1 / 70

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และบทบาทภาครัฐ

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และบทบาทภาครัฐ. By Pizza-Tipz. ญี่ปุ่น. ทศวรรศที่ 1860-1900 (สมัยเมจิ). 1868-1885 “โครงสร้างพื้นฐาน” วางรากฐานสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม 1. ยกเลิกข้อจำกัดด้านต้นทุนค่าเดินทาง และการพาณิชย์ 2. กรอบที่รัฐบาลโชกุนใช้คลุมเศรษฐกิจได้รับการผ่อนคลาย

kenda
Download Presentation

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และบทบาทภาครัฐ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และบทบาทภาครัฐ By Pizza-Tipz

  2. ญี่ปุ่น

  3. ทศวรรศที่ 1860-1900 (สมัยเมจิ) • 1868-1885 “โครงสร้างพื้นฐาน” • วางรากฐานสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม 1. ยกเลิกข้อจำกัดด้านต้นทุนค่าเดินทาง และการพาณิชย์ 2. กรอบที่รัฐบาลโชกุนใช้คลุมเศรษฐกิจได้รับการผ่อนคลาย 3. ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างชนชั้น 4. ปฏิรูปที่ดิน

  4. ความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิรูปที่ดินความเปลี่ยนแปลงจากการปฏิรูปที่ดิน • ได้มีการยอมรับกรรมสิทธิในการถือครองที่ดินของเอกชนอย่างถูกต้องตามกฏหมาย สำหรับเจ้าที่ดิน และชาวนาที่มีที่นาของตนเอง • ที่ดินที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นของเอกชนนั้น ให้มีการเวนคืนเข้าเป็นที่ดินของรัฐ และของสำนักพระราชวังจักรพรรดิ • ได้มีการปฏิรูปภาษีที่ดิน โดยเรียกเก็บเป็นเงินสดในอัตรา 3% ของมูลค่าที่ดิน ที่ทางการประเมินราคาเอาไว้ ในปี1873 เดิมแล้วภาษีที่ดินแบบเก่าจะเก็บจากผลผลิต โดยเก็บอัตราเฉลี่ยประมาณ 40-50% จากผลผลิต

  5. ผลจากการปฏิรูปที่ดิน • ให้รัฐบาลมีรายได้มากขึ้นบ้างและมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ • ชาวไร่ ชาวนาพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางเกษตรกรรมให้สูงขึ้น • ช่วยเร่งให้มีการกระจายเศรษฐกิจการเงิน เข้าสู่สังคมหมู่บ้านเกษตรในชนบททั่วไป

  6. ปี 1872 มีการวางทางรถไฟจากโตเกียวไปโยโกฮา • ปี 1872 ปฏิรูปเงินตราและธนาคาร โดยประกาศใช้ระบบเงินตราใหม่ที่มีมาตรฐานเดียวกัน และประกาศใช้กฎหมายธนาคารแห่งชาติ • ปี 1881 รัฐบาลเมจิก็ประสบความสำเร็จในการเชื่อมเมืองหลักๆเกือบทั้งหมดด้วยระบบโทรเลข • อุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดคือ การผลิตเสื้อผ้า การผลิตด้านนี้ช่วยลดสินค้าเข้าของญี่ปุ่นได้มากกว่าครึ่งในระหว่างปี 1868-1882

  7. ทศวรรศที่ 1900-1920 • ปี 1900 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว • ปี 1915 – 1920 กองเรือพาณิชย์ญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นเกือบเท่าตัว • เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างหนักได้ช่วยทำให้ความคึกคักทางเศรษฐกิจ

  8. ปี 1920-1932 ปัญหาเศรษฐกิจขึ้นเนื่องจาก • ผลิตผลทางเกษตรกรรมนั้นเพิ่มขึ้นน้อยมาก การผลิตวัตถุดิบ และผลิตผลทางเกษตรกรรมเริ่มคงที่ • มีการใช้จ่ายภาครัฐลดลง • เกิดจากลักษณะเศรษฐกิจโลกในระยะนั้น (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1) ระดับราคาสินค้าของประเทศส่วนใหญ่ได้ตกต่ำลงมากกว่าของญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นเสียเปรียบในดุลการค้า

