630 likes | 833 Views
อาจารย์อุดมศึกษาและสังคมการเรียนรู้ ในมหาวิทยาลัย. โดย ผศ . ดร . อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ 4 กรกฏาคม 2555. ประเด็นคำถาม 1 สังคมการเรียนรู้คืออะไร ?
E N D
อาจารย์อุดมศึกษาและสังคมการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยอาจารย์อุดมศึกษาและสังคมการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย โดย ผศ. ดร. อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ 4 กรกฏาคม 2555
ประเด็นคำถาม 1 สังคมการเรียนรู้คืออะไร? 2. ขณะนี้มหาวิทยาลัย (HEIs)ของเรามีลักษณะเป็นสังคมการเรียนรู้หรือยัง? Lifelong Learning ค่านิยมหลักขององค์การอุดมศึกษา/มหาวิทยาลัยของเราหรือยัง? เรามีวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบเพื่อนร่วมงาน (collegiality) หรือไม่? 3. มหาวิทยาลัยมีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้หรือยัง? การเรียนรู้เป็นทีมเป็นวิถีปฏิบัติของประชาคมในมหาวิทยาลัยหรือยัง?
ประเด็นคำถาม (ต่อ) 4. บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ในสังคมการเรียนรู้จะต้องเปลี่ยนไปอย่างไร? และความเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อการบริหารงานและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบุคลากรทางวิชาการ/อาจารย์อย่างไร? 5. การพัฒนาอาจารย์ในสังคมการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยควรเป็นอย่างไร?
1. แนวคิดสังคมการเรียนรู้ • สังคมการเรียนรู้ (สังคมฐานความรู้ สังคมสารสนเทศ) คืออะไร ? และมีลักษณะอย่างไร? สังคมการเรียนรู้ คือ สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ และการ เรียนรู้เป็นหลัก โดยมีค่านิยมหลักว่าการเรียนรู้ตลอด ชีวิต(Lifelong learning)เป็นแก่นแกนของการมีชีวิตรอดใน สังคมยุคนี้ โอกาสในการเรียนรู้ของคนในสังคมยุคนี้มีความ หลายประเภท (formal, informal, และ non-formal education ผู้เรียนเข้าศึกษาด้วย วัตถุประสงค์ที่แตกต่างและหลากหลาย และการเรียนรู้ไม่จำกัดเฉพาะในสถาบันการศึกษา
การเรียนรู้ตลอดชีวิต :การเรียนรู้ที่เกิดตลอดชั่วอายุขัย ครอบคลุม การเรียนรู้อย่างเป็นทางการ การเรียนรู้ไม่เป็นทางการ และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย • การเรียนรู้ที่เป็นทางการ: การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาตั้งแต่ก่อนวัยเรียน(เตรียมอนุบาล)จนไปถึงระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยและที่มีการให้หน่วยกิตและหรือปริญญา • การเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ : การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการวางแผน นอกเหนือจากการเรียนรู้ที่เป็นทางการในระบบโรงเรียน มักเป็นการจัดการเรียนรู้ในระยะสั้น เพื่อวัตถุประสงค์จำเพาะ เช่น การจัดสัมมนา ประชุมเชิงปฏิบัติการ อบรมระยะสั้น • การเรียนรู้ตามอัธยาศัย:การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันทั้งในด้านชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงานและชีวิตทางสังคม ซึ่งบ่อยครั้งไม่ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์หรือวางแผนไว
ผลกระทบของสังคมการเรียนรู้ที่มีต่อมหาวิทยาลัยผลกระทบของสังคมการเรียนรู้ที่มีต่อมหาวิทยาลัย • มีความต้องการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้นและผู้เรียนมีความหลากหลายยิ่งขึ้น • มหาวิทยาลัยมีพันธมิตรและคู่แข่งเพิ่มมากขึ้นในการจัดการศึกษา ได้แก่ ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและ แหล่งความรู้ในเครือข่ายสารสนเทศ • สังคมคาดหวังมากขึ้นให้มหาวิทยาลัยให้บริการทางวิชาการและเป็นที่พึ่งทางวิชาการสังคม ฉะนั้นมหาวิทยาลัยต้องมีการเรียนรู้และปรับตัว
