220 likes | 449 Views
Introduction to Safety Engineering. Papis Wongchaisuwat Department of Industrial Engineering Kasetsart University. ความเป็นมาในการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัย. ประเทศอังกฤษ หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 มีผลให้เกิดโรงงานปั่นทอขนาดใหญ่ ใช้แรงงานจำนวนมาก
E N D
Introduction to Safety Engineering Papis Wongchaisuwat Department of Industrial Engineering Kasetsart University
ความเป็นมาในการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยความเป็นมาในการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัย ประเทศอังกฤษ • หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 มีผลให้เกิดโรงงานปั่นทอขนาดใหญ่ ใช้แรงงานจำนวนมาก • เด็กยากจนหรือกำพร้าต้องทำงานหนักภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ขาดสุขอนามัย • นักเขียนชื่อ Engels ได้บันทึกสภาพของคนในเมือง Manchester มีคนงานที่ได้รับอุบัติเหตุจนกระทั่งกลายเป็นผู้พิการจำนวนมาก • รัฐบาลประเทศอังกฤษจึงได้ออกกฎหมายโรงงานขึ้นมาบังคับใช้
ประเทศฝรั่งเศส • Louis Rene Villerme ได้บันทึกไว้ว่า เด็กอายุ 6-8 ปี ต้องยืนทำงานวันละ 16-18 ชั่วโมง ไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม • ในระหว่างนั้นได้มีผู้นำในอุตสาหกรรมพยายามต่อสู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน ให้มีสุขภาพอนามัยในโรงงานที่ดีขึ้น • จนกระทั่งปี ค.ศ. 1867 Engel Dollful จึงได้ก่อตั้งสมาคมป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นที่เมือง Mulhouse • กฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยคนงานถูกตราขึ้นในปีค.ศ.1893
ประเทศเยอรมัน • ปี ค.ศ. 1839 ได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานเด็ก • ปี ค.ศ. 1845 ได้มีกฏหมายว่าด้วยการต้องมีพนักงานตรวจสอบโรงงานโดยรัฐบาล สำหรับเมืองศูนย์กลางอุตสาหกรรม • ปี ค.ศ. 1869 ได้ออกกฎหมายว่าด้วยการป้องกันคนงานให้ปลอดภัยจากโรคทางอุตสาหกรรม • ปี ค.ศ. 1884 ได้มีกฏหมายเกี่ยวกับการประกันภัยในโรงงานและกฏหมายที่ว่าด้วยการร่วมเสียค่ารักษาพยาบาลได้นำออกใช้จนกระทั่งทุกวันนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา • ค.ศ. 1860 รัฐแมสซาซูเสทส์ ได้ออกกฏหมายว่าด้วยการมีเจ้าหน้าที่จากรัฐบาลสามารถตรวจสอบโรงงานโดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องเรียนจากคนงาน • ค.ศ. 1877 รัฐแมสซาซูเสทส์ เป็นรัฐแรกที่ได้ออกกฏหมายเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน • ค.ศ. 1948 มีกฎหมายเงินทดแทนครบทุกรัฐ • ค.ศ. 1913 มีสภาแห่งชาติด้านความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม(สภาความปลอดภัยแห่งชาติ)
ประเทศไทย • มีการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเกษตรมาสู่อุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเทคนิคในการผลิต พนักงานยังขาดความรู้ความสามารถทำให้ประสบอันตรายจากการทำงานและโรคที่เกิดจากการทำงาน • ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 ประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การกรรมกรระหว่างประเทศ (ILO , International Labour Oganization) • ในปี พ.ศ. 2470 รัฐบาลไทยจึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณากฎหมายอุตสาหกรรม เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของคนงาน
ประเทศไทย(ต่อ) • ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2482 ซึ่งกำหนดมาตรฐานของการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขอนามัยของลูกจ้าง • ต่อมามีการปรับแก้ไขพระราชบัญญัติโรงงานต่อเนื่อง จนปัจจุบันประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2535 • มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย • พ.ศ. 2525 จัดตั้งคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
หน่วยงานราชการรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัยหน่วยงานราชการรับผิดชอบเกี่ยวกับความปลอดภัย • กระทรวงอุตสาหกรรม - พระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ.2535 - พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 • กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม - พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานที่ปลอดภัย • เป็นแรงจูงใจและผลผลิตเพิ่มขึ้น คนงานรู้สึกปลอดภัย ทำงานได้ดีรวดเร็วมากขึ้น • ต้นทุนการผลิตลดลง • กำไรมากขึ้น • สงวนทรัพยากรมนุษย์แก่ประเทศชาติ • ลดปัญหาสังคมและปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรและประเทศชาติ
ความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ
ความสูญเสียทางตรง จำนวนเงินที่ต้องจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับผู้ได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ • ค่ารักษาพยาบาล • ค่าเงินทดแทน • ค่าทำขวัญ • ค่าทำศพ • ค่าประกันชีวิต
ความสูญเสียทางอ้อม ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายทางตรง • การสูญเสียเวลาในการทำงาน • ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม • การสูญเสียวัตถุดิบ • ค่าสวัสดิการและค่าจ้างของผู้บาดเจ็บ • การสูญเสียโอกาสในการทำกำไร • ค่าเช่า ค่าไฟฟ้าน้ำประปา • การเสียชื่อเสียงและภาพพจน์ของโรงงาน
กรณีศึกษา • จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดโครงการสวดมนต์เฉลิมพระเกียรติ 80 ความดีเฉลิมพระเกียรติ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเชื่อมโยงสายมงคลไปตามถนนและเสาไฟฟ้าไปยังอำเภอ ตำบล หมู่บ้านและบ้านเรือนประชาชน • เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดูด • ทุพภาพ(มือขาดทั้งสองข้าง) จากอุบัติเหตุไฟฟ้าช๊อต