1 / 47

มาตรฐาน ISO 9000 : 2000

การประกันคุณภาพ (QUALITY ASSURANCE). มาตรฐาน ISO 9000 : 2000. กรณีศึกษา ISO 9000 : 2000 บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน). บริษัท ไทย ลักซ์ เอ็น เตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) .

kennita
Download Presentation

มาตรฐาน ISO 9000 : 2000

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประกันคุณภาพ (QUALITY ASSURANCE) มาตรฐาน ISO 9000 : 2000

  2. กรณีศึกษา ISO 9000 : 2000 บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

  3. บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่ : เลขที่ 62 ถ.รพช-อู่ตะเภา หมู่ที่ 2 ต. หนองชุมพล อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี 74160 เป็นบริษัท จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นผู้ผลิต และจำหน่ายอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งภายใน และต่างประเทศ การดำเนินธุรกิจของบริษัท แบ่งออกเป็น 2 ส่วนงานหลัก คือ ส่วนงานสายผลิตอาหารกุ้ง และส่วนงานสายผลิตอาหารปลา ทั้ง 2 ส่วนเป็นการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่ การจัดหาวัตถุดิบ, การผลิต และการขาย

  4. ผลงาน ปี 2544 บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9002 จากสถาบัน AJA/UKAS ประเทศอังกฤษ ในสายการผลิตอาหารกุ้ง ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารกุ้งรายแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ ปี 2546 บริษัทยังคงมุ่งมั่นในการปรับปรุงระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2000 พร้อมทั้งการรับรองระบบหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิตอาหารสัตว์ (GMP) และการรับรองระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) ปี 2547 บริษัทได้พัฒนาระบบการผลิตอาหารปลาจนได้รับการรับรองระบบคุณภาพในสายการผลิตนี้เช่นกัน ดังนั้นการรับรองระบบคุณภาพ ISO 9001:2000 จึงเปลี่ยนเป็นการรับรองระบบคุณภาพในสายการผลิตอาหารสัตว์

  5. คู่มือคุณภาพ

  6. องค์ประกอบของระบบประกันคุณภาพ ISO 9000 : 2000 1.รายชื่อผู้จัดทำ ทบทวน เปลี่ยนแปลง และอนุมัติเอกสาร 2.วัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือคุณภาพ 3.กระบวนการธุรกิจ ( Business Process ) 4.ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) 5.ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management responsibility) 6.การบริหารทรัพยากร (Resource management) 7. การทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง (PRODUCT REAIZATION) 8.การวัด การวิเคราะห์ และ การปรับปรุง (Measurement, analysis and improvement) ภาคผนวก

  7. คณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบภายใน กรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (สายงานผลิตภัณฑ์) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่(สายงานปฏิบัติการ) ผู้ช่วยกรรมการ ฯ (สายงานบัญชี/การเงิน) ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายขาย / การตลาด ฝ่ายบัญชีการเงิน ฝ่ายสินเชื่อ/บริหารหนี้ สำนักกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายตรวจสอบภายใน ฝ่ายผลิตอาหารปลา ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายผลิตอาหารกุ้ง 1.รายชื่อผู้จัดทำ ทบทวน เปลี่ยนแปลง และอนุมัติเอกสาร

  8. โครงสร้างกรรมการของบริษัทฯโครงสร้างกรรมการของบริษัทฯ โครงสร้างกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการ 3 ชุด คือ - คณะกรรมการบริษัทฯ - คณะกรรมการตรวจสอบ - คณะกรรมการและหากำหนดค่าตอบแทน Back

  9. 2.วัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือคุณภาพ2.วัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือคุณภาพ บริษัทได้จัดทำคู่มือคุณภาพ (Quality Manual) ขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าผู้เกี่ยวข้อง และบุคลากรในองค์กรได้รับทราบระบบคุณภาพของบริษัท ว่าได้ดำเนินการ และมีการควบคุมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการรวบรวมขอบข่ายระบบคุณภาพตามข้อกำหนดของ ISO เกือบทั้งหมด (ยกเว้น ข้อกำหนดที่ 7.3 การออกแบบและการพัฒนาเนื่องจากลูกค้าเป็นผู้กำหนดรูปแบบเอง) ตลอดจนลำดับขั้นตอน และความสัมพันธ์ต่างๆ ที่มาจากกระบวนการปฏิบัติงานที่เทียบเคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