ผลกระทบของสังคมการเรียนรู้ที่มีต่ออาจารย์มหาวิทยาลัยผลกระทบของสังคมการเรียนรู้ที่มีต่ออาจารย์มหาวิทยาลัย • ต้องปรับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ให้มีการบูรณาการระหว่างการสอน การวิจัย และการบริการชุมชน • ปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนให้ตอบสนองผู้เรียนกลุ่มใหม่ ได้แก่ ผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ หรือที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย • ทำงานร่วมกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น • ต้องทำงานในลักษณะสหสาขาวิชา สหวิทยากรและสหสถาบันมากขึ้น
มหาวิทยาลัย(Higher Education Institution: HEI)จะต้องปรับตัวอย่างไร? ด้านการบริหารองค์การ • HEI ต้องปรับตัวเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ และ Lifelong Learning Institution ด้านการจัดการศึกษาและพัฒนานิสิต • ให้ความสำคัญกับ Liberal Arts Education หรือการศึกษาทางศิลปศาสตร์ ที่เน้นพัฒนาให้บัณฑิตมีความรอบรู้ มีทักษะการคิดและแสวงหาความรู้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมการเรียนรู้
มหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัวอย่างไร? (ต่อ) • บูรณาการ Liberal Arts Education กับ Professional Education • ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อเอื้อให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทันทีเมื่อจำเป็นต้องใช้ความรู้นั้นๆ Just-in-time learning • เชื่อมโยงการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ เช่น - จัดระบบการศึกษาที่เอื้อให้สามารถเทียบโอนประสบการณ์เป็นหน่วยกิตได้ - จัดสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยให้เอื้อสำหรับการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน
2. มหาวิทยาลัยของเรามีลักษณะเป็นสังคมการเรียนรู้หรือยัง ? มหาวิทยาลัยของเรามีวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมและแลกเปลี่ยน เรียนรู้กันแบบเพื่อนร่วมงาน (collegiality) หรือไม่? เมื่อพิจารณาสภาพปัจจุบันของระบบอุดมศึกษา: ขยายและแตกตัว( fragmented) เป็นสาขาและหน่วยงานย่อยๆ มากมาย • We live in small worlds and different worlds (Clark Burton) or different academic tribes (Tony Becher) • Lack of collegiality, disconnected between administrators and faculty members and among faculty members ( Whitt, Fink, Menge, Austin, etc)
ส่วนในบริบทอุดมศึกษาไทย งานวิจัยพบว่ามีความต้องการอาจารย์พี่เลี้ยงมาก • อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์แบบพี่เลี้ยงในอุดมศึกษาไทยมักเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาจารย์ใหม่และอาจารย์อาวุโสซึ่งเป็นครูและศิษย์กันมา (informal mentoring
สาเหตุ • ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของแต่ละสาขาวิชา และระหว่างภาควิชาและระหว่างสถาบัน • ความหลากหลายด้านภูมิหลังทางสังคมเศรษฐกิจของอาจารย์และผู้เรียน • ความหลากหลายที่เกิดจากลักษณะการจ้างงาน เช่น มีระบบราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย มีการจ้างงานในลักษณะครึ่งเวลา (part-time) เพิ่มมากขึ้น • ทรัพยากรที่มีจำกัดทำให้วัฒนธรรมการจัดการ (managerial culture) และวัฒนธรรมการเมือง (political culture) เข้ามาแทนที่ วัฒนธรรมเพื่อนร่วมงาน ( collegial culture) • ลักษณะของภาระงานที่มีมาก หลากหลายและแต่ละงานต้องอาศัยความชำนาญสูง • การตรวจสอบไล่เบี้ยจากภายนอกที่มีเพิ่มมากขึ้น
3. มหาวิทยาลัยมีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้หรือยัง? การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ/หรือการเรียนรู้เป็นทีมเป็นวิถีปฏิบัติของมหาวิทยาลัยใช่หรือไม่?
