1 / 52

Concept of high risks pregnancy

Concept of high risks pregnancy. รศ. อรพินธ์ เจริญผล วัตถุประสงค์ เมื่อสิ้นสุดการเรียนเรื่องนี้แล้วนักศึกษาสามารถ 1. บอกความหมายของการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงได้ถูกต้อง 2. บอกปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง 3. บอกแนวทางการดูแลสตรีทั้งก่อนการตั้งครรภ์และตั้งครรภ์

Download Presentation

Concept of high risks pregnancy

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Concept of high risks pregnancy รศ. อรพินธ์ เจริญผล วัตถุประสงค์ เมื่อสิ้นสุดการเรียนเรื่องนี้แล้วนักศึกษาสามารถ 1. บอกความหมายของการตั้งครรภ์เสี่ยงสูงได้ถูกต้อง 2. บอกปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง 3. บอกแนวทางการดูแลสตรีทั้งก่อนการตั้งครรภ์และตั้งครรภ์ ได้อย่างเหมาะสม 4. อธิบายเทคนิคการประเมินทารกในครรภ์และบทบาท พยาบาลได้อย่างเหมาสม

  2. Concept of High Risks Pregnancy RISK ความหมาย ...................................... HIGH ความหมาย ...................................... LOW RISK ความหมาย ...................................... HIGH RISK ความหมาย ......................................

  3. High Risks Pregnancy High Risks Pregnancy ( การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง) หมายถึง การตั้งครรภ์ที่ทั้งมารดาและ / หรือทารกในครรภ์ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะทุพพลภาพ หรือ การตายขณะ ตั้งครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด

  4. High Risks Pregnancy ปัจจัยเสี่ยง องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของปัจจัยเสี่ยงไว้คือ “ A risk factor is a detectable characteristic or circumstance of individual or groups which is associated with an increase chance (risk) of experiencing an unwanted outcome

  5. High Risks Pregnancy ปัจจัยเสี่ยง สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม 2. ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 3. โรคประจำตัว 4. วิถีชีวิตและอุปนิสัยของสตรีตั้งครรภ์ 5. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม 6. ปัจจัยทางด้านสูติศาสตร์ .

  6. High Risks Pregnancy ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม Unintended pregnancy Unwanted pregnancy Septic Abortion Infections

  7. High Risks Pregnancy ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 1. อายุของสตรีตั้งครรภ์ 2. เชื้อชาติและพันธุกรรม 3. ความสูง 4. น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์และน้ำหนัก ที่เพิ่มขึ้น ระหว่างตั้งครรภ์

  8. High Risks Pregnancy อายุของสตรีตั้งครรภ์ 15 -19 ปี teenage pregnancy ภาวะซีด ทารกเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด อัตราการตายของทารกสูง การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  9. High Risks Pregnancy 35ปีขึ้นไป elderly pregnancy พบทารกทุพลภาพสูง อัตราตายปริกำเนิดสูง รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด โรคแทรกซ้อนทางอายุรกรรม

  10. High Risks Pregnancy เชื้อชาติและพันธุกรรม โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โรคธัลลัสซีเมีย Bart’s hydropsfetalis Hypertension Preeclampsia, Eclampsia มารดา ทารก เสียชีวิต

  11. High Risks Pregnancy ความสูง สูงน้อยกว่า 145 ซ.ม. คลอดยาก เจ็บครรภ์นาน CPD Caesarean section Complication

  12. High Risks Pregnancy น้ำหนัก น้ำหนักเพิ่มน้อยกว่า 5 กก. พบอัตราตายปริกำเนิดสูง น้ำหนักเพิ่มมากกว่า 20 กก. การคลอดยาก ทารกตัวโต การบาดเจ็บจากการคลอด

  13. High Risks Pregnancy โรคประจำตัว ( Medical illness) 1. เบาหวาน 2. โรคหัวใจ 3. โรคไต 4. โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง 5. โรคเรื้อรังอื่นๆ

  14. High Risks Pregnancy โรคประจำตัว Hypertension เบาหวาน การติดเชื้อ ทารกพิการแต่กำเนิด ทารกเติบโตช้าในครรภ์ ภาวะหายใจลำบากหลังคลอด

  15. High Risks Pregnancy โรคประจำตัว โรคหัวใจ รูมาติกและโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทารก เติบโตช้าในครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย คลอดก่อนกำหนด การขาดออกซิเจน ทารกตายคลอด

