1 / 68

สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม

สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม. เกียรติศักดิ์ ศรีคำ วิทยากร/ผู้เรียบเรียง. ประวัติวิทยากร - รัฐศาสตร บัณฑิต มสธ .25 4 4 - นิ ติศาสตร บัณฑิต มสธ .2548 - ประกาศ นี บัตรวิชาว่าความ รุ่นที่ 37 - นิ ติศา สตรมหาบัณฑิต รามคำแหง 2555 -ปัจจุบัน กำลังศึกษา...เนติบัณฑิตไทย. ครั้งที่ 1.

Download Presentation

สิทธิมนุษยชน ในกระบวนการยุติธรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม เกียรติศักดิ์ ศรีคำ วิทยากร/ผู้เรียบเรียง

  2. ประวัติวิทยากร- รัฐศาสตรบัณฑิต มสธ.2544- นิติศาสตรบัณฑิต มสธ.2548 - ประกาศนีบัตรวิชาว่าความ รุ่นที่ 37 - นิติศาสตรมหาบัณฑิต รามคำแหง 2555-ปัจจุบัน กำลังศึกษา...เนติบัณฑิตไทย

  3. ครั้งที่ 1

  4. วิชานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลใน ป.วิ.อ. ประกอบกับรัฐธรรมนูญ โดยการวิเคราะห์หลักกฎหมาย ทฤษฎี และ คำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อให้สามารถปรับใช้บทบัญญัติ ของกฎหมายได้ในเชิงปฏิบัติ

  5. สิทธิมนุษยชน (Human Rights) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายถึง สิทธิความเป็นมนุษย์หรือสิทธิในความเป็นคน อันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ และไม่มีบุคคล องค์กรหรือแม้แต่รัฐจะล่วงละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์นี้ได้สิทธิ ในความเป็นมนุษย์นี้ เป็นของคนทุกคน ไม่เลือกว่าจะมีเชื้อชาติ ศาสนา แหล่งกำเนิด เพศ อายุ สีผิว ที่แตกต่างกันหรือมีความแตกต่างกันในด้านสุขภาพ ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความเชื่อทางศาสนาหรือฐานะทางเศรษฐกิจสังคม สิทธิมนุษยชนนั้นไม่มีพรมแดน

  6. สิทธิมนุษยชน (Human Rights) นิยามตามพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2542 มาตรา 3 “สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม”

  7. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) คือ การให้คุณค่า แก่ความเป็นมนุษย์ คนทุกคนมีคุณค่าเท่าเทียมกัน การปฏิบัติต่อคนๆ นั้น ต้องเสมอกันในฐานะของความเป็นมนุษย์ ห้ามทำร้ายร่างกาย ทรมาน อย่างโหดร้ายหรือกระทำการใดๆ ที่ถือเป็นการเหยียดหยามความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ (Equality and Discrimination) ความเสมอภาคและการเลือกปฏิบัติ (Equality and Discrimination)ความเสมอภาค คือ การปฏิบัติต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน หากมีการปฏิบัติต่อมนุษย์โดยไม่เท่าเทียมกัน เรียกว่า การเลือกปฏิบัติ

  8. การรับรองสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎหมายการรับรองสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎหมาย 1. การรับรองในกฎหมายระหว่างประเทศ (ประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา) - อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก - อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ - กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง - กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม - อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ

  9. การรับรองสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎหมาย (ต่อ) 2. การรับรองในกฎหมายภายในประเทศ - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย - กฎหมาย / พระราชบัญญัติต่างๆ

  10. การรับรองสิทธิมนุษยชนไว้ในกฎหมาย (ต่อ) กฎหมายภายในประเทศที่แก้ไขเพื่อรับรองตามหลักสิทธิมนุษยชน เช่น - ป.อ. มาตรา 18, 73 , 276 - ป.พ.พ. มาตรา 1445, 1446, 1447/1, 1516(1) , 1523 - ป.วิ.อ. มาตรา 89, 89/1, 89/2, 246, 247 วรรคสอง