องค์การของท่านมีลักษณะต่อไปนี้ หรือ ไม่? 1. บุคลากรแต่ละคน/ คนในหน่วยงานย่อยแต่ละหน่วยไม่สนใจว่างานของตนนั้นสัมพันธ์กับงานของหน่วยงานอื่นอย่างไร? เช่น ถ้ามองในระดับภาควิชา ผู้สอนแต่ละคน สนใจแต่วิชาที่ตนเองสอน โดยไม่สนใจว่า สัมพันธ์กับวิชาอื่นอย่างไร ฉะนั้น ผลก็คือ ภาระหน้าที่บูรณาการเชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากวิชาต่างๆจะตกอยู่ที่ผู้เรียนทั้งหมด 2 .เวลามีปัญหาเกิดขึ้นในองค์การ คนในองค์การมักโทษผู้อื่น หรือ หน่วยงานอื่นๆ ในองค์การ
องค์การของท่านมีลักษณะต่อไปนี้ หรือ ไม่? (ต่อ) 3. เวลามีปัญหาเกิดขึ้น องค์การของท่านมักใช้วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และ ผัดผ่อนที่จะจัดการปัญหาที่ต้นตอ ทำให้ปัญหาที่เป็นต้นตอทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น 4 ในการประชุมกลุ่มแต่ละครั้ง ดูเหมือนทุกคนจะมีความเห็นพ้องกันไปหมด ในขณะที่การตัดสินใจจริงๆนั้นมักเกิดนอกรอบโดยคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งขององค์การ ถ้าองค์การของท่านมีลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้นแสดงว่า องค์การของท่านยังขาดลักษณะของการเป็น องค์การแห่งการ เรียนรู้ (Learning Organization) ที่แท้จริง
องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ อะไร? องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นองค์การที่บุคคลในองค์การมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ พัฒนาตนเอง เพื่อให้ตนเองและองค์การสามารถบรรลุผล/หรือ เป้าหมาย แท้จริงที่ตนเองต้องการ • องค์การแบบนี้มีลักษณะอย่างไร? คนในองค์การแบบนี้จะมีทักษะในการมองปัญหาต่างๆเชิงระบบในภาพรวม นอกจากนี้ในองค์การแบบนี้ บุคลากรแต่ละคนในองค์การจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และตระหนักถึงกรอบความคิด/โลกทัศน์ของตนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมขององค์การ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือ องค์การลักษณะนี้ส่งเสริมให้คนในองค์การเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มจากกระบวนการทำงาน (Team thinking/ Team Learning)
หลัก 5 ประการของ องค์การแห่งการเรียนรู้ 1. System thinking: การคิดและมองเหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ หรือ เป็นองค์รวม 2.Personal Mastery: ความเชี่ยวชาญของปัจเจกบุคคล 3. Mental model: ความตระหนักถึง โลกทัศน์/กรอบความคิดของบุคคล 4. Shared Vision: การมีวิสัยทัศน์ร่วม 5. Team Learning: การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมจากการปฏิบัติงาน
1.System Thinking: การคิดเชิงระบบ • สมาชิกในองค์การต้องรู้จักวิเคราะห์เหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบและเป็นองค์รวม โดยพิจารณาไปถึงโครงสร้างของความสัมพันธ์อันซับซ้อนที่แฝงอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์มากกว่าที่จะมองปัญหาที่ปรากฏเฉพาะหน้าแบบแยกส่วน
ตัวอย่างของ archetype ที่เรียกว่า “Shifting theBurden to the Intervener” อาจารย์ประจำหลักสูตรมีคุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จึงใช่วิธียืมชื่ออาจารย์จากหลักสูตรใกล้เคียง แล้วจ้างจากอาจารย์พิเศษสอนเป็นหลัก โดยอาจารย์ประจำไม่ได้ปฏิบัติงานสอนจริงหรือพัฒนาอาจารย์ประจำ
2.Personal Mastery: ความชำนาญการเฉพาะบุคคล ข้อสมมุติของหลักการข้อนี้: การพัฒนาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ขึ้นกับประสิทธิภาพของบุคลากรแต่ละคน รวมถึง การที่ บุคลากรแต่ละคน มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับตนเองและ องค์การและ สามารถประเมิน gap ระหว่างเป้าหมายและวิสัยทัศน์ ของตนเองและองค์การที่เป็นอยู่กับที่ต้องการได้อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งก่อให้เกิด Creative tension หรือ ความเครียดที่สร้างสรรค์ ที่จะเป็นแรงผลักดันให้บุคลากรแต่ละคนพัฒนาตนเอง