  9. ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 – ปี 1973 • รัฐวิสาหกิจก็ยังคงมีความสำคัญในการผลิตเหล็ก และเหล็กกล้า เครื่องจักร และอาวุธ • รัฐบาลยังเป็นผู้รับผิดชอบส่วนใหญ่ ในการก่อสร้างทางรถไฟ เครื่องอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ • ส่วนแบ่งของรัฐบาลในการสะสมทุนภายในไม่เคยเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 40 ทั้งนี้การแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็เพื่อเป็นการนำทางภาคเอกชน

  10. รัฐบาลญี่ปุ่นใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณเงินภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อสูงถึง 166% ในปี 1948 • สหรัฐได้ส่งนาย Joseph M. Dodge มาให้คำปรึกษาในปี 1949

  11. “Dodge Line” • รัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุล • จะต้องยกเลิกระบบให้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลให้แก่ภาคเอกชนทั้งหมด • จะต้องยกเลิกบรรษัทการเงินเพื่อการบูรณะประเทศ (RFC) เนื่องจากเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อของประเทศสูงเกินกว่าร้อยเปอร์เซนต์ • จะต้องใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอัตราเดียว แทนระบบหลายอัตราที่ใช้กันอยู่ซึ่งต่อมาได้กำหนดไว้ที่ระดับ 360 เยน ต่อ 1 ดอลลาห์สหรัฐ

  12. ผลของ “Dodge Line” • อัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือเพียง 63% ในปี 1949 และลดลงมาอีกเหลือเพียง 18% ในปี 1950 • เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง • มีการปลดคนงานออกจำนวนมาก

  13. สงครามเกาหลีปี 1950 • มีการลงทุนขนานใหญ่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ • ญี่ปุ่นส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 2.7 เท่า • บริษัทที่เคยผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่น ก็ค่อยๆแปรรูปไปผลิตสินค้าอื่นๆแทน เช่น บริษัท Misubishi Heavy Industries ก็เปลี่ยนจากการผลิตเครื่องบินรบ และเรือรบ มาเป็นตู้เย็น กะทะ ฯลฯ แทน

  14. ก่อตั้ง MITI ปี 1949 MITI มีบทบาทดังนี้ • อนุมัติเกี่ยวกับการขอซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อนำไปซื้อสินค้าหรือเทคโนโลยีจากต่างประเทศ • ให้สิทธิ และประโยชน์ด้านภาษีอากรแก่อุตสาหกรรมเป้าหมาย • ส่งเสริมให้บริษัทญี่ปุ่นควบกิจการด้วยกันเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และทำให้เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of scale)

  15. เสนอกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม หรือ Industrial Rationalization Promotion Law โดยกำหนดมาตรการสนับสนุนมากมายทางด้านภาษีอากร • ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาโดย MITI มีหน่วยงานวิจัย และพัฒนาของตนเอง คือ Agency of Industrial Science and Technology

  16. ปี 1960 แผนการเพิ่มรายได้เป็น 2 เท่า (Income – Doubling Plan) รัฐได้ทำหน้าที่ดังนี้ • ส่งเสริมทุนสาธารณะ • สร้างโครงสร้างอุตสาหกรรมในระดับสูง • สร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ • พัฒนากำลังคน และเทคโนโลยี • ลดช่องว่างโครงสร้าง 2 ชั้น และรักษาความมั่นคง

  17. ปี 1960 แผนการเพิ่มรายได้เป็น 2 เท่า (Income – Doubling Plan) โดยแผนนี้ได้กำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจไว้ถึง 10% ทำให้รัฐวิสาหกิจต่างๆเพิ่มการลงทุนขนานใหญ่

  18. ทศวรรษที่ 60 รัฐบาลได้ควบคุมการนำเข้าโดยใช้วิธีกำหนดโควต้า และควบคุมเงินตราต่างประเทศ • ปี 1963 เนื่องจากช่วงทศวรรษนี้มีปัญหาขาดแคลนแรงงาน รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายธุรกิจขนาดย่อมพื้นฐาน (Basic Small Business Law) • ปี 1964 การวางแผนเศรษฐกิจนั้นเน้นการสนับสนุนการค้าต่างประเทศเสรี

  19. เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เจริญเติบโตในอัตราเฉลี่ยสูงกว่า 10% ในช่วงค.ศ. 1955-1970 และสิ้นสุดลงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 1973 ทำให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจ จากส่งเสริมการเจริญเติบโตในระดับสูง มาเป็นการเจริญเติบโตอย่างช้าๆ และเน้นการกระจายรายได้ในสังคม