  11. รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 รับรองสิทธิเสรีภาพ ดังนี้ 1. ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (มาตรา 4, 26) 2. ความเสมอภาคของบุคคล (มาตรา 30) 3. สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย (มาตรา 32, 39) 4. สิทธิของผู้ต้องหา หรือจำเลย (มาตรา 40) 5. สิทธิของพยานและผู้เสียหายในคดีอาญา (มาตรา 40 (4) (40 (5)) 6. สิทธิของเด็ก (มาตรา 49, 40 (6), 52, 84 (7)) 7. เสรีภาพในการนับถือศาสนา (มาตรา 37, 79)

  12. 8. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (มาตรา 45, 46, 47, 48) 9. เสรีภาพทางการศึกษา (มาตรา 49, 50) • สิทธิในทรัพย์สิน (มาตรา 41, 42) • สิทธิในการบริหารสาธารณสุขและสวัสดิการ (มาตรา 51) 12. สิทธิของผู้สูงอายุ (มาตรา 53, 80 (1) ) 13. สิทธิของคนพิการหรือทุพพลภาพ (มาตรา 54, 80 (1) 14. สิทธิของผู้บริโภค (มาตรา 61, 61 วรรคสอง) 15. สิทธิของชุมชนท้องถิ่น (มาตรา 66, 67)

  13. 16. สิทธิในการรวมกลุ่มและการชุมนุม (มาตรา 64, 65, 63) 17. สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการมีส่วนร่วม (มาตรา 56, 57, 58) 18. สิทธิในการร้องทุกข์และฟ้องคดี (มาตรา 59,60,62,212, 213) 19. สิทธิและเสรีภาพอื่นๆ (มาตรา 33, 34, 35,38, 52, 54 วรรคสอง, 55,69)

  14. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 • สิทธิในกระบวนการยุติธรรม มาตรา ๓๙ บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

  15. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง (๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกัน ขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง (๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม

  16. (๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง (๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับ ความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ (๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ

  17. (๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือ การพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (๘) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ

  18. สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับ ป.วิ.อ. สิทธิ (rights)คือประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคล ในอันที่จะกระทำการเกี่ยวข้องกับทรัพย์หรือบุคคลอื่น เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตร่างกาย เป็นต้น มีความหมายในทางคุ้มครองบุคคลไม่ให้ผู้อื่น ล่วงละเมิดเจ้าของสิทธิ เสรีภาพ (liberty)คือ ภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำ ของผู้อื่น มีอิสระที่จะกระทำการหรืองดเว้นกระทำการ เช่น เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร เสรีภาพในการเดินทาง เป็นต้น มีความหมายในทางอิสระ ของเจ้าของเสรีภาพ

  19. ป.วิ.อ. เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเอาผู้กระทำความผิดมาลงโทษ อันอาจ มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยตรง เดิมนักกฎหมายใช้ ป.วิ.อาญา โดยวิเคราะห์ตามตัวบท ไม่ได้คำนึงถึงหลักการพื้นฐานที่ว่า มนุษย์มีสิทธิเสรีภาพเต็มบริบูรณ์ การจำกัดสิทธิเสรีภาพของมนุษย์เป็นเพียงข้อยกเว้น ซึ่งต้องมีกฎหมายบัญญัติชัดเจน นับแต่รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา ได้ยืนยันหลักการพื้นฐานนี้ - ยกย่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ - ชี้นำแนวทางการใช้ ป.วิ.อาญา โดยนำไปบัญญัติในรัฐธรรมนูญ การตีความ ป.วิ.อ. จากหลักการพื้นฐานเรื่องสิทธิเสรีภาพมิได้ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของมาตรการทางอาญาย่อหย่อนลง แต่กลับทำให้กระบวนการถูกต้องยิ่งขึ้น และนำไปสู่ความยอมรับนับถือในกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