3. Mental Model กรอบความคิด/โลกทัศน์ ข้อสมมุติ: • สมาชิกองค์การแต่ละคน มีกรอบความคิด/ โลกทัศน์ที่แตกต่างกันทำให้ตีความปรากฏการณ์เดียวกันออกมาได้แตกต่างกัน • กรอบความคิด/โลกทัศน์ของตนเองเป็นสิ่งที่เรามักไม่ตระหนักถึงและไม่สื่อสารกันเรื่องนี้ - ดังนั้นเพื่อส่งเสริมความเข้าใจ การสื่อสารที่ดีและการเรียนรู้ร่วมกัน เราจำเป็นต้องมีเครื่องมือในการค้นหา สื่อสาร mental model ของตนเอง นั้นก็คือ reflection & advocacy ตามลำดับและควรต้องมี เครื่องมือในการสืบสอบ mental model ของผู้อื่น นั้นคือ inquiry
4. Shared Vision: วิสัยทัศน์ร่วมกัน • วิสัยทัศน์ร่วมเป็นภาพอนาคตขององค์การที่สมาชิกในองค์การมุ่งหวังให้เกิดขึ้น วิสัยทัศน์ร่วมเป็นผลรวมของวิสัยทัศน์รายบุคคล (ซึ่งสะท้อน ค่านิยม ความสนใจ และ ความมุ่งหวังของบุคลากรแต่ละคน)
การพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมเกิดขึ้นในองค์การได้อย่างไร? ลำดับขั้นของพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมในองค์การ: • Genuine compliance ซึ่งหมายถึง การทำตามโดยหวังผลตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ได้เกิดจากการที่บุคคลเห็นพ้องกับวิสัยทัศน์นั้น • Selling หรือการขายความคิด เป็นการชักจูง โดยอาจไม่ได้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ทั้งหมด • Enrollmentคือ ผู้ตาม สมัครใจ/เต็มใจที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์นั้น โดยไม่ต้องอาศัยการชักจูง ผู้ตาม • Commitment หมายถึง การที่ผู้ตามไม่เพียงแต่ สมัครใจที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์ของผู้นำ แต่ยังรู้สึกว่าตนเองต้องมีส่วนรับผิดชอบในการทำให้วิสัยทัศน์นั้นบรรลุผล
จุดเด่นของวิสัยทัศน์ร่วม คือ เกิดจากการหลอมรวมของวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล ทำให้สมาชิกในองค์การเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ(sense of ownership) มีพันธสัญญา (commitment) ต่อวิสัยทัศน์นั้น • อย่างไรก็ดีวิสัยทัศน์ร่วมจะไม่บังเกิดผล ถ้าไม่มี creative tension คือ ความตะหนักร่วมกันระหว่างสภาพปัจจุบันกับวิสัยทัศน์ร่วม
(5.) Team Learning: การเรียนรู้เป็นทีม -ข้อสมมุติ: ในกลุ่มที่มีการเรียนรู้เป็นทีมนั้น สมาชิกทุกคนในกลุ่มไม่จำเป็นต้องมีความคิดเห็นเหมือนกันหรือจริต/นิสัยที่ตรงกันจึงจะสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ แต่ปัจจัยที่สำคัญในการทำงานและเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม คือ ต้องมีวิสัยทัศน์ เป้าหมายร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติงานด้วยกันเป็นทีม
(5.) TeamLearning: การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (ต่อ) -กลไกสำคัญของการเรียนรู้เป็นทีม คือการรักษาสมดุลระหว่างการสนทนา 2 แบบ คือ Dialogue และ discussion ความคล้ายกัน -เป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น -ผู้ร่วมสนทนาจะต้องมีทักษะพื้นสำคัญ 2 ประการคือ การคิดสะท้อน (reflection) กับ การอธิบายให้คู่สนทนาเข้าใจถึงกระบวนการได้มาซึ่งข้อสรุปของเรา( inquiry)
Team Learning: การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (ต่อ) ความแตกต่างกันตรงที่เป้าหมายคือ Discussion เป็นการสนทนาเพื่อให้ได้ข้อสรุปในทางปฏิบัติ โดยการแสวงหาจุดร่วมในความคิดเห็นที่หลากหลาย ซึ่งมักยุติด้วยการประนีประนอมเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ต่างฝ่ายต่างพอที่จะยอมรับได้ Dialogue (ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก คำว่า Dia= through กับ log = word/meaning) ซึ่งอาจให้นิยามได้ว่า เป็นกระบวนการให้ ความหมายร่วมกันในทีมโดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนทัศนะระหว่าง สมาชิกทีม
4. บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ในสังคมการเรียนรู้ควร เปลี่ยนไปในทิศทางใด? และความเปลี่ยนแปลง นี้มีผลต่อการบริหารงานและนโยบายที่เกี่ยวข้อง กับการบริหารงานอาจารย์อย่างไร?
บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ตามแนวคิดเดิมบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ตามแนวคิดเดิม งานวิชาการ ประกอบด้วย • การสอน: มีความเป็นอิสระสูง • การวิจัย: ที่มาของ prestige ของบุคคลและสถาบัน • การบริการชุมชน • การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม
กระบวนทัศน์ใหม่ในการมองบทบาทหน้าที่ของอาจารย์หรืองานวิชาการScholarships ตามแนวคิดของ ErnestBoyers : 1 Scholarship of Teaching = งานวิชาการด้านการสอน 2 Scholarship of Discovery =งานวิชาการด้านการแสวงหา ความรู้ใหม่ 3 Scholarship of Integration =งานวิชาการด้านการบูรณาการ ความรู้ 4 Scholarship of Application = งานวิชาการด้านการประยุกต์ใช้ Scholarship of Engagement ความรู้และการมีส่วนร่วมในการ สร้างสรรค์สังคม
Concept of Scholarship Scholarship of Discovery Scholarship of Teaching Scholarship of Application/ scholarshipof Engagement Scholarship of integration -สังเกตได้ว่ามีมิติที่ทับซ้อนกัน -การที่งานวิชาการใดจะถือว่า เป็น scholarship ได้นั้นมีเงื่อนไขว่า 1. เปิดกว้างให้สาธารณะชนรับรู้ ได้ 2. มีการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์โดยเพื่อนร่วมวิชาชีพ 3. สามารถนำไปใช้ประโยชน์และเป็นฐานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ สร้างความรู้ใหม่ของคนในวงวิชาชีพเดียวกัน
Scholarship of Teaching หมายถึง การถ่ายทอดเนื้อหาสาระความรู้ รวมถึง การแปรสภาพ และ ขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการสอนในศาสตร์นั้นๆ (Pedagogical Content Knowledge) • Scholarship of Discoveryการสร้างความรู้ใหม่ ที่เป็นCutting edge knowledge เฉพาะสาขาวิชา • Scholarship of Integrationผลงานทางวิชาการประเภทที่สังเคราะห์ ประมวลองค์ความรู้ รวมถึงงานวิชาการในลักษณะสหสาขาวิชา/สหวิทยาการ • Scholarship of Application การนำความรู้ที่พัฒนาขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาไปใช้แก้ปัญหา สร้างสรรค์ ชุมชนและสังคม (เป็นการถ่ายโอนความรู้ทางเดียว) • Scholarship of Engagementเป็นการร่วมมือกับชุมชนในการสร้างความรู้เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนนั้นเอง ( เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้)
5. การพัฒนาอาจารย์ในสังคมการเรียนรู้ ของมหาวิทยาลัยควรเป็นอย่างไร?
