360 likes | 878 Views
ยูคารีโอต(eukaryote). ลักษณะของเซลล์โพรคาริโอต เป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มีนิวเคลียสเด่นชัด (ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและdnaไม่จับกับโปรตีนเป็นโครโมโซม) และไม่มีออร์แกเนลล์ต่างๆเหมือนเซลล์ยูคารีโอต. ไฟลัมชิโซไฟตา.
E N D
ยูคารีโอต(eukaryote) • ลักษณะของเซลล์โพรคาริโอต เป็นเซลล์แบบง่ายที่ไม่มีนิวเคลียสเด่นชัด(ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและdnaไม่จับกับโปรตีนเป็นโครโมโซม) และไม่มีออร์แกเนลล์ต่างๆเหมือนเซลล์ยูคารีโอต
ไฟลัมชิโซไฟตา ได้แก่ พวกแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กมาก อาศัยอยู่ได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อมแทบทุกแห่ง ทั้งในอากาศ พื้นดิน น้ำ(ตั้งแต่น้ำแข็งจนถึงน้ำพุร้อน) แม้แต่ในร่างกายสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ ลักษณะสำคัญ -ขนาดประมาณ 1-5 ไมโครเมตร (0.001-0.005 มิลลิเมตร)-มีเซลล์แบบโพรคารีโอต ประกอบด้วย เยื่อหุ้มเซลล์ โพรโทพลาสซึม
อาณาจักรมอเนอรา-เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryote)ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบ อาณาจักรมอเนอรา แบ่งย่อยเป็น2ไฟลัม-ไฟลัมชิโซไฟตา(Schizophyta)-ไฟลัมไซยาโนไฟตา(Cyanophyta)
สิ่งมีชีวิตในไฟลัมนี้คือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ลักษณะสำคัญคือ นิวเคลียสไม่มีเยื่อหุ้มเช่นเดียวกับแบคทีเรีย แต่ภายในเซลล์มีคลอโรฟิลล์ จึงสามารถสังเคราะห์ด้วแสงได้ นอกจากนี้ยังมีรงควัตถุสีน้ำเงินอยู่ด้วย ทั้งคลอโรฟิลล์ และรงควัตถุสีน้ำเงินกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ไม่ได้รวมตัวกันเป็นคลอโรพลาสต์
-DNA วงเล็กๆเรียกว่า พลาสมิด(plasmid)ที่ถ่ายทอดไปให้แบคทีเรียอื่นได้โดยใช้วิธี คอนจูเกชัน-มีผนังเซลล์(cell wall) เป็นสาร peptidoglycan หุ้มเยื่อหุ้มเซลล์ และบางชนิดยังสร้างแคปซูลเป็นสารเมือกหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่ง-แบคทีเรียบางชนิดเคลื่อนที่ได้ เพราะมีแฟลกเจลลัม (flagellum) ช่วยในการเคลื่อนที่ มีโครงสร้างเป็นเส้นใยโปรตีน ที่แตกต่างจากแฟลกเจลลัมของเซลล์ยูคารีโอต (โครงสร้างเป็นโปรตีนไมโครทิวบูล เรียงตัวแบบ 9+2)-บางชนิดมีคลอโรฟิลล์ (แบคเทอริโอคลอโรฟิลล์)
แบคทีเรียมักจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆโดยใช้ลักษณะต่างๆเป็นเกณฑ์ เช่น รูปร่าง โครงสร้าง ผนังเซลล์ การย้อมติดสีแกรม(Gram's stain)การใช้หรือไม่ใช้ออกซิเจน ฯลฯ-ชนิดแบคทีเรีย แบ่งโดยใช้รูปร่างของเซลล์เป็นเกณฑ์ มี3กลุ่ม-พวกคอคคัส(coccus) เป็นแบคทีเรียรูปร่างกลม(sphere)-พวกบาซิลลัส (bacillus) เป็นแบคทีเรียรูปร่างเป็นแท่ง (rod)-พวกสไปริลลัมหรือสไปโรขีต(spirillum or spirochete) เป็นแบคทีเรียรูปร่างเป็นเกลียว(spiral)
ชนิดแบคทีเรีย แบ่งโดยใช้โครงสร้างผนังเซลล์เป็นเกณฑ์ได้แก่-พวกที่มีผนังเซลล์บาง ย้อมติดสีแกรมลบ-พวกที่มีผนังเซลล์หนา ย้อมติดสีแกรมบวก-พวกที่ไม่มีผนังเซลล์-พวกที่มีผนังเซลล์เป็นสารอื่น ที่ไม่ใช่peptidoglycanที่พบตามปกติ-ชนิดแบคทีเรีย แบ่งโดยการใช้ การใช้ออกซิเจนเป็นเกณฑ์-พวกที่หายใจแบบใช้ออกซิเจน (aerobic bacteria)
พวกที่หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria) ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคบาดทะยัก (clostridium tetani)-พวกที่หายใจแบบใช้หรือไม่ใช้ออกซิเจนก็ได้ (facultative aerobic bacteria)-การดำรงชีวิตของแบคทีเรีย ส่วนใหญ่สร้างอาหารเองไม่ได้ (heterotroph) ซึ่งมีทั้งพวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิต และแบบย่อยสลายหลายพวกสร้างอาหารเองได้ (autotroph) -แบคทีเรียที่สร้างอาหารเองได้ แบ่งเป็น2พวก-พวกสังเคราะห์แสง (photosynthesis) มีแบคเทอริโอคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์แสงของแบคทีเรียบางชนิด เช่น purple sulpher bacteria ใช้H2Sเป็นวัตถุดิบแทนH2O -
