160 likes | 544 Views
เอช ไอวีควบคุมได้ เอดส์รักษาได้ เราอยู่ด้วยกัน ได้ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย. เป้าหมายของเรา. สังคม ที่ไม่มีการเสียชีวิตจากเอดส์ ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่มีการตีตรา ไม่มีการเลือกปฏิบัติ. ตอนนี้ ถึงไหน.
E N D
เอชไอวีควบคุมได้ เอดส์รักษาได้ เราอยู่ด้วยกันได้ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย
เป้าหมายของเรา สังคม ที่ไม่มีการเสียชีวิตจากเอดส์ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ไม่มีการตีตรา ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ตอนนี้ ถึงไหน ผู้ติดเชื้อจำนวนมากเข้าถึงการรักษา เพราะสิทธิประโยชน์ ครอบคลุมทุกกลุ่มคนรวมถึงแรงงานข้ามชาติ สิ่งท้าทายที่ยังไปไม่ถึง • ลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ • ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ ถ้าเราทำเรื่องนี้สำเร็จ จะส่งผลต่อเป้าหมายงานเอดส์
ตัวอย่างการตีตรา • เรื่องศูนย์เด็กเล็ก, รร.ประถม ไม่รับเด็กเข้าเรียน เพราะผู้ปกครองประท้วง • มีการบังคับตรวจเลือดนักศึกษาบางสถาบัน • บริษัทเอกชน ให้ตรวจเลือดพนักงานก่อนเข้าทำงาน ฯลฯ
กรณีตัวอย่าง การบังคับตรวจเลือดของสถานที่ทำงาน
บริษัทเอกชน • ปี 2012 เครือข่ายได้รับเรื่องร้องเรียน ผ่านเครือข่ายภาคใต้ • บริษัทธุรกิจค้าปลีกเอกชนขนาดใหญ่ ที่มีสาขาทั่วประเทศและในต่างประเทศ ตรวจเลือดพนักงานใหม่ทุกคน สิ่งที่เราทำ • ปรึกษาหารือ อนุกรรมการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, NAMC เอ็นจีโอด้านเอดส์ • เข้าไปเจรจากับผู้บริหารบริษัท
สาเหตุที่ตรวจเลือด.. เนื่องจากความไม่เข้าใจเรื่องเอดส์ • กลัวการติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน เช่น กินข้าว กินน้ำ ใช้สิ่งของร่วมกัน • คิดว่า ถ้าไม่มีผู้ติดเชื้ออยู่ในกลุ่ม/สังคมพนักงาน ทุกคนก็จะปลอดภัยจากวิถีชีวิตทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นในกลุ่มพนักงาน • คิดว่า ผู้ติดเชื้อคือ คนป่วย ไม่แข็งแรง ทำงานหนักๆ ไม่ได้ งานของบริษัทหนัก
ผลที่เกิด หลังจากการพูดคุย • เปลี่ยนนโนบาย ยกเลิกการตรวจเลือดพนักงาน กระนั้นก็ตาม.... ทำแบบนี้ บางกรณีไม่พอเพียง..
กรณีตัวอย่าง การบังคับตรวจเลือดในสถานศึกษา
มหาวิทยาลัย • ปี 2012 เครือข่ายได้รับโทร.ร้องเรียนจาก นศ. ว่า ถูกบังคับตรวจเลือด และให้ย้ายคณะ จนต้องออกจากมหาลัย สิ่งที่เครือข่ายทำ • ประสาน คุยที่ปรึกษาเครือข่ายฯ (ประธานอนุกรรมการส่งเสริม คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์) NaMcเอ็นจีโอด้านเอดส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเอดส์ สมาคมโรคเอดส์ สภาการพยาบาล • เข้าไปเจรจากับผู้บริหารมหาลัย ทำความเข้าใจข้อเท็จจริง การเป็นพยาบาลของผู้ติดเชื้อ • เรียกร้อง ให้ได้นศ.เรียนต่อคณะเดิม, ยกเลิกนโยบายที่เป็นการละเมิดสิทธิ
ผลการเจรจาและติดตาม.. ...ไม่ประสบความสำเร็จ มหาลัยยืนยัน ว่านโยบายนี้ถูกต้อง เพราะ ทัศนคติต่อเรื่องเอดส์ • มหาลัยต้องปกป้องสิทธิของผู้ป่วย (โดยละเมิดสิทธิผู้อื่นอีกที) • กลัวส่งต่อเชื้อให้ผู้รับบริการ • กลัวว่าหากคนไข้รู้ จะไม่ยอมรับที่มีพยาบาลมารักษาเป็นผู้ติดเชื้อ • กลัวว่าจะป่วยง่าย ติดเชื้อจากคนไข้
ดำเนินการเรียกร้องความยุติธรรมดำเนินการเรียกร้องความยุติธรรม • มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่ได้รับมอบหมายจากรัฐให้จัดการศึกษา แต่กลับมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง และ ผลิตซ้ำความเข้าใจผิดนี้ สื่อสารไปสู่สาธารณะโดยการมีนโยบายที่ละเมิดสิทธินศ. สร้างความเข้าใจผิดให้สังคมและนักศึกษา • เครือข่ายฯ ยื่นฟ้องศาลปกครอง ศาลรับฟ้อง และอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
บทเรียนสำคัญ • กระบวนการสร้างความเข้าใจ ให้การศึกษาเรื่องเอดส์ เพื่อเปลี่ยนทัศน และพฤติกรรม ยังต้องทำต่อเนื่อง • ต้องทำ “ทุกกลุ่มคน” ไม่เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น • ประเทศมีนโยบาย มีกฎหมาย ที่ส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองสิทธิ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน • การละเมิดสิทธิ มีอยู่ทั่วไป เรื่องเอดส์ เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ดังนั้น ต้องทำงานความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน • การเปิดใจของคนในสังคมส่วนใหญ่ ก็เป็นสิ่งสำคัญ
เปลี่ยน ความเข้าใจของสังคมใหม่.. • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (เด็ก/ผู้ใหญ่) แข็งแรง มีชีวิตยืนยาวได้ ..เพราะ เอดส์ รักษาได้ 2. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีคุณค่า เท่าเทียมกับผู้อื่น ..เรียนได้ ทำงานได้ มีความรัก มี Sex ครอบครัว มีลูกได้ (หรือจะไม่มี..ก็ได้) 3. ทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี .. ดังนั้น ผู้ติดเชื้อ ไม่เท่ากับ คนไม่ดี หรือเป็นเรื่องของกลุ่มคนแค่บางกลุ่มเท่านั้น (หยุดการตีตรา) • เราอยู่ด้วยกันได้ ..เพราะเอชไอวี ไม่ติดต่อจากการอยู่ร่วมกัน
www.thaiplus.net www.facebook.com/TNPplus