สภาพปัจจุบันของพัฒนาทรัพยากรบุคคล : การส่งเสริมการเรียนรู้ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ /HRD ส่วนใหญ่เน้นรูปแบบที่เป็นทางการและ ไม่เป็นทางการ อาทิ เช่น • การให้ทุนศึกษาต่อ (เรียนรู้แบบเป็นทางการ/ formal education) • การประชุม สัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ (การเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ/non formal education) ถ้าจะให้เป็นสังคมการเรียนรู้ที่แท้จริง HEIs ควรส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็น วิถีชีวิตของคนในองค์การ คือ ส่งเสริม informal learning • ส่งเสริมวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันแบบเพื่อนร่วมงาน (collegiality) • พัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Organization Development: OD)
แนวโน้มการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ของอาจารย์แนวโน้มการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ของอาจารย์ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการและ/หรือการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (on-the-job training ) มากขึ้น เช่น • การเรียนรู้จากการสะท้อนความคิดขณะปฏิบัติงาน (reflective practice) และการเรียนรู้จากการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งถือเป็นงานวิชาการด้านการสอน (scholarship of Teaching) • การเรียนรู้จากอาจารย์พี่เลี้ยง ( mentor) • การเรียนรู้ในชุมชน/ประชาคมการเรียนรู้ (Learning communities, community of practice) • เรียนรู้จากการทำ KM ร่วมกัน
ส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนางานวิชาการด้านการสอน อันได้แก่ การสะท้อนคิดจากการปฏิบัติงานสอน (reflective practice) และการทำวิจัยในชั้นเรียน
การสอน : Scholarship of Teaching หมายถึง การถ่ายทอดเนื้อหาสาระความรู้ รวมถึง การแปรสภาพ และ ขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการสอนในศาสตร์นั้นๆ (Pedagogical Content Knowledge) Scholarship of teaching Classroom research Why? How? in teaching Wisdom of Practice in teaching ความรู้แฝงด้านการสอน
การวิจัยในชั้นเรียนคืออะไร? • การวิจัยปฏิบัติการ(action research)ที่ผู้สอนเป็นผู้ทำวิจัย และมีเป้าหมายหลักเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยมีวงจรการดำเนินงานคือ การวางแผน(plan: P) การปฏิบัติ(Action: A) การสังเกตการณ์(Observation:O) การสะท้อนความคิด (Reflection) • ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของ งานวิชาการด้านการสอน(Scholarship of Teaching) เนื่องจาก • มีวิธีดำเนินการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ • นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชาเฉพาะทาง • เปิดกว้างให้สาธารณะรับรู้ • สามารถตรวจสอบได้โดยเพื่อนร่วมงาน • สามารถนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดความรู้ได้
ลักษณะสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียนลักษณะสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน • สนใจกระบวนการและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมากกว่าพฤติกรรมของผู้สอน (Learner –centered) • ผู้สอนมีบทบาทเชิงรุกในการทำวิจัยเกี่ยวกับผู้เรียนในชั้นเรียนของตน (Teacher-directed)แทนที่จะเป็นนักวิจัยภายนอก • อาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและเพื่อนร่วมงาน (Collaborative) • เป็นการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในบริบทจำเพาะคือในชั้นเรียนที่อาจารย์ผู้วิจัยรับผิดชอบสอน (Context-specific)> การสร้างองค์ความรู้ที่สรุปเป็นนัยยะทั่วไป(Generalizable)
ลักษณะสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน (ต่อ) • ถือเป็นงานวิชาการ(scholarly): มีรากฐานจากงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนเฉพาะศาสตร์ มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและคำนึงถึงนัยยะในทางปฏิบัติของผลวิจัย • เน้นความเกี่ยวข้องและประโยชน์ในทางปฏิบัติ(relevance) & practicality)มากกว่าความเข้มงวด(rigor)ในวิธีดำเนินการ • มีดำเนินการอย่างต่อเนื่อง(continual)
วงจรการวิจัยในชั้นเรียนวงจรการวิจัยในชั้นเรียน
