210 likes | 456 Views
ผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้สาร โปแตสเซียมคลอเรตในกลุ่มคนงานโรงอบลำไยและเกษตรกรผู้ปลูกลำไย. โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช และคณะ. บทนำ. โปแตสเซียมคลอเรต สูตรทางเคมี : KClO 3 กลุ่มทางเคมี : Inorganic
E N D
ผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้สารโปแตสเซียมคลอเรตในกลุ่มคนงานโรงอบลำไยและเกษตรกรผู้ปลูกลำไยผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้สารโปแตสเซียมคลอเรตในกลุ่มคนงานโรงอบลำไยและเกษตรกรผู้ปลูกลำไย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช และคณะ
บทนำ โปแตสเซียมคลอเรต • สูตรทางเคมี: KClO3 • กลุ่มทางเคมี: Inorganic • ลักษณะ: ของแข็งเป็นผลึกโปร่งแสงหรือผงสีขาวไม่มีกลิ่นรสเค็มเหมือนเกลือไม่ติดไฟแต่ถ้านำไปปนกับสารอินทรีย์เช่นผงถ่านขี้เลื่อยอาจเกิดการระเบิดหรือลุกไหม้ • น้ำหนักโมเลกุล: 122.55
บทนำ (ต่อ) โปแตสเซียมคลอเรต • จุดเดือดที่อุณหภูมิ 400 C และจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิ 368 C ละลายน้ำได้น้อย (น้ำ 100 CC สามารถละลายสารได้ 7.1 กรัมที่ 20 C) แต่ละลายได้ในalkali, alcohol, glycerol และไม่ละลายในacetone • ความถ่วงจำเพาะ: 2.32 กรัม/ซม.3 • ความหนาแน่นไอ: 4.2 • ดัชนีการหักเหแสง (index of refraction): 1.409, 1.517, 1.524
บทนำ (ต่อ) โปแตสเซียมคลอเรต • เป็นสารออกซิไดซ์ที่แรงมาก (สารซึ่งทำหรือช่วยให้สารอื่นติดไฟได้โดยการให้ออกซิเจน) และเป็นวัตถุที่ทำปฏิกิริยาเคมีได้ไว(reactive) • เป็นวัตถุดิบในการผลิตวัตถุระเบิดไม้ขีดไฟ • การเสียดสีกับสารที่ไวไฟอื่นเช่นซัลเฟอร์คาร์บอน (ผงถ่าน) หรือโลหะอื่นและมีน้ำร่วมด้วยจะก่อให้เกิดการระเบิดได้
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ • สุขภาพกาย (Physical Health) • สุขภาพใจ (Mental Health) • สุขภาพทางสังคม (Social Health) • สุขภาพทางจิตวิญญาณ (Spiritual Health)
สุขภาพกาย (Physical Health) วิธีการศึกษา • การศึกษาเชิงพรรณนา • กลุ่มเป้าหมาย คนงานในโรงอบลำไยจำนวน 200 คน เกษตรกรผู้ปลูกลำไย จำนวน 200 คน • เครื่องมือ แบบสัมภาษณ์ ตรวจเลือดหาระดับ Methemoglobin, CBC, BUN, Creatinine ตรวจปัสสาวะ
วิธีการศึกษา (ต่อ) • การศึกษาเชิงสังเกตชนิดก่อนและหลัง (Before-and-After Observational Design) • กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรผู้ปลูกลำไย จำนวน 40 คน • เครื่องมือ แบบสัมภาษณ์ ตรวจเลือดหาระดับ Methemoglobin
ผลการศึกษากลุ่มคนงานโรงอบลำไยผลการศึกษากลุ่มคนงานโรงอบลำไย ข้อมูลทั่วไป • หญิง 79.4% • อายุเฉลี่ย 43.0+11.3 ปี • ทำงาน 3 ขั้นตอนคือ แกะเปลือกลำไย, ล้างเนื้อลำไยและเรียงใส่ถาด (63.8%) • ทำงานมานานเฉลี่ย 44.4+34.9 เดือน
ผลการศึกษากลุ่มคนงานโรงอบลำไย (ต่อ) พฤติกรรมสุขภาพและการตรวจร่างกาย • 68.3% ไม่เคยสวมถุงมือขณะทำงาน • 65.8% มีประวัติการแพ้ของผิวหนังหลังทำงานในโรงอบลำไย • 21.0% มีประวัติเข้าได้กับโรคผิวหนังเนื่องจากการประกอบอาชีพ • 26.6% ตรวจร่างกายพบว่ามีรอยโรคจากการสัมผัสลำไย (acute and chronic eczema, tinea manus, tinea unguium)
ผลการศึกษากลุ่มคนงานโรงอบลำไย (ต่อ) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ • 31.2% มีภาวะซีด (Hb<12.0 gm%) (p-value<0.0001) • 6.5% มีเม็ดเลือดขาวสูง (WBC>10,000 cells/mm3 (p-value<0.0001) • 35.2% มี metHb สูงกว่าปกติ (>1.5%) (p-value<0.0001) • 22.0% มีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ • 20.5% มีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ • 7.5% พบทั้งเม็ดเลือดแดงและขาวในปัสสาวะ
ผลการศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไยผลการศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ข้อมูลทั่วไป • ชาย 62.3% • อายุเฉลี่ย 48.9+10.0 ปี • เตรียมสารฯโดยชั่งน้ำหนักและใช้มือเปล่าคน (70.4%) • ส่วนมากใช้วิธีฉีดพ่นที่โคนต้น (67.3%)
ผลการศึกษา กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (ต่อ) พฤติกรรมสุขภาพและการตรวจร่างกาย • 68.8% ไม่เคยสวมถุงมือขณะฉีดพ่นสารฯ • 70.9% ไม่สวมผ้าปิดปากและจมูก • 40.2% มีประวัติการแพ้ โดย 6.3% ระบุว่าแพ้ KClO3
ผลการศึกษา กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (ต่อ) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ • 15.1% มีภาวะซีด (Hb<12.0 gm%) (p-value=0.154) • 11.6% มีเม็ดเลือดขาวต่ำ (WBC<5,000 cells/mm3 (p-value<0.0001) • 13.6% creatinine สูง(cr>1.5 mg%) (p-value<0.0001) • 19.1% มี metHb สูงกว่าปกติ (>1.5%) (p-value<0.0001) • 20.5% มีเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ • 12.5% มีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ • 7.5% พบทั้งเม็ดเลือดแดงและขาวในปัสสาวะ
ผลการศึกษาเชิงสังเกตชนิดก่อนและหลัง กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ข้อมูลทั่วไป • ชาย 57.5% • อายุเฉลี่ย 47.0+18.1 ปี • เตรียมสารฯโดยชั่งน้ำหนักและใช้มือเปล่าคน (75.0%) • ส่วนมากใช้วิธีฉีดพ่นที่โคนต้น (77.5%)
ผลการศึกษาเชิงสังเกตชนิดก่อนและหลัง กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (ต่อ) พฤติกรรมสุขภาพและการตรวจร่างกาย • 80.0% ไม่สวมถุงมือขณะฉีดพ่นสารฯ • 82.5% ไม่สวมผ้าปิดปากและจมูก
ผลการศึกษาเชิงสังเกตชนิดก่อนและหลัง กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย (ต่อ) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ • 20.0% มี metHb สูงกว่าปกติ (>1.5%) • ค่าเฉลี่ย metHb ก่อนการสัมผัส KClO3คือ 1.16+0.12% • ค่าเฉลี่ย metHb หลังการสัมผัส KClO3คือ 1.36+0.13% • p-value<0.0001
สรุปและอภิปรายผล • การสัมผัส KClO3 ทำให้เกิด Methemoglobinemia • กลุ่มเกษตรกรและคนงานยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันตนเอง • การสัมผัส KClO3 อาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบเลือดและไต • ควรมีการศึกษาเชิงวิเคราะห์ต่อไป
ปัญหาสุขภาพทางกายอื่นๆ (ที่ยังไม่ได้ศึกษา) • ปัญหา Ergonomics ในคนงานแกะลำไย • ปัญหาอุบัติเหตุในคนงานที่นอนไม่เพียงพอ (Sleep Deprivation Disorders)
สุขภาพใจ (Mental Health) • รายได้จากลำไยนอกฤดูลดลงเนื่องจากผู้บริโภคไม่กล้าซื้อ • รายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการที่ลำไยมีการ “ดื้อ” ต่อสาร KClO3 • เกษตรกรไม่มั่นใจในความปลอดภัยจากการใช้ KClO3 • เกษตรกรหวั่นเกรงว่าต้นลำไยอาจมีอายุสั้นลง • การติดสารเสพย์ติด (ยาบ้า) ในกลุ่มคนงานแกะลำไย
สุขภาพทางสังคม (Social Health) • คนงานแกะลำไยมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับครอบครัวหรือเพื่อนบ้านน้อยลง จากการที่ต้องมีการแกะลำไยตลอดทั้งปี
สุขภาพทางจิตวิญญาณ (Spiritual Health) • เกษตรกรมีการเว้นการใช้สาร KClO3และยาฆ่าแมลงในลำไยบางต้นที่เอาไว้รับประทานเอง • โรงอบลำไยมีการใช้สารป้องกันเชื้อราในลำไยอบแห้ง • มีการใช้แรงงานเด็กในการแกะลำไย