1 / 42

การ ตรวจประเมินระบบทาง เดินอาหาร

การ ตรวจประเมินระบบทาง เดินอาหาร. วัตถุประสงค์เมื่อจบบทเรียนผู้เรียนสามารถ. 1. บอกแนวทางการซักประวัติและตรวจร่างกาย ระบบทางเดินอาหารได้ 2. บอกสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการตรวจร่างกายได้ 3. บอกการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษที่เกี่ยวข้องได้.

miach
Download Presentation

การ ตรวจประเมินระบบทาง เดินอาหาร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจประเมินระบบทางเดินอาหารการตรวจประเมินระบบทางเดินอาหาร

  2. วัตถุประสงค์เมื่อจบบทเรียนผู้เรียนสามารถวัตถุประสงค์เมื่อจบบทเรียนผู้เรียนสามารถ 1.บอกแนวทางการซักประวัติและตรวจร่างกายระบบทางเดินอาหารได้ 2.บอกสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการตรวจร่างกายได้ 3.บอกการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษที่เกี่ยวข้องได้

  3. ที่มา: http://vichakarn.triamudom.ac.th/comtech/studentproject/final55/345/html/digestion_content.html

  4. การซักประวัติ • อาการสำคัญที่นำมาโรงพยาบาล (Chief complaint) • ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present illness) • ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past history) • ข้อมูลพื้นฐาน (Basic information) ได้แก่ ชนิดและปริมาณของ อาหาร จำนวนมื้อต่อวัน การแพ้อาหาร การเคี้ยว การกลืน อาการเบื่อ อาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือเจริญอาหารมากกว่าปกติ อาการท้องอืด ปวด ท้อง ฟันผุ แผลในปาก โรคเหงือก การขับถ่ายอุจจาระ เช่น จำนวนครั้งต่อวัน ลักษณะ ปริมาณ ปัญหาในการขับถ่าย เป็นต้น การใช้ยา

  5. การตรวจร่างกาย (Physical examination) • การตรวจร่างกายในระบบทางเดินอาหารประกอบด้วย การตรวจภายใน ช่องปาก การตรวจท้อง และการตรวจทวารหนัก การตรวจช่องท้องควรใช้ หลักการดูและการฟังก่อน เพราะการคลำและการเคาะอาจทำให้เสียงการ เคลื่อนไหวของลำไส้เปลี่ยนไป

  6. การตรวจช่องท้อง ที่มา: http://quizlet.com/28447752/pd-abdomen-exam-checklist-flash-cards/

  7. หลักการตรวจท้อง • นิยมให้ผู้รับบริการนอนหงายในท่าที่สบายและไม่เกร็งแขนสองข้างวางข้างลำตัว จัดเสื้อผ้าให้เปิดเฉพาะส่วนที่จะตรวจคือ ตั้งแต่ระดับเหนือ xiphoid process เล็กน้อยจนถึงหัวเหน่า ส่วนอื่นๆใช้ผ้าคลุม งอสะโพกและเข่าเล็กน้อย หนุนหมอน แนะนำให้หายใจเข้าออกลึกๆช้าๆ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว และควรให้ผู้รับบริการถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจท้องสถานที่ตรวจควรมีแสงสว่างมากพอ

  8. การดู • สังเกตการเคลื่อนไหวของ ลำไส้ และการเต้นของเส้นเลือด Aorta บริเวณลิ่นปี่ได้ในคนที่รูปร่างผอม การดูลักษณะของหน้าท้อง ควรมองจากทางด้านปลายเท้าขึ้นไปทาง ศีรษะของผู้รับบริการ อาจพบลักษณะผิดปกติได้ดังต่อไปนี้ ท้องโตผิดปกติ อาจ เกิดจากการมีไขมัน แก๊ส น้ำ หรือก้อนในช่องท้อง การโป่งนูนหรือมีก้อนที่โตจน มองเห็นนูนขึ้น รอยแผลเป็นหรือรอยผ่าตัด เส้นเลือดดำโป่งพอง สะดือที่ถูกดึงรั้งหรือโป่งนูนขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ที่มากหรือน้อยกว่าปกติในกรณีมีการอุดตัน มีก้อนนูนโตที่บริเวณขา หนีบจากการมีไส้เลื่อน