2. ส่งเสริมระบบพี่เลี้ยง Mentoring System • ความหมายแคบ : ระบบความสัมพันธ์ ระหว่างอาจารย์อาวุโสและอาจารย์ใหม่ ที่มุ่งสนับสนุนการเติบโตทางวิชาชีพของอาจารย์ใหม่ • ความหมายกว้าง: ระบบความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน (peer mentoring) • มีทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
บทบาทพี่เลี้ยง • สนับสนุนการทำงาน ครอบคลุมถึง - การเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชู : สร้าง connections และ เปิดช่องทางให้อาจารย์ใหม่มีโอกาสก้าวหน้าทางวิชาชีพ - เป็นโค้ช : แนะนำเรื่องการทำงานและให้ข้อมูลย้อนกลับ - เป็นผู้ปกป้อง: ช่วยอาจารย์ใหม่ในการเลี่ยงที่จะต้องเผชิญและหรือแก้ปัญหาความขัดแย้ง - เปิดโอกาสให้อาจารย์ใหม่แสดงความรู้ความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ - มอบหมายงานที่ท้าทายให้อาจารย์ใหม่พัฒนาความสามารถและเติบโตต่อไป
บทบาทพี่เลี้ยง 2 สนับสนุนการปรับตัว ครอบคลุม สนับสนุนให้อาจารย์ใหม่มีความมั่นใจและพัฒนาอัตลักษณ์ทางวิชาชีพ • การเป็นต้นแบบ role model • การให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ • ให้การยอมรับ เป็นกำลังใจ ช่วยสร้างความมั่นใจ • ให้มิตรภาพ รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นอกที่ทำงาน
วิธีปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมระบบพี่เลี้ยงวิธีปฏิบัติที่ดีในการส่งเสริมระบบพี่เลี้ยง • สนับสนุนให้อาจารย์อาวุโสเป็นผู้ริเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์แบบพี่เลี้ยง • นับการเป็นพี่เลี้ยงเป็นภาระงานให้กับอาจารย์อาวุโสที่เป็นอาจารย์พี่เลี้ยง หรือให้รางวัลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ • ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ใหม่กับอาจารย์อาวุโส • ส่งเสริมให้อาจารย์ใหม่มีบทบาทเชิงรุกในการเชิญอาจารย์อาวุโสเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง
3. การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ของอาจารย์Faculty Learning Communities: FLC เป็นวิธีการหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงองค์การอุดมศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
Definition A group of faculty and staff (usually between6-15 or 8-12 participants) who engage in a year-long program with a curriculum about enhancing teaching and learning and with frequent seminars and activities that provide learning, development and community building. (Milton D. Cox, 2004) ตัวอย่างกิจกรรมของชุมชนการเรียนรู้ ได้แก่ weekend retreats, biweekly seminar, national conference, interactions with a student associate and a faculty partner, reading the new literature of the scholarship of teaching, development of and work on a teaching project, preparation of a seminar presentation for the campus/ national conference
ลักษณะสำคัญ • FLC คล้ายกับกิจกรรมการพัฒนาอาจารย์เป็นกลุ่มในรูปแบบอื่นๆ เช่น สัมมนา,Book club, brown-bag luncheon discussion group • ลักษณะเด่นที่ทำให้ FLC แตกต่างจากรูปแบบการพัฒนาอาจารย์ แบบอื่นๆคือ • สมาชิกอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างน้อย 6 เดือน • สมาชิกเข้าร่วมชุมชนด้วยความสมัครใจ • กำหนดช่วงเวลาที่สมาชิกพบกันในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ • ทำโครงงานเพื่อพัฒนาการสอน
FLC แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ • Cohort –based learning community จัดกลุ่มตามรุ่นของกลุ่มเป้าหมาย เช่น อาจารย์ใหม่ อาจารย์ระดับกลาง และอาจารย์อาวุโส ใช้เวลาตลอดทั้งปีในการศึกษาประเด็นหัวข้อที่หลากหลายเกี่ยวกับการเรียนการสอน • Topic–based learning community ออกแบบหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการ/นโยบายของหน่วยงานที่จะส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนในหัวข้อจำเพาะ
องค์ประกอบของ FLC • พันธกิจ เป้าหมายหลัก วัตถุประสงค์ย่อย ยกตัวอย่าง : ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพของอาจารย์ใหม่/ อาจารย์ ระดับกลาง/ อาวุโส หรือ พัฒนาการสอน 2.หลักสูตร -จะเป็น FLCs จำแนกตามรุ่น (cohorts) หรือ หัวข้อ (topics) • หลักสูตรของ FLC จะครอบคลุมหัวข้ออะไรบ้าง?