1 / 50

มอก : มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

บทที่ 3. มอก : มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. TIS 18001. TIS : Thai Industrial Standards มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบ การจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย. ความเป็นมาของ มอก .18001 : 2542. สังคมอุตสาหกรรม แรงงานทำงานเสี่ยงมากขึ้น สภาพแวดล้อมการทำงานไม่เหมาะสม เทคโนโลยีใหม่ ๆ.

Download Presentation

มอก : มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 มอก: มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม TIS 18001 TIS : Thai Industrial Standards มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบ การจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

  2. ความเป็นมาของ มอก.18001 : 2542 สังคมอุตสาหกรรม แรงงานทำงานเสี่ยงมากขึ้น สภาพแวดล้อมการทำงานไม่เหมาะสม เทคโนโลยีใหม่ ๆ อุบัติเหตุ อุบัติการณ์ สุขภาพอนามัยที่แย่ สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม THAILAND

  3. คุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้หรือไม่คุณเคยเจอปัญหาเหล่านี้หรือไม่ - ลูกค้าไม่เชื่อมั่นในองค์กร(จะซื้อของก็ไม่กล้าซื้อ) - ไม่รู้ว่าเราปฎิบัติสอดคล้องกับความหมายความปลอดภัยหรือไม่ - ความปลอดภัยในโรงงานดีต่อลูกน้องเราในโรงงานหรือไม่ - หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เช่น ไฟไหม้โรงงานจะแก้ปัญหาทันหรือไม่ - ระบบการจัดการความปลอดภัยพัฒนาไม่มีทิศทาง - แก้ปัญหาเรื่องเดิมๆไม่จบซักที - ระบบเอกสารในองค์กรยุ่งเหยิง OHSAS 18001ย่อมาจาก Occupational Health and Safety Assessment Series Specification 18001

  4. ระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย • มาตรฐานเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS18001 เป็นมาตรฐานนานาชาติเพื่อลดความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดอันตรายและความเสียหาย โดยการวิเคราะห์, ควบคุมความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อย่างเหมาะสมและนำมาปรับปรุงระบบบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง • การจัดทำระบบ OHSAS18001 เป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดอันตรายในการทำงาน เพิ่มความพึงพอใจและสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน สร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีในการทำงาน และนำไปสู่การสร้างองค์กรที่แข็งแกร่ง พร้อมๆ กับการได้รับความเชื่อมั่นจากสังคม มาตรฐานนี้เหมาะสมกับองค์กรทุกแห่งที่ต้องการกำจัดหรือ ลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับพนักงานและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่อาจ รับความเสี่ยงด้าน OH&S ที่เกิดจากกิจกรรมขององค์กร

  5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำระบบมาตรฐาน OHSAS 18001 - บริษัทที่ผ่านการรับรองแล้วรายงานว่าอุบัติเหตุในสถานที่ทำงานเกิดขึ้นน้อยมากและอุปสรรคในการผลิตลดลง - โอกาสในการเกิดโรคเฉพาะอาชีพลดลง สภาพการทำงานที่ดีขึ้น แรงจูงใจของพนักงานเพิ่มขึ้น - ทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นไปตามกฎหมายและเกิดประโยชน์กับระบบการบริหาร - ภาพลักษณ์บริษัทที่ดีขึ้น ยกระดับการแข่งขันระหว่างประเทศ - สามารถจัดทำระบบการจัดการควบคู่ไปกับระบบ ISO 9001:2000 และ ISO 14001 - ลดอัตรากรมธรรม์ประกันภัยเนื่องจากลดอัตราความเสี่ยง

  6. ความเคลื่อนไหวของมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยความเคลื่อนไหวของมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ประเทศไทย โดยมติ 6 กระทรวงหลัก คือ - กระทรวงอุตสาหกรรม - กระทรวงสาธารณสุข - กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม - กระทรวงพาณิชย์ - กระทรวงศึกษาธิการ - กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