  9. การฟัง • ใช้ด้านbell วางบนหน้าท้องบริเวณ umbilical area เพื่อฟังเสียงที่เกิดจากการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งเรียกว่า bouwel sound สังเกตลักษณะเสียงและนับจำนวนครั้งต่อนาที การที่จะสรุปว่าไม่ได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ ควรใช้เวลาฟังอย่างน้อย 3 นาที ในภาวะปกติ จะได้ยินเสียงเคลื่อนไหว กร็อกๆ คล้ายเทน้ำออกจากขวด ได้ยิน ทุก 2 -10 วินาที ในกรณีที่ลำไส้ขยายตัวมากขึ้น(dilatation) ลำไส้อักเสบหรืออุดตัน จะมีเสียงดัง กรุ๋งกริ๋ง ซึ่งเป็นเสียงน้ำปนกับอากาศในลำไส้และมักได้ยินเวลาผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง เสียงการเคลื่อนไหวจะลดลง หรือหายไปในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงของช่องท้อง หรือมีการทะลุของอวัยวะในช่องท้อง

  10. การคลำ ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=j28rv-Qq7KM

  11. การคลำมี 2 วิธีใหญ่ที่นิยม ได้แก่ • การคลำตื้น (light palpation) เป็นการคลำหรือทั่วไป เป็นการคลำทำให้ผู้ป่วยเกิดความอบอุ่นใจ คลำเบาๆใช้อุ้งนิ้ววางชิดกัน คลำให้ทั่วทุกส่วน การตรวจนี้มีประโยชน์เพื่อหาบริเวณที่กดเจ็บ ซึ่งอาจเป็นเฉพาะที่หรือทั่วไป การเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง

  12. การคลำลึก มีประโยชน์ในการแยกอวัยวะต่างๆภายในช่องท้องออกจากกัน รวมทั้งขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว ความแข็ง การเคลื่อนไหว อาการเจ็บเมื่อถูกกด เป็นต้น

  13. การแปลผล • บริเวณที่กดเจ็บเรียกว่า Tenderness • เมื่อผู้ตรวจกดบริเวณที่ตรวจกดปล่อยแล้วเจ็บ เรียกว่า Rebound Tenderness พบใน การอักเสบของช่องท้อง (Peritonitis )ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน ( Acute Appendicitis) วิธีนี้ไม่ตรวจโดยไม่จำเป็นเพราะผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดมาก • เมื่อกดจะเกร็งเรียกว่า Guarding • การเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นตลอดเวลาเรียกว่า Rigidity (แข็งตลอด ) พบใน Rupture Appendicitis PU Perforate • อาการกดบริเวณด้านซ้ายแต่ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บด้านขวา เรียกว่าRovsing’ sing • การวินิจฉัยแยกโรคถุงน้ำดีอุดตันเฉียบพลัน(Acute cholecystitis) ด้วยการคลำตำแหน่งของถุงน้ำดี เรียกว่า Murphy ’ singวิธีการตรวจ คือให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ ผู้ตรวจใช้มือขวาเลื่อนตามเข้าไปชายโครงขวา ขณะที่ผู้ป่วยหายใจออกแล้วทำให้ต้องกลั้นหายใจชั่วขณะ Murphy ’ sing Positive