  20. ญี่ปุ่นกับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจฟองสบู่ ปี 1990 • วิกฤติเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มต้นเมื่อปี 1990 ซึ่งเป็นผลมาจากการเก็งกำไรในทรัพย์สิน เช่น การเก็งกำไรในตลาดหุ้น, อสังหาริมทรัพย์ และการลงทุนในกิจการที่ให้ผลตอบแทนต่ำ • เดือนธันวาคม 1989 ธนาคารกลางของญี่ปุ่นได้วิตกเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ และภาวะเงินเฟ้อ จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเวลานั้นจาก 4.25% มาเป็น 6% ส่งผลให้ฟองสบู่แตกราคาทรัพย์สินทั้งในส่วนที่ดินและราคาหุ้นลดต่ำลงมาก

  21. บทบาทรัฐในการการวิกฤตเศรษฐกิจ 1990 • การปฏิรูปโครงสร้างการคลัง เพื่อคลายความกังวลของประชาชนเรื่องความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ • การแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อฟื้นฟูกลไกการไกล่เกลี่ยด้านการเงินเพื่อที่จะทำให้ทรัพยากรไหลไปสู่สาขาที่เจริญเติบโต • การดำเนินการปฏิรูปกฎระเบียบและการปฏิรูปราชการ

  22. มาตรการทางการคลังที่ใช้แก้ปัญหา 1990 ญี่ปุ่นได้ใช้มาตรการทางการคลังเพื่อแก้ไขปัญหาดังนี้ • การออกพันธบัตรรัฐบาล เพื่อดูดซับสภาพคล่องล้นเกิน ออกจากภาคการเงินของญี่ปุ่น และลดทอนโอกาสการปล่อยกู้ ทั้งนี้ยังเป็นการสร้างรายได้แก่สถาบันการเงิน • การออกนโยบายการลดทอนภาระทางภาษีของธุรกิจ และประชาชน • การออกเงินทุนสาธารณะ (Public Funds) เพื่อการปล่อยกู้ให้ภาคเอกชน

  23. นโยบายการเงินที่ใช้แก้ปัญหา 1990 • ปี 1995 ได้มีการจัดตั้งธนาคารใหม่ในนามธนาคารโตเกียวเคียวโด เพื่อรับโอนกิจการจากสหกรณ์ออมทรัพย์โตเกียวเคียววะและสหกรณ์ออมทรัพย์อันเซน • ปี1996 เปลี่ยนเป็น ธนาคาร Resolution and Collection Bank เพื่อเป็นธนาคารทำหน้าที่ควบรวมและบริหารจัดการหนี้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ล้ม

  24. นโยบายการเงินที่ใช้แก้ปัญหา 1990 • ได้อัดฉีดเงินทุนภาครัฐจำนวน 685,000 ล้านเยน เพื่อจัดการแก้ปัญหาการล้มของบริษัทสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้งบรรษัทบริหารหนี้เพื่อที่อยู่อาศัยเพื่อรับโอนหนี้ของบริษัทสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย • ในปี 1999 บรรษัท Resolution and Collection Corporation ทำหน้าที่บริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยรับโอนกิจการจากสถาบันการเงินที่ล้ม และซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากสถาบันการเงินทั่วไป

  25. นโยบายการเงินที่ใช้แก้ปัญหา 1990 • โอซามุ วาตานาเบ ประธานและซีอีโอองค์การการค้าต่างประเทศญี่ปุ่น หรือเจโทร กล่าวว่า หลังจากเศรษฐกิจเริ่มทำท่าว่าจะฟื้นตัวในช่วงปี 1996 รัฐบาลกลับตัดสินใจผิดพลาด ด้วยการคุมเข้มนโยบายการเงินเร็วเกินไป ทำให้ปัญหาหนี้เสียภาคธนาคารยิ่งรุนแรง และทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี 1997

  26. นโยบายการเงินที่ใช้แก้ปัญหา 1990 • รัฐบาลใช้จ่ายเงินเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกว่า 40 ล้านล้านเยน ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบันสูงถึง 154.6% (2003)