  7. ความเคลื่อนไหวของมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยความเคลื่อนไหวของมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  มอบหมายให้ สมอ. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดทำมาตรฐาน และรับรองมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  สมอ. แต่งตั้งคณะกรรมการร่างมาตรฐานระบบการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย : ข้อกำหนด มอก. 18001-2540 โดยใช้ตามแนวทาง BS 8800  ประกาศใช้มาตรฐาน มอก. 18001 – 2540 ครั้งแรกเดือนมกราคม 2541 ต่อมาได้ยกเลิกมาตรฐานเดิม และประกาศใช้ใหม่เป็น มาตรฐาน มอก. 18001-2542 เมื่อ 30 ธันวาคม 2542

  8. BS 8800 AUS/NZ UK THAI AS/NZS 4801 TIS 18001 OHSAS 18001 ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น OHSAS 18001 หรือ มอก.18001 ต่างเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านอาชีว อนามัยและความเหมือนกัน ในที่นี้ขอกล่าวถึง มกอ.18001 อย่างเดียว

  9. ความสัมพันธ์ของระบบ ISO 9000, ISO 14001, และ มอก. 18001 ISO 9000 ISO 14001 นโยบาย วัตถุประสงค์และแผนงาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กำหนดหน้าที่ผู้รับผิดชอบ การติดต่อสื่อสาร, การฝึกอบรม คู่มือการจัดการ การควบคุมการปฏิบัติงาน การควบคุมเอกสาร, การบันทึก การปรับปรุงแก้ไข การตรวจติดตามภายใน การทบทวนการจัดการ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า การออกแบบ/การพัฒนา การปฏิบัติในการผลิตและการบริการ การควบคุมอุปกรณ์วัด/ตรวจติดตาม การประเมินประเด็น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การเตรียมความพร้อม ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน การจัดซื้อจัดจ้าง การทบทวนสถานะเบื้องต้น การประเมินความเสี่ยง การเตือนอันตราย มอก. 18001

  10. ลดและควบคุมความเสี่ยงอันตรายของลูกจ้างและผู้เกี่ยวข้องลดและควบคุมความเสี่ยงอันตรายของลูกจ้างและผู้เกี่ยวข้อง 1 เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร 2 3 วัตถุประสงค์ ช่วยสร้างภาพพจน์ความรับผิดชอบขององค์กรต่อพนักงาน ภายในองค์กร ต่อองค์กรเอง และต่อสังคม

  11. หลักของ มอก.18001 : 2542 ค้นหาอันตราย กำหนดมาตรการควบคุม ประเมินค่าอันตราย

  12. ข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 18001

  13. ความสัมพันธ์ของขั้นตอนการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้ง 6 ขั้นตอน การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ข้อกำหนดทั่วไป การทบทวนสถานะเริ่มต้น การทบทวนการจัดการ การกำหนดนโยบาย อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การวางแผน - การประเมินความเสี่ยง - กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ - การเตรียมการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การตรวจสอบและแก้ไข - การติดตามตรวจสอบและการวัดผลการปฏิบัติ - การตรวจประเมิน - การแก้ไขและการป้องกัน - การจัดทำและเก็บบันทึก การนำไปปฏิบัติ - โครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบ - การฝึกอบรม การสร้างจิตสำนึก และ ความรู้ ความสามารถ - การสื่อสาร - เอกสารและการควบคุมเอกสาร - การจัดซื้อและการจัดจ้าง - การควบคุมการปฏิบัติ - การเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน - การเตือนอันตราย

  14. หลักการของระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 1. นโยบายความปลอดภัย 2. การวางแผน 2.1 ลักษณะปัญหาด้านความปลอดภัย 2.2 กฎหมายและกฎระเบียบด้านความปลอดภัย 2.3 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย 2.4 แผนกิจกรรม/โครงการ