  14. การคลำตับ • อาจทำโดยวางฝ่ามือขวาบนผนังหน้าท้องของผู้ป่วยทางขวาของขอบกล้ามเนื้อ rectus abdominisนิ้วมือขนานกับแนวกล้ามเนื้อและปลายนิ้วชี้ไปทางศีรษะ หรือวางนิ้วมือให้ขนานกับขอบชายโครงขวา เริ่มคลำใต้ชายโครงขวาประมาณ 10 เซนติเมตร หรือต่ำกว่าขอบตับที่คลำได้ วิธีการคือ กดมือลงบนหน้าท้องระหว่างผู้ป่วยหายใจออก แล้วให้ผู้ป่วยอ้าปากและหายใจเข้าลึกๆระหว่างที่ผู้ป่วยหายใจเข้า ผ่อนแรงกดเล็กน้อยแล้วดันมือขึ้นบน ตับที่เคลื่อนต่ำลงมาเนื่องจากการเคลื่อนไหวของกระบังลมจะชนกับปลายนิ้ว และมือจะเกยบนขอบตับทำให้คลำตับได้ ถ้ายังคลำไม่ได้ค่อยๆเลื่อนมือที่คลำ ใกล้ชายโครงเข้าไปเรื่อยๆถ้าคลำพบตับให้บอกขอบเขตเป็นเซนติเมตร หรือเป็นความกว้างของนิ้วมือ ตามปกติช่วงของตับเท่ากับ 10 -12 เซนติเมตร สังเกตความคมมน นุ่มหรือแข็ง ผิวเรียบหรือขรุขระ กดเจ็บหรือไม่

  15. ที่มา: https://www.google.co.th/search?q=abdominal+exam&tbm

  16. การคลำม้าม ที่มา: https://www.google.co.th/search?q=abdominal+exam&tbm

  17. คลำม้ามโดยใช้สองมือ มือซ้ายของผู้ตรวจใต้ทรวงอกด้านซ้ายของผู้ป่วยและรั้งส่วนล่างของทรวงอกมาทางข้างหน้า มือขวาคลำใต้ชายโครงซ้ายโดยแนวนิ้วมือตั้งฉากกับขอบชายโครง วิธีคลำคล้ายกับการคลำตับ ระหว่างผู้ป่วยหายใจเข้าให้คลายแรงกดที่มือขวาแล้วดันมือขึ้นไปทางรักแร้ซ้าย ม้ามที่โตจะเคลื่อนลงมากระทบปลายนิ้วและนิ้วมือจะลื่นไปบนขอบม้ามหรือขั้วล่างของม้ามถ้าไม่แน่ใจ ให้คลำซ้ำในท่าผู้ป่วยนอนตะแคงทับขวาและงอตะโพกและเข่าซ้าย ผู้ป่วยที่ม้ามโตมากๆควรเริ่มคลำในตำแหน่งต่ำลงไป

  18. คลำไต ที่มา: http://uronotes2012.blogspot.com/2012/04/clinical-evaluation-of-urologic-patient.html

  19. คลำไต • การคลำไต ก่อนการคลำก่อนอื่นต้องตรวจว่ากดเจ็บที่ costrovertebral angle หรือไม่ โดยใช้ปลายนิ้ว กดที่บริเวณนั้น หรือใช้ฝ่ามือซ้ายวางแล้วทุบด้วย สันมือด้านนิ้วก้อยของกำปั้นมือขวา ผู้ตรวจอยู่ด้านขวาของผู้ป่วย ใช้มือทั้งสองข้าง โดยมือซ้ายดันด้านหลังผู้ป่วยบริเวณเอว ระหว่างชายโครง และ iliac crest มือขวากดจากด้านหน้าตามแนวนอน ให้ปลายนิ้วอยู่เลยขอบของกล้ามเนื้อ rectus Abdominisให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ เมื่อสุดการหายใจเข้าผู้ตรวจกดมือหน้าและมือหลังเข้าหากัน ไตส่วนที่คลำได้จะเคลื่อนอยู่ระหว่างมือทั้งสอง ทดสอบให้แน่ใจ โดยกระดกมือหลังเพื่อให้ไตเคลื่อนมากระทบมือหน้า

  20. การเคาะ • การเคาะมีประโยชน์ในการตรวจหาสารน้ำในช่องท้อง ในการวัดขนาดของตับ ม้าม และก้อนในช่องท้องร่วมกับการคลำ และการตรวจหาแก๊สในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และช่องท้อง หลักการคือ ให้เคาะจากส่วนที่โปร่งไปหาส่วนที่เสียงทึบ วิธีการตรวจ ใช้ปลายนิ้วกลางข้างขวาเคาะเบาๆ ลงบนหน้าท้องของผู้ป่วยแล้วค่อยๆเลื่อนไปยังส่วนต่างๆของหน้าท้องจนทั่ว สังเกตส่วนใดเคาะทึบ ส่วนใดเคาะโปร่ง (tympanic) เมื่อมีลมในลำไส้ หรือในท้องมากกว่าปกติจะเคาะได้เสียงโปร่งมาก (hyper-tympanic) ถ้าเป็นก้อน หรือน้ำจะเคาะได้เสียงทึบ (hypo-tympanic หรือ dull) มีดังนี้

