1 / 21

โทรสาร จัดทำโดย นาสาวจิรา ภรณ์ กอนต๊ะ กัน เลขที่ 11

โทรสาร จัดทำโดย นาสาวจิรา ภรณ์ กอนต๊ะ กัน เลขที่ 11 นางสาว ชนกนันท์ ชัยแก้ว เลขที่ 14 นาสาว บุณฑิ ตา โครงกาบ เลขที่ 16 นางสาวรสสุคนธ์ พึ่งศรี เลขที่ 20. โทรสาร.

kacy
Download Presentation

โทรสาร จัดทำโดย นาสาวจิรา ภรณ์ กอนต๊ะ กัน เลขที่ 11

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โทรสาร จัดทำโดย นาสาวจิราภรณ์กอนต๊ะกัน เลขที่ 11 นางสาวชนกนันท์ ชัยแก้ว เลขที่ 14 นาสาวบุณฑิตา โครงกาบ เลขที่ 16 นางสาวรสสุคนธ์ พึ่งศรี เลขที่ 20

  2. โทรสาร

  3. โทรสาร หรือ แฟกซ์ คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมอย่างหนึ่งใช้สำหรับโอนถ่ายข้อมูลสำเนาของเอกสาร ผ่านทางอุปกรณ์บนเครือข่ายโทรศัพท์ที่เรียกว่า เครื่องโทรสาร หรือ telecopierในอุตสาหกรรมบางประเภท การส่งสำเนาเอกสารจากระยะไกลไปยังบุคคลหนึ่ง ข้อดีคือรวดเร็วกว่าการส่งทางไปรษณีย์ แต่ข้อเสียคือเอกสารที่ได้รับอาจมีคุณภาพต่ำ และรูปแบบที่จัดวางไว้อาจไม่ตรงตำแหน่งหรือผิดเพี้ยนไป ปัจจุบันโทรสารได้ลดความนิยมลงไป เนื่องจากนิยมส่งเอกสารทางอีเมล์แทน ซึ่งจะไม่เกิดข้อเสียดังกล่าว

  4. เครื่องโทรสารเครื่องแรกออกแบบขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1843 ซึ่งโทรสารก็ได้รับความนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในงานภาพหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1925 และในบางธุรกิจเริ่มในราวทศวรรษ 1960 ในทศวรรษ 1980 ระบบการให้รหัสอันหลักแหลมโดยอาศัยไมโครโพรเซสเซอร์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาทำให้สามารถสร้างเครื่องโทรสารที่ทำงานรวดเร็วและราคาไม่แพงใช้ในงานส่งผ่านภาพกราฟิกไปทางสายโทรศัพท์ธรรมดาลักษณะพิเศษของโทรสารคือความสามารถที่จะตัดปัญหาเรื่องเวลาสากลและข้อขีดกั้นทางภาษาภาพถูกส่งมาอย่างช้าๆและผู้รับก็จะแปลภาษาต่างประเทศได้อย่างสบายโทรสารเป็นที่นิยมกันมากในประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากระบบการเขียนไม่เหมาะกับการส่งด้วยรูปแบบอื่น ผู้ที่ผลิตคนแรกคือ Alexander Bain ชาว สก็อตแลนด์

  5. หลักการทำงาน

  6. หลักการทำงาน การทำงานประกอบด้วยสามส่วน คือ การทำงานด้านส่งที่ทำหน้าที่แปลงเอกสารเป็นข้อมูลเพื่อจัดส่ง (Sending Operation) การส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบสื่อสาร (Transmission) และการทำงานด้านรับที่ทำหน้ารับสัญญาณแล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสาร (Receiving Operation)การส่งผ่านข้อมูลจะส่งผ่านตามคู่สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุ หรือคลื่นไมโครเวฟขึ้นอยู่กับสถานที่และระบบการสื่อสารที่ใช้ ส่วนที่ทำหน้าที่แปลงเอกสารเพื่อจัดส่ง ลักษณะการทำงานประกอบด้วยสามส่วน คือ การสแกน (Scanning) การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto -Electric Conversion) และ เทคนิคการส่งผ่านระบบสื่อสาร (Transmission Technique)

  7. 1.การสแกน (Scanning) ตัวอักษรหรือรูปภาพประกอบด้วยจุดเล็กๆ จำนวนมากรวมกัน จุดเล็กๆ เหล่านี้เรียกว่า “ จุดภาพ ” ที่ด้านส่งของเครื่องโทรสารจะมีขบวนการจัดแจงเอกสาร หรือรูปภาพต้นฉบับให้เป็นจุดภาพ เพื่อแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electric Signals) ในขณะที่ด้านรับของเครื่องโทรสารมีการทำงานที่ย้อนกลับกับด้านส่ง ขบวนการหรือวิธีการแปลงรูปภาพต้นฉบับให้เป็นจุดภาพที่ด้านส่ง หรือแปลงจุดภาพ กลับเป็นเอกสารหรือรูปภาพที่ด้านรับของเครื่องโทรสาร เรียกว่า “ การสแกน ” ทิศทางของการสแกนจะเหมือนกัน ทั้งด้านรับและด้านส่ง คือ การสแกนจากซ้ายไปขวาตามแนวนอน และการสแกนจากบนลงล่างตามแนวตั้ง การสแกนตามแนวนอนเรียกว่า การสแกนหลัก และสแกนตามแนวตั้ง เรียกว่า การสแกนย่อย