  15. หลักการของระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 3. การนำแผนไปปฏิบัติและกระบวนการ 3.1 หน้าที่ความรับผิดชอบ 3.2 การอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกและขีดความสามารถ 3.3 การสื่อสาร ถ่ายทอด / ประชาสัมพันธ์ 3.4 ระบบเอกสาร 3.5 การควบคุมเอกสาร 3.6 การเตรียมความพร้อม และตอบสนองเหตุการณ์ฉุกเฉิน

  16. หลักการของระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย 4. การตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุง 4.1 การตรวจวัดและตรวจสอบ 4.2 ข้อบกพร่อง การแก้ไขและป้องกัน 4.3 บันทึก 4.4 การตรวจสอบระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัย 5.การทบทวน 6.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  17. 4. ข้อกำหนด 4.1 ข้อกำหนดทั่วไป 4.2 การทบทวนสถานะเริ่มต้น 4.3 นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 4.4 การวางแผน 4.4.1 การประเมินความเสี่ยง 4.4.2 กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ 4.4.3 การเตรียมการจัดการอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย 4.6 การตรวจสอบแก้ไข 4.6.1 การติดตามตรวจสอบและการวัดผล การปฏิบัติ 4.5 การนำไปใช้และการปฏิบัติ 4.5.1 โครงสร้างและความรับผิดชอบ 4.6.2 การตรวจติดตาม 4.5.2 การฝึกอบรม การสร้างจิตสำนึกและความ รู้ความสามารถ 4.6.3 การป้องกันและแก้ไข 4.6.4 การบันทึกและการจัดเก็บบันทึก 4.5.3 การสื่อสาร 4.7 การทบทวนการจัดการ 4.5.4 เอกสารและการควบคุมเอกสาร 4.5.5 การจัดซื้อและการจัดจ้าง 4.5.6 การควบคุมการปฏิบัติ 4.5.7 การเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน 4.5.8 การเตือนอันตราย

  18. 4.2 การทบทวนสถานะเริ่มต้น องค์กรต้องทบทวนการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่มีอยู่ กับ - ข้อกำหนดตามกฎหมาย - ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของทรัพยากรที่มีอยู่ - แนวทางการดำเนินงานที่มีอยู่ในองค์กร - ข้อปฏิบัติและการดำเนินงานที่ดีกว่า เพื่อให้เรารู้ว่า “ขณะนี้เราอยู่ที่ไหน”

  19. 4.3 นโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบาย เพื่อแสดงเจตจำนงในการจัดการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย นโยบายดังกล่าวต้อง - เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ - เหมาะสมกับลักษณะและความเสี่ยงขององค์กร - แสดงเจตจำนงที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย, จะปรับปรุงและป้องกันอันตราย อย่างต่อเนื่อง, จะจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอเหมาะสม สิ่งสำคัญคือ “ทำให้ลูกจ้างทุกคนในองค์กรได้รับทราบและเข้าใจถึงนโยบาย อย่างทั่วถึง อันจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง”

  20. 4.4.1 การประเมินความเสี่ยง • ชี้บ่งอันตรายต่าง ๆ •  ประมาณระดับความเสี่ยงของอันตรายแต่ละอย่าง •  ตัดสินว่าความเสี่ยงนั้นยอมรับได้หรือไม่ (ควบคุมความเสี่ยง ) สิ่งสำคัญคือ “ เพื่อให้ทราบถึงอันตรายที่มีอยู่ทั้งหมดในองค์กร และอันตราย ทั้งหมดในองค์กรต้องถูกชี้บ่งและประมาณระดับความเสี่ยงแล้วนำไปกำหนด มาตรการควบคุมความเสี่ยงนั้น ๆ ”

  21. 4.4.2 กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ • รวบรวมกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ติดตามแก้ไข • เพิ่มเติมตามกฎหมายที่กำหนดขึ้นมาใหม่ •  ถ่ายทอดกฎหมายต่างๆให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ •  ประสานงานให้เกิดการนำกฎหมายไปปฏิบัติ

