140 likes | 237 Views
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์อารยา สุขสม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. การคุ้มครองสิทธิชุมชน ในการมีส่วนร่วมรักษาชายหาด กับกระบวนการยุติธรรม. ประเด็นในการฟ้องคดี สะกอม (คดีหมายเลขดำที่ ๑๖/๒๕๕๑).
E N D
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์อารยา สุขสม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา การคุ้มครองสิทธิชุมชน ในการมีส่วนร่วมรักษาชายหาด กับกระบวนการยุติธรรม
ประเด็นในการฟ้องคดีสะกอม (คดีหมายเลขดำที่ ๑๖/๒๕๕๑) ประเด็นแรก ฟ้องว่าการออกคำสั่งและการดำเนินการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นของกรมเจ้าท่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นที่สอง ฟ้องว่าการดำเนินการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นของกรมเจ้าท่าทำให้ผู้ฟ้องคดีขาดรายได้จากการประกอบอาชีพประมงชายฝั่งบริเวณชายหาดสะกอม และขาดประโยชน์จากการได้ใช้ชายหาดสะกอม ประเด็นที่สาม ฟ้องว่าการดำเนินการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นของกรมเจ้าท่าทำให้ชายหาดสะกอมถูกน้ำทะเลกัดเซาะอย่างรุนแรงและพังทลายลง ทำให้ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย
ประเด็นแรก ให้ศาลวินิจฉัยว่าการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นที่ปากคลองสะกอม เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย และมีคำสั่งห้ามมิให้ผู้ถูกฟ้องคดีกระทำการดังกล่าวทั้งหมด (คำฟ้องคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑)) ประเด็นที่สอง ให้ผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสามเนื่องจากการขาดรายได้และขาดประโยชน์จากการใช้ได้ใช้ชายหาดสะกอมนับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๑ ถึง พ.ศ.๒๕๕๐ (คำฟ้องคดีตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓))
คำขอของผู้ฟ้องคดี ประเด็นที่สาม • ขอให้ศาลปกครองสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา ๙๗ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ • ขอให้ศาลปกครองสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ทำการฟื้นฟูชายหาดสะกอมและเยียวยาสภาพแวดล้อมของบริเวณชายหาดดังกล่าวให้กลับคืนสู่สภาพดีโดยเร็ว • ขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งเรียกให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้ามาในคดีนี้ เพื่อรับหน้าที่ดำเนินการฟื้นฟูและเยียวยาสภาพแวดล้อมของบริเวณชายหาดตำบลสะกอม
ประเด็นแรก : การสร้างเขื่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย • ล่วงละเมิดต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชนบ้านสะกอม ในอันที่จะดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติทั้งในการประกอบอาชีพและในทางสังคมวัฒนธรรม อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สิน สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของผู้ฟ้องคดี (ม. ๕๖ รธน.๒๕๔๐ / ม.๖๖ รธน.๒๕๔๐) • การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยหลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองอย่างชัดแจ้ง เพราะขัดต่อหลักความได้สัดส่วนทั้งในแง่ที่เป็นมาตรการที่เกินกว่าความจำเป็นที่ต้องกระทำ และทั้งในแง่ประโยชน์ที่ชุมชนส่วนน้อยได้รับกับความเสียหายของประเทศที่ต้องสูญเสีย (หลักแห่งความได้สัดส่วน/หลักนิติรัฐ ซึ่งมีค่าบังคับเป็นหลักกฎหมายทั่วไปในระดับรัฐธรรมนูญ)
ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในเชิงรูปแบบหรือกระบวนการความไม่ชอบด้วยกฎหมายในเชิงรูปแบบหรือกระบวนการ • ไม่ได้ทำการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมก่อนการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ม.๕๙ รธน. ๒๕๔๐/ ม.๖๗ รธน. ๒๕๕๐) • ไม่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนเสียตั้งแต่ในระยะทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามลำดับ เพื่อให้หน่วยงานและคณะกรรมการดังกล่าวเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาต่อคณะรัฐมนตรี ก่อนการเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการก่อสร้าง (ม. ๔๖ และม.๔๗ พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕)
ความไม่ชอบด้วยกฎหมายในเชิงรูปแบบหรือกระบวนการ (ต่อ) • มิได้เคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของผู้ฟ้อง และมิได้เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดีได้โต้แย้งแสดงเหตุผล หลักฐานและความคิดเห็นอย่างเพียงพอก่อนการอนุญาตดำเนินการก่อสร้าง -ม.๖(๑) พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ / -ม.๓๐พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ / -ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธี ประชา พิจารณ์ พ.ศ.๒๕๓๙
ประเด็นที่สอง : การสร้างเขื่อนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี • ผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากชายหาดสะกอม • ผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากชายหาดสะกอมในชีวิตประจำวันของผู้ฟ้องคดี • ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมที่สมดุล • ผลกระทบต่อความรู้สึกด้านจิตใจของผู้ฟ้องคดีและชุมชนชาวบ้านสะกอมที่ผูกพันกับชายหาดสะกอม
คำสั่งรับฟ้องคดีของศาลปกครองคำสั่งรับฟ้องคดีของศาลปกครอง ๑. คดีนี้เป็นคดีปกครองประเภทใด??? • ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า เป็นการฟ้องคดีละเมิดของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย เป็นคดีปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
คำสั่งรับฟ้องคดีของศาลปกครองคำสั่งรับฟ้องคดีของศาลปกครอง ผู้ฟ้องคดีมีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่??? ศาลปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามเป็นผู้อาศัยและประกอบอาชีพทำการประมงอยู่บริเวณชายหาดสะกอม ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจตามกฎหมายของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
คำสั่งรับฟ้องคดีของศาลปกครองคำสั่งรับฟ้องคดีของศาลปกครอง • ผู้ฟ้องคดี ฟ้องคดีภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่??? • ศาลปกครองสงขลา พิจารณาเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีได้รู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ การที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงเป็นการฟ้องคดีที่พ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา ๕๑ แห่งพรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ แล้ว • ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุแห่งการละเมิดยังคงมีอยู่ตลอดมาจนวันที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้อง จึงสามารถนำคดีมาฟ้องได้ • แต่สำหรับการเรียกค่าเสียหาย ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นภายในหนึ่งปีก่อนการฟ้องคดีไว้พิจารณาเท่านั้น คือ ความเสียหายที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๐ ถึงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑
คำสั่งไม่รับคำฟ้องของศาลปกครองคำสั่งไม่รับคำฟ้องของศาลปกครอง ประเด็นที่สาม ฟ้องว่าการดำเนินการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นของกรมเจ้าท่าทำให้ชายหาดสะกอมถูกน้ำทะเลกัดเซาะอย่างรุนแรงและพังทลายลง ทำให้ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๑๘๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท แก่ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศาลปกครองเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่รัฐเป็นผู้เสียหายซึ่งในที่นี้คือ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งผู้ฟ้องจะมีสิทธิฟ้องคดีในประเด็นดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนเท่านั้น
แบบทดสอบความรู้ผู้เข้าอบรมโครงการรักษาชายหาดแบบทดสอบความรู้ผู้เข้าอบรมโครงการรักษาชายหาด ๑. ประชาชนและชุมชนมีจะบทบาทร่วมกับรัฐในการจัดการ รักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไรบ้าง ๒. “หลักความได้สัดส่วน” หมายความว่าอย่างไร ๓. หากชุมชนของท่านได้รับความเสียหายจากการสร้างเขื่อน ท่านจะรวมตัวกันเพื่อฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐให้รับผิดชอบความเสียหายดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด