1 / 34

โดย...สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ภาพรวมการค้าชายแดนไทย - สหภาพพม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน. โดย...สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน. 12 ธันวาคม 2550.

Download Presentation

โดย...สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาพรวมการค้าชายแดนไทย - สหภาพพม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดย...สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 12 ธันวาคม 2550

  2. การค้าชายแดนในรูปแบบต่างๆของประชาชนหรือผู้ประกอบการธุรกิจที่มีการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่ติดต่อกันทางบก และมีการตรวจปล่อยสินค้า ณ บริเวณชายแดน หากสินค้านั้นมีการขนส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆใกล้เคียงก็จะเรียกว่า “การค้าผ่านแดน”

  3. ข้อมูลทั่วไป • การค้าชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน • จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่าโดยทุกอำเภอมี เขตพรมแดนติดต่อกับสหภาพพม่า ความยาวประมาณ 483 กิโลเมตร เป็นแนวเขตแดนที่เป็นพื้นดิน 326 กิโลเมตรและมีแนวลำน้ำ 157 กิโลเมตรโดยแบ่งเป็นแนวเขตลำน้ำสาละวิน 127 กิโลเมตร และลำน้ำเมย 30 กิโลเมตร

  4. เขตพรมแดนติดต่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับสหภาพพม่าเขตพรมแดนติดต่อของจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับสหภาพพม่า

  5. ช่องทางการค้าชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะติดต่อทางการค้าผ่านด่านศุลกากรและจุดผ่านแดน ดังนี้  ด่านศุลกากร จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจำนวน 2 แห่ง คือ 1. ด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน รับผิดชอบพื้นที่อำเภอเมือง,ขุนยวม,ปาย และอำเภอปางมะผ้า 2. ด่านศุลกากรแม่สะเรียง รับผิดชอบพื้นที่อำเภอแม่สะเรียง,สบเมย,และแม่ลาน้อย

  6. จุดผ่านแดน 1. จุดผ่อนปรนทางการค้า ได้แก่ 1) จุดผ่อนปรนบ้านห้วยต้นนุ่น หมู่ที่ 4 ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม ตามประกาศจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2537 (เปิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2538) 2 ) จุดผ่อนปรนบ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง ตามประกาศจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2539 (เปิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2539) 3) จุดผ่อนปรนบ้านแม่สามแลบ ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย ตามประกาศจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2549 และ(เปิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549)

  7. 2. ด่านพรมแดน - ด่านพรมแดนบ้านน้ำเพียงดิน หมู่ที่ 4 ตำบลผาบ่อง อำเภอเมือง ซึ่งมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าสินแร่ และเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำเหมือง ตลอดถึงเครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ - ด่านพรมแดนบ้านเสาหิน หมู่ที่ 4 ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง ด่านพรมแดนทั้ง 2 แห่ง เปิดด่านพรมแดนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2480

  8. เส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่างเส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่าง ไทย-พม่าด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน

  9. เส้นทางที่สำคัญ 1322 72 กม. 1095 107 245 กม. 70 กม. 108 350 กม. อ.เวียงแหง อ.ปางมะผ้า อ.ปาย อ.เมือง อ.เชียงดาว จว.แม่ฮ่องสอน อ.ขุนยวม จว.เชียงใหม่ อ.แม่ลาน้อย อ.แม่สะเรียง อ.สบเมย

  10. จุดผ่อนปรนทางการค้า รัฐฉาน ช่องทางห้วยผึ้ง/นามน จำนวน 5 ช่องทาง กกล.ผาเมือง กกล.นเรศวร อ.เวียงแหง อ.ปางมะผ้า 1095 อ.ปาย แม่น้ำปาย แม่น้ำสาละวิน อ.เมือง ช่องทางน้ำเพียงดิน 1095 จว.ม.ส. รัฐคะยา 108 จว.ช.ม. อ.ขุนยวม ช่องทางห้วยต้นนุ่น ช่องทางเสาหิน ประเทศไทย 108 รัฐกะเหรี่ยง อ.แม่ลาน้อย ท่าข้ามเวยจี สพม. อ.แม่สะเรียง 108 ท่าข้ามแม่สามแลบ อ.สบเมย ฉก.ร.7 ฉก.ร.4 1085 แม่น้ำเมย แม่น้ำสาละวิน

