1 / 22

การพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของ นักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง

การพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของ นักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง. จัดทำโดย : นางสาวรัตนา เต็มทับ 542132038. บทที่ 1. สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ.

mead
Download Presentation

การพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของ นักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของ นักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง จัดทำโดย : นางสาวรัตนา เต็มทับ 542132038

  2. บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ วิทยุเป็นเครื่องมือการสื่อสารมวลชนชนิดแรกที่มีบทบาทต่อผู้ฟังและสามารถสร้างการมีส่วนร่วมได้ ดังที่ กาญจนา แก้วเทพ ได้บรรยายไว้ในหนังสือ ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมการศึกษา (2544) ว่า สถานะพิเศษของวิทยุ คือ อาจถือได้ว่าเป็นการสื่อสารมวลชนด้านข่าวสารและความบันเทิงชนิดแรกที่นำมาติดตั้งไว้ในบ้าน เนื้อหาวิทยุนั้นมีความหลากหลาย การสร้างสรรค์รายการจะเกิดขึ้นไม่ได้หากนักจัดรายการไม่มีเทคนิค ไม่มีคุณภาพพอการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักจัดรายการ ถือเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระผ่านสื่อวิทยุ เทคนิคของนักจัดรายการจึงเป็นปัจจัยหลักของการสื่อสารระหว่างผู้ฟังกับนักจัดรายการ

  3. บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ การบริหารจัดการในกิจการสื่อวิทยุกระจายเสียงจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด สร้างความนิยมให้เกิดขึ้นกับผู้ฟัง และตอบสนองพันธกิจ เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยศรีปทุมที่ได้มีนโยบายให้ศูนย์มีเดียจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนย่านมหาวิทยาลัยศรีปทุมขึ้น โดยได้เริ่มดำเนินการออกอากาศด้วยความถี่ FM 88.25 MHz. ( SPU RADIO ) ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2547 เป็นต้นมา ซึ่งนอกจากจะเผยแพร่สาระและความรู้ไปสู่ผู้ฟังที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพในชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยศรีปทุมทางวิทยุแล้ว ยังมีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เนต และเสียงตามสายภายในมหาวิทยาลัยด้วยตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2549 จวบจนปัจจุบัน

  4. บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ จากแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการรับฟังรายการทาง FM. 88.25 MHz ( SPU RADIO ) ประจำปีการศึกษา 1/2553 พบว่าส่วนใหญ่รับฟังคลื่นหลักอย่าง Seed , Fat Radio , Virgin , Greenwave ตามลำดับ ส่วน FM. 88.25 MHz ( SPU RADIO ) มีผู้ฟังรายการน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่รับฟังคลื่นหลัก เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น ความถี่ ช่องทางในการรับฟัง บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค นักจัดรายการวิทยุ รูปแบบรายการ และปัญหาด้านการจัดรายการวิทยุนั้น ผู้จัดขาดข้อมูลใหม่ๆและขาดการสร้างสรรค์รายการเพื่อดึงดูดและสร้างความสนใจแก่ผู้ฟัง

  5. บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ ตัวบ่งชี้ที่สามารถบอกได้ว่านักจัดรายการวิทยุที่นี่ยังขาดทักษะคือ FM 88.25 MHz มีนักจัดรายการทั้งหมด 12 คน ซึ่งนักจัดรายการทุกคนมาจากการคัดเลือกนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการและมีความสนใจทางด้านสายงานวิทยุ จากนักศึกษาทั้งหมดที่คัดเลือกมานั้นมีเพียง 2 คนที่เคยผ่านงานด้านการจัดรายการวิทยุมาก่อน ที่เหลืออีก 10 คน ยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการจัดรายการวิทยุเลย ทุกคนเริ่มสะสมประสบการณ์จากการเริ่มต้นจัดรายการที่นี่นั้นเอง ทำให้การดำเนินรายการของนักจัดรายการยังขาดเทคนิคไม่มีรูปแบบและคุณภาพที่สามารถดึงดูดกลุ่มผู้ฟังได้

  6. บทที่ 1 สถานการณ์ ที่มาและความสำคัญ ดังนั้นเพื่อให้นักจัดรายการวิทยุของ FM. 88.25 MHz ( SPU RADIO ) ได้มีทักษะหรือความรูในทางเทคนิคการปฏิบัติงานการจัดรายการวิทยุ จึงได้ทำการศึกษาเทคนิคของนักจัดรายการวิทยุ เพื่อให้สถานีวิทยุชุมชนแห่งนี้ เข้าถึงกลุ่มคนฟังได้มากยิ่งขึ้น โดยใช้เครื่องมือการจัดการความรู้(Center of Excellence-CoE) แหล่งผู้รู้ในองค์กร ที่เป็นการกำหนดแหล่งผู้รู้ในองค์กร (Center of Excellence) ให้ทราบว่าจะสามารถติดต่อสอบถามผู้รู้ได้ที่ไหน อย่างไร โดยการรวมรวมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านทักษะของนักจัดรายการวิทยุ ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้นักจัดรายการและเป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรในสายอาชีพนักจัดรายการวิทยุต่อไป

  7. บทที่ 1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาเทคนิคของนักจัดรายการทางวิทยุกระจายเสียง 2.เพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของนักจัดรายการให้มีคุณภาพดึงดูดความสนใจกลุ่มคนฟัง 3. เพื่อศึกษารูปแบบเนื้อหารายการและประเด็นที่ควรมุ่งเน้นต่อกลุ่มผู้ฟังในการจัดรายการวิทยุ