  21. http://quizlet.com/22255378/pd-the-abdomen-flash-cards/

  22. การตรวจหาการเปลี่ยนที่ของเสียงเคาะทึบ (shifting dullness) • อาศัยหลักที่ว่าสารน้ำจะเปลี่ยนที่อยู่ที่ส่วนต่ำสุดเสมอ วิธีการตรวจ ให้ผู้ป่วยนอนหงาย เคาะหน้าท้องผู้ป่วยจากตรงกลางท้องไปทางด้านข้างๆโดยวางมือซ้ายให้แนวนิ้วขนานกับแนวกลางลำตัว เมื่อเสียงเปลี่ยนเป็นทึบให้วางนิ้วกลางมือซ้ายไว้ตรงตำแหน่งนั้นหรือทำเครื่องหมายไว้ แล้วให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทับด้านตรงข้าม เคาะตรงตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้แล้วเคาะต่อไปทางด้านข้างของผู้ป่วยถ้ามีสารน้ำในช่องท้อง เสียงเคาะแต่เดิมซึ่งทึบจะเปลี่ยนเป็นโปร่ง เรียกว่า มีการเปลี่ยนที่ของเสียงเคาะทึบ (shifting dullness) วิธีนี้จะตรวจได้ผลบวก เมื่อมีน้ำในช่องท้องเกินกว่า 1 ลิตรขึ้นไป

  23. shifting dullness

  24. การตรวจหาการสั่นสะเทือนของสารน้ำ (fluid thill) • ใช้หลักที่มีสารน้ำในช่องท้องจะเป็นตัวนำให้เกิดการสั่นสะเทือนวิธีการตรวจ ให้ผู้ป่วยนอนหงายให้ผู้ป่วยวางมือลงบนหน้าท้องในแนวกลางลำตัว เพื่อกันการสั่นสะเทือนที่เกิดจากไขมันหน้าท้องกระเพื่อม ผู้ตรวจวางฝ่ามือข้างหนึ่งแนบกับข้างท้องผู้ป่วย อีกมือเคาะที่ข้างท้องด้านตรงข้าม ถ้าการตรวจให้ผลบวกจะรู้สึกว่ามีการสั่นสะเทือนของสารน้ำมากระทบมือ

  25. fluid thill • http://cluelessmedic.wordpress.com/2011/09/18/non-alcoholic-fatty-liver-disease/

  26. การเคาะตับ ที่มา: http://www.easynotecards.com/print_list/7313

  27. การเคาะตับ • เคาะหาขอบบนของตับโดยเคาะทรวงอกด้านขวาจากบนลงล่างในแนว mid clavicularวางมือซ้ายให้แนวนิ้วมือขนานกับช่องซี่โครงปกติได้ยินเสียงทึบที่ช่องซี่โครงที่ 4 และจะทึบชัดเจนที่ช่องซี่โครงที่ 6 ส่วนการเคาะหาขอบล่างของตับให้เริ่มเคาะต่ำกว่าขอบของตับที่คลำได้ หรือเคาะต่ำกว่าชายโครงขวาประมาณ 10 เซนติเมตร และเคาะขึ้นไป ถ้าเคาะไม่ได้เสียงทึบที่บริเวณตับอาจเนื่องมาจากอาจมีภาวะถุงลมปอดโป่งพองมาก มีแกสในลำไส้มาก ส่วนใหญ่ มีขนาด 6-12 cm in right midclavicular line

