1 / 45

สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน. นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 25 4 1. การเลิกสัญญาจ้าง สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า (ม.17 วรรคหนึ่ง).

kimn
Download Presentation

สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

  2. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การเลิกสัญญาจ้าง • สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลา สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า (ม.17 วรรคหนึ่ง)

  3. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลา และการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือนทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาด้วย ( ม. 17 วรรคสอง)

  4. สัญญาจ้างทดลองงาน หมายถึง สัญญาที่นายจ้างตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยมีเงื่อนไขให้ ลูกจ้างทดลองทำงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หากลูกจ้างสามารถปฏิบัติงาน ได้ดีเป็นที่พอใจของฝ่ายนายจ้าง นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานต่อไป หรือหาก นายจ้างไม่พอใจก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างในช่วงระยะเวลาทดลองงานได้

  5. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • การบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่ต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้ (ม. 17 วรรคสาม) • การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ม. 17 วรรคสี่)

  6. ป.พ.พ. มาตรา 583 ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณก็ดี ละทิ้งการงานไปเสียก็ดี กระทำความผิดอย่างร้ายแรงก็ดี หรือทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตก็ดี ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้

  7. การคุ้มครองค่าตอบแทน 1. อัตรา ค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ หรือค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ม.90) ค่าล่วงเวลา (ม.61,ม.63) - วันทำงาน :1.5 เท่า - วันหยุด : 3 เท่า

  8. 2. ทำงานอย่างเดียวกัน ชาย-หญิงได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน (ม.53) 3. จ่ายเป็นเงินตราไทย (ม.54) : จ่ายเป็นตั๋วเงิน, เงินตราต่างประเทศได้ เมื่อลูกจ้างยินยอม 4. สถานที่จ่าย (ม.55) : สถานที่ทำงานของลูกจ้าง : ณ สถานที่อื่น, ด้วยวิธีอื่น เมื่อลูกจ้างยินยอม 5. กำหนดเวลาจ่าย (ม.70) : อย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือน : ถ้าเลิกจ้าง จ่ายภายใน 3 วันนับแต่เลิกจ้าง

  9. ค่าทำงานในวันหยุด (ม.62) - 1 เท่า : ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างในวันหยุด - 2 เท่า : ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ในวันหยุด ข้อยกเว้น - ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา (ม.65) - ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (ม.66)

  10. ผู้ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา (ม.65) ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลา ในวันหยุด คือ ลูกจ้างตาม (1) ถึง (9) แต่ลูกจ้างซึ่งนายจ้างให้ทำงานตาม (3) (4) (5) (6) (7) (8) หรือ (9) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้าง ต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ

  11. 1. ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำงานการแทนนายจ้าง สำหรับกรณี การจ้าง การให้บำเหน็จ หรือ การเลิกจ้าง 2. งานเร่ขายสินค้า ซึ่งนายจ้างจ่ายค่านายหน้าให้ 3. งานขบวนการจัดงานรถไฟ อำนวยความสะดวก แก่การเดินรถ 4. งานเปิดปิดประตูน้ำหรือประตูระบายน้ำ 5. งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ

  12. 6) งานดับเพลิงหรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ 7) งานที่มีลักษณะหรือสภาพที่ต้องออกไปทำงาน นอกสถานที่ และโดยลักษณะหรือสภาพของงาน ไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้ 8) งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง 9) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าล่วงเวลา ในวันหยุดให้

  13. กฎกระทรวง(ออกตาม ม.65 (9)) งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นงานปกติของลูกจ้าง ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ในวันทำงาน – วันหยุด แต่ให้จ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ

  14. ผู้ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด (ม.66) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง สำหรับกรณี - การจ้าง - การให้บำเหน็จ - การเลิกจ้าง เว้นแต่ นายจ้างตกลงจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้าง

  15. การหักค่าจ้าง นายจ้างหักค่าจ้างได้เฉพาะ 1. ชำระภาษีเงินได้หรือเงินอื่นที่กฎหมายบัญญัติ 2. ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงาน 3. ชำระหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้สวัสดิการที่ เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว 4. เป็นเงินประกัน หรือชดใช้ค่าเสียหาย 5. เป็นเงินสะสม การหักตาม(3)และ(4)ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

  16. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หลักประกันการทำงาน ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับ หลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินอื่น หรือการค้ำประกันด้วยบุคคลจากลูกจ้าง เว้นแต่ลักษณะหรือสภาพของงานที่ทำนั้นลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างได้

  17. ลักษณะงานที่จะเรียกหรือรับหลักประกันลักษณะงานที่จะเรียกหรือรับหลักประกัน (1) งานสมุห์บัญชี (2) งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน (3) งานควบคุมหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่าคือ เพชร พลอย เงิน ทองคำ ทองคำขาว และไข่มุก (4) งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้างหรือที่อยู่ในความ รับผิดชอบของนายจ้าง (5) งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน (6) งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ

  18. (7) งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงิน หรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น

  19. หลักประกัน มี ๓ ประเภท (1) เงินสด (2) ทรัพย์สิน (3) การค้ำประกันด้วยบุคคล

  20. จำนวนเงิน มูลค่าหรือวงเงินของหลักประกัน - ไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ การเก็บรักษาเงินประกัน - ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน - เป็นบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน - แจ้งรายละเอียดให้ลูกจ้างทราบภายใน 7 วันนับแต่รับเงิน ประกัน