  20. บุคคลมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ 2550 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ป.วิ.อ. ดังนี้ 1. สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย โดยมีสิทธิที่จะไม่ถูกกระทำ ทรมาน ทารุณกรรม หรือถูกลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม (ร.ธ.น. มาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสอง) 2. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการจับคุมขัง และค้น (ร.ธ.น. มาตรา 32 วรรคหนึ่ง วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า 33วรรคหนึ่งวรรคสองและวรรคสาม ป.วิ.อ. มาตรา 57, 59) “การจับ และคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

  21. ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการ หรือบุคคลอื่นใด เพื่อประโยชน์ของผู้เสียหายมีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับ หรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น....” (ร.ธ.น. มาตรา 32 วรรคสาม วรรคสี่และวรรคห้า)

  22. “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัย และครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถาน หรือในที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ” (ร.ธ.น. มาตรา 33 วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม) 3. สิทธิที่จะไม่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อมีการอ้างว่าบุคคลใดต้องถูกคุมขังโดยมิชอบแล้ว บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของผู้ถูกคุมขังยื่นคำร้องต่อศาลขอปล่อยได้ (ร.ธ.น. มาตรา 32 วรรคห้า ป.วิ.อ. มาตรา 90) 4. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายอาญา ที่มีผลย้อนหลัง (ร.ธ.น. มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 2 วรรคแรก)

  23. 5. สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จะปฏิบัติต่อบุคคลเสมือนเป็นผู้กระทำผิดก่อนมีคำพิพากษามิได้ (ร.ธ.น. มาตรา 39 วรรคสอง และ วรรคสาม) 6. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาพิพากษา โดยผู้พิพากษาครบองค์คณะ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (2)) 7. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (2) ป.วิ.อ. มาตรา 8) 8. สิทธิที่จะไม่ให้การหรือเบิกความในถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง (ร.ธ.น. มาตรา 40 (4) ป.วิ.อ. 134/4) 9. สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง การปฏิบัติที่เหมาะสม และค่าตอบแทนที่จะเป็นและสมควรจากรัฐ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (5) )

  24. 10.สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาประกันหรือปล่อยชั่วคราว(ร.ธ.น.มาตรา 40(7)ป.วิ.อ.มาตรา 106 ) 11. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวน หรือพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวดเร็ว และเป็นธรรม (ร.ธ.น. มาตรา 40 (7) ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรคสาม และ ป.วิ.อ. มาตรา 8 (1) ) 12. สิทธิที่จะมีทนายความหรือผู้ที่ตนไว้ใจ เข้าฟังการสอบปากคำ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (7) ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 , 134/3) 13. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความ (ร.ธ.น. มาตรา 40 (7) ป.วิ.อ. 134/1 , 173) 14. สิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว (ร.ธ.น. มาตรา 40 (7) ป.วิ.อ. มาตรา 7/1 ) 15. สิทธิที่จะให้ถ้อยคำด้วยความสมัครใจ ไม่ถูกขู่เข็ญหลอกลวง ทรมานหรือให้สัญญา (ร.ธ.น. มาตรา 40(4)(7) ป.วิ.อ.มาตรา 135,226)

  25. การจับ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใด น่าจะได้กระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตรา เหตุออกหมายจับ โทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี หรือ (มาตรา 66) (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใด น่าจะได้กระทำผิดอาญา และมีเหตุ อันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไป ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไป ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุ อันตรายประการอื่น

  26. เหตุยกเว้นไม่ต้องมีหมายจับเหตุยกเว้นไม่ต้องมีหมายจับ (มาตรา 78) (1) เมื่อบุคคลนั้นทำความผิดซึ่งหน้า ตามมาตรา 80 ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ (2) เมื่อพบบุคคลมีพฤติการณ์อันควร จะจับโดยไม่มีหมายจับหรือ สงสัยว่าน่าจะก่อเหตุร้าย คำสั่งศาลไม่ได้เว้นแต่ (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับตาม มาตรา 66(2) แต่มีความจำเป็น เร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออก หมายจับได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนี หรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อย ชั่วคราวตามมาตรา 117