  28. การเคาะม้าม • การตรวจหาขอบล่างของม้ามโดยเริ่มเคาะจากใต้ชายโครงซ้ายขึ้นไป ถ้าเคาะไม่ได้ยินเสียงทึบ ให้เคาะหาขอบเขตของม้ามในท่าผู้ป่วยนอนตะแคงทับขวาและหายใจเข้าเต็มที่ แล้วเคาะทรวงอกด้านซ้ายจากบนลงล่าง ในแนว mid-axillary หรือหลังแนวนี้เล็กน้อย ตามปกติจะได้ยินเสียงเคาะทึบของม้าม ที่ซี่โครงที่ 9 และ 10 ส่วนช่องที่ 11 จะโปร่ง ถ้าทึบแสดงว่าม้ามโต • วิธีเคาะม้าม ให้ผู้ป่วยนอนราบเคาะบริเวณช่องซี่โครงที่ต่ำสุดในแนวเส้นหน้ารักแร้ (anterior axillary line) ข้างซ้าย ถ้ามีม้ามขนาดปกติจะเคาะได้เสียงโปร่ง ทั้งเวลาที่ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ และหายใจออก บริเวณของม้ามปกติจะเคาะทึบอยู่บริเวณเส้นกลางหลังรักแร้ (mid axillary line)

  29. การเคาะม้ามเพื่อหาขอบเขตการเคาะม้ามเพื่อหาขอบเขต • เคาะหาขอบเขตริมหน้า ให้ผู้ป่วยนอนหงายเคาะไปตามยาวของซี่โครงที่10 ข้างซ้าย ให้เคาะตั้งแต่ปลายซี่โครงด้านหน้า เคาะไปทางสีข้างด้านซ้ายจะพบเสียงทึบได้ที่เส้นกึ่งกลางรักแร้ • หาขอบเขตล่าง เคาะตั้งแต่ริมล่างของซี่โครงที่12 ขึ้นมาจะพบเสียงทึบของม้ามที่ใต้ซี่โครงที่ 11 • หาขอบเขตบน เคาะแนวเส้น axillary line ตั้งแต่มุมใต้กระดูกสะบักเรื่อยลงมาจะพบเสียงทึบได้ที่ซี่โครงที่9

  30. การเคาะไต • (Costrovertebral angle tenderness,CVA) • เป็นการเคาะไตเพื่อตรวจอาการเจ็บที่เกิดจากกรวยไตอักเสบหรือมีการอักเสบของเนื้อไตเช่นการติดเชื้อ การตรวจทำได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรง ผู้ตรวจยืนอยู่ด้านหลังกำมือข้างที่ถนัดแน่นๆแล้วทุบลงบนตำแหน่ง CVA ด้วยแรงพอสมควร โดยใช้กำปั้นด้านนิ้วก้อยสัมผัสกับผู้ป่วยวิธีนี้เรียกว่าการเคาะโดยตรง อีกวิธีคือวางฝ่ามือด้านที่ไม่ถนัดบนตำแหน่งCVA แล้วทุบกำปั้นลงบนฝ่ามือถามผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรพร้อมกับสังเกตปฏิกิริยาผู้ป่วย ภาวะปกติ จะไม่มีอาการเจ็บเมื่อถูก ภาวะผิดปกติคือ มีอาการเจ็บหรือปวด

  31. ที่มา: http://quizlet.com/31631958/pd-the-abdomen-flash-cards/

  32. การตรวจอวัยวะสืบพันธ์และทวารหนัก • จะตรวจเมื่อมีปัญหาหรือคาดว่าจะมีพยาธิสภาพที่ส่วนนั้นต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบก่อน เปิดเผยเฉพาะในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น เทคนิคที่ใช้คือการดูและคลำ • การตรวจผู้ชาย ให้สังเกตขนบริเวณหัวเหน่า ผิวหนัง ตรวจหนังหุ้มปลาย รูเปิดท่อปัสสาวะ ลูกอัณฑะคลำว่าอยู่ในถุงทั้งสองข้างหรือไม่ ขนาดปกติหรือไม่ • ภาวะปกติ ผิวหนังไม่มีรอยโรค การกระจายของขนปกติเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายยอดชี้ไปสะดือ ไม่มีแผลและการอักเสบ ลูกอัณฑะอยู่ในถุง ขนาดประมาณ 4-5เซนติเมตรและเท่ากันรูเปิดท่อปัสสาวะอยู่ตรงกลางของปลายองคชาติ หนังหุ้มปลายเปิดหมด ไม่มีก้อน ไม่มีไส้เลื่อน