  10. ในการจัดทำการทบทวน การปรับปรุง และควบคุมคู่มือคุณภาพ บริษัทได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ดังต่อไปนี้ • คู่มือคุณภาพ (Quality Manual) ที่จัดทำขึ้น ต้องผ่านการอนุมัติจากกรรมการผู้จัดการบริษัทผู้มีอำนาจลงนาม หรือ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจลงนามอนุมัติเท่านั้น • การแก้ไขปรับปรุง ต้องได้รับการทบทวนจากตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพ (QMR : Quality Management Representative) และผู้เกี่ยวข้อง จึงเสนอให้ผู้มีอำนาจ หรือผู้รับมอบอำนาจ ลงนามอนุมัติเพื่อประกาศใช้ • ตัวแทนฝ่ายบริหารคุณภาพ (QMR) จะเป็นผู้ติดตามการบริหารงานในระบบคุณภาพขององค์กรตลอดจนให้มีการทบทวนการทำงานตามแนวทางของคู่มือคุณภาพนี้ • คู่มือคุณภาพ ได้รับการควบคุมตามข้อกำหนดในเรื่องการควบคุมเอกสารเช่นกัน Back

  11. 3.กระบวนการธุรกิจ ( Business Process )

  12. Back

  13. 4.ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) 4.1 รายระเอียดและขอบข่ายการจัดทำระบบบริหารคุณภาพ 4.2 เอกสารในระบบคุณภาพ 4.3 การควบคุมเอกสาร (Document Control) 4.4 การควบคุมบันทึกคุณภาพ (Quality Recording) Back

  14. ภาพรวมผลิตภัณฑ์กระบวนการทั้งหมดภาพรวมผลิตภัณฑ์กระบวนการทั้งหมด ในการผลิตสินค้าอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ บริษัทได้นำเนินตามกระบวนการในระบบคุณภาพสามารถชี้บ่งถึงขวบวนการต่างๆ ได้เริ่มตั้งแต่ Back

  15. 4.2 เอกสารในระบบคุณภาพ บริษัทฯ จัดทำเอกสารในระบบคุณภาพ และจัดแบ่งระดับเอกสารไว้เป็น 4 ระดับ เอกสารระดับที่ 1 • คู่มือคุณภาพ (Quality Manual • นโยบายคุณภาพ (Quality Policy) • วัตถุประสงค์คุณภาพ (Quality Objective) เอกสารระดับที่ 2 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure Manual) มีทั้งหมด 6 ฉบับ (PM-DC-001,PM-DC-002, PM-DC-004, PM-DC-005, PM-DC-006) และ Flow Chart (แผนผังการไหล) เอกสารระดับที่ 3 วิธีการทำงาน (WORK INSTRUCTION) เอกสารระดับที่ 4 แบบฟอร์ม-กราฟ-บันทึกคุณภาพ รายงานการประชุมต่างๆ (Form Record) เอกสารสนับสนุน (Support Document) และเอกสารอ้างอิง Back

  16. 4.3 การควบคุมเอกสาร (Document Control) บริษัทฯ กำหนดวิธีการในการควบคุมเอกสารโดยจัดทำเป็นขั้นตอนปฏิบัติงาน เรื่องการควบคุมเอกสารและข้อมูล PM-DC-001 และวิธีการกำหนดรูปแบบเอกสาร WI-DC-002 ที่มีผลกระทบต่อระบบคุณภาพของบริษัทฯ โดยยึดหลักในการปฏิบัติดังนี้ • ก่อนการแจกจ่ายเอกสารจะต้องผ่านการพิจารณาอนุมัติตามความเหมาะสม • มีการทบทวนปรับปรุงเอกสารให้มีความทันสมัยและมีความจำเป็นอยู่เสมอและต้องมีการอนุมัติใหม่เมื่อมีกรณีแก้ไขปรับปรุง • มีการแสดงสถานะ กำหนดรูปแบบและรหัสของเอกสาร อ่านเข้าใจง่าย ชี้บ่งได้ชัดเจน • มีการแจกจ่ายเอกสารตรงตามที่จำเป็นต้องใช้งาน ณ จุดปฏิบัติงาน และมีการเรียกคืนเอกสารที่ยกเลิกหรือไม่ใช้งานแล้ว • เพื่อความมั่นใจว่าไม่น่านำเอกสารล้าสมัยไปใช้โดยไม่ตั้งใจ • กรณีเอกสารจากภายนอก บริษัทฯ มีการควบคุมการขึ้นทะเบียนการแจกจ่ายและยกยกเลิกเอกสารดังกล่าว • กำหนดรูปแบบเอกสาร บริษัทได้กำหนดรูปแบบการออกเอกสารใหม่ และเอกสารเก่าที่ใช้อยู่เดิมไว้ตาม WI-DC-001 วิธีการกำหนดรูปแบบเอกสารไว้แล้ว Back

