1.01k likes | 1.34k Views
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF : HEd). รองศาสตราจารย์อุษณีย์ คำประกอบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . 6 พฤษภาคม 2553. ความเป็นมา. TQF. NQF. ปี 2545. ปี 2552.
E N D
กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติThai Qualifications Framework for Higher Education (TQF : HEd) รองศาสตราจารย์อุษณีย์ คำประกอบ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6 พฤษภาคม 2553
ความเป็นมา TQF NQF ปี 2545 ปี 2552
Status of NQFs in the Asia-Pacific Region Source : DEEWR. (March, 2008) p.16
หลักการสำคัญของ TQF • เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม • มุ่งเน้นที่ Learning Outcomesซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต • มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน
หลักการสำคัญของ TQF • เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคม และสถาบันอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี • มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใดๆ ของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้กับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดหลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลาย โดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิต ซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจ เป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง • ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ • เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานให้สถาบันอุดมศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ต่อการรับรองมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา
ระดับคุณวุฒิ ระดับที่ 1 อนุปริญญา (3 ปี) ระดับที่ 2 ปริญญาตรี ระดับที่ 3 ประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับที่ 4 ปริญญาโท ระดับที่ 5 ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ระดับที่ 6 ปริญญาเอก
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานการศึกษาของชาติ มาตรฐานการอุดมศึกษา ด้านคุณภาพบัณฑิต ด้านการบริหารจัดการ การอุดมศึกษา ด้านการสร้างและพัฒนา สังคมฐานความรู้และ สังคมแห่งการเรียนรู้ กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ (TQF)
มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษามาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา • ให้มีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเองของแต่ละสาขาวิชา มีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในสาขา/สาขาวิชาที่ได้รับมอบหมายจาก กกอ. • ต้องเป็นสากล และเป็นที่ยอมรับของสถาบันอุดมศึกษา และ/หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • เป็นประกาศกระทรวงที่ให้แนวทางในการดำเนินการแก่สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนสาขา/สาขาวิชานั้นๆ
มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษามาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา • หมายถึงกรอบที่กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ของบัณฑิตในแต่ละคุณวุฒิของสาขา/สาขาวิชาหนึ่ง เพื่อให้หลักประกันว่า บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ มีคุณภาพไม่น้อยกว่าที่กำหนด • สถาบันอุดมศึกษาสามารถเพิ่มเติมได้อย่างอิสระ ตามความต้องการหรือเอกลักษณ์ของสถาบัน
แนวปฏิบัติตามกรอบ TQF • ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ได้ 2 วิธี 1) ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒินั้น เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร 2) ใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นแนวทางในการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการยังมิได้ประกาศมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชาของระดับคุณวุฒินั้น
มคอ.1 (มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา) มคอ.5 (รายงานผลการดำเนินการ ของรายวิชา) มคอ.2 (รายละเอียดของหลักสูตร) มคอ.6 (รายงานผลการดำเนินการ ของประสบการณ์ภาคสนาม) มคอ.3 (รายละเอียดของรายวิชา) มคอ.7 (รายงานผลการดำเนินการ ของหลักสูตร) ขั้นตอนการปฏิบัติตามกรอบ TQF มคอ.4 (รายละเอียดของ ประสบการณ์ภาคสนาม)
มคอ.1 มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา
มคอ. 1 (สาขาวิชา) • อุตสาหกรรมเกษตร • พยาบาล • เทคโนโลยีชีวภาพ • โลจิสติกส์ • การท่องเที่ยวและการโรงแรม • ครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ • เคมี • คอมพิวเตอร์ • วิศวกรรม
กำหนดเนื้อหาสาระสำคัญของสาขา/สาขาวิชากำหนดเนื้อหาสาระสำคัญของสาขา/สาขาวิชา • ประกอบด้วยองค์ความรู้ที่ต้องการในรายวิชาที่กำหนดในหลักสูตร • เน้นให้รายวิชาที่กำหนดต้องครอบคลุมและสอดคล้องกับองค์ความรู้ 5 ด้าน
มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร(Program Specification)
มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร • เป็นคำอธิบายภาพรวมของการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่จะทำให้บัณฑิตบรรลุผลการเรียนรู้ของหลักสูตรนั้นๆ • ช่วยอธิบายให้นักศึกษาทราบว่าตนต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง เข้าใจถึงวิธีการสอน วิธีการเรียนรู้ ตลอดจนวิธีการวัดและประเมินผล • ช่วยให้นักศึกษาเลือกเรียนในหลักสูตรที่เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้และความต้องการของตนเองได้ • ผู้ใช้บัณฑิตสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับบัณฑิตเข้าทำงาน ใช้ มคอ. 2 แทนเอกสารหลักสูตร อนุมัติโดยสภามหาวิทยาลัย และเสนอ สกอ.รับทราบภายใน 30 วัน
เดิม TQF มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร กลุ่มเนื้อหาสาระสำคัญ ผลการเรียนรู้ โครงสร้างหลักสูตร รายวิชา
ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) คืออะไร • ผลการเรียนรู้ ต้องวัดได้ และครอบคลุมถึง สาระความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ทักษะหรือความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ พฤติกรรม ทัศนคติ แนวคิด ความเชื่อ อุปนิสัย • สกอ. กำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้อย่างน้อย 5 ด้าน
ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ด้านความรู้ มาตรฐานผลการเรียนรู้ (Domains of Learning) + ด้านทักษะพิสัย
ผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตรกำหนดจากข้อมูลใดผลการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตรกำหนดจากข้อมูลใด • สถานการณ์ภายนอก (เศรษฐกิจ/สังคม) • ปรัชญา ปณิธาน ของมหาวิทยาลัย • ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ของหลักสูตร • ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต • กรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (ถ้ายังไม่มีมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา) • มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา ซึ่งรวมถึง มาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี) ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในสาขาวิชา
การถ่ายทอดผลการเรียนรู้จากกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ สู่หลักสูตร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา หลักสูตร
มคอ.2 รายละเอียดของหลักสูตร กรรมการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย • อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อย 2 คน • ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอย่างน้อย 2 คน • หากมีองค์กรวิชาชีพ ให้มีผู้แทนองค์กรวิชาชีพร่วมเป็นกรรมการอย่างน้อย 1 คน
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ถ้าจัดการเรียนการสอนมากกว่า 1 แห่ง ต้องเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรคนละชุดกัน
8) การประเมินและปรับปรุง การดำเนินการของหลักสูตร 4 1) ข้อมูลทั่วไป 7) การประกันคุณภาพ หลักสูตร 7 13 8 หมวด 2) ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร 2 6) การพัฒนา คณาจารย์ 2 5) หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา 3 5 3) ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 3 4) ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล 39
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • รหัสและชื่อหลักสูตรทั้งไทยและอังกฤษ • ชื่อปริญญาและสาขาวิชา (ชื่อย่อ และชื่อเต็มทั้งไทย และอังกฤษ) • วิชาเอก (ถ้ามี) • จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 5) รูปแบบของหลักสูตร 5.1 รูปแบบ (หลักสูตรปริญญาตรี โท หรือเอก .... ปี ) 5.2 ภาษาที่ใช้ (ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ) 5.3 การรับเข้าศึกษา (รับเฉพาะนักศึกษาไทย หรือต่างประเทศ หรือรับทั้ง 2 กลุ่ม) 5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น 5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา (สาขาเดียว หรือทวิปริญญา หรือ ปริญญาร่วม)