  33. ภาวะผิดปกติ ผิวหนังมีรอยโรคมีแผล ก้อนสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติ มีการอักเสบต้องตรวจละเอียดต่อไป • การตรวจในผู้หญิง ให้ผู้รับบริการถ่ายปัสสาวะก่อนจัดท่านอนหงาย งอสะโพกและเข่า ในภาวะปกติ ผิวหนังไม่มีรอยโรค การกระจายของขนปกติ คือในผู้หญิงเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายยอดชี้ลงล่างไม่มีแผล ก้อนและการอักเสบ ไม่มีสิ่งคัดหลั่ง ไม่มีอวัยวะอื่นโผล่ออกมาที่ช่องคลอด ไม่มีก้อน • ภาวะผิดปกติ ผิวหนังมีรอยโรค มีการอักเสบ แผล มีสิ่งคัดหลั่งผิดปกติ มีก้อน หรือมีการโผล่ของอวัยวะอื่นออกมาทางช่องคลอดหรือมีก้อนโตผิดปกติ

  34. การตรวจทวารหนัก • ใช้เทคนิคดูและคลำ จัดท่านอนคว่ำเข่างอชิดอกหรือนอนตะแคงซ้ายเข่าและหลังงอ ให้ส่วนก้นอยู่ชิดขอบเตียง สังเกตบริเวณผิวหนังว่าปกติหรือไม่ มีริดสีดวงทวารหรือไม่ มีถุงน้ำติ่งเนื้อหรือการฉีกขาด การอักเสบหรือไม่ การคลำจะตรวจเมื่อมีปัญหาต้องใช้ถุงมือหล่อลื่นด้วยวาสลีนก่อนคลำ มือซ้ายแหวกให้เห็นทวารหนักให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆยาวๆเพื่อการผ่อนคลาย สอดนิ้วในทิศทางชี้ไปทางสะดือ ให้สังเกตความตึงตัวของกล้ามเนื้อหูรูดจากนั้นคลำรอบๆผนังลำไส้ตรงโดยรอบเสร็จแล้วให้ดึงมือออก และตรวจดูว่ามีเลือดสังเกตสีของอุจจาระด้วย

  35. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ • การตรวจทางรังสี • 1.1 Upper gastrointestinal study หรือ Upper GI series เป็นการถ่ายภาพทางรังสีเป็นระยะ ภายหลังผู้ป่วยรับประทานสารทึบแสง Bariumsulfate เพื่อดูความผิดปกติ เช่น แผล ก้อนเนื้อ การอักเสบ ของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นต้น

  36. Barium enema study หรือ Lower GI series เป็นการถ่ายภาพรังสี เป็นระยะภายหลังที่ผู้รับบริการได้รับการสวนสารทึบแสง Barium sulfate เข้าไป ในทวารหนัก เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ เช่น เนื้องอก ติ่งเนื้อ เป็นต้น • การส่องกล้อง Gastroscopy UGI endoscopy เป็นการสอดสายยางที่ สามารถงอไปตามทางเดินอาหาร โดยส่วนปลายมีกล้องสำหรับส่องดูพยาธิสภาพ เช่น เนื้องอก เส้นเลือดขอด การอักเสบโป่งพอง การอุดตันของอวัยวะ • การตรวจชิ้นเนื้อ / สารคัดหลั่ง ทางพยาธิวิทยา

  37. การตรวจทางเคมีการทำงานของตับระดับ Proteinในเลือดระดับ BillirubinในกระแสเลือดLiver Enzyme Test ได้แก่ SGOT , SGPT • การทำงานของตับอ่อน ดูได้จาก Pancreatic Enzyme Test • ได้แก่ ระดับ Amylase ในกระแสเลือด • Serum Gastrin • การตรวจอื่นๆ Complete Blood Count (CBC) Stool ExamStool Occult Blood

More Related