จากการศึกษาทางธรณีวิทยาพบว่า เราสามารถแบ่งชั้นหินออกเป็นยุคต่าง ๆ ได้ถึง 4 ยุคด้วยกัน คือ1. มหายุค พรีแคมเบรียน (Precambrian Era) 570-3500 ล้านปีก่อนในยุคนี้เป็นยุคแรกที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตดังกล่าวจะมีลักษณะ แตกต่างจากมนุษย์หรือสัตว์ที่เรารู้จัก ทั้งนี้เพราะมันเป็นรูปแบบของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปแบบง่ายที่สุด มีเพียงเซลล์เดียว เท่านั้น ไม่เหมือนดังเช่นมนุษย์ที่มีเซลล์อยู่ภายในร่างการนับล้าน ๆ เซลล์
การดำรงชีวิตของเราขึ้นอยู่กับเจ้าเซลล์ จำนวนมากมายมหาศาลเหล่านี้ แต่เนื่องจากเซลล์ดังกล่าวมีขนาดเล็กมาก เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จึงจำเป็น ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง ๆ เข้ามาช่วย จึงจะทำให้สามารถมองเห็นเจ้าสิ่งมีชีวิตที่มีรูปแบบง่าย ๆ เหล่านี้ได้ นักวิทยาศาสตร์ ได้ตั้งชื่อให้มันว่า "โปรคารีโอต (Prokaryote)"
)" ปัจจุบันนี้สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ เช่นนี้ ได้แก่ เชื้อบัคเตรี เป็นต้น เมื่อเวลาผ่านไป 2,000 ล้านปี โปรคารีโอต เริ่มมีการพัฒนาตนเองให้มีความซับซ้อนมากขึ้น โครงสร้างภายในเริ่มมีอวัยวะมากขึ้น ภายในเริ่มมีนิวเคลียส ภายในจะบรรจุ DNA และสารพันธุกรรมอยู่เป็นจำนวนมากเซลล์ที่มี การวิวัฒนาการจนมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ยูคารีโอต (Eukaryote)"
มหายุค พาลีโอโซอิค (Paleozoic Era) 280-570 ล้านปีก่อนมหายุคพาลีโอโซอิค แบ่งเป็นยุคย่อย ๆ คือ1. ยุค แคมเบรียน (Cambrian) 500-570 ล้านปีสิ่งมีชีวิตที่มีการพัฒนาขึ้นมาในยุคนี้ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิพอเหมาะไม่เย็นจนเกินไป เนื่องจากบริเวณดังกล่าวนี้เริ่มมีพืชทะเล จำนวนมากเกิดขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์พบว่าสิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบในยุคนี้ ได้แก่ "ไทรละไบ (Trilobite)", "บราคิโอพอด(Brachiopods)","ซิสทอยด์(Cystoid)","เซฟาโลฟอด(Cephalopod)" และสัตว์จำพวกหอยทาก โดยจะพบจำนวนของไทรละไบ และ บราคิโอพอด อยู่ประมาณ 90% ของจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
ยุค ออโดวิเชียน (Ordovician) 480-500 ล้านปีสิ่งมีชีวิตในยุคนี้ก็ยังจะเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังอยู่เช่นเดิม เนื่องจากสภาพแวดล้อม ของอุณหภูมิเริ่มที่จะอบอุ่นมากขึ้น ทำให้สาหร่ายทะเลและปะการังเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงเหมาะสำหรับ เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่ถือกำเนิดในยุคนี้ ได้แก่ "ไบรโอซัว(Bryozoan)" , "กาสโตรพอด(Gastropod) " , "พีลีไซพอด(Pelecypod)" , "ออสตราโคเด(Ostracode)" และสัตว์ในตระกูล "อีซิโนเดิร์ม(Echi noderm)" เช่น " กราฟโตไลท์(Graptolite)" , "ปลาดาว(Starfish)" ,"บลาสทรอยด์(Blastoid)" ,"ไครนอยด์(Crinoid)" ,"ควึสโตอิด(Cystoid)" เป็นต้น สัตว์เหล่านี้ล้วนดำรงชีวิตอยู่ในน้ำทะเล และเริ่มมีสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นพวกแรก
ยุค ซิลูเรียน 395-480 ล้านปีสภาพอุณหภูมิของน้ำในยุคนี้มีความเหมาะสมกับการดำรงชีวิตมากขึ้น สัตว์ น้อยใหญ่จำนวนมากเริ่มแพร่พันธุ์กันอย่างกว้างขวาง ในขณะที่ในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ บนบกก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะเริ่มปรากฏว่าบนบกเริ่มมีพืชปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ยุคนี้จึงจัดว่าเป็นยุครอยต่อที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้