  22. 4.4.3 การเตรียมการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย • กำหนดแผนงานและวัตถุประสงค์ รวมถึงบุคลากรและทรัพยากร • เพื่อให้บรรลุตามนโยบาย • วางแผนปฏิบัติการสำหรับการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ • ยอมรับได้และเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมาย

  23. 4.5.1 โครงสร้างและความรับผิดชอบ ต้องกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของลูกจ้างทุก ระดับที่เกี่ยวข้อง จัดทำเอกสารเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ลูกจ้างที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ซึ่งมีผลกระทบด้านอาชีวอนามัยเหมาะสมและ ความปลอดภัย ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม

  24. 4.5.2 การฝึกอบรม การสร้างจิตสำนึกและความรู้ความสามารถ จัดทำ Procedure ที่แสดงถึงความต้องการในการฝึกอบรม(Training Need)  จัดทำแผนการฝึกอบรมและจัดการฝึกอบรมให้กับบุคลากรในทุกระดับ  ประเมินความสามารถของผู้เข้ารับการอบรม การฝึกอบรมควรครอบคลุมถึงผู้รับจ้าง ผู้รับเหมาและผู้มาเยี่ยมชมด้วย ตามระดับ ความเสี่ยงที่บุคคลนั้นอาจได้รับ

  25. ตัวอย่างการฝึกอบรมการสร้างจิตสำนึกและความรู้ความสามารถ (4.5.2) รายการความจำเป็นในการฝึกอบรม ตำแหน่ง : ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คุณสมบัติผู้ดำรงตำแหน่ง : วทบ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) ประสบการณ์ 2 ปี ผู้กำหนดความจำเป็นในการฝึกอบรม : กรรมการผู้จัดการ วัน เดือน ปี ที่กำหนด : 9/9/47 ทบทวนครั้งที่ :1 วัน เดือน ปี :15 กันยายน 2548

  26. 4.5.3 การสื่อสาร จัดทำ Procedure การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย กำหนดรูปแบบและขอบข่ายของการสื่อสาร - จำแนกข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร - กำหนดกลุ่มเป้าหมาย - กำหนดช่องทางการสื่อสาร กำหนดวิธีการให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและข้อร้องเรียน ที่เกี่ยวกับระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  27. ตัวอย่าง การสื่อสาร ( 4.5.3) ทะเบียนข้อมูลสำหรับการสื่อสาร

  28. 4.5 การนำไปใช้และการปฏิบัติ 4.5.4 เอกสารและการควบคุมเอกสาร ต้องมีเอกสารในระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเพียงพอ เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เอกสารเหล่านี้อาจอยู่ในรูป ใดก็ได้ เช่น - สิ่งพิมพ์ - Electronic file จัดทำขั้นตอนการเก็บรักษา ควบคุมเอกสาร เพื่อให้แน่ใจว่า เอกสารมีความ ทันสมัยและใช้ได้ตามวัตถุประสงค์

  29. ตัวอย่างเอกสารในระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 (4.5.4)

  30. ตัวอย่างเอกสารในระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 (4.5.4)

  31. ตัวอย่างเอกสารในระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 (4.5.4)

  32. ตัวอย่างเอกสารในระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 (4.5.4)

  33. 4.5.5 การจัดซื้อและการจัดจ้าง • ต้องจัดทำ Procedure สำหรับการจัดซื้อและจัดจ้างในส่วนที่จะมีผลต่อ • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย •  การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ต้องพิจารณาถึง • อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้ • - กำหนดข้อมูลรายละเอียดความต้องการด้าน OH&S • - มีการตรวจรับตามข้อมูลรายละเอียดที่กำหนดไว้ • - ในกรณีที่เป็นสารเคมีอันตราย ต้องมีรายละเอียด MSDS • - ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ต้อง • มีเอกสารคู่มือใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย

  34. 4.5.5 การจัดซื้อและการจัดจ้าง การจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจวัดที่เกี่ยวกับ OH&S ต้องพิจารณาถึงการสอบเทียบ และมีเอกสารคู่มือการใช้งาน การจัดจ้างผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วง - ต้องพิจารณาถึงความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการ ด้านOH&S - ต้องมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัย รวมถึง การดูแลผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วงให้เป็นไปตามวิธี ที่กำหนด