  17. 4.4 การควบคุมบันทึกคุณภาพ (Quality Recording) โดยจัดทำเป็นขั้นตอนปฏิบัติงานเรื่องการควบคุมบันทึกคุณภาพ PM-DC-002 บันทึกต่างๆ ในแบบฟอร์ม กราฟ รายงานการประชุม ผลการตรวจสอบต่างๆ ที่ จำเป็นในการสอบกลับ แต่ละหน่วยงานต้องกำหนดรูปแบบ รหัส และวิธีการจัดเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย สะดวกในการค้นหา และนำไปใช้ในกรณีจำเป็น ในการกำหนดแบบฟอร์มต้องเข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก ชี้ได้ชัดเจน มีการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บ Back

  18. 5.ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management responsibility) 5.1 ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหาร (Managementcommitment) เป้าหมายการดำการในการจัดทำ ISO 9001:2000 ของ บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) • พัฒนาอาหารสัตว์น้ำให้มีคุณภาพดีที่สุดเพื่อลูกค้าของบริษัทจะได้ใช้สินค้าที่ดีที่สุด • วิจัยเพื่อสร้างระบบการจัดการที่มีคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์น้ำจะได้รับสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ • คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับสัตว์น้ำชนิดใหม่ที่จะมีแนวโน้มการเลี้ยงกันมากขึ้นในแถบเอเชีย • พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยั่งยืนต่อไป

  19. 5.3 นโยบายคุณภาพ (Quality policy)  นโยบายคุณภาพ ของ บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

  20. 5.4 การวางแผน (Planing) แผนการดำเนินงานแผนงานการดำเนินงานเพื่อเข้าสู่ระบบจัดทำ ISO 9001:2000 ของ บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)

  21. 5.5 ความรับผิดชอบ อำนาจสั่งการ และการสื่อสาร (responsibility and authority) คณะกรรมการบริษัท ฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อช่วยในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ รวมทั้งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนเพื่อช่วยในการสรรหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการดำรงตำแน่งกรรมการบริษัทฯและค่าตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับกรรมการบริษัทฯ โดยอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนไปตามรายละเอียด 5.6การทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management review) ให้ความสำคัญต่อระบบการทวนสอบภายในทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติงาน โดยมีแผนกตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานหลักได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดและมีประสิทธิภาพและเพื่อให้หน่วยงานงานที่ทำการทวนสอบภายในมีความเป็นอิสระสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบได้อย่างเต็มที่และลุล่วง Back

  22. 6.การบริหารทรัพยากร (Resource management) ผู้บริหารสูงสุดพิจารณาอนุมัติ จัดหาทรัพยากรที่จำเป็นให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน และสนับสนุนให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบคุณภาพ และเพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งทางบริษัทฯพิจารณา 6.1 ทรัพยากรบุคคล (Human resources) บริษัทมีพนักงานอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับผู้บริหาร ระดับหัวหน้างาน ระดับพนักงาน การคัดเลือกผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ ผู้บริหารสูงสุดจะคัดเลือกบุคลากรโดยพิจารณาความสามารถที่เหมาะสมกับงาน พื้นฐานการศึกษา การฝึกอบรมทักษะประสบการณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน 6.2 ด้านการฝึกอบรม (Training) การฝึกอบรมเพื่อให้การทำงานในระบบคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบการ รวมทั้งจัดทำแผนฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรได้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และการตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานที่จะบรรลุตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของบริษัท

  23. 6.3 การจัดสรรทรัพยากร (Provision of resources) ด้านสาธารณูปโภค บริษัทคำนึงถึงทรัพยากรด้านสาธารณูปโภค ถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในการเพิ่มคุณภาพในการทำงาน เช่น พื้นที่ทำงาน ห้องสุขา น้ำดื่ม ประปา ไฟฟ้า ตัวอย่างการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ

  24. 6.4 สภาพแวดล้อมในการทำงาน (Work environment) บริษัทดำเนินการจัดวางเครื่องจักร และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับอาคาร สถานที่ โดยบริษัทได้แยกพื้นที่ทำงานของพนักงาน พื้นที่ตั้งเครื่องจักร พื้นที่วางผลิตภัณฑ์ พื้นที่ทางเดิน ไว้เป็นสัดส่วน โดยคำนึงถึงความเป็นระเบียบสะอาดและปลอดภัย ตัวอย่างการจัดสรรทรัพยากรสภาพแวดล้อมในการทำงาน Back

  25. 7. การทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง (PRODUCT REAIZATION) การดำเนินงานตามแผนธุรกิจในหัวข้อกำหนดที่ 3 เพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุดของการบริการ จึงมีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าโดยมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ โดยรับการร้องเรียนและความต้องการของลูกค้าผ่านศูนย์สาขา รายละเอียด เช่น การสื่อสารกับลูกค้า • มีการรายงานความต้องการของลูกค้าผ่านทางศูนย์บริการและมีการจดบันทึกรายละเอียดถึงความต้องการของลูกค้า และมีการรายงานกลับมาที่ศูนย์ใหญ่เป็นระยะๆ • การสอบถามสัญญา หรือจัดการกับคำสั่งซื้อของลูกค้า • ฝ่ายการตลาดจะดำเนินการในเรื่องการรับข้อร้องเรียนจากลูกค้า Back