  8. บทที่ 1 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. มีเทคนิคการจัดรายการวิทยุที่ชัดเจนในการตอบสนองความต้องการของผู้ฟัง 2.สร้างความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมได้ตรงตามความคาดหวังของกลุ่มคนฟัง 3.มีการจัดรายการวิทยุอย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาทักษะและประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นนักจัดรายการวิทยุ

  9. บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาเทคนิคของนักจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียงเพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของนักจัดรายการให้มีคุณภาพดึงดูดความสนใจกลุ่มคนฟังและเพื่อศึกษารูปแบบเนื้อหารายการและประเด็นที่ควรมุ่งเน้นต่อกลุ่มผู้ฟังในการจัดรายการวิทยุภายใต้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

  10. บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 1.ปรัชญา แนวคิด และหลักการของวิทยุชุมชน 2.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดรายการวิทยุ 3.จรรณยาบรรณในการจัดรายการวิทยุ 4.เทคนิคในการจัดรายการวิทยุ

  11. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาเทคนิคของนักจัดรายการเพลงทางวิทยุกระจายเสียง 2.เพื่อพัฒนาเทคนิคการจัดรายการของนักจัดรายการให้มีคุณภาพดึงดูดความสนใจกลุ่มคนฟัง 3. เพื่อศึกษารูปแบบเนื้อหารายการและประเด็นที่ควรมุ่งเน้นต่อกลุ่มผู้ฟังในการจัดรายการวิทยุ

  12. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.2 ประโยชน์ที่ได้รับทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์ 1. มีเทคนิคการจัดรายการวิทยุที่ชัดเจนในการตอบสนองความต้องการของผู้ฟังมากยิ่งขึ้น 2.สามารถสร้างความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมได้ตรงตามความคาดหวังของกลุ่มคนฟัง 3.มีการจัดรายการวิทยุอย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาทักษะและประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นนักจัดรายการวิทยุ

  13. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ขอบเขตในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เทคนิคทางด้านการจัดรายการวิทยุ เพื่อพัฒนาเทคนิคและพัฒนาบุคคลที่เป็นนักจัดรายการวิทยุให้มีคุณภาพในการดำเนินรายการมากยิ่งขึ้นโดยมีขอบเขตทางด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่างดังนี้

  14. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญนักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง ทีมงานด้านวิทยุชุมชน ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้ คือ ผู้ที่มีความรู้ความเชียวชาญด้านเทคนิคในการจัดรายการวิทยุ และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยุชุมชนที่จะให้สัมภาษณ์ต้องเป็นผู้จัดรายการที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก หรืออาจจะเป็นผู้ก่อตั้ง ผู้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาในการดำเนินการการจัดรายการ

  15. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) และคัดเลือก ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานี , ที่ปรึกษาสถานี, หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ และบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่จัดรายการวิทยุในสถานีวิทยุ FM 88.25 MHz SPU RADIO

  16. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย วิธีการวิจัย ใช้วิธีการศึกษาในลักษณะผสมผสาน ด้วยวิธีการวิจัยคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และการอภิปรายกลุ่มแบบเจาะลึก กับผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในการจัดรายการวิทยุ นักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง และบุคลากรที่ทำงานด้านวิทยุชุมชน ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการจัดการวิทยุชุมชน โดยดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)

  17. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.4 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ชุด คือ เป็นแบบสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับผู้เชี่ยวชาญนักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง ทีมงานด้านวิทยุชุมชน และแบบสอบถามกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายในพื้นที่

  18. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.4 วิธีการและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์เจาะลึกสำหรับผู้เชี่ยวชาญนักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง ทีมงานด้านวิทยุชุมชน ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้ การอัดเทปเสียงสัมภาษณ์เพื่อช่วยให้รายละเอียดมีความถูกต้องชัดเจนมากยิ่งขึ้น การจดบันทึกเพื่อใช้จดบันทึกเนื้อหาจากการสังเกต แนวคำถามใช้ประกอบการสัมภาษณ์พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ แบบสอบถามสำหรับกลุ่มผู้ฟังเป้าหมายในพื้นที่ ได้แก่ กลุ่มผู้ฟังภายในมหาวิทยาลัยศรีปทุม และกลุ่มผู้ฟังย่านมหาวิทยาลัยศรีปทุม

  19. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากผลการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In depth Interview) โดยการบรรยายเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มผู้ฟังที่รับฟังรายการวิทยุชุมชนแห่งนี้ โดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ

  20. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.6 สถานที่ที่ใช้ในการรวบรวมการวิจัย ผู้ค้นคว้าจะทำการศึกษาสร้างระบบการจัดการความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงานของนักจัดรายการวิทยุของ FM 88.25 MHz SPU RADIO ซึ่งเป็นงานที่มีความสำคัญในการดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง ซึ่งมีผลต่อการประเมินผลของรายการและของสถานี โดยได้ดำเนินการวางแผนจัดเก็บข้อมูล ดังนี้

  21. บทที่ 3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย 3.6 สถานที่ที่ใช้ในการรวบรวมการวิจัย 1.หน่วยงาน สถานีวิทยุ FM 88.25 MHz SPU RADIO สถานีวิทยุชุมชนย่านมหาวิทยาลัยศรีปทุม 2.ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสถานี, ที่ปรึกษาสถานี, หัวหน้าฝ่ายผลิตรายการ FM 88.25 MHz SPU RADIO 3.ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้และเทคนิคในการจัดรายการวิทยุ, นักจัดรายการวิทยุที่มีชื่อเสียง 4.ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้ใช้ความรู้ บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่จัดรายการวิทยุในสถานีวิทยุ FM 88.25 MHz SPU RADIO

More Related