  8. 2. การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto - Electrical Conversion) ในขณะเริ่มต้นของการสแกน เครื่องโทรสารจะยิงแสงตกกระทบที่เอกสารต้นฉบับ และอาศัยหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงตกกระทบกับพื้นที่ที่มีสีแตกต่างกัน เช่น สีขาวกับสีดำ โดยสีขาวจะสะท้อนแสงได้ดีกว่าสีดำ ดังนั้นความเข้มของแสงสะท้อนที่ได้จากเอกสาร จะมีความแตกต่างกัน จากนั้นแสงสะท้อนจะถูกส่งผ่านเลนซ์นูนในการรวมแสง แล้วส่งให้วงจรทำหน้าที่แปลงระดับความเข้มของแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Opto-Electrical Conversion Element) สัญญาณทางไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า “ สัญญาณภาพ ” (Picture Signal)

  9. 3. เทคนิคการส่งสัญญาณ (Transmission Technique) เครื่องโทรสารด้านส่งจะต้องมีการเข้ารหัสสัญญาณภาพ ( Picture Signal) และทำการผสมสัญญาณ ( Modulate ) ก่อนที่จะถูกส่งไปยังเครื่องโทรสาร ด้านรับตามลำดับ การพัฒนาของเครื่องโทรสารด้านรับตามลำดับ การพัฒนาของเครื่องโทรสารสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มที่1 (Group I: G1) การกำหนดระบบที่ใช้กับเครื่องโทรสารสมัยเริ่มแรก เรียกว่า “ กลุ่มที่หนึ่ง ” (Group I: G1) โดยการนำสัญญาณภาพ ที่ได้การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วทำการผสมสัญญาณแบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation: AM) หรือแบบเอฟเอ็ม (Frequency Modulation: FM) เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณผ่านระบบสื่อสาร 

  10. กลุ่มที่ 2 (Group II: G2) มาตรฐานของเครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่สอง ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี คศ. 1976 ( พ.ศ. ๒๕๑๙ ) เป็นการพัฒนาปรับปรุงการผสมสัญญาณ และการแยกสัญญาณ โดยใช้การผสมสัญญาณแบบเอเอ็ม วีเอสบี (Amplitude Modulation Vestigial Sideband: AM VSB) หรือการผสมสัญญาณแบบพีเอ็ม วีเอสบี (Phase Modulation Vestigial Sideband: PM VSB) ทำให้สามารถลดเวลาที่ต้องใช้ในการรับส่งข้อมูลเอกสารขนาด A4 เหลือเพียงประมาณ ๓ นาที โดยรายละเอียดของเอกสารมีความละเอียดของความหนาแน่นของเส้นสแกนเท่ากับเครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่หนึ่ง

  11. กลุ่มที่ 3 (Group III: G3) เครื่องโทรสารในกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สอง เทคนิคที่ใช้ในการส่งสัญญาณเป็นแบบ แอนะล็อก (Analog) แต่ในกลุ่มที่สามได้นำรูปแบบการส่งสัญญาณแบบ ดิจิทอล (Digital) รวมทั้งใช้เทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อใช้ในการลดปริมาณข้อมูล (Data Compression Process Coding Mode or Coding Scheme) ทำให้สามารถส่งสัญญาณด้วยอัตราเร็วถึง ๙๖๐๐ บิทต่อวินาที (Bit/sec) ลดเวลาที่ต้องใช้ในการรับส่งเอกสารต้นฉบับขนาด A4 เหลือเพียงประมาณ ๑ นาที ในการสแกนแต่ละครั้งจะมีจำนวนจุดภาพที่เป็นสีขาว และจุดภาพที่เป็นสีดำที่ต่อเนื่องกัน

  12. กลุ่มที่ 4 (Group 4: G4)มาตรฐานของเครื่องโทรสารแบบกลุ่มที่สี่ เป็นการส่งข้อมูลแบบดิจิทอล โดยต้องเชื่อมต่อกับโครงข่ายข้อมูลสาธารณะ ( Public data network: PDN)ได้แก่ โครงข่ายข้อมูลสาธารณะแบบสลับวงจร (Circuit – Switched Public data Network: CSPDN) โครงข่ายข้อมูลสาธารณะแบบสลับกลุ่มข้อมูล (Packet – Switched Public Data Network: PSPDN) โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล ( Integrated Services Digital Network: ISDN) และโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ

  13. วิธีการใช้เครื่องโทรสารวิธีการใช้เครื่องโทรสาร กรณีเชื่อมต่อเครื่องโทรศัพท์เข้ากับเครื่องพิมพ์ 1. ยกหูโทรศัพท์ จากนั้นกดหมายเลขแฟกซ์ปลายทางจากเครื่องโทรศัพท์ และกด 1 บนเครื่องพิมพ์เพื่อส่ง กด ปุ่ม B/Wหรือปุ่ม Color ( บนเครื่องพิมพ์ )จากนั้นวางสายโทรศัพท์หลังจากกดปุ่ม B/W หรือปุ่ม Color หน้าเครื่องพิมพ์จะขึ้นขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้ 1. Dialing 2. Connecting 3. Sending (ขั้นตอนที่ 1-3 จะโชว์หมายเลขปลายทางที่กำลังส่งแฟกซ์ ) 4. Document Text 1 5. Complete 6. กลับสู่หน้า panel stand by Fax.

