได้มากที่สุด และเป็นวิธีที่ได้นำเอามาใช้ในการวิจัยปัจจุบัน

  35. ขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์ • ขั้นปัญหา (Problem) • ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) • ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collection of data) • ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of data) • ขั้นสรุปผล (Conclusion) กลับ

  36. ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ข้อตกลงเบื้องต้นของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ต้องยอมรับข้อตกลงดังนี้ • ข้อตกลงเกี่ยวกับรูปแบบของธรรมชาติ • สัจพจน์เกี่ยวกับชนิดของธรรมชาติ • สัจพจน์ของความคงเส้นคงวา • สัจพจน์ของความเป็นเหตุเป็นผล • ข้อตกลงเกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการรับรู้ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการจำ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการใช้เหตุผล กลับ

  37. 1. ข้อตกลงเกี่ยวกับรูปแบบของธรรมชาติ(Assumption of the uniformity of nature) • ปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างมีระบบ มีแบบฉบับของตัวมันเอง • ทุกอย่างมีโอกาสเกิดขึ้นในธรรมชาติ เมื่อเกิดขึ้น ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก ภายใต้เงื่อนไขอย่างเดียวกัน • แบ่งออกเป็น 3 สัจพจน์ ย่อย • สัจพจน์เกี่ยวกับชนิดของธรรมชาติ • สัจพจน์ของความคงเส้นคงวา • สัจพจน์ของความเป็นเหตุเป็นผล กลับ

  38. สัจพจน์เกี่ยวกับชนิดของธรรมชาติ(Postulate of nature kinds) • ธรรมชาติ มีโครงสร้าง คุณสมบัติ และจุดมุ่งหมายของมันเอง • ตัวอย่าง เช่น หิน แร่ สัตว์ • อาจจะจัดให้อยู่เป็นหมวดหมู่ กลุ่มได้ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กลับ

  39. สัจพจน์ของความคงเส้นคงวา(Postulate of constancy) • ปรากฏการณ์ของธรรมชาติจะคุมลักษณะของมันภายใต้เงือนไขเฉพาะบางอย่าง อยู่ได้ภายใต้ช่วงเวลาจำกัด • ตัวอย่าง น้ำจะเป็นน้ำแข็งขึ้นอยู่กับเงือนไขของอุณหภูมิ ความดัน และน้ำแข็งจะไม่เป็นน้ำแข็งตลอดกาล ถ้าเงือนไขเปลี่ยนแปลง กลับ

  40. สัจพจน์ของความเป็นเหตุเป็นผล(Postulate of determinism) • ปรากฏการณ์ทั้งหลายในธรรมชาติมีสาเหตุที่ทำให้มันเกิด และผลทั้งหลายจะเกิดมาจากสาเหตุนั้น • ตัวอย่าง คนเป็นไข้จับสั่น สาเหตุมาจากเชื่อยุงก้นปล่อง กลับ

  41. 2. ข้อตกลงเกี่ยวกับขบวนการทางจิตวิทยา(Assumption concerning the psychological process) • บุคคลได้รับการรับความรู้ต่างๆ โดยอาศัยขบวนการทางจิตวิทยา 3 ประการได้แก่ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการรับรู้ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการจำ • สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการใช้เหตุผล กลับ

  42. สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการรับรู้ (Postulate of reliability of perceiving) • การรับรู้ของบุคคลต้องเชื่อมั่นได้ หมายถึง ประสาทสัมผัสที่ใช้ในการรับรู้ต้องใช้การได้ และมีความแน่นอนในการรับรู้ กลับ

  43. สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการจำ(Postulate of the reliability of remembering) • การจำต้องมีความเชื่อมั่นว่า จำถูกต้อง ซึ่งอาจจะใช้โดยการจดบันทึก หรือเทป นั้นคือหลักฐานที่กระทำอย่างถูกต้อง กลับ

  44. สัจพจน์เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของการใช้เหตุผล(Postulate of the reliability of reasoning) • การใช้เหตุผลในการหาความรู้ต้องเชื่อมั่นได้ว่าถูกต้อง คือต้องได้มาอย่างเป็นระบบ กลับ

  45. 1.3 ทฤษฏี ความรู้ความจริง • ความจริง/ความรู้ความจริง • ทฤษฏี กลับ

  46. ความจริง/ความรู้ความจริงความจริง/ความรู้ความจริง ความหมาย • ความรู้ความจริงคือสิ่งที่เชื่อถือได้ เพื่อใช้ในโอกาสต่างๆ • ลักษณะสำคัญคือ ไม่จำเป็นต้องแน่นอนคงตัวเสมอไป แต่จะดำรงอยู่ในสภาพนั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เวลาเปลี่ยน ปรากฏการณ์ธรรมชาติเปลี่ยน ความรู้ความจริงเปลี่ยนไป

  47. ความจริง/ความรู้ความจริงความจริง/ความรู้ความจริง ประเภท • ความจริงส่วนบุคคล เป็นความจริงที่ได้รับรู้เฉพาะตัว แต่ละคนไม่เท่ากันในเรื่องเดียวกันเป็นนามธรรม เช่น ความกลัว • ความจริงทั่วไป เป็นความจริงที่บุคคลทั่วไปรับรู้ได้ มักเป็นรูปธรรม เป็นปรากฏการณ์ในธรรมชาติ ที่ได้รับรู้โดยตรงเช่น พระอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ง่าย

  48. ความจริง/ความรู้ความจริงความจริง/ความรู้ความจริง ระดับ • ระดับที่ได้รับจากการรับรู้ของประสาทสัมผัสโดยตรง ระดับนี้ความจริงเรียกว่า ความจริงเบื้องต้น (raw fact) เช่น ผิวหนังสัมผัสความเย็นของอากาศ • ระดับที่ได้จากการแปลความหมายของความจริงในระดับแรก เช่น หูได้ยินฟ้าร้อง แปลความว่า ฝนกำลังจะตก การแปลความขึ้นกับประสบการณ์ของผู้แปล • ระดับที่ได้จาการใช้เหตุผลขั้นสูง จะได้จากการค้นคว้าด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ มีระบบแบบแผน และมีการใช้เหตุผลชั้นสูง กลับ

  49. ทฤษฏี ความหมาย • คือข้อกำหนดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของโครงสร้างความคิดรวบยอด และแบบเค้าโครงของตัวแปรต่างๆ เพื่อให้สามารถอธิบาย และคาดคะเนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้

  50. ทฤษฏี ความรู้ความจริง ทฤษฏี • ช่วยเป็นเครื่องมือนำทางในการค้นหาความรู้ความจริงใหม่ๆ • ช่วยสรุปความรู้ความจริงเพื่อสะดวกในการนำไปใช้ • ช่วยในการหาส่วนที่ยังบกพร่อง ความรู้ความจริง • ช่วยสร้างทฤษฏีเพิ่ม • ช่วยปรับแก้ทฤษฏีให้เหมาะสม • ช่วยบอกข้อผิดพลาดของทฤษฏี

More Related