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป 6) สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร • หลักสูตรใหม่ พ.ศ....... หรือ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ...... • สภาวิชาการ เห็นชอบให้นำเสนอสภามหาวิทยาลัย เมื่อ ...../...../........ • สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตร เมื่อ ....../...../......... และเปิดสอนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ ..../............. • สภาวิชาชีพให้การรับรอง เมื่อ ...../...../.......... (ถ้ามี)
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ระบุปีที่คาดว่าจะได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบ TQF (เมื่อสถาบันได้เปิดสอนไปแล้วอย่างน้อยครึ่งระยะเวลาของหลักสูตร) • อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา • ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่ง คุณวุฒิการศึกษา ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ให้ระบุสาขาวิชา และปีที่สำเร็จดัวย)
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ถ้าจัดการเรียนการสอนมากกว่า 1 แห่ง ต้องเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรคนละชุดกัน
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • สถานที่จัดการเรียนการสอน • สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร 11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม • ผลกระทบจากข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน 12.1 การพัฒนาหลักสูตร 12.2 ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน
หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป • ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน 13.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรนี้ที่ต้องเรียนจากคณะ/ภาควิชาอื่น 13.2 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนเพื่อให้บริการคณะ/ ภาควิชาอื่น 13.3 การบริหารจัดการ (แผนความร่วมมือหรือการประสานงาน ร่วมกับภาควิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)
หมวดที่ 2 ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร • ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร • แผนพัฒนาปรับปรุง 2.1 แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง (ระบุเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการเสร็จ) 2.2 กลยุทธ์ 2.3 หลักฐาน/ตัวบ่งชี้
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • ระบบการจัดการศึกษา 1.1 ระบบ (ทวิภาค ไตรภาค จตุรภาค) 1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน 1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค (ถ้ามีการจัดการศึกษา ระบบอื่นๆ ที่มิใช่ทวิภาค ให้แสดงการเทียบเคียงกับระบบ ทวิภาคให้ชัดเจน) • การดำเนินการหลักสูตร 2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน ภาคการศึกษาที่ 1 เดือน...........-............. ภาคการศึกษาที่ 2 เดือน...........-.............
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา 2.3 ปัญหาของนักศึกษาแรกเข้า ระบุลักษณะเฉพาะของนักศึกษาที่จะสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรที่ต้องนำมาประกอบการพิจารณา เพื่อการกำหนดหลักสูตร ตัวอย่าง นักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรที่ไม่ได้เรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาจมีพื้นฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอ รวมทั้งทักษะและความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษา เนื่องจากตำรา เอกสารและข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนักศึกษาในข้อ 2.3 2.5 แผนการรับนักศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี 2.6 งบประมาณตามแผน แสดงงบประมาณ โดยจำแนกรายละเอียดตามหัวข้อการเสนอตั้งงบประมาณ รวมทั้งประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวในการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตรนั้น
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 2.7 ระบบการศึกษา • แบบชั้นเรียน • แบบทางไกลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก • แบบทางไกลผ่านสื่อแพร่ภาพและเสียงเป็นสื่อหลัก • แบบทางไกลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อหลัก (E-learning) • แบบทางไกลทางอินเตอร์เนต • อื่นๆ (ระบุ) 2.8 การเทียบโอนหน่วยกิต รายวิชาและการลงทะเบียนเรียนข้ามมหาวิทยาลัย (ถ้ามี)