  16. High Risks Pregnancy โรคประจำตัว โรคไต กลุ่มอาการnephrotic การติดเชื้อของไต การคลอดก่อนกำหนด การแท้ง การตายคลอด ทารกเติบโตช้าในครรภ์

  17. High Risks Pregnancy โรคประจำตัวโรคความดันโลหิตสูง Preeclampsia รกลอกตัวก่อนกำหนด อัตราตายของสตรีตั้งครรภ์สูง ทารกเติบโตช้าในครรภ์ ต้องสิ้นสุดการตั้งครรภ์ก่อนกำหนด อัตราตายปริกำเนิดสูง

  18. High Risks Pregnancy โรคประจำตัวโรคเรื้อรังอื่นๆ การติดเชื้อ ไวรัสเอดส์ ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส การคลอดก่อนกำหนด ทารกเสี่ยงต่อการเป็นโรค ทารกเติบโตช้าในครรภ์ ทารกตายในครรภ์

  19. High Risks Pregnancy วิถีชีวิตและอุปนิสัยของสตรีตั้งครรภ์ 1. ภาวะโภชนาการ 2. การใช้สารเสพติด 3. อาชีพ

  20. High Risks Pregnancy วิถีชีวิตและอุปนิสัย 1. ภาวะโภชนาการ * กลุ่มมังสวิรัติ มักขาด โปรตีน * สตรีที่มีการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง มักพบ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย 2. การใช้สารเสพติดต่าง ๆ มีผลให้ทารกพิการ การคลอดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมและด้านการเรียน

  21. High Risks Pregnancy วิถีชีวิต และอุปนิสัย 3. อาชีพ การต้องยืนเป็นเวลานาน การออกแรง ความเครียดจากการทำงาน และสิ่งแวดล้อม ทำให้สตรีตั้งครรภ์เกิดความล้าจากการทำงาน ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด การคลอดทารกน้ำหนักน้อย

  22. High Risks Pregnancy ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม * โอกาสติดเชื้อ หัดเยอรมัน อีสุกอีใส เอดส์ * ทำงานในโรงงาน ต้องสัมผัสโลหะหนักเช่น สารปรอท * อาชีพเกษตรกร อาจได้รับอันตรายจากสารเคมีจากยา ฆ่าแมลง * อาหารทะเลที่ปนเปื้อนสารปรอท ทำให้ทารกเสี่ยงต่อ ความผิดปกติของระบบประสาทได้

  23. High Risks Pregnancy ปัญหาทางสูติกรรม ประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ 1. ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต 2. ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน

  24. High Risks Pregnancy 1. ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต * การแท้งซ้ำซาก * การตายคลอดหรือทารกตายหลังคลอด * ประวัติการคลอดก่อนกำหนด * ประวัติการคลอดบุตรที่ผิดปรกติในครรภ์ก่อน * ประวัติการคลอดโดยการผ่าตัด

  25. High Risks Pregnancy การดูแลการตั้งครรภ์ ACOG เสนอแนะว่าการดูแลการตั้งครรภ์ที่ดี เพื่อให้เกิดผลดีทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์นั้น ต้องเป็นกระบวนการที่รวมการดูแลสตรีก่อนตั้งครรภ์ด้วย โปรแกรมการดูแลรักษาควรประกอบด้วยการสนับสนุนทางด้านจิตใจและสังคม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์จนถึงระยะตั้งครรภ์

  26. High Risks Pregnancy กระบวนการดูแลการตั้งครรภ์เสี่ยง 1. การดูแลก่อนตั้งครรภ์ (Preconceptional care) 2. การวินิจฉัยทันทีเมื่อตั้งครรภ์ 3. การเริ่มฝากครรภ์และการวางแผนการดูแลระหว่าง ตั้งครรภ์ 4. การตรวจติดตามการตั้งครรภ์

  27. High Risks Pregnancy การดูแลก่อนตั้งครรภ์ วัตถุประสงค์ คือ การลดอันตรายจากภาวะสุขภาพที่ไม่ดี ก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีผลต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด หลักการ คือ พยายามทำให้สตรี * มีสุขภาพที่ดี * มีความรู้ * มีการวางแผนก่อนตั้งครรภ์

