1 / 11

E - L e a r n i n g

เหตุผลวิบัติ. เหตุผลวิบัติ ( fallacies ). นักตรรกวิทยาได้ให้ความหมายของเหตุผลวิบัติไว้ว่า หมายถึง “ ความผิดพลาดในการใช้เหตุผล ( Reasoning) หรือ ในการอ้างเหตุผล (Argument) ” หรือ หมายถึง “ ลักษณะของการอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง ” . ประทีป มากมิตร. E - L e a r n i n g.

Download Presentation

E - L e a r n i n g

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เหตุผลวิบัติ เหตุผลวิบัติ ( fallacies ) นักตรรกวิทยาได้ให้ความหมายของเหตุผลวิบัติไว้ว่า หมายถึง “ ความผิดพลาดในการใช้เหตุผล (Reasoning) หรือ ในการอ้างเหตุผล (Argument) ” หรือ หมายถึง “ ลักษณะของการอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้อง ” ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  2. เหตุผลวิบัติ การอ้างอำนาจ (Appeal to Force) เป็นการอ้างเหตุผลที่ไม่ถูกต้องอันเนื่องมาจากผู้อ้างใช้วิธีข่มขู่ทั้งทางร่างกายหรือจิตใจเป็นสาเหตุให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเกิดความกลัวจนต้องยอมรับบทสรุป ข่มขู่ ผู้อ้าง ผู้อ่าน / ผู้ฟัง บทสรุป ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  3. เหตุผลวิบัติ การอ้างความสงสาร (Appeal to Pity) คือลักษณะการอ้างเหตุผลที่ผู้อ้างขอความเมตตาสงสารจากผู้อ่านหรือผู้ฟัง เพื่อให้ยอมรับในบทสรุปแทนที่จะยกข้ออ้างที่มีเนื้อหาถูกต้องและเพียงพอ ขอความเมตตาสงสาร ผู้อ้าง ผู้อ่าน / ผู้ฟัง บทสรุป ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  4. เหตุผลวิบัติ การอ้างแบบย้อนบุคคล (Argument Against the Person) คือ ลักษณะ การอ้างเหตุผลที่บกพร่องที่เกิดขึ้นจากผู้อ้าง 2 คน คนหนึ่งอ้างเหตุผล แต่อีกคนหนึ่งแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบ โดยไม่เกี่ยวกับการอ้างเหตุผล แต่มุ่งไปที่ตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับความประพฤติหรือคำพูดของคนๆ นั้น โจมตี ผู้อ้างที่ 1 ผู้อ้างที่ 2 ปฏิเสธ เสนอ การอ้างเหตุผล ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  5. เหตุผลวิบัติ การอ้างบุคคล (Appeal to Authority) เป็นเหตุผลวิบัติที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเอาพยานหลักฐาน ได้แก่ บุคคลหรือเอกสารที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่เหมาะสมกับประเด็นที่กล่าวถึง มาใช้เป็นข้ออ้างหรือหลักฐานเพื่อให้เกิดการยอมรับในสิ่งที่ผู้อ้างต้องการ อ้าง ผู้อ้าง บุคคลที่ไม่เหมาะสม บทสรุป ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  6. เหตุผลวิบัติ การอ้างความไม่รู้ (Appeal to Ignorance) ไม่มีอะไรรู้อย่างแน่นอนเกี่ยวกับ X รู้เกี่ยวกับ X เหตุผลวิบัติลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อข้ออ้างของการอ้างเหตุผลไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดเกี่ยวกับสิ่งนั้น แต่บทสรุปกลับสรุปอย่างแน่ชัดต่อสิ่งนั้น ส่วนใหญ่จะอ้างถึงสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ = ข้ออ้าง = บทสรุป ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  7. เหตุผลวิบัติ การรีบสรุป (Hasty Generalization) เหตุผลวิบัติลักษณะเกิดขึ้นเมื่อข้ออ้างนั้นไม่เป็นตัวแทนสมาชิกที่เพียงพอสรุปได้ เนื่องจากข้ออ้างมีปริมาณน้อยเกินไปหรือไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การยอมรับบทสรุปได้ ข้ออ้าง (กรณีเฉพาะต่างๆ ที่ไม่ใช่เป็นตัวแทน) ลงความเห็น บทสรุป (กรณีทั่วไป) ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  8. เหตุผลวิบัติ การอ้างสาเหตุผิด (False Cause) เหตุผลวิบัติลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อข้ออ้างอาศัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของเหตุการณ์เพื่อนำไปสู่บทสรุป แต่ปรากฏว่าข้ออ้างไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงที่จะนำไปสู่บทสรุปได้ = ข้ออ้าง สงสัยว่าจะเป็นสาเหตุ = บทสรุป ไม่ได้เป็นสาเหตุที่แท้จริง ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  9. เหตุผลวิบัติ หลงประเด็น (Miss the Point) เหตุผลวิบัติลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อบทสรุป ของการอ้างเหตุผลไม่มีความสัมพันธ์กับข้ออ้าง กล่าวคือข้ออ้างที่ปรากฎนำไปสู่ข้อสรุปเฉพาะเรื่องหนึ่งแต่เวลาสรุปกลับไปสรุปอีกเรื่องหนึ่ง = ข้ออ้าง นำมาซึ่งบทสรุป A = บทสรุป สรุป B ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  10. เหตุผลวิบัติ ข้ออ้างเลือก (False Dichotomy) เหตุผลวิบัติลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้อ้างพยายามหลอกผู้อ่านหรือผู้ฟังให้เลือกในข้ออ้างที่กำหนดไว้ แล้วสรุปโดยความจำเป็นตามที่ผู้อ้างต้องการ ความบกพร่องในการอ้างเหตุผลนี้อยู่ที่ผู้อ้างพยายามจะลวงให้คิดว่าข้ออ้างไม่มีทางเลือกอื่นให้พิจารณาอีกแล้ว เช่น “ คุณจะซื้อเสื้อกันหนาวตัวใหม่ให้ฉัน หรือ คุณจะให้ฉันตายเมื่อหน้าหนาวมาถึง ” ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

  11. เหตุผลวิบัติ สรุป เพื่อไม่ให้เกิดกรณี เหตุผลวิบัติ เราควรพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้ 1. พยานหลักฐาน หรือเหตุผลเพียงพอหรือไม่ 2. พยานหลักฐานสัมพันธ์กับข้อสรุปหรือไม่ 3. การอ้างเหตุผลนั้นใช้ภาษาชัดเจนหรือไม่ 4. ผู้อ้างใช้ความลำเอียง อารมณ์ หรือเลี่ยงประเด็น หรือไม่ ประทีป มากมิตร E - L e a r n i n g

More Related