  35. 4.5.6 การควบคุมการปฏิบัติ จัดทำ Procedure การควบคุมการปฏิบัติงานของลูกจ้างในแต่ละ กิจกรรม ซึ่งรวมถึง การใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมืออย่างปลอดภัย การจัด สภาพแวดล้อมในการทำงาน  ควบคุมให้มีการดำเนินการดังนี้ - เป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมาย มาตรฐาน ขั้นตอนการดำเนินงาน - เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ องค์กรต้องจัดให้มีการควบคุมการปฏิบัติ เพื่อมั่นใจว่ากิจกรรมทั้งหลายดำเนินไป สอดคล้องกับนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ

  36. 4.5.7 การเตรียมความพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉิน จัดทำ Procedure การดำเนินงานสำหรับภาวะฉุกเฉิน จัดทำแผนการฝึกซ้อมภาวะฉุกเฉินให้ครอบคลุมทุกความเสี่ยง ดำเนินการซ้อมตามแผนที่กำหนดไว้ ตรวจสอบความครบถ้วน และความพร้อมของอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในภาวะ ฉุกเฉิน มีการทบทวนแผนและนำไปปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

  37. 4.5.8 การเตือนอันตราย จัดให้มีการเตือนอันตรายในกิจกรรมที่มีความเสี่ยง คลอบคลุมถึงชนิด สถานะของวัตถุอันตราย สถานภาพของเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้าและ สถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องด้าน OH&S  จัดทำในรูปของสัญลักษณ์ แผ่นป้าย และอื่น ๆ ซึ่งเป็นที่เข้าใจชัดเจน ตาม มาตรฐานของทางราชการ สากล หรือขององค์กรที่กำหนดขึ้นเอง สิ่งสำคัญคือ “ให้พนักงานทุกคนเข้าใจสื่อของการเตือน อันตรายที่เหมือนกันในองค์กร”

  38. Worksite Inspection 4.6.1 การติดตามตรวจสอบและการวัดผลการปฏิบัติ จัดทำ Procedure การติดตามตรวจสอบและการวัดผลการปฏิบัติ โดยครอบคลุมถึง เชิงรุก เช่น การปฏิบัติตามแผนงานและวัตถุประสงค์ทั้งหมด การปฏิบัติตามแผนควบคุมความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ การเฝ้าระวังโรคจากการทำงาน การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน เชิงรับ เช่น สถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

  39. Worksite Inspection 4.6.1 การติดตามตรวจสอบและการวัดผลการปฏิบัติ กำหนดแผนการติดตามตรวจสอบและวัดผลการปฏิบัติทั้งในเชิงรุกและรับ  ในกรณีใช้เครื่องมือในการตรวจวัด เครื่องมือที่นำมาใช้ ให้กำหนดให้มี ความถี่ในการสอบเทียบ การบำรุงรักษาและเก็บเป็นประวัติของอุปกรณ์

  40. 4.6.2 การตรวจประเมิน ต้องจัดทำ Procedure การตรวจประเมิน  จัดทำแผนการตรวจประเมิน  จัดให้มีการ Internal Audit

  41. 4.6.3 การแก้ไขและการป้องกัน ต้องจัดทำ Procedure แสดงถึงการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการติดตาม  ตรวจสอบ การวัดผลปฏิบัติ และการตรวจประเมิน รวมถึงอุบัติเหตุ ข้อร้อง เรียนต่าง ๆ  ต้องวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงของข้อบกพร่อง แล้วดำเนินการแก้ไขป้องกัน