  28. High Risks Pregnancy การดูแลก่อนตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพสตรีก่อนตั้งครรภ์และในขณะตั้งครรภ์ เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ซึ่งต้องการความร่วมมือจากทุกๆส่วนของระบบสุขภาพ ทั้งระบบ มาตรการสำคัญคือ * การให้คำปรึกษาก่อนตั้งครรภ์ * การตรวจสุขภาพสตรี * และการตรวจคัดกรองโรคต่างๆ ที่พบก่อนตั้งครรภ์

  29. High Risks Pregnancy ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข หรือได้รับการรักษาก่อนตั้งครรภ์ * โรคทางอายุรกรรมที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย/ การรักษา หรือ มีการดูแลรักษาไม่เหมาะสม * การฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ * การได้รับยาหรือรังสีขณะตั้งครรภ์ระยะแรก * ภาวะโภชนาการ

  30. High Risks Pregnancy ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข หรือได้รับการรักษาก่อนตั้งครรภ์ * ประวัติครอบครัวและความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรม * การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด หรือมีพฤติกรรมเสี่ยง * อาชีพหรือสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงสูง * สถานะทางสังคม * สุขภาพจิต

  31. High Risks Pregnancy แนวทางการป้องกันในการดูแลก่อนตั้งครรภ์ 1. การปรึกษาร่วมกันเกี่ยวกับความพร้อมของการตั้งครรภ์ 2. การประเมินสุขภาพทั้งหมด และแผนการดูแลสุขภาพ ให้ดีขึ้น 3. การให้ความรู้ในเรื่องผลจากสถานะทางสังคม สิ่งแวดล้อม อาชีพ อุปนิสัยและลักษณะทาง พันธุกรรม ที่มีต่อการตั้งครรภ์

  32. High Risks Pregnancy แนวทางการป้องกันในการดูแลก่อนตั้งครรภ์ 4. ค้นหาสตรีที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดผล ที่ไม่ดีต่อการตั้งครรภ์ 5. กรณีที่สตรียังไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ควรให้ ทางเลือกในเรื่องการคุมกำเนิด แนะนำวิธีที่ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

  33. High Risks Pregnancy การฝากครรภ์เพื่อ 1. ให้คำปรึกษาในการดูแลตนเอง 2. ค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ 3. การเฝ้าระวังและการรักษาภาวะแทรกซ้อนที่ เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ 4. ให้เกิดการดูแลที่ดี ต่อเนื่องถึงระยะเจ็บครรภ์ ขณะคลอดและระยะหลังคลอด

  34. High Risks Pregnancy การวินิจฉัยและการดูแลรักษาสตรีเมื่อตั้งครรภ์แล้ว 1. การเริ่มฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ไม่ควรช้ากว่า 8 สัปดาห์ 2. จำนวนครั้งของการฝากครรภ์ตาม Kessner ‘ Index มีเกณฑ์ดังนี้

  35. High Risks Pregnancy Kessner ‘ Index มีเกณฑ์ดังนี้ 2.1 Adequate prenatal care มีการฝากครรภ์ ในไตรมาสแรก และ อย่างน้อย 2 ครั้งเมื่ออายุครรภ์ 17 สัปดาห์ อย่างน้อย 5 ครั้งเมื่ออายุครรภ์ 29 สัปดาห์ อย่างน้อย 8 ครั้งเมื่ออายุครรภ์ 35 สัปดาห์

  36. High Risks Pregnancy Kessner Index 2.2 Inadequate prenatal care มีการฝากครรภ์ครั้งแรก ในไตรมาสที่สาม หรือ ฝากครรภ์จำนวน 2 ครั้งหรือน้อยกว่า เมื่ออายุครรภ์ 21 สัปดาห์หรือ ฝากครรภ์จำนวน 3 ครั้ง หรือน้อยกว่าเมื่ออายุครรภ์ 33 สัปดาห์

  37. High Risks Pregnancy กิจกรรมที่ต้องกระทำเมื่อสตรีมาฝากครรภ์ 1. การซักประวัติอย่างละเอียด 2. การตรวจร่างกายทั่วไปตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก และตรวจครรภ์ทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ 3. เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ 4. การประเมินทารกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์

  38. High Risks Pregnancy การตรวจทางห้องปฏิบัติการ * การตรวจ เลือด CBC, VDRL, HBV, HIV * การตรวจคัดกรอง ธาลัสซีเมีย * การตรวจพิเศษตามความเสี่ยงที่ได้จากประวัติ และการตรวจร่างกาย * การตรวจปัสสาวะ * การตรวจเพาะเชื้อแบคทีเรีย