  11. จุดผ่อนปรนทางการค้า รัฐฉาน ช่องทางห้วยผึ้ง/นามน บ.นามนหลวง WNA ช่องทางห้วยผึ้ง/นามน กกล.ผาเมือง กกล.นเรศวร อ.เวียงแหง SSS อ.ปางมะผ้า 1095 บ.ห้วยผึ้ง อ.ปาย แม่น้ำสาละวิน อ.เมือง 1095 แม่น้ำปาย จว.ม.ส. 108 รัฐคะยา จว.ช.ม. อ.ขุนยวม ประเทศไทย 108 อ.แม่ลาน้อย ท่าข้ามเวยจี รัฐกะเหรี่ยง อ.แม่สะเรียง 108 สพม. อ.สบเมย ฉก.ร.7 ฉก.ร.4 1085 แม่น้ำเมย แม่น้ำสาละวิน

  12. จุดผ่อนปรนทางการค้า รัฐฉาน ช่องทางน้ำเพียงดิน กกล.ผาเมือง กกล.นเรศวร อ.เวียงแหง อ.ปางมะผ้า 1095 KNPP อ.ปาย แม่น้ำปาย แม่น้ำสาละวิน อ.เมือง ช่องทางน้ำเพียงดิน 1095 บ.น้ำเพียงดิน จว.ม.ส. KNPLF 108 จว.ช.ม. อ.ขุนยวม รัฐคะยา ประเทศไทย 108 อ.แม่ลาน้อย ท่าข้ามเวยจี สพม. อ.แม่สะเรียง 108 รัฐกะเหรี่ยง อ.สบเมย ฉก.ร.7 ฉก.ร.4 1085 แม่น้ำเมย แม่น้ำสาละวิน

  13. จุดผ่อนปรนทางการค้า รัฐฉาน ช่องทางห้วยต้นนุ่น กกล.ผาเมือง กกล.นเรศวร อ.เวียงแหง อ.ปางมะผ้า 1095 อ.ปาย แม่น้ำปาย แม่น้ำสาละวิน อ.เมือง รัฐคะยา 1095 จว.ม.ส. 108 จว.ช.ม. ช่องทางห้วยต้นนุ่น อ.ขุนยวม บ.แม่แจ๊ะ บ.ห้วยต้นนุ่น KNPLF ประเทศไทย 108 อ.แม่ลาน้อย ท่าข้ามเวยจี สพม. อ.แม่สะเรียง 108 รัฐกะเหรี่ยง อ.สบเมย ฉก.ร.7 ฉก.ร.4 1085 แม่น้ำเมย แม่น้ำสาละวิน

  14. จุดผ่อนปรนทางการค้า รัฐฉาน ช่องทาง บ.เสาหิน กกล.ผาเมือง กกล.นเรศวร อ.เวียงแหง อ.ปางมะผ้า 1095 อ.ปาย แม่น้ำปาย แม่น้ำสาละวิน อ.เมือง 1095 จว.ม.ส. 108 รัฐคะยา จว.ช.ม. อ.ขุนยวม บ.ห้วยทราย KNPLF ช่องทางเสาหิน ประเทศไทย 108 บ.เสาหิน อ.แม่ลาน้อย ท่าข้ามเวยจี สพม. อ.แม่สะเรียง 108 อ.สบเมย รัฐกะเหรี่ยง ฉก.ร.7 ฉก.ร.4 1085 แม่น้ำเมย แม่น้ำสาละวิน

  15. จุดผ่อนปรนทางการค้า รัฐฉาน ท่าข้ามแม่สามแลบ กกล.ผาเมือง กกล.นเรศวร อ.เวียงแหง อ.ปางมะผ้า 1095 อ.ปาย แม่น้ำปาย แม่น้ำสาละวิน อ.เมือง 1095 จว.ม.ส. 108 รัฐคะยา จว.ช.ม. อ.ขุนยวม ประเทศไทย 108 อ.แม่ลาน้อย ท่าข้ามเวยจี สพม. ABSDF อ.แม่สะเรียง 108 รัฐกะเหรี่ยง ท่าข้ามแม่สามแลบ บ.แม่สามแลบ อ.สบเมย DKBA ฉก.ร.7 ฉก.ร.4 1085 แม่น้ำเมย แม่น้ำสาละวิน