  27. (1) ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบ • ในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัย • ความผิดซึ่งหน้า เลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ • (มาตรา 80) • (2) ความผิดอาญาดังที่ระบุไว้ในบัญชีท้าย • ป.อ. ให้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า • ในกรณีที่ • เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำ (2) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันที • โดยมีเสียงร้องเอะอะ ทันใดหลังจากกระทำผิดใน • ถิ่นใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น

  28. “หลักฐานตามสมควร” ในการออกหมายจับ หมายขัง /มีมูลชั้นไต่สวนมูลฟ้อง / ลงโทษจำเลย ระดับแรก = มีเหตุสงสัย แต่ยังไม่มีข้อมูลหรือพยานหลักฐานใดสนับสนุนให้ น่าเชื่ออย่างเพียงพอว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิด ระดับที่สอง= มีข้อมูลหรือพยานหลักฐานสนับสนุนเหตุอันควรสงสัยมาก เพียงพอที่จะทำให้น่าเชื่อว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิด ระดับที่สาม= มีพยานหลักฐานมากถึงขนาดที่จะนำคดีเข้าสู่กระบวนการ วินิจฉัยชี้ขาดว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิด ระดับที่สี่= มีพยานหลักฐานมากเพียงพอที่จะทำให้เชื่อโดยปราศจาก ข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง เกณฑ์มาตรฐานในชั้นออกหมายจับมีน้ำหนักน้อยกว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณา ซึ่งน่าจะระดับสอง แต่ต้องมีความน่าจะเป็นว่า มีการกระทำความผิดขึ้นและบุคคลนั้นน่าจะเป็นผู้กระทำความผิดมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป

  29. การค้น (1) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยาน หลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวน เหตุออกหมายค้น มูลฟ้องหรือพิจารณา (มาตรา 69) (2) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือ ได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำ ความผิด (3) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ (5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษาหรือ ตามคำสั่งศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดย วิธีอื่นไม่ได้แล้ว

  30. การค้น 1 การค้นตัวบุคคล การค้น 2 การตรวจค้นสถานที่ (การค้นในที่รโหฐาน มาตรา 92)

  31. (1) การค้นตัวบุคคลในที่สาธารณะสถาน (มาตรา 93) การค้นตัวบุคคล (2) การค้นตัวบุคคลซึ่งอยู่ในที่รโหฐาน (มาตรา 100 วรรคสอง) (3) การค้นตัวผู้ต้องหา (มาตรา 85 วรรคสอง)

  32. การค้นบุคคลในที่สาธารณสถานการค้นบุคคลในที่สาธารณสถาน (มาตรา 93) ฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นและ ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใด ในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ เมื่อมีเหตุสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของ ในความครอบครอง

  33. เหตุยกเว้นไม่ต้องมีหมายค้นในที่รโหฐาน (มาตรา 92) ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาลเว้นแต่ (1) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วย/มีเสียงหรือพฤติการณ์ แสดงว่ามีเหตุร้ายในที่รโหฐาน (2) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้าในที่รโหฐาน ฝ่ายปกครองหรือ (3) บุคคลที่กระทำผิดซึ่งหน้าขณะที่ถูกไล่จับ ตำรวจเป็นผู้ค้น หนีเข้าไปในนั้น (4) มีหลักฐานว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ฯลฯ ได้ซ่อนอยู่ในนั้น (5) เมื่อที่รโหฐานนั้น ผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตาม มาตรา 78

  34. หลักฐานตามสมควรในการออกหมายค้นหลักฐานตามสมควรในการออกหมายค้น - ข้อบังคับฯ ข้อ 18 การรับฟังพยานหลักฐาน ไม่จำเป็นต้องถือเคร่งครัด เช่นเดียวกับใช้พิสูจน์ความผิดของจำเลย - ต้องเสนอหลักฐานให้เพียงพอที่ทำให้น่าเชื่อว่าจะพบบุคคลหรือสิ่งของในสถานที่นั้น ไม่ใช่เพียงแต่สงสัยก็จะมาขอให้ออกหมายค้น องค์คณะในการพิจารณาและทำคำสั่ง - เป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว - แต่หากขอให้ศาลอาญาออกหมายค้นนอกเขตศาล/ค้นเพื่อจับ ผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญในเวลากลางคืน ต้องมีผู้พิพากษา 2 คน เป็นองค์คณะ โดยเป็นผู้พิพากษาประจำศาลได้ไม่เกิน 1 คน (ข้อบังคับ ฯ ข้อ 27 ,37)

