1 / 18

ปรัชญาการศึกษา : อัตถิ ภาวนิ ยม ( Existentialism )

ปรัชญาการศึกษา : อัตถิ ภาวนิ ยม ( Existentialism ). [ จัดทำโดย ] นาย ศศิวัฒน์ สุริยะแก่นทราย หลักสูตร ครุศา สตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ อุดรธานี. ปรัชญา การศึกษา อัตถิภาวนิ ยม ( Existentialism).

Download Presentation

ปรัชญาการศึกษา : อัตถิ ภาวนิ ยม ( Existentialism )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ปรัชญาการศึกษา : อัตถิภาวนิยม(Existentialism) [จัดทำโดย]นายศศิวัฒน์ สุริยะแก่นทรายหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์)คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

  2. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม (Existentialism) เป็นปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะเชื่อว่ามนุษย์มิใช่วัตถุแต่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก มีความต้องการ องค์ประกอบที่สำคัญของลัทธินี้ก็ คือ “ความมีเสรีภาพ ความรู้สึกรับผิดชอบและการเลือกตัดสินใจ”

  3. ความเป็นมา • ปรัชญานี้เกิดขึ้นเนื่องจากความรู้สึกที่ว่ามนุษย์กำลังสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไปจากระบบสังคมปัจจุบัน การศึกษาที่มีอยู่ก็มีส่วนทำลายความเป็นมนุษย์เพราะสอนให้ผู้เรียนอยู่ในกรอบของสังคมที่จำกัดเสรีภาพความเป็นตัวของตัวเองให้ลดน้อยลง • ผู้ให้กำเนิดแนวความคิดใหม่ทางปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยมได้แก่ซอเร็นคีร์เคอร์การ์ด (SorenKierkegard) นักปรัชญาชาวเดนมาร์คเขาได้เสนอความคิดว่าปรัชญาเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนดังนั้นทุกคนจึงควรสร้างปรัชญาของตนเองจากประสบการณ์ไม่มีความจริงนิรันดร์ให้ยึดเหนี่ยวเป็นสรณะตัวตาย ความจริงที่แท้ คือ สภาพของมนุษย์

  4. ความเป็นมา (ต่อ) • ผู้ริเริ่มนำมาใช้ทดลองในโรงเรียนคือเอเอสนีลล์ (A.S. Neil)โดยทดลอง ในโรงเรียนสาธิตและโรงเรียนซัมเมอร์ฮิลล์ (Summer hill) ในประเทศอังกฤษ • ในประเทศไทยได้มีการนำมาทดลองใช้เป็นครั้งแรกที่ โรงเรียนหมู่บ้านเด็กซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎ์ของมูลนิธิเด็ก ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นความพยายามที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีอิสรเสรีภาพในเลือกเรียนวิชาต่างๆตามความสามารถของเด็กและมุ่งแก้ปัญหาทางอารมณ์ของเด็กเป็นสำคัญ

  5. แนวความคิดพื้นฐาน ปรัชญานี้มีความสนใจและความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่จริงของมนุษย์มนุษย์จะต้องเข้าใจและรู้จักตนเองมนุษย์ทุกคนมีความสำคัญและมีลักษณะเด่นเฉพาะตนเองทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือกตัดสินใจในการกระทำสิ่งใดๆ แต่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นปรัชญานี้ยกย่องมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใดส่งเสริมให้มนุษย์มีความเป็นตัวของตัวเองแต่ก็ต้องไม่มองข้ามเสรีภาพของอื่นหมายถึง จะต้องเป็นผู้ใช้เสรีภาพบนความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

  6. แนวความคิดทางการศึกษาแนวความคิดทางการศึกษา • คำว่าอัตถิภาวะตามสารานุกรมปรัชญาอธิบายว่ามาจากคำว่า อัตถิ= เป็นอยู่ + ภาวะ = สภาพ (กีรติบุญเจือ 2521 : 280) เมื่อรวมกันแล้ว แปลว่าสภาพที่เป็นอยู่ (Existence) • การศึกษาตามปรัชญาอัตถิภาวนิยม จะส่งเสริมให้มนุษย์แต่ละคนรู้จักพิจารณาตัดสินสภาพและเจตจำนงที่มีความหมายต่อการดำรงชีวิตการศึกษาจะต้องให้อิสระแก่ผู้เรียนที่จะเลือกสรรสิ่งต่างๆได้อย่างเสรีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

  7. จุดมุ่งหมายของการศึกษาจุดมุ่งหมายของการศึกษา การศึกษาจะต้องทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตนเองว่ามีความต้องการอย่างไรแล้วพัฒนาตนเองไปตามความต้องการอย่างอิสระเพื่อจะได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการเลือกเรียนได้ตามความพอใจและมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เลือกนอกจากนี้ยังมุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง(Self discipline)