  16. ภาวะการค้าชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในอดีตเป็นผลมาจากความเจริญเติบโตของธุรกิจนำไม้เข้าจากพม่าเป็นสำคัญความเจริญเติบโตของธุรกิจค้าไม้ทั้งในฝั่งพม่าและฝั่งไทยเป็นผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากฝั่งไทยเพิ่มขึ้น ภายหลังจากพม่าห้ามส่งออกไม้ ธุรกิจค้าไม้ ตามแนวชายแดนของทั้งสองประเทศซบเซาลง ภาวะการค้าชายแดนทำให้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2539 – 2541 และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา และมีการขยายตัวสูงสุดในปี 2548 : โดยมีมูลค่าการค้ารวม 1,249.18 ล้านบาท : มูลค่าการส่งออก 884.65 ล้านบาท : มูลค่าการนำเข้า 364.53 ล้านบาท : ดุลการค้า(เกินดุล) 520.12 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันพืช สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพ เครื่องดื่ม รองเท้าแตะฟองน้ำ ผงชูรส ผ้าขนหนู รถจักรยานยนต์ อะไหล่รถยนต์ใช้แล้ว สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ โค-กระบือ มีชีวิต พริกแห้ง เมล็ดงา ถั่วต่างๆ สินค้าเบ็ดเตล็ด

  17. ภาวะการค้าชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน 3 ปีย้อนหลัง (พ.ศ. 2548-2550) • ปี 2550 (ม.ค.-พ.ย. 50) • -มูลค่าการค้ารวม 579.31 ล้านบาท • การส่งออก 519.04 ล้านบาท • การนำเข้า 60.28 ล้านบาท • ดุลการค้า(เกินดุล) 458.76 ล้านบาท • ปี 2549 (ม.ค.-ธ.ค.49) • -มูลค่าการค้ารวม 809.54 ล้านบาท • การส่งออก 572.03 ล้านบาท • การนำเข้า 237.51 ล้านบาท • ดุลการค้า(เกินดุล) 334.52 ล้านบาท • ปี 2548 (ม.ค.-ธ.ค. 48) • -มูลค่าการค้ารวม 1,249.18 ล้านบาท • การส่งออก 884.65 ล้านบาท • การนำเข้า 364.53 ล้านบาท • ดุลการค้า(เกินดุล) 520.12 ล้านบาท

  18. รายการสินค้าที่สำคัญ 10 อันดับ แรก ปี 2549 ดังนี้ สินค้าส่งออก 1.สินค้าอุปโภคบริโภค 2. เสื้อผ้าเก่าใช้แล้ว 3. น้ำมันพืช 4. ผงชูรส 5. รองเท้าแตะฟองน้ำ 6. หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ไม่เกิน 100 วัตต์ 7. ทีวีสี 8. น้ำอัดลม 9. อะไหล่รถยนต์เก่าใช้แล้ว 10. วิสกี้ สินค้านำเข้า 1.โค-กระบือมีชีวิต 2. พริกแห้ง 3. เมล็ดงา 4. หอมแดง 5.งาขาว 6. กระเทียม 7. สินแร่ (วุลแฟรม 4 ดีบุก) 8. ชิ้นไม้ฤษณา 9. ถั่วเขียวผิวมัน 10. เปลือกไม้บง

  19. รูปกราฟมูลค่าการค้า 3 ปีย้อนหลัง (2548-2550) หน่วย : บาท 1,249,182,852.03 809,542,996.41 884,651,972.28 579,313,741.69 572,034,822.68 520,121,092.53 519,035,198.69 334,526,648.95 364,530,879.75 237,508,173.73 458,756,655.69 60,278,543.00

  20. ภาวะการค้าชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2550 (ม.ค.-พ.ย. 50) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (2549)  มูลค้าการค้ารวม 579.31 ล้านบาท ลดลง 133.30 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (712.61 ล้านบาท) การส่งออก 519.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.86 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (491.18 ล้านบาท)

  21. การนำเข้า 60.28 ล้านบาท ลดลง 161.15 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 72.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (221.43 ล้านบาท) ทั้งนี้เนื่องจากมีการนำเข้าสินค้าลดน้อยลง ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์ (โค-กระบือ) และสินค้าเกษตร( พริกแห้ง ,กระเทียม, งา, ชิ้นไม้กฤษณา และเปลือกไม้ก่อ ) ดุลการค้า (เกินดุล) 458.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 189.01 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (269.75 ล้านบาท)

  22. สินค้าถ่ายลำที่ส่งผ่านสินค้าถ่ายลำที่ส่งผ่าน ด่านชายแดนไทย-พม่า ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปี 2549 มีดังนี้ 1.น้ำมันปาล์ม 2. อะไหล่และเครื่องจักรรถยนต์เก่าใช้แล้ว 3. เสื้อผ้าเก่าใช้แล้ว 4. น้ำมันดีเซล 5. จักรยานเก่าใช้แล้ว 6. เครื่องจักรและอะไหล่รถยนต์เก่าใช้แล้ว 7. ยางรถยนต์เก่าใช้แล้ว *********