  26. 8.การวัด การวิเคราะห์ และ การปรับปรุง (Measurement, analysis and improvement)

  27. 8.การวัด การวิเคราะห์ และ การปรับปรุง (Measurement, analysis and improvement) 8.1 การวางแผน (Planning) บริษัทจะใช้ระบบ IQA ในการตรวจติดตามคุณภาพสำหรับทุก ๆ แผนกนั่นคือจะมีการแต่งตั้งทีม IQA ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ตรวจ IQA คือ Internal Quality Audit เป็นหนึ่งในประเภทของการตรวจติดตาม เป็นการตรวจติดตามโดยบุคลากรภายในองค์กรของตนเอง และบุคลากรที่ตรวจจะต้องเป็นอิสระต่อหน่วยงานที่ถูกตรวจ มีขั้นตอนในการทำดังนี้ 1.) กำหนดวัตถุประสงค์2.) วางแผนการตรวจติดตาม3.) คัดเลือกทีมตรวจติดตาม4.) วางแผนก่อนตรวจติดตาม5.) แจ้งให้ผู้ถูกตรวจรับทราบ6.) ตรวจสอบเอกสารและเตรียมAudit checklist7.) เปิดประชุมการตรวจติดตาม8.) ทำการตรวจติดตาม9.) สรุปข้อบกพร่อง10.) ปิดประชุมการตรวจติดตาม และแจ้งข้อบกพร่อง11.) ทำรายงาน12.) ติดตามผลการแก้ไข13.) ทบทวนโดยผู้บริหาร

  28. รูปตัวอย่างแบบฟอร์มการแจ้งรายละเอียดการตรวจติดตามคุณภาพภายในรูปตัวอย่างแบบฟอร์มการแจ้งรายละเอียดการตรวจติดตามคุณภาพภายใน

  29. รูปตัวอย่างแผนการตรวจคุณภาพภายในรูปตัวอย่างแผนการตรวจคุณภาพภายใน

  30. 8.2 การติดตาม และ การวัด (Monitoring and measurement) แผนกที่ไม่ผ่านข้อกำหนดตามมาตรฐาน บริษัทจะมีการออกใบแจ้งดำเนินการแก้ไข (CAR) ให้กับแผนกที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ให้อยู่ในข้อกำหนดของมาตรฐานจึงจะมีการเซนรับรองจากตัวแทนฝ่ายบริหาร

  31. 8.3 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด นอกเหนือจากการตรวจวัดประจำปีในเดือนมิถุนายน บริษัทจะมีการสุ่มตรวจคุณภาพภายในซ้ำ สำหรับแผนกที่ไม่ผ่านข้อกำหนดตามมาตรฐานบ่อยครั้ง 8.4 การวิเคราะห์ข้อมูล (analysis of data) ทีมจะต้องมีการรายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพภายในทั้งหมดเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ฝ่ายบริหารรับทราบ

  32. รูปตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพภายในรูปตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพภายใน

  33. 8.5 การปรับปรุง (Improvement) การปรับปรุงคุณภาพจากการตรวจวัด จะใช้มาตรฐาน ISO 9001:200 /CPI (Continual Process Improvement) และการกำหนด KPI (Key Performance Indicator: ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน) ในการตรวจวัด

  34. โครงการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้มาตรฐาน ISO 9001:200 / CPI (Continual Process Improvement) และการกำหนด KPI (Key Performance Indicator: ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน)

  35. Back

  36. รูปใบรับรองมาตรฐาน ISO 9000 ของบริษัทไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) โดยมี Moody International Certification เป็นผู้ให้การรับรอง

  37. คณะผู้จัดทำ • นางสาวกมลวรรณ หยงสตาร์ รหัส 09490598 • นางสาวจุฑามาศ ศิรวุฒินานนท์ รหัส 09490611 • นายเจนณรงค์ โพธิจันทร์ รหัส 09490612 • นายดนัย ศิริอุดม รหัส 09490627 • นายทศพล โชติกปฏิพัทธ์ รหัส 09490630 • นายไพฑูรย์ กิจพยัคฆ์ รหัส 09490669 • นายภัทรภูมิ เก้าลิ้ม รหัส 09490671 • นายเสกสรร เกื้อหนุน รหัส 09490721 • นายอดิศร พ่วงจารี รหัส 09490725 • นายเอกลักษณ์ ศักดิ์เรืองฤทธิ์ รหัส 09490742

More Related