  27. ปัญหาภาวะเงินฝืด ปี 1999 • รัฐบาลญี่ปุ่นก็พยายามแก้ไขปัญหาโดยให้ธนาคารกลางพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น • มีการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล • ธนาคารของญี่ปุ่นไม่ได้ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น และประชาชนก็ไม่ได้จับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลงเรื่อยๆจนใกล้ 0% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เรียกว่า “liquidity trap” หรือ “กับดักสภาพคล่อง” ทำให้นโยบายการเงินไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ

  28. ปัญหาภาวะเงินฝืด ปี 1999 • เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้ออกธนบัตรรูปแบบใหม่ออกมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะช่วย "refresh" เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ซบเซาต่อเนื่องมาหลายปี ธนบัตรใหม่ที่พิมพ์ออกมาในระยะแรกมีจำนวน 5 หมื่นล้านฉบับ และส่วนที่เหลือจะค่อยๆ ทยอยเข้าสู่ระบบ ซึ่งคาดการณ์ ไว้ว่าจะสามารถนำธนบัตรใหม่ออกมาใช้แทนที่ธนบัตรเก่า ที่มีอยู่ประมาณหนึ่งแสนล้านฉบับได้หมดภายในสิ้นปี 2548 นั่นหมายความว่าจะมีเงินหมุนเวียน (ชั่วคราว) เพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัวในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า

  29. บทเรียนที่ได้จากญี่ปุ่นบทเรียนที่ได้จากญี่ปุ่น • ต้องหาสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า • ลดภาษีการนำเข้าสินค้าประเภททุน • รัฐควรส่งเสริมการพัฒนาทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมไปพร้อมๆกัน • พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ • การกระจายความเจริญ

  30. บทเรียนที่ได้จากญี่ปุ่น (ต่อ) • รัฐบาลควรแทรกแซงเศรษฐกิจเป็นระยะๆ ตามสภาพเศรษฐกิจในขณะนั้น • ด้านการจัดการปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL ของญี่ปุ่นนั้น ประเทศไทยไม่ควรเอาอย่างเนื่องจาก รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาแก้ไขปัญหาช้าเกินไป พร้อมทั้งปล่อยให้สถาบันทางการเงินที่มีหนี้เสียอยู่มากดำเนินการต่อพร้อมให้เงินอุดหนุนจนเกิดหนี้สาธารณะมากมาย อีกทั้งในช่วงภาวะเงินฝืด ราคาสินค้าปรับตัวลง แต่รัฐบาลกลับให้เงินอุดหนุนสินค้าบางชนิด เช่น ที่ดิน ให้มีระดับราคาที่สูงอยู่ ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

  31. เกาหลี

  32. ทศวรรษที่ 60: นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งออก มาตรการที่รัฐบาลเกาหลีได้นำมาปฏิบัติ ได้แก่ • การระดมทุนทั้งภายในและต่างประเทศ • การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศถึงร้อยละ 26.4 • การลดค่าเงินวอนลงเกือบ 100% • ขจัดอุปสรรคและขั้นตอนที่ยุ่งยากในการส่งออก • ช่วยเหลือด้านเงินกู้ระยะสั้นเพื่อการส่งออก และใช้ระบบคืนภาษีแก่วัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก • รวมทั้งมุ่งชักจูงให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในเกาหลีให้มากขึ้น

  33. ทศวรรษที่ 60: นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการส่งออก Economic Achievements of Korea in 1960’s

  34. ทศวรรษที่ 70: นโยบายเน้นหนักด้านการสร้างอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี • การส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการก่อตั้งอุตสาหกรรมส่งออกและอุตสาหกรรมเคมี • มุ่งหาตลาดในการส่งออกใหม่ๆให้มีการกระจายตัวมากขึ้น • ขยายการผลิตธัญพืชให้พอเลี้ยงตัวเองได้

  35. ทศวรรษที่ 70: นโยบายเน้นหนักด้านการสร้างอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี Share of investment in heavy and chemical industries to manufacturing industries in the 1970’s

  36. ทศวรรษที่ 80: นโยบายรักษาระดับความเจริญเติบทางเศรษฐกิจที่สูง พร้อมทั้งการมีเสถียรภาพทางด้านราคา • การควบคุมสภาพคล่องทางการเงิน • เปลี่ยนแนวทางที่เคยส่งเสริมอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี มาเป็นให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม • การแก้ไขราคาสินค้าที่ผิดปกติ โดยเลิกควบคุมราคาสินค้าบางชนิด และส่งเสริมให้มีการแข่งขันโดยเปิดการค้านำเข้าเสรีมากขึ้น • การใช้นโยบายทางการคลังด้านการงบประมาณอย่างระมัดระวัง