  23. ศักยภาพของช่องทางการค้าชายแดน ด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ 2549) เรียงตามลำดับ ดังนี้ .- 1 . จุดผ่อนปรนบ้านเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง -มูลค่าการค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร คิดเป็นร้อยละ 53.66 ของ มูลค่าการค้าทั้งหมด (689.289 ล้านบาท) เป็นด่านที่มีมูลค้าการค้ามากที่สุดของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันปาล์ม ผงชูรส เสื้อผ้าเก่าใช้แล้ว หลอดฟูออเรสเซนต์ ทีวีสี รองเท้าแตะฟองน้ำ แผนเหล็กชุบสังกะสีชนิดลูกฟูก สินค้าอุปโภคบริโภค ผ้าลูกไม้ทำด้วย คอตต้น 100% เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ พริกแห้ง โค-กระบือ มีชีวิต ถั่วลิสง เมล็ดงาดำ หอมแดง เมล็ดงาขาว ถั่วเขียวผิวมัน เป็นต้น

  24. 2. จุดผ่อนปรนบ้านแม่สามแลบ อำเภอสบเมย - มูลค่าการค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร คิดเป็นร้อยละ 30.04 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด (689.289 ล้านบาท) เป็นด่านที่มีมูลค่าการค้าอันดับสอง รองจากด่านบ้านเสาหิน สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันพืช น้ำมันปาล์ม ผงชูรส เสื้อผ้าเก่าใช้แล้ว เป็นต้น สินค้านำเข้า ได้แก่ พริกแห้ง โค-กระบือ มีชีวิต ถั่วลิสง เมล็ดงาดำ หอมแดง เมล็ดงาขาว เป็นต้น 3. จุดผ่อนปรนบ้าน ห้วยผึ้ง อำเภอเมือง - มูลค่าการค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร คิดเป็นร้อยละ 10.69 ของ มูลค่าการค้าทั้งหมด (689.289 ล้านบาท) สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำอัดลม วิสกี้ น้ำมันเชื้อเพลิง รองเท้าแตะ ฟองน้ำ น้ำมันพืช และขนมเวเฟอร์ ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ โค-กระบือ มีชีวิต, เปลือกไม้ก่อ ,ชิ้นไม้กฤษณา ,สินค้าอุปโภคบริโภค และกระเทียมมีก้าน

  25. 4. จุดผ่อนปรนบ้านห้วยต้นนุ่น อำเภอขุนยวม - มูลค่าการค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร คิดเป็นร้อยละ 5.49 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด (689.289 ล้านบาท) สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันพืช ผงชูรส และน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนสินค้านำเข้า ได้แก่ โค-กระบือ มีชีวิต หินสีเขียวคล้ายหยก และสินค้าอุปโภคบริโภค ตามลำดับ 5.  พรมแดนบ้านน้ำเพียงดิน อำเภอเมือง - มูลค่าการค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร คิดเป็นร้อยละ 0.12 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด (689.289 ล้านบาท) สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ รถ Back hole รถแทรกเตอร์ สังกะสี น้ำมันเชื้อเพลิง รถไถนา และสินค้าอุปภคบริโภค ส่วนสินค้านำเข้า คือ สินแร่พลวง ทั้งนี้ คาดว่าสินค้าที่มีการส่งออกทางด่านน้ำเพียงดินเป็นสินค้าที่นำไปใช้ในเหมืองแร่พลวงของผู้ประกอบการไทย ที่เข้าไปลงทุนในฝั่งพม่า

  26. 5. ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า 1. ปัญหาเรื่องความมั่นคงตามแนวชายแดน ซึ่งมีการสู้รบระหว่างรัฐบาลพม่ากับชนกลุ่มน้อย ทำให้ไม่มีความปลอดภัยและการขนส่งสินค้าของทั้งสองประเทศขาดความต่อเนื่อง ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าและเสียเปรียบทางการค้าจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ 2. เส้นทางคมนาคมทางบกเชื่อมระหว่างไทยกับพม่า มีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศ

  27. 3.ขาดสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่างๆ อาทิ การคมนาคม การสื่อสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ 4.พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนทุกอำเภอเป็นพื้นที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามพ.ร.บ. กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 กองทัพภาคที่ 3 ได้กำหนดและควบคุมสินค้าส่งออกบริเวณจุดผ่อนปรนชายแดน เพื่อผลการปฏิบัติการทางทหารและการสกัดกั้นยาเสพติด การนำเข้า ส่งออกสินค้าต้องได้รับความเห็นชอบจากกองทัพภาคที่ 3