  39. High Risks Pregnancy Ventzileosและคณะ พบว่าการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ดี ช่วยลดอัตราตายของทารกจากสาเหตุต่างๆ เช่น * ทารกโตช้าในครรภ์ * ภาวะรกเกาะต่ำ * การตั้งครรภ์เกินกำหนด * การคลอดก่อนกำหนด

  40. High Risks Pregnancy Haper และคณะ พบว่าอัตราตายของมารดาจากการ ตั้งครรภ์ลดลงเมื่อมีการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่ดี การค้นหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆทั้งในระยะก่อนตั้งครรภ์และ ขณะตั้งครรภ์ จะทำให้กลุ่มตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง มีภาวะแทรกซ้อนลดลง

  41. ปัจจัยหลักที่ใช้เป็นเครื่องมือลดอัตราตายของมารดาปัจจัยหลักที่ใช้เป็นเครื่องมือลดอัตราตายของมารดา 1. สถิติชีพ 2. นโยบายสุขภาพ 3. การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 4. ระบบการส่งต่อผู้ป่วย 5. การศึกษาและการฝึกอบรม 6. สามารถตรวจสอบได้

  42. สาเหตุการตายของมารดา สาเหตุ ร้อยละ การแท้งที่ไม่ปลอดภัย 13 Eclampsia 12 การคลอดติดขัด 8 สาเหตุทางตรงอื่นๆ ( การตั้งครรภ์นอกมดลูก 8 Embolism หรือ ภาวะแทรกซ้อนจากการดมยา )

  43. สาเหตุการตายของมารดา สาเหตุ ร้อยละ การเสียเลือดอย่างรุนแรง 25 สาเหตุทางอ้อม 20 ( ภาวะซีด การติดเชื้อมาเลเรีย โรคหัวใจ ) การติดเชื้อ 15 ( Jowett M 2000;53:201-28 )

  44. นโยบายสุขภาพ การจัดการที่ดีและเหมาะสม * การป้องกัน * การเฝ้าระวัง * การดูแลรักษา ผู้นำต้องมีความตั้งใจในการผลักดันและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กำหนดให้นโยบายการดูแลมารดามีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆของประเทศ

  45. การใช้เทคโนโลยี องค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีที่จำเป็นในการดูแล ทางสูติกรรมคือ 1. การให้ยาปฏิชีวนะ ยากันชัก ยากระตุ้นการหดรัดตัว ของมดลูก 2. การทำหัตถการล้วงรก การทำหัตถการช่วยคลอด 3 ธนาคารเลือด 4. การผ่าตัดคลอด

  46. ระบบการส่งต่อผู้ป่วย ต้องมี 1. ระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี 2. ระบบข้อมูลของผู้ป่วยต้องมีประสิทธิภาพ 3. มีทีมแพทย์ พยาบาลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะที่ดีในการดูแล 4. ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแล รักษาอย่างเร่งด่วน

  47. การศึกษาและการฝึกอบรมการศึกษาและการฝึกอบรม * การฝึกอบรมแพทย์และบุคลากรให้มีคุณภาพและ จริยธรรม * การบันทึกเวชระเบียนอย่างครบถ้วน * มีแนวทางการดูแลผู้ป่วย (CPG) * การประชุมวิชาการร่วมกันในกรณีมีการตาย ภาวะแทรกซ้อน เพื่อวางแผนพัฒนา แก้ไข * การให้ความรู้แก่ประชาชน

  48. สามารถตรวจสอบได้ แพทย์และบุคลากรต้องมีความซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถตรวจสอบได้ เพื่อวางแนวทางในการแก้ไข เช่น * การใช้เทคนิคช่วยเจริญพันธ์ที่ไม่เหมาะสม * การผ่าตัดคลอดที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ * การใช้ทรัพยากรที่ขาดแคลนโดยไม่จำเป็น

  49. High Risks Pregnancy มอบหมายงาน 1. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่ม 2. ศึกษาค้นคว้า และทำรายงานส่งวันที่ ภายหลังนำเสนอในชั้นเรียนแล้ว 3. เรื่องที่ต้องค้นคว้าคือ การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์

  50. High Risks Pregnancy การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ * Fetal Movement * Nonstress Test * Contraction Stress Test * Vibroacoustic Stimulation Test * Fetal Biophysical Profile * Amniotic Fluid Volume

More Related