  35. การควบคุมและขัง เหตุออกหมายขัง (มาตรา71) การควบคุมและขัง กำหนดเวลาควบคุม (มาตรา 87) การขอให้ปล่อยผู้ถูกคุมขัง (มาตรา 90)

  36. การจับ การจับคือการควบคุมความเคลื่อนไหวของบุคคลโดยเจ้าพนักงานเพื่อให้เขาให้การตอบข้อกล่าวหาทางอาญา ซึ่งจะต้องมีการยึดตัวบุคคลไว้ ไม่ใช่เพียงการจำกัดเสรีภาพในการเคลื่อนไหวเท่านั้น การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการจับตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา แก้ไขเพิ่มเติม ที่ 4 (The Forth Amendment) มีหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลว่า “สิทธิของบุคคลที่จะมีความปลอดภัยมั่นคงในร่างกาย เคหสถาน เอกสารและวัตถุสิ่งของต่อการค้น การยึด และการจับ ที่ไม่มีเหตุอันควรจะถูกล่วงละเมิดมิได้ และห้ามมิให้มีการออกหมาย เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิด (probable cause)”

  37. probable causeเป็นเรื่องทีเกี่ยวกับความน่าจะเป็นหรือความน่าจะเป็นเช่นนั้นมากกกว่าไม่เป็น (probability)และในการขอให้ศาลออกหมายจับ เจ้าพนักงานต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่ามี probable cause อันประกอบด้วย (1) ต้องมีข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เจ้าพนักงานรู้และทำให้เจ้าพนักงานเชื่อโดยสุจริตเพียงพอว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และบุคคลที่จะถูกออกหมายจับเป็นผู้กระทำ (2) ต้องมีข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่วิญญูชนทั่วๆ ไปพอที่จะเห็นได้ว่าเป็นไปได้ที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และบุคคลที่จะถูกออกหมายจับเป็นผู้กระทำ

  38. ร.ธ.น. 2540 เปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจออกหมายจับ และหมายค้นจากเดิมที่มีศาล พนักงานฝ่ายปกครอง และตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เป็นศาลเพียงองค์กรเดียว = มีวัตถุประสงค์ให้ได้รับพิจารณากลั่นกรองด้วยความรอบคอบเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ / สร้างดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองสิทธิตาม ร.ธ.น. กับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มาตรา 31 วรรคหนึ่ง = บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตร่างกายคือสิทธิพื้นฐาน ส่วนมาตรการคุ้มครองสิทธิอยู่ในมาตรา 31 วรรคสามว่าการจับจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย

  39. รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 มาตรา ๒๓๗ ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใด จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ โดยไม่ชักช้า กับจะต้องได้รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจทราบในโอกาส แรก และผู้ถูกจับ ซึ่งยังถูกควบคุมอยู่ ต้องถูกนำตัวไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ ผู้ถูกจับถูกนำตัวไป ถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะขังผู้ถูกจับไว้ตามกฎหมายหรือไม่ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็น อย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

  40. หมายจับหรือหมายขังบุคคลจะออกได้ต่อเมื่อ (๑) มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือ (๒) มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นด้วย ( พิจารณาประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 66 , 78 )

  41. ปัจจุบัน ร.ธ.น. 2550 มีหลักการเช่นเดิมเป็นไปตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และวรรคสาม การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ มาตรา 57 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุก หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของ ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลสำหรับการนั้น บุคคลที่ต้องขังหรือจำคุกตามหมายศาล จะปล่อยไปได้ก็เมื่อมีหมายปล่อยของศาล