  37. บทบาทภาครัฐในการพัฒนาประเทศเกาหลีใต้บทบาทภาครัฐในการพัฒนาประเทศเกาหลีใต้ • การใช้มาตรการด้านภาษีอากร • การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ • การปรับอัตราแลกเปลี่ยน • การตั้งสถาบันส่งเสริมการส่งออก • การพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน

  38. การใช้มาตรการด้านภาษีอากรการใช้มาตรการด้านภาษีอากร • การยกเว้นหรือลดอัตราภาษีให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมการส่งออก • การยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมศุลกากรสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้า และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งสินค้าประเภททุนที่จะใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก • การยกเว้นไม่เก็บภาษีทางอ้อมในวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปและรายได้จากการส่งออก • การให้ส่วนลดภาษีทางตรงในรายได้ที่ได้รับจากกิจกรรมการส่งออก

  39. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ

  40. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ

  41. การปรับอัตราแลกเปลี่ยนการปรับอัตราแลกเปลี่ยน

  42. การตั้งสถาบันส่งเสริมการส่งออกการตั้งสถาบันส่งเสริมการส่งออก • กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม • บรรษัทส่งเสริมการค้าเกาหลี • ธนาคารเพื่อการส่งออก-นำเข้าของเกาหลี • สมาคมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรของเกาหลี • สมาคมพ่อค้าเกาหลี • บรรษัทการค้าระหว่างประเทศของเกาหลี • สมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งเกาหลี

  43. การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานระหว่างปี 1967-1983

  44. บทเรียนที่ได้จากเกาหลีบทเรียนที่ได้จากเกาหลี • การส่งเสริมการส่งออก • การพัฒนาชนบท • การส่งเสริมด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม

  45. ฮ่องกง

  46. “ฮ่องกง” เมืองท่าปลอดภาษี 1842 • จากสงครามฝิ่นทำให้จีนต้องทำสนธิสัญญานานกิง และยกฮ่องกงให้กับอังกฤษเป็นเวลากว่า 150 ปี ทรัพยากรที่สำคัญที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจก็คือ • ท่าเรือขนถ่ายสินค้าซึ่งเป็นท่าเรือปลอดภาษี เหมาะแก่การขนถ่ายสินค้าไปยังจุดต่างๆ • ธุรกิจต่างๆ ในฮ่องกงสามารถดำเนินไปได้อย่างเสรี โดยรัฐบาลไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง • ฮ่องกงมีประชากรที่มีคุณภาพ และขยัน ทำให้สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็ว

  47. บทบาทภาครัฐที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจบทบาทภาครัฐที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ • ในระยะต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจ (1842 – 1900) รัฐส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนการส่งออก โดยเน้นหนักที่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานในการผลิตมาก (Labor-intensive industries) • รัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินงานของภาคธุรกิจเอกชน • รัฐบาลที่ทางอังกฤษมอบหมายให้ปกครองฮ่องกงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจปล่อยตามสบายอย่างเคร่งครัด (Laissez-faire)

  48. บทบาทภาครัฐที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ (ต่อ) • รัฐบาลไม่ได้ให้เงินช่วยเหลือ,ให้สิทธิพิเศษแก่อุตสาหกรรมหรือกิจการใดๆ • การเก็บภาษีอยู่ในอัตราที่ต่ำ • การเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกจากฮ่องกงเป็นไปได้อย่างเสรี • รัฐมีหน้าที่หลักคือ จัดบริการ และสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อเป็นหลักประกันในความมั่นคงของสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา • รัฐมีบทบาทในการรักษาระบบกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และความเชื่อมั่นกับภาคธุรกิจ

  49. บทบาทภาครัฐในปัจจุบันบทบาทภาครัฐในปัจจุบัน • รัฐบาลฮ่องกงวางแนวทางที่จะพัฒนาให้ฮ่องกงเป็น International Financial and high-valued added services center • โครงการเปิดเสรีการค้าระหว่างฮ่องกง จีน Closer Economic Partnership Arrangement (CEPA I, II)

More Related