  8. องค์ประกอบของการศึกษาองค์ประกอบของการศึกษา องค์ประกอบของการศึกษาที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ • หลักสูตร • ครู • ผู้เรียน • โรงเรียน • กระบวนการเรียนการสอน

  9. องค์ประกอบของการศึกษา(1):หลักสูตรองค์ประกอบของการศึกษา(1):หลักสูตร ต้องเป็นหลักสูตรที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ดีขึ้นเนื้อหาของหลักสูตรจะเน้นทางสาขามนุษยศาสตร์ (Humanities) เช่นศิลปะปรัชญาวรรณคดีประวัติศาสตร์การเขียนการละครจิตรกรรมศิลปะประดิษฐ์นักปรัชญาเชื่อว่าวิชาเหล่านี้จะฝึกฝนผู้เรียนทางด้านสุนทรียศาสตร์อารมณ์และศีลธรรมจริยธรรมอันดีงามวิชาต่างๆ ไม่ได้จัดให้เรียนตายตัวแต่จะให้ผู้เรียนเลือกได้ตามความพอใจและความเหมาะสมเพื่อผู้เรียนจะได้พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง

  10. องค์ประกอบของการศึกษา(2) : ครู มีบทบาทคล้ายกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยมคือ ทำหน้าที่คอยกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้เรียนตื่นตัวให้เข้าใจตนเองสามารถใช้ความถนัดและความสามารถเฉพาะตัวออกมาให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุดครูจะให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนมากให้เสรีภาพและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้เรียนให้ผู้เรียนรู้จักรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและครูจะต้องเป็นผู้รู้จริงในเรื่องที่สอนซื่อสัตย์และจริงใจต่อผู้เรียน

  11. องค์ประกอบของการศึกษา(3) : ผู้เรียน ผู้เรียนเป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในกระบวนการศึกษาและเชื่อว่าผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิดมีความสามารถในตนเองมีเสรีภาพอย่างแท้จริงเป็นผู้ที่เลือกแนวทางที่จะพัฒนาตนเองด้วยตนเองเพราะเป้าหมายการศึกษามิใช่เนื้อความรู้มิใช่เพื่อสังคมแต่เพื่อผู้เรียนที่จะรู้จักตนเองเข้าใจตนเองด้วยเหตุนี้แนวทางจริยธรรมและการประพฤติปฏิบัติต่างๆเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่จะเลือกใช้วีธีทางใดแต่ทั้งนี้จะต้องมีวินัยในตนเองและรับผิดชอบต่อการกระทำและผลที่เกิดขึ้น

  12. องค์ประกอบของการศึกษา(4) : โรงเรียน ต้องสร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพทั้งในและนอกห้องเรียนและจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนเกิดความพอใจที่จะเรียนสร้างคนให้เป็นตัวของตนเองคือให้นักเรียนเลือกอย่างอิสระส่วนแนวทางในด้านจริยธรรมทางโรงเรียนจะไม่กำหนดตายตัวแต่จะให้ผู้เรียนได้เลือกแนวทางของผู้เรียน

  13. องค์ประกอบของการศึกษา(5) : กระบวนการเรียนการสอน • ต้องเน้นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นตัวของตัวเองมากที่สุดให้ผู้เรียนพบความเป็นจริงด้วยตัวเองเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียนด้วยตัวของเขาเองการเรียนจะต้องเรียนรู้จากสิ่งภายในก่อนหมายถึง จะต้องให้ผู้เรียนรู้ว่าตนเองพอใจอะไรมีความต้องการอะไรอย่างแท้จริงแล้วเลือกเรียนในสิ่งที่พอใจหรือต้องการ • กระบวนการเรียนการสอนจะเน้นการมีส่วนร่วมเป็นหลักสำคัญในการเรียนรู้ ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม

  14. สรุปแนวคิดปรัชญาอัตถิภาวะนิยมสรุปแนวคิดปรัชญาอัตถิภาวะนิยม

  15. สรุปแนวคิดปรัชญาอัตถิภาวะนิยม (ต่อ)

  16. ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกับแนวความคิดทางปรัชญาและปรัชญาทางการศึกษามากยิ่งขึ้น • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ผู้ให้กำเนิดแนวคิด จุดเด่นและจุดด้อยของปรัชญาการศึกษาแบบอัตถิภาวนิยม รวมถึงความเชื่อมโยงกับแนวคิดทางการศึกษาอื่นๆ อันได้แก่ 1 ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม 2 ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม 3 ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม 4 ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม 5 ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม 6 พุทธปรัชญา

  17. บรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิง • กีรติ บุญเจือ, ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม, หน้า 117 - 118. • ดร.สงัด อุทรานันท์. พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร.2532. • พระมหาทองมา อรุณรํสี (แสงอรุณ). การศึกษาวิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาของสํานักอัตถิภาวนิยม.2553. • http://www.baanjomyut.com/library_2/educational_philosoph/index.html • http://sitawan112.blogspot.com/2012/03/existentialism.html

  18. End

More Related