ยุค ดีโวนีอัน (Devonian) 345-480 ล้านปีในยุคนี้สิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ในน้ำเริ่มมีบางส่วนที่ปรับตัวขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่อยู่ได้ไม่นานนักก็ต้องกลับลงไปในน้ำชั่วคราว จึงทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหม่ขึ้น เรียกว่า "สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ" ปลาในยุคนี้มีการพัฒนาอย่างมาก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เรียกยุคนี้ว่า ยุคของปลา มีการพัฒนาระบบการหายใจ จากเดิมที่ใช้เหงือกมาเป็นใช้ปอดสำหรับหายใจ ซึ่งปลาที่ปอดหายใจนี่เองนั่นได้ลองขึ้นมาใช้ชีวิตบนบก
. ยุค คาร์บอนนิเฟอรัส (Carboniferous) 280-345 ล้านปี เป็นยุคที่มีถ่านหินเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากมาย นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งชื่อยุคนี้ว่า ยุคกำเนิดคาร์บอน สภาพ ภูมิอากาศในยุคนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับสภาพบรรยากาศในอดีต ทำให้บนบกเริ่มมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเริ่มมีจำนวนมากขึ้น ในยุคนี้มีแมลงเกิดขึ้นมากมายและ พืชในยุคนี้ก็เจริญเติบโตมากขึ้นอย่างนานาพันธุ์จนกระทั่ง เป็นป่ารกทึบ ทำให้แมลงสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง
. ยุค เพอร์เมียน (Permian) 225-280 ล้านปีในยุคนี้สัตว์ไร้กระดูกสันหลังได้ลดน้อยลงไป แต่สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังกลับเพิ่มจำนวนมากขึ้น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ บางชนิดเริ่มเป็นสัตว์เลื้อยคลาน และกลับมาอาศัยอยู่บนบกอย่างถาวร สัตว์เลื้อยคลานที่มีความสำคัญอย่างมากชนิดหนึ่งคือ "พีลีโคซอร์(Pelycosaur)" บริเวณกลางสันหลัง จะมีครีบยาวติดกันตลอดทั้งลำตัว คาดกันว่าครีบดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการว่ายน้ำ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เจ้า พีลีโคซอร์ นั้น น่าจะเป็นบรรพบุรุษต้นตระกูลของไดโนเสาร์นั่นเอง
เซลล์ยูคารีโอต • ลักษณะที่ใช้แยกยูคารีโอตได้อย่างเด่นชัดได้แก่นิวเคียสและออร์แกแนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม ยูคารีโอตมีรูปร่างหลายแบบและขนาดต่างๆกันรูปอาจกลมหรือเป็นแผ่นกลม รูปไข่เหลี่ยมหรือยาว บางชนิดมีแขนงยาว บางชนิดเปลี่ยนรูปร่างได้ บางชนิดมีชีวิตอยู่ได้ตามลำพังเซลล์เดียวหรืออาจอยู่เป็นโคโลนีและบางชนิดเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์แต่ทุกเซลล์ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ชนิดใดก็จะประกอบด้วยส่วนสำคัญคือเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียสและไซโทพลาซึม
ยูคารีโอต มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและโครโชมชัดเจน การแบ่งนิวเ คลียสแบบไมโตซิส ได้แก่ โปรโตชัว รา สาหร่ายอื่น ๆ ยกเว้น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ในปัจจุบันอาจจัดพวกยูคารีโอต เป็นอณาจักรโปรติสตา แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน
ลักษณะทั่วไปโปรติสตา ในปี ค.ศ.1866เฮกเกล นักสัตววิทยาชาวเยรมันได้เสนอไห้ใช้อณาจักรโปรติสตาสำหรับสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ซึ่งเดิมจัดอยู่ในพวกพืชและสัตวไฟลัมโปรโตซัว
นางสาว ฮัมดีย๊ะห์ กูเต๊ะ รหัส 404766016 โปรแกรมวิชา การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