  42. มาตรา 58 ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือหมายอาญาได้ภายในเขตอำนาจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา มาตรา 59/1 ก่อนออกหมาย จะต้องปรากฏพยานหลักฐานตามสมควร ที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่ามีเหตุที่จะออกหมายตามมาตรา 66 มาตรา 69 หรือ มาตรา 71 คำสั่งศาลให้ออกหมายหรือยกคำร้อง จะต้องระบุเหตุผลของคำสั่ง นั้นด้วย หลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องขอ การพิจารณา รวมทั้งการออกคำสั่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

  43. เหตุในการออกหมายจับ (มาตรา 66) เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี (แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ในปี 2547 โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547)

  44. การจัดการตามหมายจับ (มาตรา 77) - จะจัดการตามเอกสารหรือหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น สำเนาก็ได้ ฎ. 3031/2547 สำเนาที่ทำขึ้นเองโดยการพิมพ์ และมีเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ใช้ได้ แม้จะไม่ได้ถ่ายจากต้นฉบับ และผู้ลงลายมือชื่อออกหมายไม่ได้เป็นผู้รับรองนั้น

  45. การจับโดยไม่ต้องมีหมายจับของศาล (มาตรา 78) พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่ (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80 (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นที่อาจใช้ในการกระทำความผิด (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66 (2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117 (แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นใหม่ในปี 2547 โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547)

  46. มาตรา ๘๐ ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใดซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ อย่างไรก็ดี ความผิดอาญาดั่งระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ ให้ถือว่าความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้าในกรณีดังนี้ (๑) เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำโดยมีเสียงร้องเอะอะ (๒) เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใดหลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้นและมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด หรือมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่าได้ใช้ในการกระทำผิด หรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น มาตรา ๘๑ ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน

  47. หลักตาม ป.วิ.อ. มาตรา 57 วรรคหนึ่ง ค้นในที่รโหฐานหาตัวคนหรือสิ่งของต้องมีคำสั่งหรือหมายค้นของศาล เหตุที่จะออกหมายค้น มาตรา 69 (1) เพื่อพบหรือยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา (2) เพื่อพบหรือยึดสิ่งของ ซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือตั้งใจจะใช้ในการกระทำความผิด (3) เพื่อพบและช่วยบุคคล ซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ (5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษา หรือตามคำสั่งของศาล ในกรณีที่พบและยึดโดยวิธีอื่นไม่ได้แล้ว

  48. มาตรา ๙๒ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่น ใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น (๒) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน (๓) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น (๔) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดย การกระทำ ความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำ ความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน

  49. (๕) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา ๗๘ การใช้อำนาจตาม (๔) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป มาตรา ๙๖ การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก มีข้อยกเว้นดังนี้ (๑) เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ (๒) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ (๓) การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

  50. - ที่รโหฐาน หมายความถึง ที่ต่างๆ ที่มิใช่สาธารณสถานดังที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 2 (13) - สาธารณสถาน หมายความว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ป.อ. มาตรา 1 (3) - เคหสถาน หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยเช่นเรือน โรง เรือ แพ ซึ่งคนอยู่อาศัย รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินสำหรับปชช.(ป.อ.1(4)) ตัวอย่าง - โรงหญิงนครโสเภณี วัดวาอาราม ศาลยุติธรรม โรงละคร โรงแรม ตามปกติเป็นสาธารณสถาน แต่บางส่วนของสถานที่เหล่านี้ ซึ่งประชาชนไม่มีสิทธิจะเข้าไปไม่ใช่ที่สาธารณสถาน (ฎ. 631/ร.ศ.129) - สถานีรถไฟ และสถานที่บนขบวนรถไฟ มิใช่ที่รโหฐาน (ฎ. 2024/2497) - ห้องโถงในสถานค้าประเวณีผิดกฎหมายเวลารับแขกมาเที่ยว เป็นสาธารณสถาน (ฎ. 883/2520 ประชุมใหญ่)

More Related