  14. ส่วนประกอบของเครื่องโทรสารส่วนประกอบของเครื่องโทรสาร

  15. ส่วนประกอบของเครื่องโทรสารส่วนประกอบของเครื่องโทรสาร จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ด้วยกัน 1.เครื่องแสกนเอกสาร สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้ สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ

  16. 2.เครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องพิมพ์ (อังกฤษ: Computer printer) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จะผลิตข้อความและ/หรือกราฟิกของเอกสารที่เก็บไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออกมาในสื่อทางกายภาพเช่นกระดาษหรือแผ่นใสเครื่องพิมพ์ส่วนมากเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงทั่วไปและเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์หรือในเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่จะเป็นสายยูเอสบี เครื่องพิมพ์บางชนิดที่เรียกกันว่า เครื่องพิมพ์เครือข่าย(Network Printer) อินเตอร์เฟซที่ใช้มักจะเป็นแลนไร้สายและ หรืออีเทอร์เน็ต

  17. 3.เครื่องรับ-ส่งข้อมูล อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึงสื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง  คือ สายโทรศัพท์ (Telephone Line)สายโทรศัพท์ เป็นอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้กันมานาน ในระบบการสื่อสารข้อมูล สายคู่ตีเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shield Twisted Pair : STP)มีลักษณะเป็นสายทองแดงขนาดเล็กตีเกลียวคู่ แต่ละคู่มีฉนวนหุ้มอีกชั้นเรียกว่า Shield เพื่อลดสัญญาณสอดแทรก

  18. การบำรุงรักษาเครื่องโทรสารการบำรุงรักษาเครื่องโทรสาร 1.ใช้เครื่องโทรสารให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้ 2. ปัดฝุ่นละออง และทำความสะอาดเครื่องโทรสาร อย่าให้ฝุ่นเกราะ โดยใช้ผ้าชุบน้ำยาเช็ด 3. สำรวจสายต่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้เสมอ ระมัดระวังอย่าให้สายไฟเกิดการหักงอ 4. สายต่อส่วนที่ยาวเกินไป ให้ม้วนเป็นวงกลมเก็บไว้ 5. อย่าให้สายต่อถูกความร้อน ทับพาดผ่านสายไฟ จะทำให้สายเสียและรบกวนสัญญาณ 6.ตรวจสอบเครื่องอยู่เป็นประจำ เพื่อให้เครื่องสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา 7. ตรวจตรากระดาษโทรสารให้มีอยู่ในเครื่องเสมอ และควรจะต้องมีปริมาณเพียงพอสำหรับการรับสารได้ตลอดเวลา แม้ในเวลาหลังเลิกงาน วิธีการใส่กระดาษต้องใส่ให้ถูกต้อง 9. ตรวจดูการวางหูโทรศัพท์ของเครื่องว่าวางถูกหรือไม่ หากวางไม่ตรงแท่นจะทำให้รับสัญญาณไม่ได้

  19. คำถาม 1.การสแกนตามแนวนอนเรียกว่าการสแกนแบบใด 2. ส่วนที่ทำหน้าที่แปลงเอกสารเพื่อจัดส่ง ลักษณะการทำงานประกอบด้วย กี่ส่วนอะไรบ้าง 3. อุปกรณ์รับส่งข้อมูล หมายถึง อะไร 4. ข้อเสียของการรับ – ส่งเอกสารโดยใช้โทรสารคืออะไร 5. เครื่องโทรสารในกลุ่มที่หนึ่งและกลุ่มที่สอง เทคนิคที่ใช้ในการส่งสัญญาณเป็นแบบใด

  20. คำตอบ 1. การสแกนตามแนวนอนเรียกว่า การสแกนหลัก 2. 3 ส่วน คือ การสแกน การเปลี่ยนสัญญาณแสงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า และ เทคนิคการส่งผ่านระบบสื่อสาร 3. หมายถึง สื่อกลางที่ใช้เป็นเส้นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง  คือ สายโทรศัพท์ 4. ข้อเสียคือ เอกสารที่ได้รับอาจมีคุณภาพต่ำ และรูปแบบที่จัดวางไว้อาจไม่ตรงตำแหน่งหรือผิดเพี้ยนไป 5. แบบ แอนะล็อก (Analog)

  21. จบการนำเสนอขอบคุณค่ะ

More Related