  21. ทรัพย์สินที่เรียกหรือรับเป็นหลักประกันทรัพย์สินที่เรียกหรือรับเป็นหลักประกัน (1) สมุดเงินฝากประจำธนาคาร (2) หนังสือค้ำประกันของธนาคาร (มูลค่าไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ย ที่ลูกจ้างได้รับ)

  22. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การคืนหลักประกัน กรณีนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน ให้นายจ้างคืนหลักประกันพร้อมดอกเบี้ย ถ้ามี ให้แก่ลูกจ้างภายในเจ็ดวันเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรือลูกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นสุด

  23. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง หรือไม่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาใน วันหยุด ภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างใน ระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี (ม. 9)

  24. ค่าชดเชย ค่าชดเชย = เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง เลิกจ้าง = การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าเพราะเหตุใด

  25. อัตราค่าชดเชย 1. ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี = 30 วัน 2. ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี = 90 วัน 3. ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี = 180 วัน 4. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี = 240 วัน 5. ทำงานครบ 10 ปี ขึ้นไป = 300 วัน

  26. เหตุยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (ม. 119) (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่าง ร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของ นายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้าง ได้กระทำผิด

  27. (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่น หรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุ โทษต้องเป็นกรณีเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุ ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้ง เหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้าง ในภายหลังไม่ได้

  28. วันหยุด 1. วันหยุดประจำสัปดาห์ 2. วันหยุดตามประเพณี 3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี

  29. วันหยุดพักผ่อนประจำปี (ม. 30) 1. ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน 2. ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 1 ปี 3. ตกลงกันสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 4. ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี อาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยคำนวณให้ตามส่วนก็ได้

  30. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 • ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี (ม. 67) ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยมิใช่กรณีตามมาตรา 119 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้าง ตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ ในกรณีที่ลูกจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา หรือนายจ้างเลิกจ้างไม่ว่า การเลิกจ้างจะเป็นกรณีตามมาตรา 119 หรือไม่ก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 30

  31. วันลา 1. วันลาป่วย 2. วันลาเพื่อทำหมัน 3. วันลากิจ 4. วันลาเพื่อรับราชการทหาร 5. วันลาเพื่อฝึกอบรม 6. วันลาคลอดบุตร

  32. วันลาป่วย (ม. 32) 1. ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง 2. แสดงใบรับรองแพทย์สำหรับการลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป 3. ได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน 4. กรณีที่ไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน หรือลาคลอด ไม่ถือเป็นวันลาป่วย

  33. วันลาทำหมัน (ม. 33) 1. ลาเพื่อทำหมัน และลาเนื่องจากการทำหมัน 2. ลาได้ตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด 3. ได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา

  34. วันลากิจ (ม. 34) มีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน - จำนวนวัน - ค่าจ้างระหว่างวันลา

  35. วันลารับราชการทหาร (ม. 35) 1. เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลอง ความพรั่งพร้อม 2. ลาได้ตามหมายเรียก 3. ได้รับค่าจ้างปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน

  36. วันลาฝึกอบรม (ม. 36) 1. เพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถ เช่นเพิ่มทักษะเพื่อประสิทธิภาพ การสอบวัดผลทางการศึกษา ตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2541) 2. ไม่ได้รับค่าจ้าง

  37. กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2541) ลาฝึกอบรมได้ในกรณี 1. เพื่อประโยชน์ต่อการแรงงานและสวัสดิการสังคมหรือการเพิ่มทักษะความชำนาญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง 2. การสอบวัดผลทางการศึกษาที่ทางราชการจัดหรืออนุญาตให้จัด 3. ลาโดยแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน 4. ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันหรือ 3 ครั้ง

  38. วันลาเพื่อคลอดบุตร (ม. 41) 1. ครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน 2. ให้นับรวมวันหยุดที่มีในระหว่างวันลา ด้วย 3. ได้รับค่าจ้างครรภ์หนึ่งไม่เกิน 45 วัน

  39. การทำงานล่วงเวลา ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ยกเว้นในกรณี ** ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหาย ** งานฉุกเฉิน

  40. การทำงานในวันหยุด งานที่ให้ทำได้เลย คือ * สภาพของงานต้องทำติดต่อกันถ้าหยุดจะเสียหาย * งานฉุกเฉิน * กิจการโรงแรม สถานพยาบาล งานขนส่ง ร้านขายอาหาร/เครื่องดื่ม สโมสร ฯลฯ งานที่ให้ทำได้แต่ต้องได้รับความยินยอม * เพื่อประโยชน์แก่การผลิต การจำหน่าย หรือบริการ

  41. อัตราชั่วโมงทำงานล่วงเวลาและในวันหยุด (ม. 26) กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) รวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 36 ชั่วโมง แต่ไม่นับรวม กรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไปถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน แต่ทำได้เท่าที่จำเป็น

  42. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75กรณีที่นายจ้างมีความจำเป็นโดยเหตุหนึ่งเหตุใดที่สำคัญ อันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการของนายจ้างจนทำให้นายจ้าง ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัยต้อง หยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนให้นายจ้างจ่ายเงินไม่น้อยกว่า ร้อยละเจ็ดสิบห้าของค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่นายจ้าง ไม่ให้ลูกจ้างทำงาน

  43. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8คำว่า “ เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือ ใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึง คาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น

  44. หน้าที่ของนายจ้าง • มาตรา 75 วรรคสอง ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงานทราบล่วงหน้า เป็นหนังสือก่อนวันเริ่มหยุดกิจการไม่น้อยกว่า 3 วันทำการ

  45. จบการบรรยายสวัสดีครับจบการบรรยายสวัสดีครับ

More Related