  42. 4.6.4 การจัดทำและเก็บบันทึก • จัดทำ Procedure ที่แสดงถึง การชี้บ่ง, การรวบรวม, การทำดัชนี • การจัดเก็บ, การทำลายบันทึกด้าน OH&S •  บันทึกอาจอยู่ในรูปใดก็ได้ เช่น สิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้อง • - ชัดเจน • - เข้าใจง่าย • - สามารถชี้บ่งและสอบกลับไปยังกิจกรรมต่าง ๆ ได้ • - เรียกมาใช้งานง่าย มีการป้องกันการเสียหาย • - มีการกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาบันทึก

  43. 4.7 การทบทวนการจัดการ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยต้องพิจารณาถึง - ผลการดำเนินงานของระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัยทั้งหมด - ผลการดำเนินงานเฉพาะแต่ละข้อกำหนดของระบบการจัดการ - สิ่งที่พบจากการตรวจประเมิน - ปัจจัยภายในและภายนอก • พิจารณาความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง • - นโยบาย, แผนงาน, องค์ประกอบอื่น ๆของระบบ • - การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  44. ขั้นตอนการจัดทำระบบการจัดการขั้นตอนการจัดทำระบบการจัดการ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 1. ศึกษามาตรฐาน มอก. 18001 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. ขอการสนับสนุนการดำเนินงานจากฝ่ายบริหาร 3. จัดตั้งทีมและคณะทำงาน 4. กำหนดนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 5. วางแผนและจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน 6. ปฏิบัติตามขั้นตอน มาตรฐาน มอก. 18001 7. ตรวจติดตามระบบตามมาตรฐาน มอก. 18001 8. แก้ไขข้อบกพร่องและติดตามผล 9. ผู้บริหารระดับสูงทบทวนระบบ 10. ขอการรับรอง

  45. ปัจจัยสำคัญในการจัดทำระบบ มอก. 18001 ผู้บริหารระดับสูงมีความมุ่งมั่น และตั้งใจแน่วแน่  ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจ มีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง  ได้รับการจัดสรรทรัพยากร อย่างเพียงพอ  มีการติดตามและปรับปรุงระบบ มอก. 18001 อย่างต่อเนื่อง

  46. ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ มอก. 18001  ป้องกันชีวิต และทรัพย์สินอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ  เตรียมความพร้อมสำหรับอุบัติเหตุและภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น  ลดรายจ่ายเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน  สร้างขวัญและกำลังใจแก่พนักงานให้เกิดความเชื่อมั่นในความ ปลอดภัยต่อชีวิตการทำงาน  เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการผลิต  เสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น และเป็นที่ยอมรับในสังคม  เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่การแข่งขันทางด้านการค้าในตลาดโลก

  47. ขั้นตอนในการขอรับรอง มอก.18000 • ขั้นตอนที่ 1 ศึกษามาตรฐานมอก.18000 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ขั้นตอนที่ 2 ประชุมฝ่ายบริหารเพื่อขอการสนับสนุนโครงการในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอด • ขั้นตอนที่ 3 ตั้งคณะกรรมการชี้นำ เพื่อจัดทำระบบและควบคุมดูแลให้เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ • ขั้นตอนที่ 4 กำหนดนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยวางแผนการจัดการระบบ จัดทำวิธีการปฏิบัติ และคำแนะนำที่จำเป็น • ขั้นตอนที่ 5 ลงมือปฏิบัติตามระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ได้กำหนดขึ้น

  48. ขั้นตอนในการขอรับรอง มอก.18000 (ต่อ) • ขั้นตอนที่ 6 ตรวจติดตามระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อตรวจสอบว่าระบบเป็นไปตามแผนและข้อกำหนดของมาตรฐานและได้มีการนำไปใช้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง • ขั้นตอนที่ 7 แก้ไขข้อบกพร่องที่พบจากการตรวจติดตามภายในและปรับปรุงระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น • ขั้นตอนที่ 8 ผู้บริหารระดับสูงที่รับผิดชอบโครงการดำเนินการทบทวนระบบการจัดการจากผลการดำเนินงาน • ขั้นตอนที่ 9 ติดต่อหน่วยงานที่ให้การรับรอง และยื่นคำขอ

  49. Thank You !

More Related