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 3.1 หลักสูตร 3.1.1 จำนวนหน่วยกิต (รวมตลอดหลักสูตร) 3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร (แสดงเป็นหมวดวิชาให้สอดคล้องกับ เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร) 3.1.3 รายวิชา ระบุรหัสรายวิชา (อธิบายความหมายของรหัสวิชาด้วย) ชื่อรายวิชาทั้งไทย และอังกฤษ จำนวนหน่วยกิต จำนวนชั่วโมงบรรยาย ปฏิบัติ และศึกษาด้วยตนเอง เช่น 001101 ม.อ.101 การฟังและพูดภาษาอังกฤษ 3(3-0-6)
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร 3.1.4 แสดงแผนการศึกษา 3.1.5 คำอธิบายรายวิชา 3.2 ชื่อ สกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ตำแหน่งและคุณวุฒิของอาจารย์ 3.2.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร 3.2.2 อาจารย์ประจำ 3.2.3 อาจารย์พิเศษ ให้ระบุสาขาวิชาและสถาบันที่สำเร็จการศึกษา ผลงานทางวิชาการ การค้นคว้า วิจัย หรือการแต่งตำรา (ถ้ามี) รวมทั้งภาระงานสอนที่มีอยู่แล้ว และที่จะมีในหลักสูตรนี้ (อาจระบุไว้ในภาคผนวก)
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • องค์ประกอบเกี่ยวกับประสบการณ์ภาคสนาม (การฝึกงาน หรือ สหกิจศึกษา) (ถ้ามี) 4.1 มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม 4.2 ช่วงเวลา 4.3 การจัดเวลาและตารางสอน เช่น 3 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือจัดเต็มเวลาใน 1 ภาคการศึกษา เป็นต้น
หมวดที่ 3 ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร • ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำโครงงานหรืองานวิจัย (ถ้ามี) 5.1 คำอธิบายโดยย่อ 5.2 มาตรฐานผลการเรียนรู้ (ระบุมาตรฐานผลการเรียนรู้หลักๆ ที่ต้องการจากการทำโครงงานหรืองานวิจัย) 5.3 ช่วงเวลา 5.4 จำนวนหน่วยกิต 5.5 การเตรียมการ 5.6 กระบวนการประเมินผล
หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล 1) การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา ระบุคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษาที่นอกเหนือไปจากความคาดหวังทั่วๆ ไป และชี้ให้เห็นถึงกลยุทธ์การสอนและกิจกรรมนักศึกษาที่จะใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะเหล่านั้น
หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล • การพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน ตาม Domains of Learning 5 ด้าน อธิบายผลการเรียนรู้แต่ละด้าน ตามหัวข้อ ดังนี้ - คำอธิบายทั่วๆ ไปเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ในด้าน คุณธรรม จริยธรรม - กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม - กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรม
หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผล • แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) แสดงให้เห็นว่าแต่ละรายวิชาในหลักสูตรรับผิดชอบต่อมาตรฐานผลการเรียนรู้ใดบ้าง (ตาม Domains of Learning 5 ด้าน) โดยระบุว่าเป็นความรับผิดชอบหลักหรือความรับผิดชอบรอง ซึ่งบางรายวิชาอาจไม่นำไปสู่มาตรฐานผลการเรียนรู้บางเรื่องก็ได้
หมวดที่ 5 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนักศึกษา • กฎระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด) • กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรืองานที่มอบหมาย กระบวนการอาจต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละด้าน 3) เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ • การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการหาหลักฐานเพื่อยืนยันหรือสนับสนุนว่า นักศึกษาทุกคนมีผลสัมฤทธิ์การศึกษาตรงตามมาตรฐานผลการเรียนรู้เป็นอย่างน้อย ซึ่งอาจได้จากผลการประเมินข้อสอบว่าครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ การให้คะแนนตรงตามความจริง การให้ข้อมูลย้อนกลับของผู้สำเร็จการศึกษา การประสบความสำเร็จในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษา มาตรฐานคุณวุฒิต้องให้แนวทางในการทวนสอบที่สถาบันการศึกษาสามารถเลือกใช้หรืออาจกำหนดวิธีการทวนสอบร่วมกัน เช่น การสอบออก (Exit Exam) โดยใช้ข้อสอบซึ่งคณาจารย์สถาบันต่างๆ ในสาขาวิชาร่วมกันจัดทำ
หมวดที่ 6 การพัฒนาคณาจารย์ • การเตรียมการสำหรับอาจารย์ใหม่ อธิบายกระบวนการที่ใช้ในการปฐมนิเทศ และ/หรือ การแนะนำอาจารย์ใหม่และอาจารย์พิเศษให้มั่นใจได้ว่าอาจารย์เข้าใจถึงหลักสูตรและบทบาทของรายวิชาต่างๆ ที่สอนในหลักสูตรและรายวิชาที่ตนรับผิดชอบสอน • การพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่คณาจารย์ 2.1 การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผล 2.2 การพัฒนาวิชาการและวิชาชีพด้านอื่นๆ