  28. 5.  การส่งสินค้าไปยังประเทศพม่าต้องขนถ่ายสินค้า ณ จุดพรมแดน เพื่อตรวจสอบสินค้าส่งออกที่ต้องสงสัย ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุน ค่าขนส่งสินค้าสูงขึ้น และต้องเสียเวลาขนถ่ายสินค้าจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการค้าสามารถนำรถยนต์เข้าไปได้ถึงเขตพม่า 6. การนำเข้า-ส่งออกสินค้า ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับนอกจากจะต้องปฏิบัติตามระเบียบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าแล้ว ยังต้องปฏิบัติตามระเบียบราชการอื่นๆ เช่น - พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตป่าอนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของกรมป่าไม้ - พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก - นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ

  29. 7.  ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเนื่องจากพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเขตติดต่อกับชายแดนพม่า ซึ่งอยู่ภายใต้เขตควบคุมของชนกลุ่มน้อย ส่งผลให้ภาคราชการไม่สามารถเข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเกรงจะไปกระทบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 8. ปัญหาการลักลอบเข้าเมือง

  30. 9. ปัญหากฎระเบียบการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าฟอร์ม AISP และฟอร์ม D ของสหภาพพม่า มีความยุ่งยาก และต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน 10. ปัญหาระเบียบการนำเข้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ของไทยที่กำหนดให้ต้องมีใบรับรอง แหล่งกำเนิดจากพม่าหรือ ใบ c/o 11. ปัญหาการชำระค่าสินค้า ส่วนใหญ่ใช้ระบบแลกเปลี่ยนสินค้า โดยการนำสินค้าอุปโภคบริโภคแลกเปลี่ยนกับโค-กระบือมีชีวิตและสินค้าเกษตร แต่สินค้าเกษตรที่นำเข้ามีอัตราภาษีสูง ส่งผลให้ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าเกษตรสูง

  31. แนวทางแก้ไข  ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-พม่าให้มีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น โดยให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง  ส่งเสริมการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชนให้มากขึ้น และสนับสนุนนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาจเข้าไปถือหุ้นในกิจการที่นักธุรกิจไทยไปดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อเถือและความมั่นใจ  ส่งเสริมหน่วยงานระดับท้องถิ่นให้มีบทบาทที่จะรับผิดชอบดูแลการค้าชายแดนให้ชัดเจนและเป็นมาตรฐานสากล  ส่งเสริมการดำเนินการกำหนดเขตพื้นที่ทั้งภาคอุตสาหกรรม/เกษตรกรรมให้ชัดเจนเพื่อสนับสนุนการค้าชายแดน  ส่งเสริมหน่วยงานของรัฐบาลในการทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน แก่นักธุรกิจ/นักลงทุนไทยในการเข้าไปทำธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน  จัดประชุมหารือทั้งสองฝ่ายในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง

  32. แนวทางส่งเสริมการค้า • ควรส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค กลุ่มวัสดุก่อสร้าง กลุ่มเครื่องจักรและอุปกรณ์การเกษตรให้มากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยยังมีโอกาสขยายตลาดในพม่าได้ เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่ตลาดพม่ามีความต้องการมาก และยังไม่สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีได้ในประเทศ • ส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว พม่าเป็นประเทศที่อุดมสมบรูณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งแร่ธาตุ ป่าไม้ และแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ และควรส่งเสริมให้มีการเข้าไปลงทุนในด้านอุตสาหกรรม แปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเสื้อผ้า เพื่อการส่งออก อุตสาหกรรม เหมืองแร่และอุตสาหกรรมอัญมณี

  33. 3. ควรเพิ่มความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น ในด้านการป้องกันและปราบปรามการลักลอบการนำเข้าสินค้า และในด้านข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างพ่อค้าท้องถิ่นของแต่ละประเทศรวมทั้งมีการร่วมเจรจาแก้ไขปัญหาการค้าอื่นๆ ในระดับท้องถิ่นให้มากขึ้น 4.  จัดตั้งคณะกรรมการร่วมการค้าชายแดนระดับท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลัก 5.  ส่งเสริมให้มีการจัดงานแสดงสินค้าไทยในระดับท้องถิ่นบริเวณพื้นที่ช่องทางการค้าที่มีศักยภาพ เช่น จุดผ่อนปรนบ้านห้วยผึ้ง อ.เมือง หรือ บ้านเสาหิน อ.แม่สะเรียง เป็นต้น

  34. สวัสดี สำนักงานพาณิชย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 12 ธันวาคม 2550

More Related